ข่าวใหญ่ประจำวันนี้คือบริษัทอินเทลได้ส่งจดหมายข่าว ว่า Paul Otellini ซีอีโอของบริษัทที่ทำงานมาตั้งแต่ปี 2005 จะลาออกโดยมีผลในเดือนพฤษภาคมปีหน้า
พร้อมกับการเตรียมการลาออกของซีอีโอ อินเทลก็เลื่อนตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายสามคนขึ้นมารับตำแห น่งรองประธานบริษัทพร้อมๆ กัน ได้แก่ Renee James หัวหน้าฝ่ายธุรกิจซอฟต์แวร์, Brian Krzanich หัวหน้าฝ่ายปฎิบัติการ (COO) และหัวหน้าฝ่ายการผลิตทั่วโลก, สุดท้ายคือ Stacy Smith หัวหน้าฝ่ายการเงินและกลยุทธ์บริษัท ส่วนตัว Otellini จะทำงานในช่วงส่งผ่านต่อไป และคงตำแหน่งที่ปรึกษาหลังจากออกจากตำแหน่งซีอีโอไปแ ล้ว
กระบวนการต่อจากนี้คือบอร์ดบริหารจะเริ่มสรรหาคนเข้า มาดำรงตำแหน่งซีอีโอต่อไป โดยจะเปิดพิจารณาทั้งคนภายในและภายนอก นับเป็นกระบวนการที่ต้องจับตาเป็นอย่างยิ่งเพราะที่ผ ่านมา อินเทลมีซีอีโอมาแล้วเพียง 5 คนเท่านั้น

ภายใต้การบริหารของ Paul Otellini เราได้เห็นการปฎิวัติอินเทลครั้งใหญ่ จากการรับช่วงต่อจาก Craig Barrett (อยู่ในตำแหน่ง 1997-2005) ในยุคที่เราเห็นความสับสนของอินเทลครั้งใหญ่
อินเทลในยุคของ Barrett คือยุคที่อินเทลไม่เชื่อใน x86 อีกต่อไป หลังจาก x86 ครองโลกพีซีอย่างเบ็ดเสร็จมานานกว่าสิบปี อินเทลเริ่มไม่มั่นใจว่า x86 จะสามารถไปรอดและพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มที่แข็งแกร่งได้ห รือไม่ Barrett จึงทุ่มเททรัพยากรลงไปกับการพัฒนาสินค้าสองสายทาง ทางหนึ่งคือ Intel XScale ที่ได้มาจากการซื้อกิจการ StrongARM จากบริษัท Digital Equipment ตั้งแต่ปี 1998 เริ่มวางขายตัวแรกตั้งแต่ปี 2002 อีกทางหนึ่งอินเทลมุ่งสู่เครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง กว่าด้วยสถาปัตยกรรม Itanium หรือ IA-64 ที่ถูกตั้งชื่อมาเพื่อเป็น "ตัวต่อไป" ของ x86 ที่เป็น IA-32

ประมาณการยอดขายของ Itanium นับแต่เปิดตัว (ภาพโดย Ctrl alt delboot)
แต่โลกในยุคนั้นยังไม่พร้อมสำหรับ ARM ที่ยังมีประสิทธิภาพต่ำเกินไป ขณะเดียวกันเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ข้ามสถาปัตยกรรม ชิปก็ยังไม่พร้อมสำหรับการก้าวกระโดดไปยังสถาปัตยกรร มใหม่ Itanium ถูกตั้งคำถามว่ามีประสิทธิภาพดีกว่า x86 จริงหรือไม่ เครื่องคอมไพล์เลอร์ที่ยังมีพัฒนาการไม่สูงพอ ไม่สามารถรีดประสิทธิภาพซอฟต์แวร์ออกมาได้อย่างที่นั กออกแบบฮาร์ดแวร์ฝันไว้ (ความเห็นของ Donald E. Knuth)
ทรัพยากรที่ถูกดึงออกไปจาก x86 ขณะเดียวกันมวยรองอย่างเอเอ็มดีก็เข้ามายื่นทางเลือก ให้กับลูกค้าของอินเทลด้วยสถาปัตยกรรม AMD64 เป็นทางเลือกที่นิ่มนวลกว่า ด้วยความสามารถในการรันซอฟต์แวร์ x86 เดิมได้ทั้งหมด และสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่เป็นสถาปัตยกรรม 64 บิตที่ใช้แรมเกิน 4GB ได้และยังรันอยู่บนเครื่องเดียวกัน ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของเอเอ็มดีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จุดสูงสุดของเอเอ็มดีนั้นสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้ถ ึง 17% ในปี 2006 ปีแรกแห่งการทำงานของ Otellini และภายหลังอินเทลต้องยอมกลับมาใช้ AMD64 โดยใช้ชื่อการตลาดว่า EM64T โดยไม่เคยยอมเรียกว่า AMD64 เลยจนกระทั่งช่วงหลังตลาดเริ่มยอมรับชื่อ x86-64 ซึ่งเป็นชื่อกลางๆ มากขึ้น
Paul Otellini เข้ามารับช่วงต่อจาก Barrett เขาลงมือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริษัทอย่างรวดเร็ว เขาขายกิจการ XScale ออกไปให้ Marvell ในเดือนมิถุนายน 2006 หลังเข้ารับตำแหน่งเพียงปีเดียว และลดพนักงานออกไปถึง 10% นับเป็นการปลดพนักงานครั้งใหญ่ที่สุดของอินเทล

การยุบสายการพัฒนา x86 หลังยุค Otellini ที่เหลือเพียงสายเดียว (ภาพโดย Matthew Anthony Smith)
พร้อมๆ กับการทิ้งกิจการ ARM อินเทลยุบสายการพัฒนาซีพียู x86 ลงเหลือสายเดียว จากเดิมมีถึง 5 สาย แนวทางการพัฒนาซีพียูสายเดิมเป็นจังหวะ สลับฟันปลาระหว่างการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมกับการเปลี่ย นเทคโนโลยีการผลิต ทำให้อินเทลมีสินค้าใหม่ออกวางตลาดได้ทุกปีจนได้ชื่อ ว่าเป็นโมเดลการพัฒนาแบบ Tick-Tock ด้วยแนวทางการพัฒนานี้ เราจะเห็นชิปอินเทลรุ่นเดสก์ทอปเปิดตัวในช่วงปีใหม่ รุ่นโน้ตบุ๊กเปิดตัวในอีกเดือนถึงสองเดือนต่อมา รุ่นเซิร์ฟเวอร์ราคาประหยัด (E3) เปิดตัวในช่วงไตรมาสสาม และเซิร์ฟเวอร์รุ่นกลาง (E5) เปิดตัวในปลายปี เป็นรอบการพัฒนาที่เป็นวงจรอย่างเป็นระบบ
ขณะที่อินเทลทิ้ง ARM ออกไป Otellini ก็อนุมัติโครงการพัฒนาซีพียูประหยัดพลังงานบนสถาปัตย กรรม x86 เอง ข่าวเริ่มออกมาในช่วงปี 2007 เมื่อโครงการ One Laptop Per Child ถูกจับตามองจากสื่อทั่วโลก เอเอ็มดีนั้นมีชิป Geode ที่แม้จะประสิทธิภาพไม่ดีนัก แต่ก็สามารถจำกัดปริมาณพลังงานได้พอที่จะใช้งานบนเคร ื่อง OLPC สื่อเริ่มตั้งคำถามว่าอินเทลจะมีอะไรมาสู้กับ Geode หรือไม่ ในที่สุดอินเทลก็เปิดเผยการพัฒนาชิป Diamondville พร้อมๆ กับที่ Atom ยังไม่พร้อม อินเทลก็เปิดตัว Classmate PC ที่ใช้ชิปของ Celeron ลดสัญญาณนาฬิกาลงเพื่อลดการใช้พลังงานและส่งพิมพ์เขี ยวให้กับ Asus เพื่อผลิตสำหรับตลาดอื่นนอกตลาดการศึกษา กลายเป็น Asus Eee PC 700 ที่เป็นต้นกำเนิดของตลาดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเหมาะสำห รับการพกพาในราคาถูก

ยอดขายเน็ตบุ๊กในปี 2008 ต่อตลาดโน้ตบุ๊กรวม (ภาพโดย Kozuch)
ในปี 2008 เป็นปีแห่ง Atom อย่างแท้จริง ขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กในสมัยนั้นราคามักอ ยู่ในช่วงสองหมื่นถึงสามหมื่นบาทขึ้นไป โน้ตบุ๊ก (ภายหลังอินเทลตั้งชื่อให้ว่าเน็ตบุ๊ก) ที่ใช้ Atom กลับทำราคาได้เพียงหมื่นบาทกลางๆ เท่านั้น ภายในปีเดียว เน็ตบุ๊กทำตลาดได้ถึง 19% ของตลาดรวมโน้ตบุ๊ก นับเป็นความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วที่สุดครั้งหนึ่งขอ งตลาดพีซีจนกระทั่งแอปเปิลส่งไอแพดเข้ามาเปลี่ยนตลาด ในกลุ่มราคานี้ในภายหลัง

อีกโครงการหนึ่งในยุคสมัยแห่ง Otellini คือการพัฒนา Solid-state drives (SSD) มาตั้งแต่ปี 2008 จากเทคโนโลยีการผลิตของตัวเอง จนทุกวันนี้กลุ่มกิจการ SSD ของอินเทลกลายเป็นสินค้าที่เราจับต้องกันบ่อยที่สุดอ ีกตัวหนึ่งนอกจากซีพียู
แต่ความยิ่งใหญ่ของ Otellini ก็ไม่ได้แปลว่าในยุคของเขาไม่มีความล้มเหลว ความพยายามพัฒนาชิปกราฟิกในชื่อรหัสว่า Larrabee กลายเป็นโครงการที่เต็มไปด้วยความล่าช้า และประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่หวัง ชิปกราฟิกสาย Intel HD แม้จะมีการพัฒนาต่อเนื่องแต่ก็ยังไม่สามารถเข้ามากิน ส่วนแบ่งในตลาดชิปกราฟิกของ NVIDIA และ AMD ได้ ยิ่งกว่านั้น การพัฒนาเทคโนโลยี GPGPU ที่ใช้ชิปกราฟิกเข้ามาช่วยประมวลผลทำให้ชิปกราฟิกเหล ่านี้แทรกตัวเองเข้ามาอยู่ในตลาดเซิร์ฟเวอร์สำหรับปร ะมวลผลด้านวิทยาศาสตร์ได้อย่างมาก แม้อินเทลจะกินส่วนแบ่งในตลาดซุปเปอร์คอมพิวเตอร์อย่ างมากในช่วงหลัง แต่เครื่องส่วนมากก็ต้องประกบด้วยชิปกราฟิกทั้งสิ้น จนกระทั่ง Larrabee เพิ่งออกเป็นสินค้าจริงได้เมื่อเดือนที่ผ่านมา เราจึงได้การ์ด Intel Xeon Phi เป็นส่วนประกอบของเครื่องที่ใช้ "อินเทลล้วน" ในสิบอันดับแรกของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโ ลก
ความล้มเหลวที่ใหญ่ที่สุดของอินเทลในช่วงไม่กี่ปีมาน ี้ คือ โลกแห่งโมบาย ชิป Atom และวิสัยทัศน์แห่ง Mobile Internet Device (MID) ของอินเทลไม่สามารถเจาะตลาดหลักได้อย่างเป็นรูปธรรม แม้ Atom จะประหยัดไฟมากพอที่จะทำให้น่าใช้งานสำหรับโน้ตบุ๊ก แต่กลับไม่พอที่จะเป็นอุปกรณ์พกพาอย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งราคาที่สูงมากเครื่อง MID ก็ทำให้มันไม่เคยเกิดในตลาดได้จริงทั้ง แต่กลับถูกสมาร์ตโฟนอย่าง iPhone กินตลาดอย่างรวดเร็ว
ความพยายามอย่างหนักของอินเทลที่จะแรกตัวเองเข้ามาใน ตลาดของอุปกรณ์เคลื่อนที่ทั้งโทรศัพท์มีขั้นอย่างต่อ เนื่อง ความพยายามที่จะผลักดันแพลตฟอร์ม Moblin ไปพร้อมกับ Atom ล้มเหลว และความพยามพัฒนา MeeGo ร่วมกับโนเกียก็ถูก Steven Elop พับแผนไป สุดท้ายอินเทลจึงไปประกาศร่วมมือกับกูเกิลในการพัฒนา แอนดรอยด์ ที่ตอนนี้โทรศัพท์แอนดรอยด์ที่ใช้ชิป Atom Medfield ก็ยังไม่สามารถสร้างตลาดได้จริงจัง
ความหวังสำคัญที่อินเทลจะบุกกลับอุปกรณ์โมบายคือการเ ข้ายึดตลาดแท็บเล็ตด้วย Windows 8 ที่ใช้ชิป Atom Cloverfield
Otellini พาบริษัทเข้าสู่ยุคทองแห่งพีซีและเซิร์ฟเวอร์ 64 บิตมาได้ แต่กลับไม่สามารถพาบริษัทเข้าไปยังตลาดโมบายได้ ตลาดคอมพิวเตอร์ราคาถูกที่เน็ตบุ๊กเคยครองตลาดเบ็ดเส ร็จกลับเสียให้กับแท็บเล็ตอย่างไร้การต่อต้าน
เมื่อแนวคิดที่เคยประสบความสำเร็จ กลับไม่สามารถพาอินเทลให้เติบโตไปอย่างมั่นคงได้ ก็ถึงเวลาที่อินเทลจะต้องหาหนทางใหม่อีกครั้ง และหนึ่งปีข้างหน้าในการเปลี่ยนผ่านของอินเทลไม่ว่าจ ะดีหรือร้าย มันจะเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของวงการไอทีของทั้ง โลก
ที่มา - Intel, Wikipedia:Paul Otellini, Wikipedia:Intel


อ่านต่อ...