สหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ หรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU (ย่อมาจาก International Telecommunication Union) ได้ออกรายงาน MIS: Measuring the Information Society ประจำปี 2014 ซึ่งรายงานนี้มีเป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี 2009 เนื้อหาของรายงานว่าด้วยสภาพความเป็นไปของแวดวงโทรคม นาคมทั่วโลกผ่านการนำเสนอประกอบข้อมูลเชิงสถิติ และในฐานะที่ประเทศไทยเราก็เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพแห่ งนี้ จึงน่าสนใจว่าความเป็นอยู่ในด้านโทรคมนาคมของบ้านเรา นั้นอยู่ ณ จุดไหนเมื่อเทียบกับประชาคมโลก
เทคโนโลยีสารสนเทศกับภาคธุรกิจและการศึกษา

ในรายงาน MIS 2014 นั้นกล่าวถึงประเทศไทยอยู่หลายวาระด้วยกัน เริ่มจากสัดส่วนการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบบรอดแบนด์มี สายในภาคองค์กรธุรกิจ โดยแผนภูมิของ ITU ระบุว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตในภาคองค์กรธุรกิจของไท ยนั้นกระเตื้องขึ้นอย่างช้าๆ จากปี 2005 ที่มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตระบบข้างต้นอยู่ที่ประมาณ 3% ของจำนวนองค์กรธุรกิจทั้งหมด ขยับเพิ่มขึ้นมาเป็น 14% ในปี 2012 ในขณะที่ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงนั้นมีตัวเลขสัดส่ว นผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตขององค์กรธุรกิจเพิ่มจาก 10% เป็น 72% ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน


อย่างไรก็ตาม หากมองไปที่สถิติเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตในภาคการศึกษา กลับพบว่าประเทศไทยได้จัดสรรให้โรงเรียนต่างๆ ได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ได้มากเกือบ 100% เหนือกว่าประเทศส่วนใหญ่ในทวีปเดียวกัน


นอกจากนี้ข้อมูลสัดส่วนบุคลากรครูในประเทศไทยยังระบุ ว่าครูผู้สอน 80% ผ่านการฝึกอบรมให้ใช้งานสื่อสารสนเทศและอินเทอร์เน็ต ร่วมในการเรียนการสอน และ 90% ของครูทั้งหมดทั่วประเทศได้รับการอบรมให้สามารถสอนกา รใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐานแก่เด็ กนักเรียน โดยอัตราส่วนตัวเลขทั้งคู่ที่กล่าวมานี้ถือว่าสูงอย่ างโดดเด่นเหนือกว่าประเทศส่วนใหญ่ในเอเชีย


ITU ระบุในรายงานว่าสัดส่วนการใช้งานระบบสารสนเทศและอินเ ทอร์เน็ตในภาคการศึกษาที่สูงลิ่วเป็นผลมาจากนโยบายขอ งภาครัฐในการผลักดันโครงการ "SchoolNet Thailand" หรือในชื่อไทยว่า "เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย" ในช่วงปี 1996-2003 ร่วมด้วยโครงการ "EdNet" และโครงการ "แท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย" จึงทำให้เด็กไทยมีโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทั่วถึ งและมีการพัฒนาครูผู้สอนอย่างต่อเนื่อง
ดัชนี IDI

ในภาพรวมของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ITU ได้จัดทำดัชนีชี้วัดการพัฒนาในด้านนี้เพื่อสะท้อนภาพ ความก้าวหน้าในการปรับใช้เทคโนยีของผู้คนในประเทศนั้ นเรียกว่าค่า IDI (ICT Development Index) โดยค่าดัชนีที่จะระบุเป็นตัวเลขในช่วง 0-10 นี้ได้จากการพิจารณาข้อมูลใน 3 ด้าน อันได้แก่

  • ดัชนีด้านการเข้าถึงเทคโนโลยี คิดจากสัดส่วนผู้ใช้งานโทรศัพท์บ้าน, สัดส่วนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่, สัดส่วนแบนด์วิธอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อต่างประเทศเ ทียบกับจำนวนผู้ใช้งาน, สัดส่วนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ และสัดส่วนครัวเรือนที่เข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ต
  • ดัชนีด้านการใช้งานระบบ ได้จากสัดส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเทียบกับจำนวนประชาก ร ร่วมด้วยตัวเลขสัดส่วนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด ์ทั้งแบบมีสายและไร้สาย
  • ดัชนีทักษะรวมถึงความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีของผ ู้คน พิจารณาจากจำนวนประชากรที่อ่านออกเขียนได้ และสัดส่วนประชากรที่มีการศึกษาในระดับต่างๆ

ซึ่งประเทศไทยมีค่า IDI ในปี 2013 อยู่ที่ 4.76 ถือเป็นลำดับที่ 81 จาก 166 ประเทศทั่วโลกที่ได้รับการประเมินค่า IDI (และนับเป็นลำดับที่ 10 ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก) โดยประเทศที่มีค่าดัชนีสูงสุดคือเดนมาร์ค (8.86) ส่วนประเทศทีมีค่า IDI ต่ำที่สุดนั้นก็คือแอฟริกากลาง (0.96) โดยค่า IDI ของไทยนั้นอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของดัชนี IDI ในกลุ่มประเทศเอเชียและแปซิฟิก (4.57) และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย IDI ของทั้งโลก (4.77) อยู่เล็กน้อยเท่านั้น



หากแยกย่อยตัวเลขดัชนีชี้วัดและการจัดลำดับลงไปอีกจะ พบว่า ดัชนี้ชี้วัดด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีของไทยนั้นอยู่ท ี่ 4.88 (ลำดับที่ 91) ส่วนดัชนี้ด้านการใช้งานอยู่ที่ 3.12 (ลำดับที่ 71) และมีค่าดัชนีด้านทักษะการใช้เทคโนโลยี 7.81 (ลำดับที่ 61) โดยจากการเปรียบเทียบค่าดัชนีเหล่านี้กับตัวเลขของปี ก่อนหน้า ถือได้ว่าประเทศไทยมีการเติบโตของดัชนีด้านการใช้งาน เทคโนโลยีสารสนเทศแบบพุ่งพรวดถึง 34 อันดับ และทำให้ดัชนี IDI ในภาพรวมเพิ่มขึ้นแซงหน้าประเทศอื่นขึ้นมา 10 อันดับภายในปีเดียว


กระแสความเปลี่ยนแปลงเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศในไทย

รายงานของ ITU ได้อธิบายการก้าวกระโดดของค่าดัชนี IDI สำหรับประเทศไทยว่าเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างรวดเร็ว ของจำนวนผู้ใช้งานอุปกรณ์พกพา (สอดคล้องกับแนวโน้มของจำนวนประชากรทั่วโลกที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ มีเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลจากการแพร่หลายของอุปกรณ์พกพา) โดยภายในระยะเวลาปีเดียวช่วง 2012-2013 มีจำนวนผู้เริ่มใช้งานโทรศัพท์มือถือเพิ่มมากขึ้นถึง 7 ล้านราย ทำให้สัดส่วนผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือสูงถึง 138% เมื่อเทียบจำนวนประชากร และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบร อดแบนด์แบบไร้สายเพิ่มมากขึ้นถึง 28 ล้านราย ส่งผลให้มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตรูปแบบดังกล่าวเพิ่ม สูงขึ้นเกือบ 5 เท่า คิดเป็นสัดส่วน 52% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นผลมาจากการประมูลคลื่น 3G ที่เพิ่งได้ข้อสรุปในช่วงปลายปี 2012 นั่นเอง


อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งให้ไทยมีค่าดัชนี IDI เพิ่มสูงขึ้น มาจากค่าแบนด์วิธของอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศที่ไทย เรามีเพิ่มขึ้นจากโครงการ SJC (Southeast Asia Japan Cable) ซึ่งเป็นการวางเคเบิลใต้น้ำเชื่อมโยงกลุ่มประเทศในอา เซียนเข้ากับญี่ปุ่น, ฮ่องกง และจีน ทำให้การท่องอินเทอร์เน็ตเข้าเว็บไซต์ต่างประเทศทำได ้รวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้คนในประเทศรู้สึกถึงความสะดวกสบายในการใช ้งานอินเทอร์เน็ตจนนำมาซึ่งจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มมากขึ ้นด้วย
การแข่งขันและอัตราค่าบริการด้านโทรคมนาคม

เนื่องจากความแตกต่างของค่าเงินในแต่ละประเทศ ตลอดจนค่าครองชีพของผู้คนที่แตกต่างกันไปตามสภาพเศรษ ฐกิจนั้นๆ ITU จึงได้เลือกใช้วิธีการเปรียบเทียบว่าอัตราค่าบริการด ้านโทรคมนาคมในแต่ละประเทศว่าถูกหรือแพงโดยใช้ตัวเลข เฉลี่ยของค่าบริการรายเดือนมาเปรียบเทียบกับค่า GNI p.c. (ซึ่งหมายถึงรายได้มวลรวมประชาชาติต่อจำนวนประชากร โดยตัวเลขนี้ของไทยในปี 2013 อยู่ที่ 5,370 ดอลลาร์) ยิ่งตัวเลขออกมาน้อยก็หมายถึงค่าบริการที่ถูก (เมื่อเทียบกับปัจจัยแวดล้อม)
โทรศัพท์บ้าน

สำหรับประเทศไทยนั้นมีอัตราเฉลี่ยค่าบริการรายเดือนข องผู้ใช้โทรศัพท์บ้านในปี 2013 อยู่ที่ 6.18 ดอลลาร์ คิดเป็น 1.38% ของค่า GNI p.c. ถือว่ามีค่าบริการถูกเป็นลำดับที่ 82 จาก 166 ประเทศทั่วโลก

  • ค่าบริการเฉลี่ยต่อเดือนเทียบกับ GNI p.c. ถูกที่สุด: อิหร่าน (0.03%), แพงที่สุด: มาดากัสการ์ (56.62%)
  • ค่าบริการเฉลี่ยต่อเดือน ถูกที่สุด: อิหร่าน (0.12 ดอลลาร์), แพงสุด: กาบอง (50.52 ดอลลาร์)

โทรศัพท์มือถือ

มาดูทางด้านค่าบริการของโทรศัพท์มือถือ ประเทศไทยมีค่าบริการรายเดือนเฉลี่ยแล้ว 5.36 ดอลลาร์ คิดเป็น 1.20% ของ GNI p.c. ถือว่าค่าบริการถูกเป็นลำดับที่ 47 จาก 166 ประเทศ

  • ค่าบริการเฉลี่ยต่อเดือนเทียบกับ GNI p.c. ถูกที่สุด: มาเก๊า (0.11%), แพงที่สุด: มาลาวี (56.29%)
  • ค่าบริการเฉลี่ยต่อเดือน ถูกที่สุด: บังคลาเทศ (1.41 ดอลลาร์), แพงสุด: บราซิล (48.32 ดอลลาร์)

อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์

ส่วนค่าบริการอินเทอร์เน็ตรายเดือนนั้น ของไทยมีราคาเฉลี่ย 22.46 ดอลลาร์ คิดเป็น 5.02% ของ GNI p.c. จัดว่าถูกเป็นลำดับที่ 98 จาก 166 ประเทศ

  • ค่าบริการเฉลี่ยต่อเดือนเทียบกับ GNI p.c. ถูกที่สุด: มาเก๊า (0.32%), แพงที่สุด: แอฟริกากลาง (2193.65%)
  • ค่าบริการเฉลี่ยต่อเดือน ถูกที่สุด: เวียดนาม (2.93 ดอลลาร์), แพงสุด: แอฟริกากลาง (584.97 ดอลลาร์)



ตัวเลขสถิติที่น่าสนใจอื่นๆ เกี่ยวกับประเทศไทย

ตัวเลขเหล่านี้เป็นข้อมูลของปี 2013 ที่ ITU ใช้ในการประเมินดัชนี IDI

  • จำนวนการใช้โทรศัพท์บ้านต่อประชากร 100 คน 9.0 เลขหมาย
  • จำนวนการใช้โทรศัพท์มือถือต่อประชากร 100 คน 138.0 เลขหมาย
  • แบนด์วิธอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศต่อจำนวนผู้ใช้ 37,370 bps
  • สัดส่วนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ในบ้าน 28.7%
  • สัดส่วนครัวเรือนที่ใช้อินเทอร์เน็ต 22.7%
  • สัดส่วนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อประชากร 28.9%
  • จำนวนการใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แบบมีสายต่อประชากร 100 คน 7.4 ราย
  • จำนวนการใช้อินเทอร์เน็ตแบบไร้สายสายต่อประชากร 100 คน 52.5
  • สัดส่วนประชากรวัยผู้ใหญ่ที่อ่านออกเขียนได้ 96.4%
  • สัดส่วนประชากรที่มีการศึกษาปานกลาง 87.0%
  • สัดส่วนประชากรที่มีการศึกษาสูง 51.2%

ผู้ที่สนใจอยากศึกษาข้อมูลจากรายงานตัวเต็มสามารถดาว น์โหลดเอกสารเป็นไฟล์ PDF ได้จากที่นี่
Thailand, ITU




อ่านต่อ...