ว่าด้วยจานปั่นรถโรงงานราเล่ห์ (รัดจ์ ฮัมเบอร์ ไทรอัมท์ บีเอสเอฯลฯ) - หน้า 6
                                
หน้าที่ 6 จากทั้งหมด 9 หน้า แรกแรก 1 2 3 4 5 6 7 8 9 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 76 ถึง 90 จากทั้งหมด 122

ชื่อกระทู้: ว่าด้วยจานปั่นรถโรงงานราเล่ห์ (รัดจ์ ฮัมเบอร์ ไทรอัมท์ บีเอสเอฯลฯ)

  1. #76
    T13's Avatar
    วันที่สมัคร
    Nov 2006
    ข้อความ
    1,839
    ขอบคุณ
    67
    ได้รับขอบคุณ 24 ครั้ง ใน 14 ข้อความ
    Blog Entries
    1
    ผลการให้คะแนน
    19

    มาตรฐาน



    ใครอยากได้แคตตาล๊อตไปดูที่บ้าน ลองติดต่อคนนี้ครับ ไม่ผิดหวัง













    รูป รูป  

  2. #77
    crank's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jul 2007
    สถานที่
    ka*ma*rom
    ข้อความ
    1,428
    ขอบคุณ
    6
    ได้รับขอบคุณ 9 ครั้ง ใน 8 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    18

    มาตรฐาน

    ในประเด็นของผม ถ้าคุณ(อาจจะเป็นพี่ ฯลฯ เพื่อน อาจารย์ หรือผู้อาวุโสกว่า หรือใครก็ตาม) ผม ยกโทษ และอโหสิกรรมให้ทั้งหมดครับ และถ้าในทางกลับกันผมกล่าวอะไรที่ทำให้ไม่สบายใจผมก็ ต้องขอโทษเช่นกัน ในฐานะผู้น้อยขอคาราวะหนึ่งจอก

    แต่ในเรื่องข้อเท็จจริง ข้อมูลต่างๆก็คงต้องว่ากันต่อไปครับ อยากให้หาข้อเท็จจริงหักล้างกันจนกว่าจะได้ข้อสรุป เพื่อผลประโยชน์ทั้งหมดจะได้ก่อเกิดแต่ ผู้เล่นและนิยมในจักรยานโบราณ

    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nottingham อ่านข้อความ
    1. จานพวงมาลัยเริ่มถูกออกแบบตั้งแต่เมื่ิอไร ?
    2. โรงงาน Raleigh Industry เริ่มนำจานพวงมาลัยมาประกอบเข้ากับรถที่ผลิตเมื่อไร? ยี่ห้ออะไร? รุ่นอะไร?
    3. ทำไมต้องสร้างจานขึ้นมา 2 รูปแบบ ( แสดง logo และ common pattern ) ?
    4. ทำไมจึงมักพบเห็น Rudge 28 หญิงใส่จานพวงมาลัย 40 ฟัน เสียส่วนใหญ่ ? และมันถูกต้องจริงหรือ? �Catalogue บอกความจริงกับเราถูกต้องครบถ้วนจริงหรือ ?
    � � โจทย์หยาบๆเหล่านี้น่าสนใจบ้างไหมครับ !!!
    ประเด็นการถกเถียงที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้และสร้างเ สริมภูมิปัญญา น่าจะได้รับการนำเสนอและให้ความสนใจมากกว่าเนื้อความ ดราม่านะครับ
    ผมเข้าใจและยอมรับว่า เนื้อความบางส่วนที่ผมกล่าวอาจเลยเถิดนอกเรื่อง บางครั้งก็หยิกแกมหยอกทั้งที่ไม่ได้รู้จักมักคุ้นอะไ รกัน และบางคำพูดอาจไปสะกิคต่อมอ่อนไหวของใครบางคน
    ก็ต้องขออภัยมา ณ.ที่นี้ด้วยนะครับ
    และขอให้ผู้มีความรู้และประสบการณ์รู้เห็นอันกว้างขว างได้นำเสนอข้อมูลอันเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่รักในจักร ยานโบราณได้มีแนวทางการสะสมที่ถูกต้องครบถ้วน มากกว่าการขุดเนื้อหาเก่าๆที่ไม่ค่อยสร้างสรรค์มาสับ มายำกันเถิดครับ. �
    Meine Ehre heist Treue
    crank High voltage

  3. #78

    มาตรฐาน

    สติ...ทำเรื่องใหญ่ให้กลายเป็นเรื่องเล็ก
    อคติ...ทำเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่


    สนุกกับการปั่นทุกท่านครับ........

  4. สมาชิกเหล่านี้ "ขอบคุณ" คุณ : BOYYUDYA สำหรับกระทู้นี้ :

    nottingham (01-09-2012)

  5. #79
    Junior Member
    วันที่สมัคร
    May 2006
    ข้อความ
    34
    ขอบคุณ
    1
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    0

    มาตรฐาน

    ใครพอมีรูปถ่ายยุคเก่าที่แสดงให้เห็นรูปจานปั่นชัดๆ ในหลายๆช่วงเวลามาเพิ่มเติมอีกก็จะดีนะครับ
    รูปลายเส้นจักรยานที่เราเห็นในหนังสือเล่มเล็กๆ ที่แถมมากับตัวรถ ( ใส่ในซองผูกเชือกห้อยไว้กับตัวถัง ) ส่วนใหญ่มักจะเป็น maintenance book ซึ่งก็คือคู่มือการดูแลรักษา ซ่อมแซมด้วยตัวเองอย่างง่ายๆ ซึ่งบางเล่มเป็นการแสดง spare part หรือชิ้นส่วนสำรองปรากฏเป็นภาพลายเส้นรวมอยู่ด้วยนะค รับ ( อาจไม่ปรากฏจริงในชุดที่โรงงานจัดมาพร้อมตัวถัง ) และไม่ได้แสดงรายระเอียดเฉพาะรุ่น แต่เป็นลักษณะเหมารวมรูปแบบคร่าวๆ
    ถ้าใครเคยเห็น catalogue แบบเล่มใหญ่ ที่โรงงานแจกให้กับตัวแทนจำหน่าย อันนั้นมันคือมหาสมุทรเลยนะครับและตัวแทนจำหน่ายจะเล ือกนำเข้าแต่เฉพาะที่เขาเห็นว่าขายได้ จะสั่งทั้งหมดที่ปรากฏคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นรูปแบบการประกอบจักรยานจึงมีความแตกต่างของรา ยละเอียดปลีกย่อย ตามแต่ตัวแทนจำหน่ายในแต่ละพื้นภูมิภาค
    อย่างที่ผมเคยเรียนไปแล้วว่า ในการเล่นจักรยานของผม สิ่งยึดเหนี่ยวเดียวที่ผมมีในสมัยนั้นคือหนังสือเหล่ านี้ เนื่องจากการกระจายตัวของอะไหล่ต่างๆจากอดีต จึงต้องใช้เป็นคัมภีร์ในการตรวจสอบอยู่เสมอ
    แต่ในทางปฏิบัติ มันกลับสร้างความปวดหัวให้กับการประกอบ เมื่อสิ่งที่ปรากฏอยู่ในมือ มันไม่ตรงกับสิ่งที่ปรากฏในภาพลายเส้น ทั้งยังได้รับการยืนยันจาก salesman �และช่างประกอบรถของ เซ่ง ง่วน ฮง แล้วว่าสิ่งที่ผมมีนั้นถูกต้องตามรุ่นที่จะประกอบทุก ชิ้น! ( อาชีพทำกินเขานะครับ ไม่ใช่อุปทาน )
    ในรถแต่ละคันชิ้นส่วนตั้งแต่น๊อตยันสายเบรค มีเป็นกองๆ ไหนจะมีความแตกต่างของชิ้นส่วนในแต่ละรุ่นแต่ละปีอีก แต่ก็ยังใช้สมุดเล่มเดิม ยิ่งเล่มเล็กๆแดงๆที่ปรากฏตอนต้นกระทู้นี่ผมมีแจกแบบ ทิ้งขว้างได้เลย ( สัก 15 ปีที่แล้วผมนั่งทำเล่มนี้ใหม่เป็นภาษาไทยทั้งเล่ม ทำกราฟฟิกเหมือนต้นฉบับทุกอย่างแต่เป็นขนาด A4 และคิดจะวางขายด้วยซ้ำ แต่ก็ล้มเลิกไป ) ซึ่งไม่ว่ารายละเอียดการประกอบรถจะเปลี่ยนไปตามปัจจั ยการผลิตแค่ไหน สมุด cataloge ก็ยังพิมพ์แจกแบบเดิมๆต่อไป ซึ่งบางครั้งก็ไม่สัมพันธ์กับสิ่งที่ปรากฏในทางการตล าด ( เรากำลังพูดคุยถึงวัตถุทางการค้านะครับ ไม่ใช่ผลผลิตศักดิ์สิทธิ์ตายตัวและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ! )
    ดังนั้นอย่าเพิ่งรีบสรุปอะไรเร็วๆ ประวัติศาสตร์ในเชิงพานิชย์มันไม่ใช่บะหมี่กึ่งสำเร็ จรูป ความซับซ้อนของมันเป็นอาหารฮ้องเต้นะครับ การที่เราลงทุนสละเวลาอันมีค่าในชีวิตมานั่งถกเถียงถ ึงเรื่องที่ยังไม่มีข้อยุติ มันก็น่าจะทำเพื่อความรู้ของการสะสมสำหรับคนรุ่นหลัง ๆ ( ศาสนายังต้องมีการชำระคัมภีร์ ) เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน
    ลองหลับตานึกถึงนักเล่นจักรยานรุ่นผม มีอะไหล่อยู่ในมือเพียบ แต่กลับประกอบรถส่งเดชเพื่อให้มันมีครบเป็นคันๆไป แล้วเอาไปเที่ยวอวดเบ่งว่าข้ามี Humber มี Raliegh �เด็กรุ่นหลังจะได้ศึกษาอะไร?�
    นอกจากเปลือกของอวิชชาและความหลงกับวัตถุ โดยไม่รู้แก่นแท้และตัดความสัมพันธ์ของตัวเองออกจากอ ดีต

  6. #80
    หัวโป่'s Avatar
    วันที่สมัคร
    Mar 2006
    สถานที่
    คนบ้ารถถีบ
    ข้อความ
    1,269
    ขอบคุณ
    1
    ได้รับขอบคุณ 14 ครั้ง ใน 8 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    20

    มาตรฐาน

    ผมมองกระทู้นี้เป็นการสนธนา การแสดงความคิดเห็นของผู้คนที่น่าจะให้ความรู้ ตลอดจนการตกผลึกของข้อมูล แม้ว่าวันนี้อาจจะยังไปไม่ถึงไหนก็ตาม แต่จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีครับ
    การสัญนิษฐานหรืออ้างอิง สิ่งเกิดขึ้นมานานแล้วนั้น จำเป็นต้องใช้หลักฐานจากต้นเค้าเดิมที่เกิดขึ้น เช่น การสัญนิษฐานว่ากรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรื่อง เราก็ดูจากศิลปกรรม การก่อสร้างที่หลงเหลือ แต่หากพบวัตถุศิลปะอยุธยาที่อเมริกา ก็ไม่ได้หมายว่าอยุธยาเจริญรุ่งเรื่อง ดังนั้นการสันนิษฐานจำต้องใช้หลักฐานที่เป็นสากลมากท ี่สุดและมีความน่าเชื่อถือ การหักล้างข้อมูลมักเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น ผลการทดลองใหม่, การได้ข้อมูลใหม่เพิ่มขึ้น แต่ข้อมูลนั้นต้องมีในรูปแบบรูปธรรม


    “ถ้าใครเคยเห็น catalogue แบบเล่มใหญ่ ที่โรงงานแจกให้กับตัวแทนจำหน่าย อันนั้นมันคือมหาสมุทรเลยนะครับและตัวแทนจำหน่ายจะเล ือกนำเข้าแต่เฉพาะที่เขาเห็นว่าขายได้ จะสั่งทั้งหมดที่ปรากฏคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นรูปแบบการประกอบจักรยานจึงมีความแตกต่างของรา ยละเอียดปลีกย่อย ตามแต่ตัวแทนจำหน่ายในแต่ละพื้นภูมิภาค”

    มันมีจริงหรือเป็นเพียงความรู้สึกว่าน่าจะมี ถ้ามีขอแสดงหลักฐานชัดๆเลยครับ ผมมีเพื่อนใน Face Book เป็นคนอินโดนีเซีย เขามีราเล่ห์สีเดิม ก็เหมือนในแคทตาล็อกที่อังกฤษพิมพ์
    กล่าวถึงสมุดบำรุงรักษารถมันมีอยู่ตลอดทุกช่วง แทบจะสอนวิธีการต่างๆจนหมด เล่มเหล่านี้กระจายไปทั่วโลก จะแปลเป็นภาษาไหนก็ได้ เพื่อให้ผู้เป็นเจ้าของรถรู้ แต่หากจะมีเซลแมนเสนอขายรถในรูปแบบที่ประหยัด หรือตามความชอบของลูกค้าของแต่ละภาค แล้วให้ช่างประกอบแบบตามนี้ แล้วยึดถือเป็นอ้างอิงอันนี้อาจจะหลวมไปหน่อย ยกตัวอย่างความแตกต่าง เช่น ทำไมรถในภาคใต้ส่วนเป็นเบรกขอบ แล้วทำไมในภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นเบรกดุม เรื่องนี้คุยกันมานานละในบอร์ดนี้ มันไมได้มีอะไรถูกต้องที่สุด เพราะยุคหนึ่งมนุษย์เชื่อว่าโลกแบน มีเพียงคนเดียวที่ไม่เชื่อคือ กาลิเลโอ

    Name:  HB 1940.jpg
Views: 403
Size:  32.5 KB 1940
    "ถ้าชอบ ก็ทำเถิด แต่อย่าทำให้คนอื่นเค้าเดือดร้อนนะลูก"

  7. #81

    มาตรฐาน

    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ T13 อ่านข้อความ
    ตอบคำถามข้างบนครับ
    แหล่ม .... ขอบคุณครับ น้าเอก ....

  8. #82

    มาตรฐาน

    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nottingham อ่านข้อความ
    ใครพอมีรูปถ่ายยุคเก่าที่แสดงให้เห็นรูปจานปั่นชัดๆ ในหลายๆช่วงเวลามาเพิ่มเติมอีกก็จะดีนะครับ
    รูปลายเส้นจักรยานที่เราเห็นในหนังสือเล่มเล็กๆ ที่แถมมากับตัวรถ ( ใส่ในซองผูกเชือกห้อยไว้กับตัวถัง ) ส่วนใหญ่มักจะเป็น maintenance book ซึ่งก็คือคู่มือการดูแลรักษา ซ่อมแซมด้วยตัวเองอย่างง่ายๆ ซึ่งบางเล่มเป็นการแสดง spare part หรือชิ้นส่วนสำรองปรากฏเป็นภาพลายเส้นรวมอยู่ด้วยนะค รับ ( อาจไม่ปรากฏจริงในชุดที่โรงงานจัดมาพร้อมตัวถัง ) และไม่ได้แสดงรายระเอียดเฉพาะรุ่น แต่เป็นลักษณะเหมารวมรูปแบบคร่าวๆ
    ถ้าใครเคยเห็น catalogue แบบเล่มใหญ่ ที่โรงงานแจกให้กับตัวแทนจำหน่าย อันนั้นมันคือมหาสมุทรเลยนะครับและตัวแทนจำหน่ายจะเล ือกนำเข้าแต่เฉพาะที่เขาเห็นว่าขายได้ จะสั่งทั้งหมดที่ปรากฏคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นรูปแบบการประกอบจักรยานจึงมีความแตกต่างของรา ยละเอียดปลีกย่อย ตามแต่ตัวแทนจำหน่ายในแต่ละพื้นภูมิภาค
    อย่างที่ผมเคยเรียนไปแล้วว่า ในการเล่นจักรยานของผม สิ่งยึดเหนี่ยวเดียวที่ผมมีในสมัยนั้นคือหนังสือเหล่ านี้ เนื่องจากการกระจายตัวของอะไหล่ต่างๆจากอดีต จึงต้องใช้เป็นคัมภีร์ในการตรวจสอบอยู่เสมอ
    แต่ในทางปฏิบัติ มันกลับสร้างความปวดหัวให้กับการประกอบ เมื่อสิ่งที่ปรากฏอยู่ในมือ มันไม่ตรงกับสิ่งที่ปรากฏในภาพลายเส้น ทั้งยังได้รับการยืนยันจาก salesman �และช่างประกอบรถของ เซ่ง ง่วน ฮง แล้วว่าสิ่งที่ผมมีนั้นถูกต้องตามรุ่นที่จะประกอบทุก ชิ้น! ( อาชีพทำกินเขานะครับ ไม่ใช่อุปทาน )
    ในรถแต่ละคันชิ้นส่วนตั้งแต่น๊อตยันสายเบรค มีเป็นกองๆ ไหนจะมีความแตกต่างของชิ้นส่วนในแต่ละรุ่นแต่ละปีอีก แต่ก็ยังใช้สมุดเล่มเดิม ยิ่งเล่มเล็กๆแดงๆที่ปรากฏตอนต้นกระทู้นี่ผมมีแจกแบบ ทิ้งขว้างได้เลย ( สัก 15 ปีที่แล้วผมนั่งทำเล่มนี้ใหม่เป็นภาษาไทยทั้งเล่ม ทำกราฟฟิกเหมือนต้นฉบับทุกอย่างแต่เป็นขนาด A4 และคิดจะวางขายด้วยซ้ำ แต่ก็ล้มเลิกไป ) ซึ่งไม่ว่ารายละเอียดการประกอบรถจะเปลี่ยนไปตามปัจจั ยการผลิตแค่ไหน สมุด cataloge ก็ยังพิมพ์แจกแบบเดิมๆต่อไป ซึ่งบางครั้งก็ไม่สัมพันธ์กับสิ่งที่ปรากฏในทางการตล าด ( เรากำลังพูดคุยถึงวัตถุทางการค้านะครับ ไม่ใช่ผลผลิตศักดิ์สิทธิ์ตายตัวและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ! )
    ดังนั้นอย่าเพิ่งรีบสรุปอะไรเร็วๆ ประวัติศาสตร์ในเชิงพานิชย์มันไม่ใช่บะหมี่กึ่งสำเร็ จรูป ความซับซ้อนของมันเป็นอาหารฮ้องเต้นะครับ การที่เราลงทุนสละเวลาอันมีค่าในชีวิตมานั่งถกเถียงถ ึงเรื่องที่ยังไม่มีข้อยุติ มันก็น่าจะทำเพื่อความรู้ของการสะสมสำหรับคนรุ่นหลัง ๆ ( ศาสนายังต้องมีการชำระคัมภีร์ ) เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน
    ลองหลับตานึกถึงนักเล่นจักรยานรุ่นผม มีอะไหล่อยู่ในมือเพียบ แต่กลับประกอบรถส่งเดชเพื่อให้มันมีครบเป็นคันๆไป แล้วเอาไปเที่ยวอวดเบ่งว่าข้ามี Humber มี Raliegh �เด็กรุ่นหลังจะได้ศึกษาอะไร?�
    นอกจากเปลือกของอวิชชาและความหลงกับวัตถุ โดยไม่รู้แก่นแท้และตัดความสัมพันธ์ของตัวเองออกจากอ ดีต
    โห... เสียดายน่าจะทำขายน่ะครับ ถ้าข้อมูลยังอยู่เผยแพร่ได้จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ ถ้าน้า notting ไม่ว่าอะไรส่งผ่านทางนี้ได้เปล่าครับ ได้รับแล้ว ขอบคุณมากครับ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Maxbike : 11-09-2012 เมื่อ 23:15

  9. #83
    Junior Member
    วันที่สมัคร
    May 2006
    ข้อความ
    34
    ขอบคุณ
    1
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    0

    มาตรฐาน

    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Maxbike อ่านข้อความ
    โห... เสียดายน่าจะทำขายน่ะครับ ถ้าข้อมูลยังอยู่เผยแพร่ได้จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ ถ้าน้า notting ไม่ว่าอะไรส่งผ่านทางนี้ได้เปล่าครับ [email protected] ขอบคุณครับ
    คงต้องใช้เวลาค้นหาสักพักนะครับ ไหนต้องสแกนอีก ข้อมูลส่วนใหญ่ผมใช้ระบบ " ซุกกิ้ง " มันเลยปะปนกันมั่วไปหมดกับข้อมูลกะโหลกกะลา ผมสอนวิชาประวัติศาสตร์อยู่ 3 มหาลัย มีแต่เอกสารกองเป็นภูเขา ในส่วนของเอกสารเกี่ยวกับจักรยานอังกฤษที่ผมแปลทุกอย ่างที่ขวางหน้า ตั้งแต่อานยันวงล้อ มันคงอยู่ในซอกหลืบไหนสักแห่ง
    ในส่วนของ handbook เล่มแดง ผมจำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า มันน่าจะยังไม่สมบูรณ์ในส่วนท้ายๆ ที่ว่าด้วยการเดินระบบไฟ เพราะเมื่อก่อนผมใช้โปรแกรม word 2000 นี่แหละครับจัดการ ยังไม่รู้จักกะ photoshop เลย ต้องดูว่ามันเสร็จหรือเปล่าจำไม่ได้จริงๆและไม่อยากท ำต่อแล้ว เพราะ file ในคอมพ์สูญหายหมดแล้ว
    ในตอนนี้ก็พยายามเจียดเวลาเริ่มค้นหาที่มาของ three arm chainwheel หรือไอ้จานพวงมาลัยเจ้าปัญหา ว่ากันตั้งแต่ปีื 1887 กันไปเลย ก็คงไปสิ้นสุดกันที่ 1970 ก็น่าจะจบได้แล้ว แต่เวลานี้ผมก็มีงานวิจัยบ้าๆบอๆรุมเร้าอยู่ 3 ตัว บทความปวดประสาทอีก 2 เล่มและภาระงานอีกท่วมหัวก็ยังไม่รู้จะได้ผุดได้เกิด เมื่อไหร่
    ท่านที่พอมีเวลาว่างก็ลองช่วยกันนั่งแกะหัวหอมเพื่อส ร้างเป็นฐานข้อมูลสุมกันไว้ในกระทู้นี้กันก่อน แล้วค่อยมาเรียบเรียงกันใหม่ก็ได้นะครับ ผมว่าทั้งรูป catalogue และรูปถ่ายของรถ Raleigh ตั้งแต่ 1890 มีให้ download หลายเวปนะครับ จัดกันเฉพาะไปที่จานอย่างเดียวเลย ผมไม่ค่อยมีเวลาว่างจริงๆ�
    ส่วนใครที่คิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระเปล่าประโยชน์และไ ม่ได้ช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้น ก็ผ่านๆไปเลยนะครับ

  10. #84

    มาตรฐาน

    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nottingham อ่านข้อความ
    คงต้องใช้เวลาค้นหาสักพักนะครับ ไหนต้องสแกนอีก ข้อมูลส่วนใหญ่ผมใช้ระบบ " ซุกกิ้ง " มันเลยปะปนกันมั่วไปหมดกับข้อมูลกะโหลกกะลา ผมสอนวิชาประวัติศาสตร์อยู่ 3 มหาลัย มีแต่เอกสารกองเป็นภูเขา ในส่วนของเอกสารเกี่ยวกับจักรยานอังกฤษที่ผมแปลทุกอย ่างที่ขวางหน้า ตั้งแต่อานยันวงล้อ มันคงอยู่ในซอกหลืบไหนสักแห่ง
    ในส่วนของ handbook เล่มแดง ผมจำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า มันน่าจะยังไม่สมบูรณ์ในส่วนท้ายๆ ที่ว่าด้วยการเดินระบบไฟ เพราะเมื่อก่อนผมใช้โปรแกรม word 2000 นี่แหละครับจัดการ ยังไม่รู้จักกะ photoshop เลย ต้องดูว่ามันเสร็จหรือเปล่าจำไม่ได้จริงๆและไม่อยากท ำต่อแล้ว เพราะ file ในคอมพ์สูญหายหมดแล้ว
    ในตอนนี้ก็พยายามเจียดเวลาเริ่มค้นหาที่มาของ three arm chainwheel หรือไอ้จานพวงมาลัยเจ้าปัญหา ว่ากันตั้งแต่ปีื 1887 กันไปเลย ก็คงไปสิ้นสุดกันที่ 1970 ก็น่าจะจบได้แล้ว แต่เวลานี้ผมก็มีงานวิจัยบ้าๆบอๆรุมเร้าอยู่ 3 ตัว บทความปวดประสาทอีก 2 เล่มและภาระงานอีกท่วมหัวก็ยังไม่รู้จะได้ผุดได้เกิด เมื่อไหร่
    ท่านที่พอมีเวลาว่างก็ลองช่วยกันนั่งแกะหัวหอมเพื่อส ร้างเป็นฐานข้อมูลสุมกันไว้ในกระทู้นี้กันก่อน แล้วค่อยมาเรียบเรียงกันใหม่ก็ได้นะครับ ผมว่าทั้งรูป catalogue และรูปถ่ายของรถ Raleigh ตั้งแต่ 1890 มีให้ download หลายเวปนะครับ จัดกันเฉพาะไปที่จานอย่างเดียวเลย ผมไม่ค่อยมีเวลาว่างจริงๆ�
    ส่วนใครที่คิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระเปล่าประโยชน์และไ ม่ได้ช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้น ก็ผ่านๆไปเลยนะครับ
    ไม่เป็นไรครับ แล้วแต่สะดวกครับ เพียงแต่เสียดายที่ไม่ได้เผยแพร่เท่านั้นนะครับ ผมเป็นนักอ่านคนหนึ่งเวลาเห็นคนเขียนหนังสือที่ตนเอง สนใจก็มักจะอยากอ่านหรือซื้อเก็บอยู่แล้วครับ ขอบคุณมากครับ

  11. #85
    Junior Member
    วันที่สมัคร
    May 2006
    ข้อความ
    34
    ขอบคุณ
    1
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    0

    มาตรฐาน

    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Maxbike อ่านข้อความ
    ไม่เป็นไรครับ แล้วแต่สะดวกครับ เพียงแต่เสียดายที่ไม่ได้เผยแพร่เท่านั้นนะครับ ผมเป็นนักอ่านคนหนึ่งเวลาเห็นคนเขียนหนังสือที่ตนเอง สนใจก็มักจะอยากอ่านหรือซื้อเก็บอยู่แล้วครับ ขอบคุณมากครับ
    ผมเจอหนังสือแปลคู่มือประจำรถที่ว่านี้แล้วนะครับ ครบถ้วนตั้งแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย รวมทั้งสิ้น 32 หน้า
    ไล่เรียงไปตั้งแต่วิธีการปรับตั้งอานไปจนถึงวิธีการเ ดินไฟ และวิธีการดูแลรักษาสารพัดสารพัน
    � � �แต่ผมมีความรู้สึกตะหงิดๆว่า คุณทวีไทยเขาน่าจะทำแบบนี้ออกมาวางขายนานมาแล้วนะครั บ ผมมีเรื่องต้องจำเยอะและไม่ค่อยได้สนใจหนังสือที่เขี ยนโดยคนไทยสักเท่าไหร่ ก็เลยไม่ได้ติดตามว่าเขาออกอะไรมาบ้าง แต่มันเหมือนเคยเห็นแบบผ่านๆลางๆ
    ก็เลยคิดว่าหากมันมีข้อมูลเนื้อหาที่มีตามท้องตลาดอย ู่แล้ว ผมก็ไม่จำเป็นต้องเอามะพร้าวห้าวไปขายสวน
    เพราะต้องเสียเวลานั่งสแกนทีละแผ่น ต้องสร้างไฟล์ ต้องอัพโหลด ต้องโพสต์ ฯลฯ อะไรต่อมิอะไรสารพัด
    จะเป็นการดีถ้าคุณจะช่วยเช็คเรื่องนี้ให้ผม ถ้ามีก็อุดหนุนนักสะสมด้วยกันไปเถอะครับ
    แต่ถ้ายังไม่มีผมก็ยินดีสละเวลาทำไว้ให้เป็นประโยชน์ ในการศึกษา เพราะถ้าผมหมกเอาไว้อย่างนี้มันก็มีค่าแค่ขยะทางวิชา การ ( ผมมีเยอะแล้ว! )

  12. #86

    มาตรฐาน

    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nottingham อ่านข้อความ
    ผมเจอหนังสือแปลคู่มือประจำรถที่ว่านี้แล้วนะครับ ครบถ้วนตั้งแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย รวมทั้งสิ้น 32 หน้า
    ไล่เรียงไปตั้งแต่วิธีการปรับตั้งอานไปจนถึงวิธีการเ ดินไฟ และวิธีการดูแลรักษาสารพัดสารพัน
    � � �แต่ผมมีความรู้สึกตะหงิดๆว่า คุณทวีไทยเขาน่าจะทำแบบนี้ออกมาวางขายนานมาแล้วนะครั บ ผมมีเรื่องต้องจำเยอะและไม่ค่อยได้สนใจหนังสือที่เขี ยนโดยคนไทยสักเท่าไหร่ ก็เลยไม่ได้ติดตามว่าเขาออกอะไรมาบ้าง แต่มันเหมือนเคยเห็นแบบผ่านๆลางๆ
    ก็เลยคิดว่าหากมันมีข้อมูลเนื้อหาที่มีตามท้องตลาดอย ู่แล้ว ผมก็ไม่จำเป็นต้องเอามะพร้าวห้าวไปขายสวน
    เพราะต้องเสียเวลานั่งสแกนทีละแผ่น ต้องสร้างไฟล์ ต้องอัพโหลด ต้องโพสต์ ฯลฯ อะไรต่อมิอะไรสารพัด
    จะเป็นการดีถ้าคุณจะช่วยเช็คเรื่องนี้ให้ผม ถ้ามีก็อุดหนุนนักสะสมด้วยกันไปเถอะครับ
    แต่ถ้ายังไม่มีผมก็ยินดีสละเวลาทำไว้ให้เป็นประโยชน์ ในการศึกษา เพราะถ้าผมหมกเอาไว้อย่างนี้มันก็มีค่าแค่ขยะทางวิชา การ ( ผมมีเยอะแล้ว! )
    อย่างไรก็ได้ครับ น้า notting เอาให้ว่างๆๆ จริงๆๆ ก็ได้ครับ รอได้อยู่แล้วส่วนมีเหมือน อ.ทวีไทยหรือเปล่า ... เออๆๆ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันน่ะครับ ก็ไว้ว่างจริงๆเลยก็ได้ครับ รอได้อยู่แล้ว ขอบคุณครับผม

  13. #87
    หัวโป่'s Avatar
    วันที่สมัคร
    Mar 2006
    สถานที่
    คนบ้ารถถีบ
    ข้อความ
    1,269
    ขอบคุณ
    1
    ได้รับขอบคุณ 14 ครั้ง ใน 8 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    20

    มาตรฐาน

    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ หัวโป่ อ่านข้อความ
    ผมมองกระทู้นี้เป็นการสนธนา การแสดงความคิดเห็นของผู้คนที่น่าจะให้ความรู้ ตลอดจนการตกผลึกของข้อมูล แม้ว่าวันนี้อาจจะยังไปไม่ถึงไหนก็ตาม แต่จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีครับ
    การสัญนิษฐานหรืออ้างอิง สิ่งเกิดขึ้นมานานแล้วนั้น จำเป็นต้องใช้หลักฐานจากต้นเค้าเดิมที่เกิดขึ้น เช่น การสัญนิษฐานว่ากรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรื่อง เราก็ดูจากศิลปกรรม การก่อสร้างที่หลงเหลือ แต่หากพบวัตถุศิลปะอยุธยาที่อเมริกา ก็ไม่ได้หมายว่าอยุธยาเจริญรุ่งเรื่อง ดังนั้นการสันนิษฐานจำต้องใช้หลักฐานที่เป็นสากลมากท ี่สุดและมีความน่าเชื่อถือ การหักล้างข้อมูลมักเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น ผลการทดลองใหม่, การได้ข้อมูลใหม่เพิ่มขึ้น แต่ข้อมูลนั้นต้องมีในรูปแบบรูปธรรม


    “ถ้าใครเคยเห็น catalogue แบบเล่มใหญ่ ที่โรงงานแจกให้กับตัวแทนจำหน่าย อันนั้นมันคือมหาสมุทรเลยนะครับและตัวแทนจำหน่ายจะเล ือกนำเข้าแต่เฉพาะที่เขาเห็นว่าขายได้ จะสั่งทั้งหมดที่ปรากฏคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นรูปแบบการประกอบจักรยานจึงมีความแตกต่างของรา ยละเอียดปลีกย่อย ตามแต่ตัวแทนจำหน่ายในแต่ละพื้นภูมิภาค”

    มันมีจริงหรือเป็นเพียงความรู้สึกว่าน่าจะมี ถ้ามีขอแสดงหลักฐานชัดๆเลยครับ ผมมีเพื่อนใน Face Book เป็นคนอินโดนีเซีย เขามีราเล่ห์สีเดิม ก็เหมือนในแคทตาล็อกที่อังกฤษพิมพ์
    กล่าวถึงสมุดบำรุงรักษารถมันมีอยู่ตลอดทุกช่วง แทบจะสอนวิธีการต่างๆจนหมด เล่มเหล่านี้กระจายไปทั่วโลก จะแปลเป็นภาษาไหนก็ได้ เพื่อให้ผู้เป็นเจ้าของรถรู้ แต่หากจะมีเซลแมนเสนอขายรถในรูปแบบที่ประหยัด หรือตามความชอบของลูกค้าของแต่ละภาค แล้วให้ช่างประกอบแบบตามนี้ แล้วยึดถือเป็นอ้างอิงอันนี้อาจจะหลวมไปหน่อย ยกตัวอย่างความแตกต่าง เช่น ทำไมรถในภาคใต้ส่วนเป็นเบรกขอบ แล้วทำไมในภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นเบรกดุม เรื่องนี้คุยกันมานานละในบอร์ดนี้ มันไมได้มีอะไรถูกต้องที่สุด เพราะยุคหนึ่งมนุษย์เชื่อว่าโลกแบน มีเพียงคนเดียวที่ไม่เชื่อคือ กาลิเลโอ

    Name:  HB 1940.jpg
Views: 403
Size:  32.5 KB 1940
    เล่มนี้ก็เต็มเล่มครับ มี 60 หน้า ครบทุกหน้า(61รวมปก) เฉพาะยี่ห้อเดียวก็หลากหลายรูปแบบ หลากหลายปี ยังมียี่ห้ออื่นอีกให้ศึกษานับไม่ถ้วน อย่าง BSA นี่ผมอ่านทั้งจักรยาน และมอเตอร์ไซด์ แกะไปถึง Manual ผสมกับการทดลองจริง เล่นคนเดียวก็สนุกครับ ไม่ต้องไปจำเล่นจำอวดใคร
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หัวโป่ : 03-09-2012 เมื่อ 07:34
    "ถ้าชอบ ก็ทำเถิด แต่อย่าทำให้คนอื่นเค้าเดือดร้อนนะลูก"

  14. #88
    Junior Member
    วันที่สมัคร
    May 2006
    ข้อความ
    34
    ขอบคุณ
    1
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    0

    มาตรฐาน

    การศึกษาจาก manual มันก็คือทิศทางการประกอบที่ถูกต้องตามมาตรฐานจากโรงง าน ที่เราปฏิเสธไม่ได้เพราะมันเป็นศาสตร์ที่ชัดเจน
    แต่ในทางปฏิบัติจริง ผมกลับมองว่าการประกอบจักรยานโบราณมันเป็นศิลป์นะครั บ คือมันเป็นศาสตร์อ่อน ที่ต้องอาศัยความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนและการสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา
    ผมใช้เวลาขลุกอยู่ในร้านประกอบจักรยานโบราณอยู่ประมา ณ 5 ปี เรียนรู้และซึมซับเทคนิคจากเซียนช่างที่หัดประกอบจัก รยานอังกฤษตั้งแต่ 8 ขวบ จนเข้าสู่บั้นปลายชีวิต
    ถึงได้เข้าใจว่าการสร้างสรรค์รถสักคันให้มีความสมบูร ณ์สูงสุดเต็มศักยภาพของมัน ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพียงแค่เปิดคู่มือและปฏิบัติตามตำราอย่างเดียวมันคง ไม่พอ
    รถมาร้อยคัน ก็มีร้อยอาการ ต่อให้เพิ่งแกะออกจากลังเอี่ยมๆ ก็ยังต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจที่ไม่ปรากฏอยูในหนั งสือคู่มือใดๆ เริ่มตั้งแต่การตั้งศูนย์ตัวถัง ที่พลิกกันจนหมดเล่มก็หาไม่เจอ ยิ่งการรองแหวนดุมล้อยิ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนถึงขั ้น เมื่อรถนิ่งที่สุดแล้วต้องถ่ายรูปเอาไว้เผื่อเวลาต้อ งถอดเปลี่ยนล้ออีกครั้งจะได้ไม่ยุ่งยาก ว่ารองข้างซ้ายกี่วง?ข้างขวากี่วง? ซึ่งมีความจำเป็นที่ไม่ปรากฏในหน้ากระดาษแต่อย่างใด
    ความละเอียดอ่อนของการประกอบมันสามารถลงลึกไปได้ถึง การนวดซี่ลวดหลังการขึ้นวงล้อใหม่ๆ
    นี่ยังไม่ต้องพูดถึงระบบขับเคลื่อนเช่น ลูกปืน หรือ ภายในเกียร์ที่จารบีเริ่มแข็งแล้ว ยิ่งลวดตัว R ที่ต้องเปลี่ยนแน่นอน แต่จะไปหาได้ที่ไหน? นอกจากความสามารถในการดัดแปลงของช่างที่หนังสือ manual เมื่อ 60 ปีที่แล้วไม่ได้คำนึงถึง
    ดังนั้นค่าประสบการณ์จึงสำคัญสูงสุดสำหรับผม ส่วนแมนน่วลเหมาะกับการวางไว้ประดับบารมีคู่กับอะไหล ่ในตู้โชว์มากกว่า

  15. #89
    crank's Avatar
    วันที่สมัคร
    Jul 2007
    สถานที่
    ka*ma*rom
    ข้อความ
    1,428
    ขอบคุณ
    6
    ได้รับขอบคุณ 9 ครั้ง ใน 8 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    18

    มาตรฐาน

    [SIZE=4]ทุกเรื่องที่กล่าวมาเป็นเรื่องที่น่าสนใจแทบทั้งสิ้น ในวาระนี้ขอความกรุณาเป็นเรื่องจานก่อนนะครับ รายละเอียดที่มีความเกี่ยวพันกับส่วนอื่นๆ ขอให้หยิบยกประกอบเพียงสั้นๆ ถ้าเป็นไปได้อยากให้แตกเป็นหัวข้อใหม่ไปเลยครับ ตั้งกระทู้ใหม่ได้ เช่นเรื่องซี่ลวด เรื่อง เบรค และลายน้ำ รวมถึงการประกอบ เทคนิคและทิป ต่างๆ ฯลฯ จะได้มีหัวข้อที่สามารถสืบค้นได้เป็นหมวดๆๆเป็นเรื่อ งๆๆคนที่มีข้อมูลสามารถมาเพิ่มเติมได้เรื่อยๆ เนื่องด้วยทุกท่านก็ได้สละเวลา ร่วมสังคายนาเรื่องจานแล้ว คนที่เพิ่งเข้ามาทีหลังจะได้ไม่งงไม่หลงประเด็น ส่วนเรื่องประสบการณ์อื่นก็อยากให้ตั้งหัวกระทู้ใหม่ เช่นกันครับเพระาในหัวข้อนี้มีความสนุกปนความเศร้าเค ล้าน้ำตา ผู้อ่านก็จะได้รับความเพลิดเพลิน มากกว่า

    ขอความกรุณาด้วยนะครับ ขอเน้นเรื่องจานให้จบ เป็นวาระแรก ก่อน[/SIZE]
    Meine Ehre heist Treue
    crank High voltage

  16. #90
    255289's Avatar
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    สถานที่
    @ เจียงใหม่
    ข้อความ
    683
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    16

    มาตรฐาน


    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ crank อ่านข้อความ
    [SIZE=4]ทุกเรื่องที่กล่าวมาเป็นเรื่องที่น่าสนใจแทบทั้งสิ้น ในวาระนี้ขอความกรุณาเป็นเรื่องจานก่อนนะครับ รายละเอียดที่มีความเกี่ยวพันกับส่วนอื่นๆ ขอให้หยิบยกประกอบเพียงสั้นๆ ถ้าเป็นไปได้อยากให้แตกเป็นหัวข้อใหม่ไปเลยครับ ตั้งกระทู้ใหม่ได้ เช่นเรื่องซี่ลวด เรื่อง เบรค และลายน้ำ รวมถึงการประกอบ เทคนิคและทิป ต่างๆ ฯลฯ จะได้มีหัวข้อที่สามารถสืบค้นได้เป็นหมวดๆๆเป็นเรื่อ งๆๆคนที่มีข้อมูลสามารถมาเพิ่มเติมได้เรื่อยๆ เนื่องด้วยทุกท่านก็ได้สละเวลา ร่วมสังคายนาเรื่องจานแล้ว คนที่เพิ่งเข้ามาทีหลังจะได้ไม่งงไม่หลงประเด็น ส่วนเรื่องประสบการณ์อื่นก็อยากให้ตั้งหัวกระทู้ใหม่ เช่นกันครับเพระาในหัวข้อนี้มีความสนุกปนความเศร้าเค ล้าน้ำตา ผู้อ่านก็จะได้รับความเพลิดเพลิน มากกว่า

    ขอความกรุณาด้วยนะครับ ขอเน้นเรื่องจานให้จบ เป็นวาระแรก ก่อน[/SIZE]
    ขอบคุณ คุณ crank เป็นอย่างสูงครับ ที่ดึงเข้าสู่ประเด็นจานอีกครั้ง ผมติดตามกระทู้นี้มาตั้งแต่ต้น อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องจานและเพิ่มรอยหยั ก
    แต่..พักหลังๆ อ่านไป งงไป ตีความเองว่ามันจะออกไปในทาง มุมมองการเล่น ประสบการณ์มากกว่า ซึ่งผมว่าถ้าคุยกันถึงเรื่องนั้น มหากาพย์เลยครับ ยาวแน่ๆ
    วกเข้ามาเรื่องจาน (ส่วนตัว)ผมว่ามันก็ใกล้แล้วครับ จากหลักฐานประกอบ และอ้างอิง
    Email: [email protected] [email protected]
    โทร. 081-0309924"โย" [COLOR="#008000"]
    Bank account: ธ.กรุงไทย สาขาแม่โจ้ 375-0-00030-1
    ธ.กรุงเทพ สาขาตลาดมีโชค 675-0-12503-8

    นอน ในท่าที่อยากนอน..

    [IMG][/IMG]

หน้าที่ 6 จากทั้งหมด 9 หน้า แรกแรก 1 2 3 4 5 6 7 8 9 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Bookmarks

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •