ความลับที่ไม่ลับของแก้วสีเขียวสดใส
                                
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 1 2 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 15 จากทั้งหมด 17

ชื่อกระทู้: ความลับที่ไม่ลับของแก้วสีเขียวสดใส

  1. #1

    มาตรฐาน ความลับที่ไม่ลับของแก้วสีเขียวสดใส



    แก้วสีเขียวสดๆ ที่คุณทวด คุณยาย ใช้กันเป็นผอบ หรือตลับแป้ง ทราบหรือไม่ว่ามันเป็นแก้วเรืองแสง
    ถามต่อว่าทำไมเรืองแสง ก็เพราะมันเป็น แก้วยูเรเนียม Uranium Glass /Vaseline Glass


    เครดิตภาพจากอินเตอร์เนท และ พ่อค้าแม่ค้า ในไทยสกู้ดเตอร์....ขอขอบคุณ


    Name:  เครื่องแก้ว พิพิธภัณฑ์.jpg
Views: 4510
Size:  95.3 KB
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย leena52 : 13-09-2014 เมื่อ 22:37

  2. #2

    มาตรฐาน

    สีเขียวสดๆ อมเหลือง เป็นสีที่ปรุงแต่งขึ้นมา โดยใส่อ๊อกไซด์ยูเรนียมลงไปเล็กน้อยเพื่อให้เกิดสีโท นเขียวเหลือง
    ในสมัยแรกๆปิดเป็นความลับ ต่อมาแพร่หลายในแถบยุโรป
    แก้วประเภทนี้จึงน่าจะนำเข้ามาจากต่างประเทศ คุณสมบัติของมันเรืองแสงได้ภายใต้แสงuv


    Name:  แก้วสีเหลือง.jpg
Views: 3356
Size:  9.1 KB
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย leena52 : 13-09-2014 เมื่อ 22:34

  3. #3

  4. #4

    มาตรฐาน

    ตลับใส่แป้งทั้งสามชุดนี้น่าจะเป็น Uranium Glass

    Name:  1409588344394.jpg
Views: 3456
Size:  33.0 KB
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย leena52 : 14-09-2014 เมื่อ 01:32

  5. #5

    มาตรฐาน

    Name:  1409588382809.jpg
Views: 3284
Size:  20.6 KB[ATTACH=CONFIG]4646985

    [/ATTACH]Name:  1409627083140.jpg
Views: 3359
Size:  24.5 KB

    Name:  w-002-1.jpg
Views: 3367
Size:  45.2 KB

  6. #6

    มาตรฐาน

    ต่อจากนี้เรามาทดสอบกัน มีชิ้นแก้วสีเขียว ทั้งที่เป็นแก้วธรรมดา และ (ตอนแรก)สงสัยว่าจะเป็น Uranium Glassหรือเปล่า
    เลยจับมาทดสอบดูเสียเลยพร้อมกัน


    พวกนี้เป็นแก้วที่ถ่ายแสงปกติทั้วไป จะเห็นเป็นสีเขียวสดๆเหมือนกัน

    Name:  IMG_1040_resize.JPG
Views: 3311
Size:  81.9 KB

    Name:  IMG_1024.jpg
Views: 3478
Size:  35.8 KB
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย leena52 : 13-09-2014 เมื่อ 23:17

  7. #7

    มาตรฐาน

    เมื่อเราส่องภายใต้แสง Black Light

    Name:  IMG_1035_resize.jpg
Views: 3275
Size:  13.1 KB

    Name:  IMG_1028_resize.JPG
Views: 3264
Size:  77.4 KB

    Name:  IMG_1041_resize.JPG
Views: 3318
Size:  80.7 KB

  8. #8

    มาตรฐาน

    จะเห็นได้ว่า มีสีเรืองแสงขึ้นในชิ้นแก้ว ในขั้นตอนต่อไปจะพูดถึง เจ้า Uranium นี้มันคืออะไร ขอบอกมันคือ สารกัมมันตภาพรังสี
    หาอ่่่านอย่างละเอียดที่ http://www.nst.or.th/article/article...ticle49405.htm แต่จะกลับมาสรุปคร่าวๆให้ฟังอีกครั้งค่ะ รอเดี๋ยวนึง
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย leena52 : 14-09-2014 เมื่อ 01:30

  9. #9

    มาตรฐาน

    “การใช้ยูเรเนียมซึ่งมีสารประกอบธรรมชาติในรูปออกไซด ์นั้น สืบย้อนกลับไปได้อย่างน้อยคริสตศตวรรษที่ 7 โดยใช้ทำสีเหลืองในเครื่องเคลือบเซรามิกส์ มีการพบแก้วสีเหลืองที่มียูเรเนียมออกไซด์ 1% ใกล้กับเมืองเนเปิล ของอิตาลี และมีการพบอีกครั้งตอนต้นศตวรรษที่ 19 โดยพบว่ามียูเรเนียมที่เหมืองเงิน Hapsburg ที่ Joachimsthal ใน Bohemia ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมแก้วโดยส่วนผสมที่ใช้นั้นเก็บเป็ นความลับ"

    ธาตุยูเรเนียมค้นพบในปี 1789 โดย Martin Heinrich Klaproth นักเคมีชาวเยอรมัน โดยพบยูเรเนียมในแร่ที่เรียกว่าพิชเบลน (pitchblende) และตั้งชื่อแร่ชนิดนี้ตามชื่อดาวยูเรนัส ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ และได้รับการค้นพบ 8 ปีก่อนหน้านั้นโดย William Herschel ยูเรเนียมถูกสกัดออกมาในรูปโลหะเป็นครั้งแรกในปี 1841 โดย Eugene-Melchior Peligot ในปี 1850 มีการพัฒนาโดยนำยูเรเนียมมาผสมในแก้วโดย Lloyd & Summerfield ที่เมือง Birmingham ประเทศอังกฤษ ในปี 1896 Henri Becquerel นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสพบว่า ยูเรเนียมมีกัมมันตภาพรังสีโดยเป็นการค้นพบกัมมันตภา พรังสีเป็นครั้งแรก“
    ********สรุปว่ามีการใช้ยูเรเนียมในการทำแก้วก่อน การค้นพบว่าแร่ยูเรเนียมเป็นสารกัมมันตภาพรังสี***** **

  10. #10

    มาตรฐาน

    นักสะสมในต่างประเทศนิยมแก้วชนิดนี้เพราะเป็นการมั่น ใจได้ว่าเป็นแก้วเก่าจริง แถมเรืองแสงสวยงาม ผู้ขายในต่างประเทศบางคน
    ก็ยังขายแก้วไปโดยไม่ทราบว่าเป็นแก้วยูเรเนียม ในเวปไซด์ขายแก้ว แนะนำให้ผู้ซื้อ พกไฟฉาย Black Light ไปซื้อด้วยเพื่อความแน่นอนว่าจะไม่ถูกหลอก
    ผู้ซื้อบางคนถึงขนาดเอาเครื่องวัดปริมาณสารฯไปด้วยก็ มี


    Name:  แจกันยูเร.jpg
Views: 3549
Size:  34.1 KB
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย leena52 : 14-09-2014 เมื่อ 10:21

  11. #11

    มาตรฐาน

    คำถามว่า ยูเรเนียม อันตรายแค่ไหนมีให้อ่านในบทความที่แนะนำไปของ สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย
    "คนเราสามารถได้รับยูเรเนียมหรือไอโซโทปลูกที่เกิดขึ ้น โดยการหายใจเอาฝุ่นในอากาศ หรือดูดควันบุหรี่จากใบยาสูบที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยฟอสเฟต หรือโดยการดื่มหรือทานอาหาร สำหรับคนทั่วไปที่ได้รับยูเรเนียมจากการรับประทาอาหา ร โดยเฉลี่ยจะได้รับยูเรเนียม 0.07 ถึง 1.1 ไมโครกรัมต่อวัน ปริมาณยูเรเนียมในอากาศมีน้อยมาก แต่สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้กับสถานที่ผลิตหรือ ทดลองาวุธนิวเคลียร์ หรือสถานที่ทำเหมืองหรือโรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียม สำหรับผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์อาจจะได้รับยูเรเนียม เพิ่มขึ้น บ้านหรืออาคารที่สร้างบนพื้นที่มีแร่ยูเรเนียมอาจจะไ ด้รับแก๊สเรดอน ที่มาจากยูเรเนียม ซึ่งมีกัมมันตภาพรังสีและเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogen)

    ยูเรเนียมสามารถเข้าสู่ร่างกายเมื่อหายใจหรือกินอาหา ร หรือบางกรณีอาจจะเข้าทางบาดแผล ยูเรเนียมจะไม่ซึมผ่านผิวหนัง และรังสีอัลฟาที่มาจากยูเรเนียมก็ไม่สามารถผ่านผิวหน ังเข้าสู่ร่างกายได้ ยูเรเนียมที่อยู่ภายนอกร่างกายจึงมีอันตรายน้อยกว่าเ มื่อเข้าไปในร่างกายแล้ว ยูเรเนียมไม่ใช่สารก่อมะเร็งแต่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแ ล้วอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อไตได้ "

  12. #12

    มาตรฐาน

    บทสรุปทำให้สบายใจได้บ้างสำหรับนักสะสมในเรื่องความป ลอดภัย
    กระทู้ที่ทำขึ้นไม่ได้ตั้งใจทำให้ แก้วประเภทนี้จะขายแพงขึ้น หรือ จะขายไม่ออกแต่ประการใด แค่อยากให้ผู้ถือครองทราบว่า แก้วพวกนี้ไม่ใช่มีดีที่เป็นสีแปลกๆเท่านั้น
    แต่เป็นแก้วที่มีมาที่ไปอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย leena52 : 17-12-2014 เมื่อ 16:07

  13. #13

    มาตรฐาน

    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีดีครับ

  14. #14
    Senior Member
    วันที่สมัคร
    Dec 2012
    ข้อความ
    1,816
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    13

    มาตรฐาน

    ขอบคุณมากค่ะ สำหรับความรู้ที่นำมาบอกกล่าวกัน คงต้องไปซื้อไฟแบล็คไลน์ มาตรวจสอบของที่สะสมไว้ก่อนละกันค่ะ

  15. #15

    มาตรฐาน


    ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมค่ะ ส่องแล้วจะดีใจเหมือน เจ้าของกระทู้เป็นของเล่นของคนแก่ค่ะ มาแบ่งกันชมบ้างนะคะ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย leena52 : 15-09-2014 เมื่อ 15:04

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 1 2 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Bookmarks

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •