เอารูปรถรางสมัยก่อนมาให้ชมกันครับ
                                
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 1 2 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 15 จากทั้งหมด 23

ชื่อกระทู้: เอารูปรถรางสมัยก่อนมาให้ชมกันครับ

  1. #1

    มาตรฐาน เอารูปรถรางสมัยก่อนมาให้ชมกันครับ



    ภาพและเรื่องจาก 2bangkok.com และ arunsawat.com

    Ric Francis ชาวต่างชาติแปลจากหนังสือ old SEC magazine: สันนิษฐานว่ารถรางไฟฟ้า

    ที่สร้างขึ้นเป็นผลพวงมาจากการที่รัฐบาลในสมัยนั้นต้ องการต่อสู้กับมาเฟียจีนที่เราเรียกว่า อั้งยี่

    โดยในปี ค.ศ. 1889 รถรางไฟฟ้าใช้ในการขนทหารเพื่อเข้าไปปราบปราบพวกอั้ง ยี่ที่ย่านคนจีน

    แถบชุมชนจีนที่เดี๋ยวนี้เรารู้จักกันว่าเป็นเขตยานนา วา ตอนนั้นพวกอั้งยี่แตกเป็นสองฝ่ายและสงคราม

    ระหว่างกลุ่มมาเฟียก็เริ่มขึ้น โดยมีถนนเจริญกรุงเป็นสนา มรบโดยเหตุการณ์ต่อสู้กันเกิดในคืนวันที่

    19 มิถุนายน 1889 ทั้งสองพวกกั้นสังกะสีและใช้เฟอร์นิเจอร์ขวางถนนไว้

    อั้งยี่สองฝ่ายตะลุมบอนกันด้วยอาวุธทุกอย่างเท่าที่จ ะหาได้ ไม่ว่าจะเป็นไม้, มีด, และปืน การต่อสู้กัน

    มีตั้งแต่กลางคืนไปจนยันสว่าง มีคนตายอย่างน้อย 20 คน และบาดเจ็บเป็นร้อย ๆ เหตุการณ์สงบลง

    ได้ด้วยกำลังสนับสนุนของทหารเพราะเกินกำลังของตำรวจท ้องที่ ที่จะจัดการได้ ซื่งที่จริงมีชื่อแก๊ง

    และผู้นำกำลังทหารที่เข้าไปจัดการสงบสงครามแก๊งมาเฟี ย แต่ด้วยความที่เป็นภาษาอังกฤษผมเลยไม่

    กล้าแปลคราวนั้นต้องอาศัยทหารยกกำลังผ่านเข้ามาทางแม ่น้ำเจ้าพระยา วันที่คิดนำกำลังทหารเข้ามา

    โดยใช้รถรางคือวันที่ 21 มิถุนายน 1889 โดยใช้รถรางเป็นระบบขนส่งมวลนนำกำลังทหารเข้ามาคุม

    แนวหน้าของพวกมาเฟีย โดยยกกำลังทหารไปที่สถานีหลักเมืองโดยใช้กำลังทหารเป ็นร้อย ๆ นาย

    พร้องกำลังอาวุธครบมือคนขับรถรางเสียสละเสี่ยงขับรถร างนำกำลังทหารเข้าสู่สนามรบทันทีที่เห็น

    ทหารยกกำลังเข้าไปพวกมาเฟียก็หันปากกระบอกปืนเข้าระด มยิงใส่เจ้าหน้าที่รัฐที่ยกกำลังเข้าล้อม

    ปราบ ใช้เวลากว่า 5 ชั่วโมงในการล้อมปราบพวกมาเฟีย นับเป็นสงครามกลางเมืองย่อย ๆ เลยที

    เดียว พวกอั้งยี่ถูกยิงตายไปกว่า 10 คน บาดเจ็บ 20 กว่าคน และถูกจับมากกว่า 800 คน

    นับว่ารถรางเป็นประวัติศาสตร์ในสงครามครั้งนี้ในฐานะ พระเอกตัวจริง




    ภาพรถรางไฟฟ้าเปรียบเทียบรถที่ทำในประเทศไทยและประเท ศอังกฤษ ของอังกฤษใหญ่กว่าครับ






    รูปแถวคลองหลอดครับภาพล่างนี้








    ภาพนี้เป็นแถวสี่แยกคอกวัวครับ




    ภาพนี้ถ้าใครจำได้ต้องยกให้เป็นปู่ทวดแล้วครับ เป็นภาพถ่ายรถรางหน้าวัดสามจีน (วัดไตรมิตร) แถว ๆ ใกล้วงเวียนโอเดียนที่เยาวราชครับ สายนี้เป็นรถรางสายบางคอแหลม เข้าใจว่าเอาภาพนี้มาจากหอสมุดแห่งชาติหรือเปล่าไม่แ น่ใจ


    แผนที่เดินรถรางในสมัยก่อนครับ




    ผู้ถ่ายภาพ Dick van der Spek


    รางรถรางไฟฟ้าที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน




    ป้ายหยุดรถรางไฟฟ้าที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ถ่ายเมื่อ 15 กันยายน 2004




    รูปนี้ถ่ายเมื่อปี ค.ศ. 1906 เข้าใจว่าเอามาจากภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง



    ภาพรถรางที่วิ่งผ่านจุดต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ






    เห็นป้ายโฆษณาหนังเรื่องนางไพรข้างรถรางไหมครับ สมัยนั้นโรงหนังเท็กซัสยังรุ่งเรือง เดี๋ยวนี้การเป็นศูนย์การค้าไปแล้วครับโรงหนังเท็กซั สนี่อยู่บนถนนเจริญกรุงที่เยาวราช











    ภาพข้างล่างนี้ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นผมเวิ้งนครเกษมคร ับ












    เอาไว้แค่นี้ก่อนนะครับเพื่อนๆเดี๋ยวจะเอาข้อมูลต่าง ๆมาลงเพิ่มให้ครับ


    สวัสดีปีใหม่เพื่อนๆทุกท่านด้วยครับ ขอให้มีความสุขมากๆนะครับ

    และขอขอบคุณwww.thaiscooter.com สำหรับการแบ่งปันเรื่องราวที่ดีๆ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย eak_khanak : 02-01-2009 เมื่อ 17:53

  2. #2

    มาตรฐาน

    ขอบคุณครับเด้อครับ...

  3. #3

    มาตรฐาน

    เอาข้อมูลมาเพิ่มให้แล้วครับ

    ต่อไปจะเล่าถึงสายต่าง ๆ ของรถรางครับ
    รถรางเป็นสัมปทานของบริษัท สยามอิเลคทริคซิตี้ มีทุนจดทะเบียนขนาดมหึมาถึง 22 ล้านบาท
    ในปี ค.ศ. 1931 เกือบร้อยปีก่อนนะครับ สมัยที่เงินสลึงยังมีค่ามากเพราะยังใช้สตางค์กับเฟื้ องอยู่
    ถือว่าเป็นบริษัทที่ทุนจดทะเบียนสูงสุดในประเทศสยามส มัยนั้นเลยทีเดียว

    รถรางไฟฟ้าสมัยนั้นมีสำนักงาน 2 แห่งคือสำนักงานที่สามแยกตรงที่ถนนเจริญกรุงตัดกับถน นลำพูนชัย

    อีกแหง่คือสำนักงานที่แม้นศรีที่ถนนบำรุงเมือง อยู่ตรงข้ามกับสำนักงานบางกอกวอเตอร์เวอร์ค

    สมัยนั้นรถรางมีอู่พักรถอยู่ 4 ที่คือ

    สถานีบางคอแหลมที่อยู่ใกล้กับถนนตก
    สถานีสะพานเหลืองที่ถนนพระราม 4
    สถานีแม้นศรีที่ถนนวรจักร
    สถานีบางกระบือที่ถนนสามเสน สมัยนั้นเรียกว่าถนนสะพานแก้ว

















    รถรางสมัยนั้นมี 7 สายหลัก ๆ คือ

    1) สายบางคอแหลม

    สายนี้วิ่งตามถนนเจริญกรุงไปสี่กั๊กพระยาศรีแล้วเลี้ ยวขวาไปตามถนนเฟื่องนครไปยังสี่กั๊กเสาชิงช้า

    ก่อนจะเลี้ยวซ้ายเข้าถนนบำรุงเมือง แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนอัษฎางค์แล้วข้ามสะพานหกที่คลอง หลอด

    ไปยังศาลหลักเมืองแล้วไปสุดสายที่แถวกระทรวงกลาโหม ที่นี่เราสามารถต่อรถเมล์

    ไปที่ท่าน้ำราชวงศ์, ถนนเสือป่าได้ รถเมล์สายนี้ทดแทนรถรางที่เลิกไปในปี ค.ศ.19126-1927

    เพื่อนำที่แถวนั้นมาสร้างเป็นถนน









    2) สายสามเสน

    สายนี้เริ่มจากท่เรือเขียวไข่กาแล้วเลี้ยวขวาไปตามถน นสะพานแก้ว (ถนนสามเสน ระหว่างแยกวชิระกับ

    แยกเกียกกาย) แล้ววิ่งเข้าถนนสามเสนไปยังแยกบางลำพู ซึ่งเป็นที่ที่สามารถเปลี่ยนสายรถรางได้ที่

    ประตูไม้ โดยสายที ี่สามารถเปลี่ยนได้คือสายดุสิต แล้ววิ่งไยังสะพานผ่านพิภพลีลา รถสายนี้ยังวิ่งไป

    ตามถนนราชินีไปยังจุดเปลี่ยนรถอีกสายคือสายบางคอแหลม ที่สะพานหก แล้วเลี้ยวขวาข้ามสะพาน

    อุบลรัตน์สู่ถนนพระพิทักษ์ แล้ววิ่งไปตามถนนพาหุรัดไปยังสะพานหันก่อนที่จะเลี้ย วขวาเข้าถนน

    มหาชัย ผ่านหน้าบริษัทบีกริมแอนด์โก (เดี๋ยวนี้กลายเป็นแบงค์ทหารไทย) แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าเยาวราช

    และสามแยก ที่สามารถเปลี่ยนไปเป็นสายบางคอแหลมได้ รถจะวิ่งเข้าถนนลำปางชัยเข้าสู่ถนนพระ

    รามสี่ไปสุดสายที่ถนนวิทยุบริเวณต้นถนนสาธร






    3) สายบางซื่อ

    สายนี้เริ่มจากโรเรียนราชินีบนวิ่งไปตามถนนสะพานแก้ว แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนช่างแสง (ถนนทหาร)

    ไปยังสะพานแดงแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนทิชาวณิชไปสิ้นสุ ดที่บางซื่อ













    4) สายดุสิต

    สายนี้เริ่มจากหน้าบริษัทสยามอิเล็คทริค ที่อยู่ตรงข้ามกระทรวงศึกษาสมัยก่อน (ตอนนี้น่าจะเป็นศาล

    หรือเปล่าไม่แน่ใจครับ ใครรู้ช่วยบอกที) ใกล้ ๆ วัดเลียบวิ่งไปตามถนนจักรเพชร สามารถเปลี่ยนสาย

    ไปเป็นสายสามเสนได้ตรงสะพานหัน แล้ววิ่งไปตามถนนพระสุเมรุเลียบกำแพงเมืองไปยังประตู ไม้ ที่

    แยกบางลำพู แล้ววิ่งผ่านถนนพระอาทิตย์, ถ.ราชินี ผ่านไปยังอนุสาวรีย์สงครามโลกครั้งที่ 1

    แถวกระทรวงยุติธรรมเก่า แล้ววิ่งไปตามถนนหน้าพระธาตุก่อนที่จะเลี้ยวขาวเข้าท ่าพระจันทร์ที่ถนน

    ท่าพระจันทร์ หลังจากนั้นก็เลี้ยวซ้ายเข้าถนนมหาราช ผ่านท่าราชวรดิษฐ์และท่าเตียน, ปากคลอง

    ตลาด, ถ.จักรเพชร, กระทรวงศึกษาธิการ และข้ามคลองโอ่งอ่างตรงคูเมืองเก่า

    แล้วผ่านไปทางวัดบพิตรพิมุข วิ่งไปตามถนนจักรวรรดิ์ไปทางวัดตึก สามารถเปลี่ยนสายไปสาย

    สามเสนหรือสายบางคอแหลมได้ตรงแยกเอส.เอ.บี. ก่อนที่จะวิ่งไปตามถนนวรจักรไปยังสะพานแม้น

    ศรี (สะพานดำ) ตรงนี้สามารถเปลี่ยนเป็นสายหัวลำโพงได้ จากนั้นรถรางวิ่งเข้าถนนจักรพรรดิพงศ์ไป

    นางเลิ้ง(ถนนนครสวรรค์) ก่อนเลี้ยวเข้าถนนพิษณุโลกไปถนนราชดำเนินนอกไปบรรจบก ับสายสามเสน

    หน้าวัดเทวราชกุญชร สายนี้เปลี่ยนไปในปี ค.ศ.1926 โดยไม่ผ่านหน้าโรงเรียนสวนกุหลาบและเปลี่ยน

    จากสุดสายที่หน้าวัดเทวราชกุญชรไปเป็นที่สี่เสาเทเวศ ร์






    5) สายหัวลำโพง

    สายนี้เริ่มที่สะพานเจริญสวัสดิ์ที่อยู่ตรงข้ามสถานี รถไฟหัวลำโพง แล้ววิ่งไปตามถนนกรุงเกษมไปทาง

    สะพานกษัตรศึก แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนบำรุงเมืองไปทางแยกแม้นศรีเพื ่อเปลี่ยนสายกับสาย

    ดุสิต วิ่งไปทางประตูผีหรือสำราญราษฎร์ชนกับสายดุสิตอีกครั ้งหนึ่ง แล้วมุ่งหน้าไปทางเสาชิงช้าไป

    ยังสี่กั๊กเสาชิงช้าแล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนบ้านตะนาว ผ่านหน้าศาลเจ้าพ่อเสือไปวัดบวรนิเวศน์วิหาร ผ่าน

    ไปถนนสิบสามห้างไปพบกับสายดุสิตที่บางลำพูแล้ววิ่งไป ตามสายดุสิตไปสิ้นสุดสายที่ประตูไม่ที่แยก

    บางลำพู






    6) สายสีลม

    ต้นสายอยู่ที่แยกบางรักวิ่งไปตามถนนสีลมไปเปลี่ยนสาย กับสายสามเสนที่แยกศาลาแดง แล้ววิ่งไป

    ตามถนนราชดำริไปยังสะพานเฉลิมโลกแถวท่าเรือประตูน้ำ สายนี้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1925 เพื่อรอง

    รับงานแสดงสินค้าประเทศสยาม



    7) สายปทุมวัน

    สายนี้วิ่งจากสะพานเฉลิมโลกเข้าถนนพระรามที่ 1 ข้ามสะพานกษัตรศึกไปทางยศเสบรรจบกับสายหัว

    ลำโพง สายนี้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1925 เพื่อรองรับงานแสดงสินค้าประเทศสยามเช่นกัน




    ยังไม่จบนะครับ เดี๋ยวจะเอาข้อมูลมาลงให้เรื่อยๆครับ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย eak_khanak : 02-01-2009 เมื่อ 17:55

  4. #4
    Marlboro marlboro's Avatar
    วันที่สมัคร
    Dec 2005
    ข้อความ
    2,095
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    21

    มาตรฐาน

    ขอบคุณครับ...สำหรับข้อมูลดีๆ
    cowboy on the vintagebike

    ::: You get the best out of others when you give the best of yourself. :::

  5. #5

    มาตรฐาน

    ขอบคุณมากๆครับ /\2
    เวลา…นาฬิกา…เป็นสิ่งมีค่า
    เวลาเป็นของมีค่า อย่าฆ่าเวลาให้สิ้นเปลือง เสียเวลาไปโดยไร้ประโยชน์
    และนาฬิกา เป็นสิ่งเตือนใจให้เป็นคนตรง ตรงต่อเวลา ตรงต่อตนเอง และตรงต่อผู้อื่น

  6. #6

    มาตรฐาน ชมกันต่อเลยครับ

    รับชมกันต่อเลยครับ

    ภาพเก่า ๆ ของรถรางในปี ค.ศ. 1962 มีใครทราบบ้างหรือเปล่าครับว่าเป็นสถานที่ใดบ้าง (ผมเกิดไม่ทัน)











    ราคาค่าโดยสารรถรางไฟฟ้า

    ในปี ค.ศ. 1946-51 ยังมีเหรียญ 50, 25, 10, 5 และ 1 สตางค์ใช้ แต่เป็นเหรียญที่ทำจากดีบุดจึงอ่อนและสกปรกง่าย
    ในปี ค.ศ. 1951 เหรียญ 50 และ 25 สตางค์ถูกเปลี่ยนเป็นเหรียญบรอนซ์ แต่เหรียญ 10, 5, และ 1 สตางค์ยังเป็นเหรียญดีบุกที่สกปรกง่ายเหมือนเดิม
    ในปี ค.ศ. 1954 เหรียญ 10 และ 5 สตางค์จึงเปลี่ยนมาใช้เหรียญบรอนซ์เช่นเดียวกันคงเหล ือดเหรียญดีบุก 1 สตางค์เพียงอย่างเดียว
    แต่ดูเหมือนจะไร้ค่าเพราะแสตมป์ราคาต่ำสุดในสมัยนั้น คือ 5 สตางค์


    ราคาตั๋วรถรางในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

    ก่อน 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
    ตั๋วโดยสารชั้นสอง ราคา 6 สตางค์ต่อ 3000 เมตร (กิโลเมตรละ 2 สตางค์)
    ตั๋วโดยสารชั้นหนึ่ง ราคา 12 สตางค์ต่อ 3000 เมตร (กิโลเมตรละ 4 สตางค์)
    ตั๋วรถเมล์ขาวของนายเลิศ และตั๋วรถเมล์เขียว ราคา 2 สตางค์ต่อกิโลเมตร เพราะมีการควบคุมราคาระหว่างสงคราม (ค.ศ. 1942/พ.ศ.2485)


    หลัง 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1945

    ตั๋วโดยสารชั้นสอง ราคา 10 สตางค์ต่อ 2500 เมตร (กิโลเมตรละ 4 สตางค์)
    ตั๋วโดยสารชั้นหนึ่ง ราคา 20 สตางค์ต่อ 2500 เมตร (กิโลเมตรละ 8 สตางค์)
    ตั๋วรถเมล์ขาวของนายเลิศ และตั๋วรถเมล์เขียว ราคา 2 สตางค์ต่อกิโลเมตร






    หน้าตาของตั๋วรถรางไฟฟ้าครับเหมือนตั๋วรถเมล์ เป็นของสะสมของนาย Ric Francis


    ราคาตั๋วโดยสารระหว่าง 1 มกราคม ถึง 1 ตุลาคม ค.ศ. 1968

    ราคาจะเรียงจากตั๋วชั้นสองก่อนชั้นหนึ่ง

    1. สายบางซื่อ-เกียกกาย 10 สตางค์ , 20 สตางค์
    2. สายบางกระบือ-สามเสน-ถนนวิทยุ 25 สตางค์ , 50 สตางค์
    3. สายเจริญกรุง-บางคอแหลม-ถนนตก 25 สตางค์ , 50 สตางค์
    4. สายสีลม-ศาลาแดง-ประตูน้ำ 15 สตางค์ , 30 สตางค์
    5. สายยศเส-สนามกีฬาแห่งชาติ-ประตูน้ำ 15 สตางค์ , 30 สตางค์
    6. สายเทเวศน์-สะพานดำ-หัวลำโพง 10 สตางค์ , 20 สตางค์
    7. สายบางลำพู-ผ่านฟ้า-วัดเลียบ 15 สตางค์ , 30 สตางค์ (บางลำพู-ท่าเตียน-วัดเลียบ)






    ระหว่างปี ค.ศ. 1890 หน้าตาของหัวรถรางและรถพ่วงเป็นแบบนี้ครับ จากภาพสะสมของ Ric Francis





    โรงงานรถรางเข้าใจว่าอยู่แถวแม้นศรีหรือสะพานดำในอดี ต จากภาพสะสมของ Ric Francis






    ถนนเจริญกรุงในปี ค.ศ.1896 จากภาพสะสมของ Ric Francis





    ภาพนี้ไม่ได้ระบุปีมาเป็นภาพรถรางสายบางกระบือศาลาแด ง






    ภาพพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1901





    รถรางสุดสายที่บางซื่อ เห็นสามล้อถีบไหมครับสมัยเด็ก ๆ
    ผมเคยนั่งหลายครั้งจนกลายพันธุ์มาเป็นสามล้อเครื่องแ ละตุ๊ก ๆ ภาพของนาย WallyHiggins


    ภาพยนตร์สั้น...เมื่อครั้งกรุงเทพยังใช้รถราง...คลิก ชมข้างล่างได้เลย




    คลิ๊กชมได้เลยครับ

    http://s54.photobucket.com/albums/g1...ld_bangkok.flv



    ขอขอบพระคุณ คุณโดม สุขวงศ์ และหอภาพยนตร์แห่งชาติ
    และเว็ปโค๊กไทยที่กรุณาเอื้อเฟื้อภาพยนตร์สั้นเพื่อก ารเผยแพร่






    วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวผมจะเอาข้อมูลมาลงเพิ่มให้เรื่อยๆครับ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย eak_khanak : 19-09-2009 เมื่อ 13:57
    The goal of riding a motorcycle is not a speed. But it is the friendship between the travel more.

  7. #7
    Marlboro marlboro's Avatar
    วันที่สมัคร
    Dec 2005
    ข้อความ
    2,095
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    21

    มาตรฐาน

    ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำเผยแพร่ครับ
    ดูแล้วรูปส่วนใหญ่อยู่กับชาวต่างชาติ
    cowboy on the vintagebike

    ::: You get the best out of others when you give the best of yourself. :::

  8. #8
    yaitattoos's Avatar
    วันที่สมัคร
    Oct 2007
    สถานที่
    ชมรมรถถีบโบราณจันทบูร
    ข้อความ
    694
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน

    ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลดีๆ
    เที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้ http://www.travel.lakkai.com


    phanumat si-udomteakun
    S.C.B.bank ธานาคารไทยพาณิชย์ เลขที่บัญชี 854-210671-8
    นาย ภาณุมาศ สีอุดมธีรกุล
    ร้านกาลครั้งหนึ่ง ณ จันทบูร 2552
    เลขที่ 894 ถ.ท่าแฉลบ ต.ตลาด
    อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000
    TEL 099-3626-415

    [email protected] :: ชมรมรถถีบโบราณจันทบูร http://ob-chan.forumotion.com/

  9. #9
    ผาล้อม คลาสสิก lek_aine's Avatar
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    สถานที่
    ผาล้อม คลาสสิค
    ข้อความ
    138
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    17

    มาตรฐาน

    อยากลองนั่งบ้างจัง อิอิ ^^

  10. #10

    Thumbs up

    ได้ความรู้ดีจัง

  11. #11
    2546-ปัจจุบัน mike_kalasinclassicbike's Avatar
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    สถานที่
    ชมรมรถจักรยานยนต์โบราณจังหวัดกาฬสินธุ์ -MahasaraKham
    ข้อความ
    949
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    16

    มาตรฐาน

    ts01 มีสาระเนื้อหาดีครับ ประวัติศาสตร์ของบ้านเราเลยนะครับ ดูจากรูปน่าจะประมาณสมัยรัชกาลที่ 5

    เพราะมีการสร้างรถรางขึ้นในสมัยนั้นนะครับ

  12. #12
    Member PengSi's Avatar
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ข้อความ
    125
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    16

    มาตรฐาน

    เยี่ยมเลยครับem97

  13. #13

    มาตรฐาน

    เยี่ยมยอดเลยค่ะ ยังอ่านไม่หมด แต่จะค่อยๆ เข้ามาละเลียด
    เผอิญพ่อบ้านมีตั๋วตั้งแต่สมัยใช้ม้าลากอยู่ใบหนึ่ง เลยเอามาแจมด้วยค่ะ


  14. #14

    มาตรฐาน

    ที่ตั้งปุจฉาไว้ พ่อบ้านขอวิสัชนาแบบเดาๆ จากความทรงจำอันลางเลือนว่า
    รูปแรก น่าจะเป็นริมคลองหลอด บริเวณข้างสนามหลวง

    .
    .
    .
    .
    .
    ส่วนรูปนี้น่าจะเป็นบริเวณข้างเรือนจำลหุโทษถนนมหาชั ย
    ปัจจุบันด้านหลังอาคารซายมือปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะ
    รู้สึกจะชื่อสวนรมณีย๋นาถหรือไงเนี่ย

    .
    .
    .
    ผิดถูกอย่างไรขออภัยด้วยค่ะ

  15. #15
    motor's Avatar
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ข้อความ
    236
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    Blog Entries
    2
    ผลการให้คะแนน
    17

    Thumbs up .


    ขอขอบคุณ เจ้าของกระทู้ที่นำภาพและเรื่องราวประวัติส่วนหนึ่ง ของรถรางของไทย (ในบางกอก) มานำเสนอให้เห็นเป็นภาพ เฮ้อ ! เห็นแล้วอยากเกิดในยุคนั้นจังเลยยคับ เพราะรถวิ่งน้อยดี และ อากาศเยี่ยม em90
    โทรศัพท์. 086-608-9613 motor.
    เลขที่บัญชี. 726-234-8452 .กสิกรไทย/ออมทรัพย์/สาขา.ย่อยเดอะมอลล์งามวงศ์วาน.
    * วัชระ ทยาพัชร *e.mail & msn/
    [email protected] สินค้าทุกชิ้นราคา ลดหย่อนกันได้คับ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ของจำนวนและราคา ซื้อ - ขาย
    *** โอนเงินแล้วรบกวนโทรแจ้งอีกครั้ง เพื่อความสะดวก ในการจัดส่ง ***ขอบคุณทุกท่านมากๆคับ. LINE. motortrophy
    ***---***---***---***---***

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 1 2 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Bookmarks

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •