ไขข้อข้องใจ กับการเลือกใช้หัวเทียน
                                
กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

ชื่อกระทู้: ไขข้อข้องใจ กับการเลือกใช้หัวเทียน

  1. #1
    33_SERVICE's Avatar
    วันที่สมัคร
    Dec 2005
    สถานที่
    33 รวมมิตร ขับ
    ข้อความ
    2,362
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    21

    Red face ไขข้อข้องใจ กับการเลือกใช้หัวเทียน



    เรื่องหัวเทียน หลายท่านอาจจะเคยบอกว่า แชมเปี้ยน ซิดีสุด / ไม่นะ ต้อง บอสส แพลทตินั่ม เท่านั้นสิ / อะไรกัน ของ ngk ก็ดีออก / ใช้แบบที่เป็น IRIDIUM ดิสุดยอดเลยนะ..........
    สรุปแล้วจะใช้อะไรดีหว่า.....?

    ซึ่งจริงๆ การเลือกใช้หัวเทียน ต้องเลือกให้เหมาะกับสภาพรถของเรา ด้วยคับ
    ไม่ใช้ว่า เกลียว เหมือนกัน/เท่ากัน หรือ คนนั้นบอกมาว่ายี่ห้อนี่ดีก็ใส่ๆ เข้าไป
    ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีแค่นั้น มีรถหลายๆคันวิ่งไม่ออก หลายคันเครื่องร้อนจัด บางคันสูบทะลุ
    ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดกับรถที่มี เครื่องรอบจัด หรือรถที่ใช้ความเร็วสูงเป็นเวลานาน และที่สำคัญเครื่องที่ได้รับการโม
    มาจำเป็นต้องเลือกหัวเทียนให้ถูกต้องในการขับขี่ หากเป็นรถใช้งานธรรมดาก็ไม่ค่อยจะมีผลสักเท่าใดนัก

    หัวเทียน จะจุดประกายไฟก็ต่อเมื่อได้รับกระแสไฟจากคอลย์กระโดด จากเขี้ยวกลาง แล้วไปครบวงจรที่เขี้ยวข้างเพื่อจุดระเบิดให้ ไอดี ในการจุดระเบิดให้ไอดีนั้นอุณหภูมิจะรอนประมาณ 2,500 องศาเซลเซียส และมีแรงดันประมาณ 50 กก./ตร.ซม. ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหน้าที่ของหัวเทียน ที่ต้องรับภาระหนักเลยทีเดียว

    การเลือกใช้หัวเทียนให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของเคร ื่องยนต์มีข้อควรคำนึงที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ

    1. ค่าความร้อน
    2. ความยาวเกลียว

    ค่าความร้อน เนื่องจากหัวเทียนยื่นเข้าไปในห้องเผาไหม้ ได้รับความร้อนจากห้องเผาไหม้อยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีการระบายความร้อน ความสามารถในการระบายความร้อนนี้เรียกว่า “ค่าความร้อน” ซึ่งหัวเทียนที่เราเรียกกันว่า หัวเทียนร้อน (หัวเทียนที่ระบายความร้อนได้ช้า) หรือ หัวเทียนเย็น (หัวเทียนที่ระบายความร้อนได้เร็ว) สามารถดูได้จากเบอร์ของหัวเทียน

    ความยาวเกลียว การเลือกหัวเทียนควรจะต้องมีความระวังในเรื่องความยา วเกลียวด้วยเพราะหากขนาดเกลียวยาวเกินไป จะทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวลูกสูบเมื่อเครื่องยนต์ ทำงาน

    มารู้จักกับส่วนประกอบของหัวเทียนกัน
    หัวเทียนนั้นจะประกอบด้วย
    - ขั้วหัวเทียน ( Terminal )
    - ฉนวน ( Insulator )
    - เปลือก ( Shell )
    - แหวนหรือปะเก็นกันรั่ว ( Sealing Gasket )
    - เขี้ยวกลาง ( Center Electrode )
    - เขี้ยวด้านข้าง ( Ground Electrode )

    หัวเทียนสามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ

    1. หัวเทียนร้อน
    2. หัวเทียนปานกลาง
    3. หัวเทียนเย็น

    หัวเทียนร้อน
    หัวเทียนแบบนี้เป็นหัวเทียนที่มีกระเบื้องเคลือบหุ้ม ปลายโลหะยาวหรืออยู่ลึก ค่าความร้อนที่สะสมไว้ภายในขณะเครื่องยนต์ทำงานสูง เพราะพื้นที่รับความร้อนมีมาก การถ่ายเทความร้อนไปฝาสูบใช้ระยะเวลานาน ดังนั้นหัวเทียนแบบนี้จึงเหมาะกับเครื่องยนต์ที่มีรอ บต่ำ หรือ เครื่องยนต์ที่ทำงานเบาใช้ระยะเวลาไม่มากนัก

    หัวเทียนปานกลาง
    หัวเทียนแบบนี้เป็นหัวเทียนที่มีกระเบื้องเคลือบโลหะ ปานกลางไม่ตื้นหรือลึกเกินไป ค่าความร้อนที่สะสมไว้ภายในขณะเครื่องยนต์ทำงานไม่ต่ ำหรือสูง เพราะพื้นที่รับความร้อนมีไม่มากและการถ่ายเทความร้อ นไปยังฝาสูบก็ใช้ระยะเวลาไม่สั้นไม่ยาวนัก หัวเทียนประเภทนี้เหมาะกับเครื่องยนต์ที่ใช้งาน ทั่วไปที่มีความเร็วรอบไม่ต่ำและไม่สูงเกินไป

    หัวเทียนเย็น
    หัวเทียนแบบนี้เป็นหัวเทียนที่มีกระเบื้องเคลือบหุ้ม ปลายโลหะสั้น หรือมองเห็นกระเบื้องเคลือบอยู่ตื้น จะมีค่าความร้อนที่สะสมไว้ภายในขณะทำงานที่ต่ำ เพราะพื้นที่รับความร้อนน้อยและการถ่ายเทความร้อนไปย ังฝาสูบใช้เวลาสั้น ดังนั้นหัวเทียนแบบนี้จึงเหมาะกับเครื่องยนต์รอบจัด หรือใช้ความเร็วสูง หรือใช้ความเร็วสูงเป็นระยะเวลานานๆ

    การดูรหัสตัวอักษรพิมพ์บนหัวเทียน
    นอกจากการดูจากตัวหัวเทียนแล้วเรายังสามารถดูได้จากเ บอร์ของหัวเทียนได้ดังตัวอย่าง NGK B7ES หรือ NGK B8ES
    NGK - คือยี่ห้อของหัวเทียน
    อักษร B ตัวแรกหมายถึง ขนาดความโตของเกลียวหัวเทียน
    เลขต่อท้ายตัวอักษร B หมายถึงหัวเทียนร้อนหรือเย็น เลขยิ่งน้อยหัวเทียนก็ร้อน เลขมากก็หัวเทียนเย็น ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันจะอยู่ประมาณ 7-8-9 ซึ่งเป็นหัวเทียนปานกลาง
    อักษร H หรือ E ตามหลังตัวเลขหมายถึงความยาวของเกลียว H เท่ากับ 12.7 มม. อักษร E เท่ากับ 19.0 มม.
    อักษร S หมายถึงแบบหรือชนิดของหัวเทียนพิเศษ รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ทำเขี้ยวกลางและฉนวนที่ต่างกันไป
    นอกจากนี้หัวเทียนบางรุ่นยังมีเลขปิดท้ายอีกทีซึ่งหม ายถึงระยะห่างของขั้วหัวเทียน
    ***ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ***
    - รับ ผ่าเครื่อง ถอด - ประกอบ ทำสี vespa&Lam พร้อมจำหน่อยอุปกรณ์ตกแต่ง
    - รับจำนำรถ vespa&Lam ทั้งทีมีทะเบียนและไม่มี
    T.087-808-8817
    ID Line iee33
    http://facebook.com/iee33service


  2. #2
    33_SERVICE's Avatar
    วันที่สมัคร
    Dec 2005
    สถานที่
    33 รวมมิตร ขับ
    ข้อความ
    2,362
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    21

    Exclamation อาการผิดปกติของเครื่องยนต์ เมื่อเช็คจากหัวเทียน


    อาการผิดปกติของเครื่องยนต์ เมื่อเช็คจากหัวเทียน

    หัวเทียน นอกจากจะเป็นตัวทำให้เกิดประกายไฟในระบบจุดระเบิดแล้ ว อาการผิดปกติจากเครื่องยนต์บางอย่าง สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้จากสภาพของหัวเทียน ดังนี้

    - หัวเทียนสภาพปกติ
    จะมีคราบสีเทาหรือสีน้ำตาลที่ปลายฉนวน เขี้ยวมีการสึกหรอน้อย

    - มีคราบเขม่าดำ แห้ง เกาะที่ปลายฉนวน เขี้ยวและด้านใน
    อาการ สตาร์ทติดยาก เร่งความเร็วได้ไม่ดี เครื่องยนต์เดินไม่เรียบขณะเดินเบา
    สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดเย็นไป, ไส้กรองอากาศอุดตัน, โช้คค้างหรือโช้คนานเกินไป ตั้งไฟอ่อน
    มากเกินไปหรืออาจเป็นที่ระบบจุดระเบิดขัดข้อง
    แก้ไข เปลี่ยนหัวเทียนชนิดร้อนขึ้น (ลดเบอร์ลง) และปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ถูกต้อง

    - มีคราบน้ำมันเปียกดำ เกาะที่ปลายฉนวน,เขี้ยวไฟ
    อาการ สตาร์ทติดยาก เร่งความเร็วได้ไม่ดี เครื่องยนต์เดินไม่เรียบขณะเดินเบา
    สาเหตุ แหวนลูกสูบอาจสึกหรือสัมผัสลูกสูบไม่เต็มหน้า หรือส่วนผสม (เชื้อเพลิงและอากาศ)
    หนาเกินไป หรือ ผสม 2t มากเกินไป
    แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดร้อนขึ้น, ปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ตามมาตรฐาน หรือ ถ้ายังไม่หาย ให้ทำการ
    ตรวจเช็ค ลูกสูบและแหวนลูกสูบ

    - กระเบื้องแตกร้าว คล้ายเกิดจากความร้อนจัด
    อาการ เครื่องยนต์วิ่งไม่ออกเวลาใช้ความเร็วสูงนานๆ ขึ้นที่สูงชันเป็นระยะทางไกล หรือบรรทุก
    ของหนักมาก
    สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนไป หรือตั้งไฟแก่เกินไป หรือไม่ก็ระบบระบายความร้อนบกพร่อง
    แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น หรือปรับตั้งไฟ จุดระเบิดให้ถูกต้อง ตลอดจนปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์
    ใหม่

    - กระเบื้องถูกเผาจนเป็นสีขาว
    อาการ เครื่องยนต์วิ่งไม่ออกเวลาใช้ความเร็วสูงนานๆ ขึ้นที่สูงชันเป็นระยะไกล หรือบรรทุกของ
    หนักมาก
    สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนเกินไป ใช้น้ำมันที่มีค่าอ๊อกเทนต่ำไป ตั้งไฟแก่เกินไป หรือส่วนผสม
    บางเกินไป
    แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง รวมทั้ง
    ตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่

    - เขี้ยวไฟละลาย
    อาการ อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หัวเทียนชำรุดและเป็นอันตรายต่อลูกสูบ
    สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนเกินไป ใช้น้ำมันที่มีค่าอ๊อกเทนต่ำไป ตั้งไฟแก่เกินไป หรือส่วนผสม
    บางเกินไป
    แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง รวมทั้ง
    ตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่

    ***ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ***
    - รับ ผ่าเครื่อง ถอด - ประกอบ ทำสี vespa&Lam พร้อมจำหน่อยอุปกรณ์ตกแต่ง
    - รับจำนำรถ vespa&Lam ทั้งทีมีทะเบียนและไม่มี
    T.087-808-8817
    ID Line iee33
    http://facebook.com/iee33service


Bookmarks

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •