สรุปความจาก งานเสวนา NBTC Public Forum 1/2558 หัวข้อ "ทรัพยากรคลื่นความถี่และทิศทางการสื่อสารภายใต้ร่างก ฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล" หลังจากการนำเสนอสาระสำคัญของกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล โดยผู้อำนวยการ สพธอ. ก็เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยวิทยากร 3 ท่าน
ท่านแรกคือ ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้อภิปรายร่างกฎหมายใน 2 ประเด็นคือเจาะไปที่ตัวร่างกฎหมาย กสทช. ฉบับใหม่ และพูดถึงเศรษฐกิจดิจิทัลในภาพรวม
ร่างกฎหมาย กสทช.

สำหรับประเด็นเรื่องร่าง พ.ร.บ.กสทช. ฉบับใหม่ (เปิดร่าง พ.ร.บ. กสทช. ฉบับใหม่ รวมบอร์ดชุดเดียว ไม่บังคับประมูลความถี่ โยกกองทุน) ดร.สมเกียรติ เสนอประเด็นว่ามีความคล้ายคลึงกับการกำกับดูแลกิจการ โทรคมนาคมของสหรัฐอเมริกาในอดีต ที่ปัจจุบันสหรัฐก้าวพ้นจากโมเดลเดิมแล้ว แต่ไทยกลับวิ่งเข้าหาแนวทางที่สหรัฐเคยทำแล้วมีปัญหา
ร่าง พ.ร.บ.กสทช. ฉบับใหม่มีข้อแก้ไขสำคัญคือ

  • เปลี่ยน กสทช. ที่เดิมเป็นองค์กรอิสระ มาอยู่ใต้คณะกรรมการดิจิทัลฯ แห่งชาติ
  • ยุบบอร์ดโทรคมนาคม-โทรทัศน์ เหลือบอร์ดชุดเดียว
  • กำหนดให้มีการ "จัดสรรคลื่นเพื่อความมั่นคงและกิจการสังคม" โดยเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการดิจิทัลฯ แห่งชาติ ส่วน กสทช. เหลืออำนาจแค่จัดสรรคลื่นที่ใช้งานเชิงพาณิชย์
  • ปรับเงื่อนไขการจัดสรรคลื่น จากของเดิมล็อคว่า "ต้องประมูล" มาเป็นการ "คัดเลือก"

การแยกส่วนคลื่นตามประเภทที่ใช้งาน
รูปแบบการแยกส่วนคลื่นความมั่นคง-สังคม กับคลื่นเชิงพาณิชย์ จะคล้ายกับโครงสร้างของสหรัฐที่มีหน่วยงานกำกับดูแล 2 หน่วยคือ NTIA (คลื่นภาครัฐ) และ FCC (คลื่นเชิงพาณิชย์) ซึ่งผลลัพธ์ของสหรัฐอเมริกาคือฝั่ง FCC จัดการคลื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่คลื่นฝั่ง NTIA ถูกใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ดร.สมเกียรติ ตั้งข้อสังเกตว่าถ้าเมืองไทยเลือกใช้แนวทางแบบเดียวก ัน จะกลายเป็นว่าการจัดสรรคลื่นความมั่นคงจะไม่มีประสิท ธิภาพแบบ NTIA และยัง "อาจ" ถูกภาคเอกชนมาสวมรอยนำคลื่นภาครัฐไปใช้หากินอีกต่อหน ึ่งด้วย

เงื่อนไขการประมูล
ในอดีตสหรัฐอเมริกาใช้วิธีคัดเลือกคุณสมบัติ (beauty contest) ซึ่งเปิดให้ใช้ดุลพินิจสูง และเคยมีกรณีประธานาธิบดี Lyndon B. Johnson ใช้อิทธิพลกดดันให้ภรรยาได้คลื่นวิทยุไปทำธุรกิจมาแล ้ว ภายหลังสหรัฐจึงหันมาใช้วิธีการประมูลมากขึ้น ผลคือโปร่งใสและสร้างรายได้เข้ารัฐ ในขณะที่ประเทศไทยปัจจุบันใช้การประมูล แต่กำลังจะแก้กฎหมายให้ไม่ต้องประมูลก็ได้ โดยไม่เคยมีใครอธิบายไว้ชัดเจนว่าแก้เพราะอะไร

ท่าทีของโอเปอเรเตอร์โทรคมนาคมไทย ส่วนใหญ่อยากให้ประมูล ยกเว้น True

บทสรุปและข้อเสนอแนะ

คลิป ดร.สมเกียรติ ออกรายการใน Thai PBS พูดประเด็นเดียวกัน (จากเว็บไซต์ TDRI)

เศรษฐกิจดิจิทัล

ส่วนประเด็นด้านกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งชุด ดร.สมเกียรติ มีข้อวิจารณ์หลักคือแนวคิดของกฎหมายชุดนี้เน้นเพิ่มอ ำนาจของกลไกรัฐ เน้นขยายหน่วยงานของรัฐบาล แต่กลับไม่เน้นกลไกตลาดที่เป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจ ดิจิทัล

  • หน่วยงานที่ตั้งใหม่ มีสถานะเป็น "นิติบุคคลของรัฐ" ที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ ด้วยข้ออ้างว่าสามารถกำหนดเพดานเงินเดือนสูงขึ้น ดึงดูดคนมีฝีมือ แต่กลับมีบทเฉพาะกาลเขียนให้โอนข้าราชการเดิมมาอยู่ใ นหน่วยงานใหม่ทั้งหมด นั่นแปลว่าได้ "คนแบบเดิมแต่เพิ่มเงินเดือนให้" หรือไม่
  • แนวทางของรัฐเปิดให้ใช้ "ดุลพินิจ" ค่อนข้างมาก กลับไม่ใช้วิธีการที่โปร่งใสกว่าอย่างการประมูล
  • คณะกรรมการดิจิทัลแห่งชาติ ควรมีหน้าที่กำหนดกรอบนโยบายกว้างๆ แต่ไม่ต้องลงลึกไปบอกว่าหน่วยงานที่ดำเนินการต้องใช้ เครื่องมืออะไรเพื่อทำให้ได้ถึงเป้าหมาย
  • กองทุนดิจิทัลฯ เป็นการแก้ปัญหาของปัจจุบันที่ผิด เดิมทีสำนักงาน กสทช. โดนวิจารณ์ว่าใช้เงินเยอะ ส่วนกองทุน กสทช. โดนวิจารณ์ว่าบริหารกองทุนโดยใช้เงินน้อยเกินไป เงินออกช้า ทางแก้ควรปรับให้ตรงจุด แต่ตามร่างกฎหมายชุดนี้ รัฐบาลมองว่า กสทช. ทำแล้วไม่ได้ผล รัฐขอเอาไปทำเอง
  • แนวคิดหลายส่วนของกฎหมายเน้นการ "ควบคุม" ประชาชน ไม่ได้เน้นการสร้างคนหรือสร้างความรู้เท่าทันสื่อ

โดยสรุปแล้วถ้ารัฐยังมีแนวคิดทำนองว่า "รัฐทำเอง-ควบคุมประชาชน" ก็ไม่มีทางทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลที่เน้น "กลไกตลาด-ประชาชน" เกิดได้
TDRI, Law, NBTC, Telecom, Thailand




อ่านต่อ...