ข่าวใหญ่ในรอบสัปดาห์คงหนีไม่พ้นการเข้าตรวจสอบ Android ใน EU ที่แต่ละประเทศเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของแพลตฟอร ์ม Android ที่ประกาศตนว่าเป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดตั้งแต่เริ่ ม แต่พักหลังๆ มีท่าทีที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด และล่าสุดก็มีการหลุดเอกสารสัญญาฉบับหนึ่งที่กูเกิลเ รียกมันว่า "Mobile Application Distribution Agreenment" หรือ MADA ซึ่งเป็นสัญญาฉบับสำคัญระหว่างกูเกิลและผู้ผลิตออกมา และนี่ก็สามารถเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่อาจจะบ่งชี้ได ้ว่ากูเกิลเริ่มพา Android กลับเป็นระบบปฏิบัติการแบบปิดเสียแล้ว
โดยข้อตกลงในฉบับนี้มีใจความสำคัญที่สามารถพอสรุปได้ ดังต่อไปนี้ครับ
* ผู้ผลิตจะต้องเลือกว่าจะใส่ซอฟต์แวร์ของตัวเองผสมกับ ของกูเกิล หรือจะเลือกใช้เฉพาะของกูเกิลเท่านั้น หรือสรุปสั้นๆ ก็คือไม่ว่าผู้ผลิตจะทำซอฟต์แวร์ครอบเองหรือไม่ ยังไงก็ต้องใส่บริการของกูเกิลเข้ามาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Chrome, Hangout, Google Search เป็นต้น
* กูเกิลจะมีสิทธิ์และอำนาจเด็ดขาดในการควบคุมการอัพเด ตซอฟต์แวร์และบริการของกูเกิลแต่ละตัว ให้กับแต่ละประเทศแต่เพียงผู้เดียว (คือกูเกิลจะมีอำนาจในการควบคุมซอฟต์แวร์ในเครื่องส่ วนใหญ่เหนือกว่าผู้ผลิต)
* ผู้ผลิตไม่มีสิทธิ์ในการแจกจ่ายซอฟต์แวร์และบริการขอ งกูเกิลโดยพลการ (น่าจะหมายถึงการแจก GMS ให้มาแฟลชกันเองเหมือนกับ CyanogenMod อันนี้ "ห้าม" ให้ผู้ผลิตทำครับ)
* จะต้องมีวิดเจ็ต Google Search Bar ในหน้าใดหน้าหนึ่งของพื้นที่ในหน้าโฮมสกรีน
* จะต้องไม่มีแอพพลิเคชันควบคุมที่อยู่เหนือกว่าหน้าโฮ มสกรีน
* ผู้ผลิตไม่มีสิทธิ์ในการแบ่งพาร์ทิชันในการจัดเก็บแอ พพลิเคชันและบริการของกูเกิลทั้งหมด แต่มีสิทธิ์ในการรวบรวมแอพพลิเคชันของกูเกิลทั้งหมดไ ว้ในโฟลเดอร์เดียวกันที่หน้า Launcher ได้ (เหมือนกับที่ HTC และ LG ทำ)
* ผู้ผลิตจะต้องใช้ Google Search เป็นบริการค้นหาหลักเท่านั้น
* ผู้ผลิตจะต้องส่งยอดขายอุปกรณ์ Android แต่ละชิ้นคืนให้แก่กูเกิล โดยจะต้องแยกเป็นจำนวนรุ่นย่อยตามประเทศที่จำหน่าย และข้อมูลการจำหน่ายในแต่ละประเทศที่มีเครื่องวางขาย (สมมติ Xperia Z1 มีรุ่นย่อยทั้งหมดแปดรุ่น เวลาส่งเอกสาร จะต้องส่งทั้งแปดรุ่น และส่งตามจำนวนประเทศที่วางขาย สมมติว่าจนถึงปัจจุบันวางขายไป 50 ประเทศ ก็จะต้องส่งเอกสารทั้งหมดกว่า 400 ชุดให้แก่กูเกิล)
* ผู้ผลิตจะไม่มีสิทธิ์ในส่วนแบ่งรายได้ทั้งหมดของกูเก ิล ซึ่งนั่นก็คือรายได้ที่เกิดขึ้นจากบริการต่างๆ ของกูเกิล รวมถึงส่วนต่าง 30% ที่กูเกิลหักจากนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ส่งแอพพลิเคชันข ึ้นไปวางขายอยู่บน Google Play Store ด้วย
* ในการส่งอุปกรณ์มาตรวจสอบแต่ละครั้ง ผู้ผลิตจะต้องส่งอุปกรณ์รุ่นเดียวกันมาให้ทดสอบทั้งห มด 4 ชิ้น และในระยะเวลาการตรวจสอบ ผู้ผลิตไม่มีสิทธิ์ในการเปิดเผยอุปกรณ์รุ่นดังกล่าวแ ก่สาธารณชน
* ผู้ผลิต "ไม่มีสิทธิ์ในการพัฒนาโครงสร้างหรือนำโครงสร้างของ Android ไปพัฒนาต่อได้ด้วยตัวเอง" (หมายถึงการ forking) ตลอดระยะเวลาที่ทำข้อตกลงในฉบับนี้ไว้ (ข้อนี้ คือเหตุการณ์ศึกชิงนาง (Acer) ระหว่าง Google และ Alibaba)
นอกจากนี้กูเกิลยังระบุแนบท้ายสัญญาว่า สัญญา MADA ฉบับนี้มีอายุสองปีนับจากวันที่เซ็นต์สัญญาในข้อตกลง ซึ่งผู้ผลิตทุกรายจะต้องรับทราบเงื่อนไขนี้ทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามถ้าผู้ผลิตรายใดตัดสินใจที่จะยุติบทบ าทในการผลิตอุปกรณ์ Android ก็สามารถบอกเลิกสัญญานี้กับกูเกิลได้ตลอดเวลา และจะต้องจ่ายค่าใช้เทคโนโลยีแก่กูเกิลจำนวนหนึ่งในว ันบอกเลิกสัญญาด้วย อย่างไรก็ดีสัญญานี้เป็นสัญญาที่ผู้ผลิตสามารถลงนามไ ด้ตามความสมัครใจตั้งแต่ต้นครับ
ทั้งนี้ Android Community ยังบอกต่อว่า ข้อตกลง MADA ของกูเกิลนั้นมีจุดที่น่าสงสัยหลายจุด โดยเฉพาะข้อตกลงแนบท้ายที่ระบุว่าจะต้องจ่ายค่าใช้เท คโนโลยีแก่กูเกิล ซึ่ง AC ให้ความเห็นว่าท้ายสุดแล้ว Android เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดแน่หรือไม่ เพราะถ้าเปิดจริงๆ มันจะต้องไม่มีค่าใช้เทคโนโลยีในส่วนนี้มาเกี่ยวข้อง
ส่วนอีกจุดที่ AC ตั้งข้อสงสัยก็คือสัญญาฉบับนี้ น่าจะเป็นสัญญาใจจากกูเกิลที่มอบให้แก่ผู้ผลิตว่า "จะอยู่ข้างเรา" หรือ "จะเป็นศัตรูกับเรา" มากกว่าข้อตกลงในการใช้งานเทคโนโลยี ซึ่งเมื่อดูจากเหตุการณ์ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ผลิตแทบไม่มีทางเลือกในการตอบรับสัญญานี้เลยแม้แต ่น้อยครับ
ที่มา - Android Community
Android, Google, Google Play




อ่านต่อ...