ทำไมจักรยาน ถึงต้องมีจานอยู่ด้านขวา ??
                                
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 10

ชื่อกระทู้: ทำไมจักรยาน ถึงต้องมีจานอยู่ด้านขวา ??

  1. #1
    T13's Avatar
    วันที่สมัคร
    Nov 2006
    ข้อความ
    1,839
    ขอบคุณ
    67
    ได้รับขอบคุณ 24 ครั้ง ใน 14 ข้อความ
    Blog Entries
    1
    ผลการให้คะแนน
    19

    มาตรฐาน ทำไมจักรยาน ถึงต้องมีจานอยู่ด้านขวา ??



    พอดีไปเจอบทความนี้มาเห็นว่าน่าสนใจดีครับ
    ลองอ่านดู

    ทำไมจักรยาน ถึงต้องมีจานอยู่ด้านขวา ??

    ที่ต้องให้ระบบขับเคลื่อนจักรยานอยู่ทางขวานั้น เพราะว่า

    1. ในอดีตกาลสมัยแรกเริ่มการใช้ม้าในยุโรป (นักรบทั้งหลาย-Swordman) การขึ้นม้าจะขึ้นจากทางซ้าย ซึ่งต้องมีดาบห้อยอยู่ทางซ้ายของขาหรือลำตัว (ซึ่งคนส่วนใหญ่ถนัดขวา จะห้อยดาบทางซ้าย) การขึ้นจากทางซ้ายจึงไม่เป็นการเกะกะติดขัดอาวุธของพ วกเขา อันนี้เริ่มจากม้าก่อน

    มาถึงจักรยาน คงไม่ต้องมีดาบพกไปด้วย

    ผู้ขี่สวมกางเกง ซึ่งกางเกง เสื้อผ้า อาจจะเข้าไปเกี่ยวติดกับโซ่ ชุดจาน ส่วนใดก็ตามในระบบขับเคลื่อน ถ้าขึ้นจากทางขวา จะทำให้เกิดความสกปรก หรือ อันตราย ดังนั้นการจัดให้ขึ้นเหมือนม้าก็จะเลี่ยงความเสี่ยงด ังกล่าว ก็จัดให้ชุดโซ่ ชุดขับเคลื่อนไปอยู่ทางขวาของจักรยานซะ

    2. เกี่ยวกับระบบเกลียวของระบบขับเคลื่อน (โดยเฉพาะระบบเฟือง)

    อันนี้คงจะเป็นมาตรฐานที่ว่า การขันเกลียว bolt, nut ต่างๆ อุปกรณ์ที่มีเกลียว (Thread) จะทำให้แน่นขันเข้าทางเดียวกับการเดินของเข็มฬิกา จะทำให้หลวม ขันออกในทางตรงข้ามกับการเดินของเข็มนาฬิกา (คือเป็นเกลียวขวาปรกติ)

    ในจักรยานก็มีชิ้นส่วนที่เป็นเกลียวเป็นส่วนประกอบอย ู่มากมาย ในที่นี้เน้นตรงชุด cassette sprocket ด้านหลัง (ที่เราเรียกว่า สเตอร์ หรื อเฟืองหลัง) ซึ่งทำให้ง่ายโดยมีเกลียวที่ปรกติตามแบบที่ใช้ (ขันเข้าตามเข็ม ขันออกทวนเข็ม) ไม่ต้องใช้เกลียวซ้ายที่กลับกัน (exotic)

    ข้อมูลจาก
    http://www.bloggang.com/mainblog.php...roup=3&gblog=1













    รูป รูป  
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย T13 : 24-06-2010 เมื่อ 18:34
    จักรยานหายากน่าสะสม (bsa/sunbeam)

    T.086-9223389
    Line id: twat13

    หรือ mail [email protected]

    ธ.กสิกรไทย ธวัชชัย กันธิยา 121-2-34243-9

    สินค้าไม่รับจอง

  2. #2

    มาตรฐาน

    ขอบคุณมากเลยครับอ้าย

    ความรู้ใหม่

    ไหนๆ ชื่อกระทู้น้าสนไจ๋

    ผมขออนุญาติแจมต๋วยเด้อครับ

    การหัดขี่จักรยานทำได้ไม่ยาก และเมื่อขี่เป็นแล้วก็ไม่ต้องคอยจดจ่ออยู่กับการควบค ุม สามารถขี่ไปโดยไม่ล้ม นี่เป็นผลจากการออกแบบที่รู้จักนำหลักการทางฟิสิกส์ม าใช้

    ทำไมจักรยานจึงไม่ล้มไปทางซ้ายหรือขวา



    รถจักรยานมีหลักการทำงานอย่างไร
    การหัดขี่จักรยานทำได้ไม่ยาก และเมื่อขี่เป็นแล้วก็ไม่ต้องคอยจดจ่ออยู่กับการควบค ุม สามารถขี่ไปโดยไม่ล้ม นี่เป็นผลจากการออกแบบที่รู้จักนำหลักการทางฟิสิกส์ม าใช้
    ทำไมจักรยานจึงไม่ล้มไปทางซ้ายหรือขวา เคยเล่นเลี้ยงท่อนไม้ให้ตั้งบนมือหรือไม่ ถ้าท่อนไม้เอนไปข้างหน้า มือจะเคลื่อนไปข้างหน้าทันที ถ้าท่อนไม้เอียงไปทางขวา มือจะเคลื่อนไปทางขวา เพื่อรักษาศูนย์ถ่วงของไม้ให้อยู่บนจุดหมุน
    ขณะขี่จักรยาน ผู้ขี่สามารถรักษาสมดุลไว้ได้ ( โดยเฉพาะกรณีที่ขี่ช้า ) ด้วยเหตุผลเดียวกับการเล่นเลี้ยงท่อนไม้ เมื่อจักรยานเอียงไปทางซ้าย ศูนย์ถ่วงของผู้ขี่จักรยานและรถจะเคลื่อนไปทางซ้าย หากขยับแฮนด์รถบิดไปทางซ้ายให้พอเหมาะจุดสัมผัสพื้นข องล้อหน้าจะเคลื่อนไปทางซ้ายเช่นกัน ทำให้รักษาศูนย์ถ่วงใหม่ไว้ได้
    เมื่อขี่จักรยานจนชำนาญแล้ว ผู้ขี่ไม่จำเป็นต้องใจจดใจจ่อคอยขยับแฮนด์รถตลอดเวลา เพราะเส้นแนวแกนของแฮนด์รถไม่ได้ผ่านจุดสัมผัสพื้นขอ งล้อหน้า แต่อยู่ที่แนวดิ่งที่มีระยะห่าง l จากจุดสัมผัสพื้น ตามที่แสดงไว้ในรูป (2) ซึ่งก็คือแขนของแรงที่แรงเสียดทานที่พื้นมีต่อแนวแกน เมื่อจักรยานเอียงไปทางซ้าย แรงเสียดทาน f ที่พื้นจะเกิดโมเมนต์ของแรง (f´l) กระทำต่อล้อหน้า และโมเมนต์ของแรงนี้จะทำให้ล้อหน้าบิดไปทางซ้ายพอดี ดังนั้นเราจึงสามารถอาศัยแขนของแรงนี้รักษาสมดุลของร ถจักรยาน แม้ว่าเราจะปล่อยมือได้ แต่โครงสร้างของจักรยานในรูป (1) นั้นจะไม่สามารถขยับแฮนด์รถเพื่อรักษาสมดุลได้ จำเป็นต้องเอียงตัวไปมาจึงจะรักษาสมดุลไว้ได้
    นอกจากนี้ตะเกียบของล้อหน้าที่โค้งงอจะทำให้แกนล้อ O มีระยะห่าง i กับแกนของแฮนด์รถ ดังที่แสดงไว้ในรูป (4) เมื่อเป็นเช่นนี้ในเวลาที่ขยับแฮนด์รถ ล้อหน้าจะต่ำลง ดังแสดงในรูป (3) แต่เนื่องจากพื้นดินไม่สามารถเลื่อนต่ำลงได้ จึงทำให้รถและผู้ขี่ถูกยกสูงขึ้น ( ยกขึ้นสูงสุดเท่ากับ h ) เมื่อปล่อยมือจากแฮนด์รถ น้ำหนักของรถและผู้ขี่จะกดทับให้ล้อหน้าเคลื่อนไปเป็ นแนวตรง กล่าวคือ ถึงแม้จะปล่อยมือจากแฮนด์รถ แต่แฮนด์รถยังสามารถรักษาตำแหน่งที่ทำให้รถเคลื่อนที ่ไปเเป็นแนวตรงได้โดยอัตโนมัติ แม้จะทับถูกกรวดบนพื้นถนนแฮนด์รถก็ยังหันตรงได้เอง โครงสร้างในรูป (5) นั้นระยะ i น้อยมาก จักรยานแบบนี้จะรักษาสมดุลได้ไม่ดี แต่จะมีความคล่องตัวมากกว่า เมื่อมีอีกคนหนึ่งมานั่งบนคานด้านหน้าจะทำให้จักรยาน มั่นคงขึ้นก็มาจากเหตุผลเดียวกัน
    ที่กล่าวมาข้างต้นมีความสำคัญขณะขี่จักรยานอย่างช้าๆ แต่หากขี่จักรยานด้วยความเร็วสูง แรงที่เกิดจากการหมุนของล้อรถจะช่วยให้รถตั้งตรงได้ เช่นเดียวกับการที่เหรียญและลูกข่างสามารถตั้งตรงได้ ขณะที่หมุนด้วยความเร็ว
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


  3. #3

    มาตรฐาน

    เอา้ๆ ดูจานกันหน่อยครับพี่น้อง

    คุณยอดตั้งใจเอารูปจานมากฝากนะครับฮ้าๆๆ
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


  4. #4
    Classic Lism's Avatar
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    สถานที่
    รักษ์ถีบ(จะนะ/สงขลา)
    ข้อความ
    695
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 6 ครั้ง ใน 3 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    16

    มาตรฐาน

    เป็นต้นเหตุที่ทำให้ขาตั้งข้างต้องอยู่่ข้างซ้ายด้วย ไหมครับ ฮิๆ


    ขอบคุณความรู้ดีๆครับ
    ยามเมื่อสิ้นแสงสุริยน เราคือคนสร้างไฟไว้ส่องทาง
    e-mail : [email protected]
    tel : 0847489085

  5. #5

    วันที่สมัคร
    Feb 2007
    สถานที่
    ชมรมจักรยานบ้านโซดา
    ข้อความ
    870
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 1 ครั้ง ใน 1 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    18

    มาตรฐาน

    ขอบคุณครับ
    เรื่องใกล้ตัวบางทีคุ้นซะจนลืมหาคำตอบ ...
    เหมือนดูรายการกบนอกกะลา แล้ว อึ้ง ทึ่ง เสียว
    อ้อ Tandem (รถพ่วงถีบ 2+ คน) บางคันก็ใส่จานสองด้าน
    แล้วโซ่โยงไปหาเสตอร์ที่อยู่ด้านซ้าย ก็งง ๆ กับเกลีียวเหมือนกัน
    ทำให้ต้องเตือนตัวเองว่าเวลาถอดประกอบรถถีบ ถ้าไขไม่ออกอย่าข่มขืน
    ให้ลองขันย้อนดู บางทีจุดนั้นอาจเป็นเกลียวกลับ
    นายวรพจน์ ภู่มาลี "มด"
    114/387 ม.3 หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์
    ถ.ราชสีมา-ปักธงชัย ต.หนองจะบก
    อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000

    Tel. 08 1629 4605 (ขอเป็นช่วง 09.00-19.00 นะครับ)
    บัญชีออมทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยเดอะมอลล์ นครราชสีมา
    เลขที่บัญชี 433-2-24616
    -5



  6. #6
    T13's Avatar
    วันที่สมัคร
    Nov 2006
    ข้อความ
    1,839
    ขอบคุณ
    67
    ได้รับขอบคุณ 24 ครั้ง ใน 14 ข้อความ
    Blog Entries
    1
    ผลการให้คะแนน
    19

    มาตรฐาน

    เยี่ยมเลยครับทุกท่าน สำหรับการต่อยอดความรู้ในกระทู้













    รูป รูป  
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย T13 : 26-06-2010 เมื่อ 01:00
    จักรยานหายากน่าสะสม (bsa/sunbeam)

    T.086-9223389
    Line id: twat13

    หรือ mail [email protected]

    ธ.กสิกรไทย ธวัชชัย กันธิยา 121-2-34243-9

    สินค้าไม่รับจอง

  7. #7

    มาตรฐาน

    เนื่องจากผมรอกระทู้แบบนี้นานแล้ว
    ไม่อยากตั้งขึ้นเองเดี๋ยวไม่มีคนแจม
    เข้าทางพอดี
    แนวคิดของกระทู้คือทำไม

    ผมก็ขอทำตามกฎให้เครดิตพี่เอก T13

    ทำไมสองล้อหมุนได้

    Name:  ChainAndGearsMed.jpg
Views: 764
Size:  82.1 KB

    เพราะหลายๆท่านอาจจะรู้แค่ว่าจักรยานมีไว้ปั่น

    ก็ใช้ๆมันไปเถอะ


    แต่บางท่านก็อาจจะรู้วิธีปรับแต่งให้รถที่ท่านใช้มี

    ความเหมาะสมกับ
    ตัวท่าน

    ซึ่งรู้
    ไหมว่า

    ก่อนที่จะมาเป็นจักรยานหนึงคันผมคิดว่า

    นักวิทยาศาตร์ต้องใช้เวลาศึกษา


    ลองผิดลองถูก อยู่นานตลอดหลายปี


    ขอกล่าวถึงองประกอบของระบบขับเคลื่อน

    ระบบขับเคลื่อน(drive train)ทั้งระบบ

    ซึ่งประกอบด้วยชุดจานหน้า(chain
    ring)

    สับจานหน้า(front derailleur) ชุดเฟืองหลัง(cog)

    ตีนผี(rear derailleur) โซ่(chain)


    และยังรวมไปถึงชุดเปลี่ยนเกียร์(shifter) ]


    จานหน้าหรือเฟืองหน้าจักรยาน จะมีขนาดมาตรฐานที่เห็นกัน

    48-44-40 ฟันเฟือง

    ฟรีหลังหรือเฟืองหลัง เท่าที่เห็นนะครับ

    20-18-16 ฟันเฟือง

    อาจจะมีมากกว่าที่ผมกล่าวมาก็ได้นะครับ

    (ยังไม่เกล่าวถึงเกียร์นะครับ พูดเกียร์เดี่ยวก่อนนะครับ)

    จากที่ได้ร่ำเรียนมา วงกลมทุกคนคงเทียบว่ามันมี 360องศา

    ผมคำนวณออกมาเล่นๆ

    48ฟันเฟือง 360/48= 7.5

    แสดงว่า หนึ่งฟัน เฟืองจะทำให้จานหมุนไป 7.5 องศา

    44ฟันเฟือง 360/44=8.1818

    แสดงว่า หนึ่งฟัน เฟืองจะทำให้จานหมุนไป 8.1818องศา

    40 ฟันเฟือง 360/40 = 9 องศา

    ก็จะเห็นได้ชัดนะครับว่า จานเล็กจะมีองศามากกว่า ทำให้เวลาปั่นระยะใกล้ๆ

    ปั่นสบายไม่หนัก เพราะ กดเฟืองลงหนึ่งฟันก็เท่ากับจำนวนองศาที่ผมกล่าว

    พูดถึงจานหน้าหรืองฟันเฟืองหน้าก่อนนะครับ

    ส่วนฟรีหลัง หรือเฟืองหลัง

    20 ฟันเฟือง 360/20 = 18 องศา

    18 ฟันเฟือง 360/18 = 20 องศา

    16ฟันเฟือง 360/16 = 22.5 องศา

    โดยส่วนตัวผมมีคความว่า จานหน้าเหมือนคนดึง

    ฟรีหลังเหมือนวัตถุนิ่ง


    ฟรีหลังเล็กทำไมถึงหนัก

    เพราะว่าฟรีหลังไม่มีแรงมากระทำโดนตก


    แต่เป็นตัวที่รับแรงจากจานหน้าอีกที การที่หมุน

    ในองศามากๆทำให้หนัก


    หนักแต่ปั่นไกลๆสบายไหลปลาย เพราะรอบได้ครับ

    ฟรีหลังใหญ่ องศาน้อยก็ตรงข้ามกันครับ

    หวังว่าคงเข้าใจกันนะครับ ผมพยายามเขียนให้เห็นภาพ

    ได้เท่านี้และครับ


    บางอย่างมันคำนวนวุ่นวายไปหมด


    การใช้โซ่ก็เป็นพื้นฐานของรอกนะครับ

    แต่ผมไม่รู้จะอธิบายออกมายังไง

    ให้มันง่ายต่อความเข้าใจนะครับ



    หากว่าสิ่งที่ผมพูดมาเป็นการเข้าใจที่ผิดๆ

    ขอให้ท่าผู้รู้ช่วยอธิบายให้ผมด้วยนะครับ


    จะได้เอาไปปรับแต่งรถให้มีความเร็ว

    ทั้งหมดนี้เกิดจากจักรยานโบราณและการปั่น

    ผมต้องขอบขอบคุณพี่ไพบูล พี่ต่อ พี่มหมู พี่บุ๋ม

    ทีมงานฝั่งธน และสมาชิกที่ร่วมปั่น


    ทำให้ผมเกิดความคิดนี้ออกมาครับ

    ท่านใดอยากได้ความรู้เพิ่มเติมเชิญอ่านครับคลิกเลย








    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย new_hudson : 26-06-2010 เมื่อ 11:37
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


  8. #8
    a_tez's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    สถานที่
    Mazda Club Thailand/จักรยานฝั่งธน
    ข้อความ
    5,283
    ขอบคุณ
    1
    ได้รับขอบคุณ 10 ครั้ง ใน 8 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    23

    มาตรฐาน

    555555555555++++
    ดีครับ ............

  9. #9

    มาตรฐาน

    ขอเพิ่มเติมอีกนิดนะครับพอดีมีคนเรียกร้องมา

    หากหน้า 48 คู่ กับหลัง 20ฟัน

    องศาที่ได้ คือ 7.5 + 18 องศา

    ล้อจะหมุนไป 25.5 องศาต่อหนึ่งฟันเฟือง

    ส่วนเรื่องการใช้อุปกรณ์ล่อเลื่อนล้อหรือลูกปืนมันยั งลึกไปครับ

    หน้า48 หลัง18ฟัน ล้อจะหมุนทำมุม 27.5 องศาต่อหนึ่งฟันเฟือง

    หน้า48 หลัง 16ฟัน ล้อจะหมุนทำมุม 30 องศาต่อหนึ่งฟันเฟือง


    หน้า44 หลัง20ฟัน ล้อจะหมุนทำมุม 26.1818 องศาต่อหนึ่งฟันเฟือง

    หน้า44 หลัง18ฟัน ล้อจะหมุนทำมุม 28.1818 องศาต่อหนึ่งฟันเฟือง

    หน้า44 หลัง16 ฟัน ล้อจะหมุนทำมุม 30.6818 องศาต่อหนึ่งฟันเฟือง

    ทุกท่านคง งง ว่า ทำไมจานหน้าใหญ่ถึงปั่นหนักทั้งๆที่องศามันหมุนน้อย

    ก็เพราะว่าจานด้านหน้าทำมุมแนวดิ่ง 90องศากับคนปั่น

    การให้แรงองศาน้อยก็ยิ่งออกแรงมาก

    ตรงข้ามกับฟรีหลัง เพราะฟรีหลังต้องใช้แรงจากจานหน้า

    หากองศามากก็จะเป็นตัวถ่วง คือ มีฟันจำนวนน้อยนั่นเอง

    น่าจะนึกภาพออกนะครับ

    หากทฤษฎีนี้ผิด ขอให้ท่านผู้รู้เขียนอธิบายชี้เเจงให้ผมหน่อยนะครับ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย new_hudson : 26-06-2010 เมื่อ 13:55
    โบ ร า ณ ข า แร งส์
    Vintage Racing

    "หลังองค์พระปฏิมา มีที่ว่างเสมอ "


  10. #10
    Junior Member
    วันที่สมัคร
    Mar 2010
    ข้อความ
    10
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    0

    Smile


    ขอบคุณพี่ๆทุกคนครับ ได้ความรู้มากจริงๆ
    เด็กหัดถีบรถ

Bookmarks

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •