เมื่อช่วงต้นปี 2012 HTC ได้ส่ง ตระกูล One ออกมาลุยตลาด Android ทุกส่วน เมื่อมันมีอายุได้พอสมควร มันก็ถึงเวลาของรุ่นไมเนอร์เชนจ์ หรือการปรับสเปคของตัวท็อปอย่าง HTC One X ที่มาในชื่อใหม่ว่า HTC One X+ ครับ ความสดใหม่ของมันก็คือการปรับ CPU มาเป็น Nvidia Tegra 3+ (AP37) ที่รองรับ LTE ในตัว ส่วนนอกนั้นคือการลบจุดด้อยของ HTC One X ออกทั้งหมด วันนี้ผมก็จะมารีวิวแบบสั้นๆ แต่ล้วงตับแบบหมดใส้หมดพุงให้ดูกันครับ
หมายเหตุ: ตัวเครื่องนี้เป็นตัวเครื่องให้ยืมจากทาง HTC ซึ่งมันผลิตในไต้หวัน เพราะฉะนั้น อย่าคาดหวังอะไรกับตัวเครื่องขายจริงที่จะมาจากประเท ศจีนครับ ผมเชื่อว่างวด HTC One X ทำหลายคนเจ็บมาเยอะพอสมควร (ซึ่งผมก็คือหนึ่งในนั้น T_T)

ตัวเครื่องและรูปลักษณ์ภายนอก

ตัวเครื่องของ One X+ เรียกได้ว่าเหมือน One X อย่างกับแกะครับ! เพียงแต่วัสดุที่ใช้ จะเป็นพลาสติกผิวด้าน ต่างกับ One X ที่เป็นพลาสติกผิวกึ่งมัน ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนเป็นโพลีคาร์บอนเนตกว่าตัวแร ก ถือแล้วหลุดมือยากพอสมควรครับ (เจ๋ง!! TwT!!) และจุดที่แตกต่างอีกอย่างคือวางตำแหน่งคลาดเคลื่อนกั นในบางจุดเท่านั้น ผมเทียบให้ดูกับ One X เยินๆ ของผมไปเลยดีกว่าครับ ว่าต่างกันตรงไหน :P
ด้านหน้าเปลี่ยนจาก Gorilla Glass 1 มาเป็น Gorilla Glass 2 เห็นเขาว่าทนกว่าเดิม แต่ผมก็ไม่กล้าขูดอยู่ดี ส่วนด้านบน กล้องหน้าเพิ่มความละเอียดจาก 1.3 ล้านพิกเซล ไปเป็น 1.6 ล้านพิกเซล และปุ่มสัมผัสด้านล่างที่ฉาบสีแดงสด แทนสีขาวในรุ่นเดิม

ด้านหลังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ยกเว้นกล้องหลักเล่นขอบดำ/แดงแทน และโลโก้ HTC ที่เล่นสีเข้มขึ้น

ส่วนด้านซ้าย/ขวา/บน/ล่าง ยังคงวางปุ่มและพอร์ตต่างๆ เหมือน One X ครับ ไม่มีเปลี่ยนแปลง
หน้าจอ

หน้าจอของ One X+ ยังคงเป็น Super LCD 2 หรือ AH-IPS แบบรุ่นแรกครับ ความแตกต่างเมื่อเทียบด้วยตาเปล่า สีของ One X+ จะอ่อนและออกไปทางโทนสีฟ้ามากกว่า One X ที่ออกไปในโทนสีเหลืองพอสมควร


ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ของ One X+ (และรอมเวอร์ชันใหม่ของ One X) นั้นจะเป็น Android 4.1.1/Sense 4+ ครับ สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดคือ หน้า Home Screen กลับมาหมุนได้รอบเหมือน Sense 3.0 อีกแล้ว (นั่นหมายความว่า Wallpaper ไม่เลื่อน ล็อกอยู่กับที่) และที่สำคัญคือตัวเลือก Beats Audio ถูกย้ายไปอยู่ในเมนู Settings แทนในแอพฯ Music แล้ว ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการตั้งค่าและตรงตามเป้าหมายม ากขึ้นครับ
นอกจากนั้นก็ได้ปรับ Theme จากสีเขียวที่เคยเป็นเอกลักษณ์ของ HTC มาตั้งแต่สมัยก่อน เป็นสีฟ้าให้ใกล้เคียง Holo UI มากขึ้น และตัด 3D Effect ออกเกือบทั้งหมด เรียกได้ว่า Sense 4+ นี่คือการลดระดับไปหา One V และ Stock Android 4.x จริงๆ ครับ แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ผลตอบแทนที่ได้มาก็คือความลื่นที่มากขึ้น และด้วยพลังของ Project Butter ของ Android 4.1 ก็ทำให้ UI ลื่นขึ้นเข้าไปอีกเท่าตัวเลยครับ และนอกจากนี้สิ่งที่หลายๆ คนเรียกร้องให้กลับมาตั้งแต่ One X เปิดตัว นั่นก็คือระบบ Power Saver ก็ถูกนำกลับมาแล้วเช่นกันครับ โดยสามารถเปิด-ปิดโหมดนี้ได้ตลอดเวลา ไม่เหมือนกับ Sense 2.x และ 3.x ที่จะเปิดเองโดยอัตโนมัติเมื่อแบตเตอรี่เหลือถึงจุดท ี่กำหนด


ส่วนข้อเสียจังๆ ที่ผมเจอเลยก็คืออย่างที่บอกไปตอนแรกว่า Sense 4+ หน้า Homescreen กลับมาวนรอบได้ มันก็จริงอยู่ครับ แต่การตั้งค่าไม่ได้เปลี่ยนไปด้วยเลย ยังคงคอนเซปท์เดิมของ Sense 4.1 อยู่เหมือนเดิม นั่นหมายความว่าจะไม่สามารถใช้รูปถ่ายในแนวตั้งเต็มๆ มาเป็น Wallpaper ได้ครับ เดี๋ยวผมยกตัวอย่างเทียบกับ Sense 3.x ใน Desire HD ให้ดูละกันครับ

ที่สำคัญ One X+ (รวมถึง One X และ One S ที่อัพเดต Sense 4+ แล้ว) จะสามารถใช้งาน PlayStation Mobile ได้แล้วครับ เย๊~

เสียง


สำหรับเสียงของ One X+ ยังคงใช้ฟีเจอร์เดิมของ One X ครับ คือเป็น Beats Audio แบบ Full-Integrated ไปทั้งระบบปฏิบัติการ ในด้านคุณภาพถือว่าทำการบ้านและปรับปรุงมาดีมากขึ้น เสียงของ One X+ จะออกนุ่มและเบสจะค่อนข้างลึกมากขึ้น แต่กลับกัน เมื่อปิด Beats Audio ... คุณภาพเสียงของ One X+ ผมให้ 1/10 จาก 10/10 เลยครับ เสียงจะออกไปทาง Flat โทนเดียวครับ และที่สำคัญไม่มี Equalizer สำหรับการปรับแต่งโทนเสียงมาให้ด้วยครับ
ส่วนการตอบสนองของ Beats Audio ในโปรแกรมอื่นนั้น ยังคงทำได้ดีพอสมควรเหมือน One X เลยครับ และที่สำคัญ ลำโพงหลักเสียงดังกว่า One X ด้วย แต่เวลาวางบนวัสดุที่ซับเสียง (เช่นผ้า) ก็เบาหวิวเหมือนเดิมครับ
กล้อง


ตัวกล้องของ One X+ ไม่มีอะไรแตกต่างจาก One X ครับ เพราะว่าเป็นโมดูลตัวเดียวกัน แต่หลังจากลองเล่นไปสักพัก ผมพบว่ากล้องของ One X+ ตอบสนองเร็วกว่า One X พอสมควร และให้ภาพคมชัดกว่า One X ในระดับหนึ่ง และนอกจากนั้นสิ่งที่ One X ทำไม่ได้ One X+ ทำได้หมดแล้วครับ
ส่วนที่เปลี่ยนไปก็คือกล้องหน้าเพิ่มความละเอียดจากเ ดิมที่ 1.3 ล้านพิกเซล มาเป็น 1.6 ล้านพิกเซล ผลก็คือทำให้ภาพออกมาชัดกว่าเดิมพอสมควร ปรับสภาวะกับแสงได้ดีพอสมควร และสามารถอัดวีดีโอโดยใช้กล้องหน้าที่ความละเอียด 1280*720 พิกเซลได้แล้วด้วยครับ

ถ่ายปกติ

ถ่ายโดยใช้แฟลช
หมายเหตุ: ซ้าย One X ขวา One X+ ทั้งสองรูปถ่ายโดยใช้โหมด Auto ซีนปกติ

ถ่ายโดยกล้องหน้า
ภาพตัวอย่างที่ผมไปถ่ายๆ มา นอกเหนือจากตัวอย่างข้างบนนี้ ผมอัพไฟล์เอาไว้ใน SkyDrive ทั้งหมดแล้ว ก็ตามไปดูกันได้ครับ
ส่วนการบันทึกวีดีโอ ในช่วงแรก One X มีปัญหาเรื่องการอัดวีดีโอครับ โดยอัดได้ไม่เต็มความละเอียด 1080p (output ออกมาเป็น 1920*1088 พิกเซล) ดังนั้นปัญหานี้จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่ HTC ต้องตามมาแก้ใน One X+ ซึ่งก็ให้ผลลัพธ์ในทางที่ดีขึ้น ผมได้ถ่ายวีดีโอตอนเล่นเกมเอาไว้ ก็ลองดูและสังเกตความเปลี่ยนแปลงดูแล้วกันครับ

การใช้งาน


ด้วยความที่ตัว CPU ของ One X+ นั้นเปลี่ยนมาเป็น Nvidia Tegra 3+ (AP37) โดยมีความถี่ 1.7 GHz นั้น เมื่อเอามาใช้งานจริงถือว่าทำได้เร็วพอสมควรครับ เข้า-ออกแอพพลิเคชั่นได้อย่างราบรื่นขึ้น และยังสามารถเรนเดอร์ Video ความละเอียด 1080p ได้อย่างเต็มที่อีกด้วย โดยรวมแล้วประสิทธิภาพการใช้งานถือว่าพอสมควรครับ

นอกจากนั้นมันมาพร้อมกับพื้นที่ภายใน 64 GB ที่ไม่แบ่งแยกพาร์ทิชัน นั่นหมายความว่า เมื่อคุณต้องการทำ Factory Reset รูปภาพ, วีดีโอ, ข้อมูลแอพฯ, เพลง, ไฟล์ข้อมูลผู้ใช้ทั้งหมด "จะหายไปด้วย!" เพราะฉะนั้น โปรดระวังด้วยนะครับ ส่วนพื้นที่ในเครื่อง จะถูกดึงไปใช้สำหรับระบบประมาณ 8.7 GB และเหลือให้ใช้ประมาณ 55.2 GB ครับ

และที่สำคัญ One X+ จะมองตัวเองเป็น Media Device ด้วย เมื่อนำไปเสียบบนคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้อง Mount ให้เป็น Flash Storage แล้ว ระบบจะจำลองสภาพ Portable Media Device เข้ามา และสามารถจัดการไฟล์ได้โดยตรง ถึงแม้ว่าเราจะฟังเพลง หรือเล่นเกมอยู่ก็ตาม


และที่เด็ดสุดๆ ก็คือในการตั้งค่าตอนแรก ตัว One X+ จะเสนอช่องทาง HTC Get Started ให้ โดยผู้ใช้จะได้รับ URL สำหรับเข้าหน้าโฮมเพจเพื่อเริ่มต้นการตั้งค่า โดยสามารถใช้งานย้อนหลังได้กับตระกูล One ทุกตัวที่ได้อัพเดตเป็น Android 4.1.1 แล้ว (เท่าที่ผมดูๆ รุ่นที่ใช้งานได้คือ One X+, One X และ One S Special Edition) โดยการตั้งค่า เริ่มแรกระบบจะให้ล็อกอินเข้าระบบด้วย HTC Sense Account แล้วจากนั้นก็เริ่มการตั้งค่าผู้ใช้ ซึ่งเป็นการลัดขั้นตอนการตั้งค่าพวกชื่อผู้ใช้งานในข ั้นตอนสุดท้าย รวมทั้งตั้งค่าวอลเปเปอร์ และลักษณะการปรับแต่งส่วนตัวทั้งหมดเอง หลังจากนั้นผู้ใช้เพียงแค่ล็อกอิน HTC Sense Account ในตัวเครื่อง ระบบก็จะไปดึงการตั้งค่าบนหน้าเว็บมาจัดการบนเครื่อง ให้ในทันทีครับ ถือว่าสะดวกพอตัวเลยทีเดียวครับ

แบตเตอรี่


One X+ เคลมมาตั้งแต่ต้นว่า สามารถใช้งานได้ถึกกว่า One X ถึง 50% แต่เมื่อมาเจอของจริง มันก็ต้องทดสอบแบบตาต่อตาฟันต่อฟันสิครับ งานนี้ผมเลยทดสอบด้วยการใช้งานจริงเหมือนที่ผมใช้ One X อยู่ในแต่ละวัน ซึ่งสรุปคร่าวๆ ก็คือดึงสายแบตออกในตอนเช้า สลับกันเล่นเน็ต (3G+WiFi) เปิด 3G แบบ Always On ตั้งค่าโหมดเครือข่ายเป็น WCDMA Only เพื่อป้องกันการสลับกลับไปเสา TrueMove ใช้โทรศัพท์บ้างเล็กน้อย ถ่ายรูปเล่นๆ สัก 7-8 รูป และฟังเพลงเกือบทั้งวัน ปรากฎว่าเวลาบ่ายสองกว่าๆ แบตเริ่มเตือนเป็นสีเหลือง (ประมาณ 20%) แล้ว แต่ยังไม่ตัดเข้าโหมด Battery Saver เอง ซึ่งหลังจากนั้นก็ลงไปอยู่ที่ 14% ผมจึงเสียบสายชาร์จทันที
ทำให้สรุปได้ว่าแบตเตอรี่ใช้งานได้ทนกว่า One X จริง! เพราะผมใช้งาน One X ในแต่ละวัน ไม่เกิน 10 โมงมันก็ร้องหาที่ชาร์จแล้วครับ (ผมเล่นค่อนข้างโหดน่ะ) แต่สิ่งที่ยังคาใจอยู่ก็คือ ผมไม่รู้ว่าในรอมเวอร์ชันนี้ HTC แก้ไขปัญหา Power Controller แล้วหรือยัง แต่ผมว่ายังนะ เพราะตัวเครื่องค่อนข้างกินแบตพอสมควรในขณะที่ผมเล่น 3G อยู่ แต่พอปล่อยให้เป็น Idle ก็จะกินแบตในช่วงแรก ก่อนแบตจะนิ่งอยู่อย่างนั้นครับ

การทดสอบประสิทธิภาพ

ขอใช้ผล Benchmark เป็นตัววัดละกันครับ

  • Quadrant Standard - 7271
  • AnTuTu Benchmark - 13044
  • Vellamo HTML5 - 1856
  • Vellamo Metal - 519


หมายเหตุ: รอมดังกล่าวเป็นรอมที่ยังไม่ใช่ตัวขายจริงน่ะครับ ของจริงอาจจะทำได้มากกว่านี้ด้วยซ้ำ :P
สรุป


HTC One X+ อาจจะเรียกได้ว่าเป็น HTC One X ที่ทำ "เกือบ" เสร็จแล้วก็เป็นได้ อะไรหลายๆ ในตัวเครื่องถูกปรับให้มันดีขึ้น แต่บางอย่างก็ไม่น่าให้อภัยจริงๆ เช่นเรื่อง Google Now ที่ไม่ออกเสียงพูดเลยแม้แต่น้อย แต่ก็อย่างว่า เครื่องในมือผมยังเป็นรอมที่ยังไม่ใช่ตัววางขายจริงค รับ อาจจะมีการปรับเปลี่ยนจากตรงนี้ได้อีกมากพอสมควร ถ้าไม่ติดขัดอะไรกับราคาที่ขอเปิดมาเท่า One X รุ่นแรก คือ 21,900 บาท (ในขณะที่ One X รุ่นแรกก็ตัดราคาลงพอสมควร ซึ่งราคาที่ยังไม่ยืนยันในตอนนี้คือ 16,900 บาทครับ) ได้ตัวเครื่องที่ดีขึ้น แบตที่ดีขึ้น รวมถึงความจุแบบเต็มที่ 64 GB ก็ขอเชิญเก็บพิจารณาไว้ในใจได้อีกรุ่นครับ
ข้อดี

  • ความบางและเบาเหมือนรุ่นก่อนหน้า
  • CPU Quad-Core ที่ความเร็ว 1.7 GHz ช่วยในเรื่องการประมวลผลได้ดีขึ้น
  • ลูกเล่นการออกแบบเส้นสายตัวเครื่องให้จี๊ดมากขึ้น
  • ผิวสัมผัสของพลาสติกที่เกาะมือผู้ใช้มากขึ้น
  • แบตเตอรี่ทนสมคำร่ำลือ!

ข้อด้อย

  • ปัญหาต่างๆ ใน One X ยังคงมีอยู่ใน One X+ ครบ !! เดี๋ยวผมจะ List ให้ดูตอนท้ายครับ
  • ร้อน!!!! แต่ไม่ร้อนจนถึงกับลวกมือผู้ใช้เหมือนตัวที่แล้ว

ถ้าเกิดจะถามผมว่า ระหว่าง One X กับ One X+ จะเอาอะไรดีล่ะ ผมขอทิ้งโน้ตไว้อย่างนี้ละกัน เพราะผมเชื่อว่า ความชอบและความต้องการของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน

  • ถ้าคุณไม่ห่วงเรื่องแบต พื้นที่ใช้งาน+ซีพียูความเร็วพอใช้ได้ และอยากได้สีขาว => HTC One X คือคำตอบของคุณ
  • ถ้าคุณต้องการแบตทนๆ พื้นที่ใช้งานไม่จำกัด ซีพียูแรงๆ => HTC One X+ คือคำตอบของคุณ

แค่นี้แหละครับ

ปัญหาเก่าๆ ของ HTC One X ??

อย่างที่บอกว่ารุ่นนี้คือตัวไมเนอร์เชนจ์ของ HTC One X ดังนั้นปัญหาต่างๆ ผู้อ่านอาจจะคิดว่าเมื่อ HTC เปิดตัวรุ่นใหม่ที่มันดีกว่าเดิม ดังนั้นมันก็ควรแก้ไขปัญหาของรุ่นเก่าให้หมดด้วยใช่ไ หมครับ ผมว่าไม่นะ เราลองมาไล่ๆ ดูกันว่าปัญหายอดฮิตที่เคยเป็นข่าวใน Blognone ของ HTC One X จะยังคงตามมาใน HTC One X+ หรือไม่
ปัญหา Wi-Fi Dead
ข่าวเก่า: HTC ยอมรับ One X รุ่น Tegra มีปัญหาสัญญาณ Wi-Fi เป็นบางเครื่อง
Wi-Fi Drop&Dead ตามข่าวผมไม่เจอครับ แต่ที่เจอจังๆ เลยก็คือ Deathgrip ครับ HTC One X+ ใช้วิธีการวางตำแหน่งของตัวรับสัญญาณเหมือนรุ่นแรกทุ กประการครับ ดังนั้นเมื่อเอามือไปป้องไว้ตรงบริเวณพอร์ต Micro USB สิ่งที่จะเจอก็คือ Wi-Fi ลดต่ำลงอย่างมาก โดยขั้นที่เลวร้ายที่สุดก็คือหลุดหายไปเลย แต่สิ่งที่ดีขึ้นคือ ใช้เวลาในการเชื่อมต่อเข้าระบบไวขึ้นพอตัวครับ
ปัญหา Driver ของ Nvidia Tegra 3
ข่าวเก่า: ปัญหาซอฟต์แวร์ของ HTC One X ทำแบตหายไป 10-20%
ผมลองไล่เช็ค System Files ดูแล้ว พบว่าไฟล์ NvCPLSvc.apk หายไปครับ หายไปจากทั้ง /System/bin และ /System/apps เลย งานนี้ผมเลยไม่กล้าพูดอะไรมาก เพราะยังไม่แน่ใจว่า Nvidia เอาไฟล์นี้ออก หรือฝ่าย HTC เป็นคนเอาไฟล์ดังกล่าวออกไปครับ


อ่านต่อ...