HTC ออก infographic อธิบายกระบวนการทำงานของบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการอัพเดต Android ตามกูเกิล ว่าเอาเข้าจริงแล้วเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและต้องอา ศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย
ในแผนภาพของ HTC แบ่งอุปกรณ์เป็น 3 กลุ่มคือ

  • carrier devices หรือมือถือรุ่นปกติที่ขายผ่านโอเปอเรเตอร์ (ในต่างประเทศ)
  • unlocked/dev edition devices มือถือรุ่นสำหรับนักพัฒนา
  • Google Play edition devices มือถือรุ่นขายผ่านกูเกิล

ซึ่งมือถือแต่ละกลุ่มมีกระบวนการทดสอบ-ออกใบรับรองที่แตกต่างกันในรายละเอียด
กระบวนการอัพเดตซอฟต์แวร์ในภาพรวม ช่วงแรกเหมือนกันหมด

  1. กูเกิลออก Platform Development Kit ให้บริษัทฮาร์ดแวร์ทดสอบ
  2. กูเกิลประกาศทำ Android เวอร์ชันใหม่
  3. กูเกิลเปิดซอร์สโค้ดให้ผู้ผลิตชิปเซ็ต และผู้ผลิตฮาร์ดแวร์มือถือ
  4. ผู้ผลิตชิปเซ็ตตัดสินใจว่าจะรองรับ Android เวอร์ชันใหม่หรือไม่, ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ตัดสินใจว่าสเปกของฮาร์ดแวร์เดิมไปไ ด้หรือไม่
  5. ถ้าผู้ผลิตชิปเซ็ตตัดสินใจไปต่อ ก็จะออกไดรเวอร์สำหรับชิปเซ็ตรุ่นนั้นๆ ให้ แต่ถ้าไม่ไปต่อก็จบ

หลังจากนั้นแยกตามสายผลิตภัณฑ์
Google Play edition devices

  • ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ไม่ต้องทำรอมเอง (กูเกิลทำให้)
  • ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ทดสอบรอมเป็นการภายใน
  • ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ส่งรอมทดสอบในแล็บ (lab entry)
  • กระบวนการทดสอบและแก้บั๊ก
  • กระบวนการตรวจเช็คและออกใบรับรอง (certification) ร่วมกับกูเกิลและหน่วยงานกำกับดูแล (เช่น FCC)
  • กูเกิลออกใบรับรองทางเทคนิค (technical acceptance) ให้
  • กูเกิลปล่อยอัพเดตผ่าน OTA

unlocked/dev edition devices

  • ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จัดคนไปพัฒนารอมเวอร์ชันใหม่ โดยผนวกซอร์สโค้ดระดับล่างเข้ากับ HTC Sense
  • ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ทดสอบรอมเป็นการภายใน
  • ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ส่งรอมทดสอบในแล็บ (lab entry)
  • กระบวนการทดสอบและแก้บั๊ก
  • กระบวนการตรวจเช็คและออกใบรับรอง (certification) ร่วมกับกูเกิลและหน่วยงานกำกับดูแล (เช่น FCC)
  • กูเกิลออกใบรับรองทางเทคนิค (technical acceptance) ให้
  • ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ปล่อยอัพเดตผ่าน OTA

carrier devices

  • ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จัดคนไปพัฒนารอมเวอร์ชันใหม่ โดยผนวกซอร์สโค้ดระดับล่างเข้ากับ HTC Sense
  • ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ประสานงานโอเปอเรเตอร์ว่ามีแอพหรือบ ริการของโอเปอเรเตอร์เข้ามาในรอมหรือไม่
  • ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ผนวกโค้ดของโอเปอเรเตอร์เข้ามาในรอม
  • ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ส่งรอมทดสอบในแล็บ (lab entry)
  • กระบวนการทดสอบและแก้บั๊ก (ร่วมกับโอเปอเรเตอร์)
  • กระบวนการตรวจเช็คและออกใบรับรอง (certification) ร่วมกับกูเกิลและหน่วยงานกำกับดูแล (เช่น FCC)
  • โอเปอเรเตอร์ออกใบรับรองทางเทคนิค (technical acceptance) ให้
  • กูเกิลออกใบรับรองทางเทคนิค (technical acceptance) ให้
  • ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ร่วมกับโอเปอเรเตอร์ปล่อยอัพเดตผ่าน OTA

จะเห็นว่ากระบวนการของ carrier devices มีความยุ่งยากและซับซ้อนสูงมาก นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมอัพเดตของมือถือที่ขายกับโอเ ปอเรเตอร์ (โดยเฉพาะในสหรัฐ) จะออกช้ามากนั่นเองครับ
ตัวอย่างสถานะของ HTC One ว่าได้อัพเป็น Android 4.4 แล้วหรือไม่

ตัวไฟล์ infographic ฉบับเต็มมีขนาดใหญ่มาก (เกือบ 2MB) ใครสนใจสามารถกดเข้าไปดูได้ที่ HTC Software Updates
ที่มา - Android and Me
HTC, Android, Infographic




อ่านต่อ...