วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ได้มีการเสวนาในหัวข้อ "บทบาท กสทช. ภายใต้เศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัล: ร่างกฎหมายดิจิทัลฯ ตอบโจทย์หรือไม่?" จัดโดยโครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch) ณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกสทช. และสฤณี อาชวานันทกุล ประธานมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง (เครือข่ายพลเมืองเน็ต) โดยมีวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
สมเกียรติกล่าวถึงชุดร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษ ฐกิจดิจิทัลจำนวน 10 ฉบับว่า กฎหมายชุดนี้จะทำให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับกลุ่มทุนที่ไม่ต้องการจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยวิธีการ ที่โปร่งใส และหน่วยงานราชการต่างๆ อาทิ กองทัพ รัฐวิสาหกิจ รวมถึงผู้ประกอบการเอกชนที่ต้องการสวมรอยใช้คลื่นควา มถี่ โดยเฉพาะหน่วยงานราชการนั้นจะได้ประโยชน์อย่างมากจาก การ "ได้ขยายอาณาจักร" หรือจากการจัดตั้งหน่วยงานและคณะกรรมการใหม่จำนวนมากขึ้น มา ซึ่งหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไ ม่ใช่หน่วยงานราชการ ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่ต้องนำรายได้เข้ารัฐ และสามารถกำหนดอัตราเงินเดือนที่สูงกว่าอัตราเงินเดื อนราชการได้ ขณะที่ประชาชนซึ่งเป็นผู้เสียภาษีจะได้ประโยชน์น้อยม าก
ส่วนเมื่อมาพิจารณาจากมุมมองด้านการเมืองและสังคม พบว่า ร่างกฎหมายไม่มีความสมดุลเลยในด้านการถ่วงน้ำหนักเรื ่องความมั่นคงและเรื่องของสิทธิเสรีภาพ ความเป็นส่วนตัว ความสามารถในการเข้าถึงบริการต่างๆ เมื่อเทียบกับความมั่นคงของรัฐ ซึ่งร่างกฎหมายชุดนี้เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อรับใช้ความม ั่นคงมากกว่าประชาชน โดยประชาชนในที่นี้ยังรวมไปถึงภาคธุรกิจใหญ่อื่นๆ ด้วย เช่น ภาคธุรกิจธนาคารที่จะได้รับผลกระทบ
สมเกียรติกล่าวว่า กระบวนการออกแบบกฎหมายชุดนี้มีปัญหาอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้ องแล้ว ยังไม่ได้คิดถึงทางเลือกต่างๆ ทางนโยบายอีกด้วย เนื่องจากโดยปกติ การจะจัดทำโครงการใดขึ้นต้องมีการศึกษาและประเมินผลก ระทบในการออกกฎหมายหรือที่เรียกว่า RIA (Regulatory Impact Assessment) ซึ่งการร่างกฎหมายชุดนี้ไม่ได้มีการทำแบบประเมินดังกล่าว นอกจากนี้ จากการที่ร่างกฎหมายชุดนี้ไม่ได้มีการประเมินผลกระทบ เราจึงไม่อาจรู้ได้ด้วยว่า ประชาชนเสียประโยชน์จากกฎหมายนี้อย่างไรบ้าง และแนะนำว่าควรมีการจัด public debate หรือการโต้วาทีสาธารณะ โดยเชิญฝ่ายรัฐบาลและผู้ที่เห็นต่างมาอยู่ในเวทีเดีย วกัน มีการตั้งคำถามและตอบคำถามกัน ซึ่งตนเห็นว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด
นอกจากนี้ สมเกียรติยังฝากคำถาม 6 ข้อที่รัฐบาลควรตอบ ก่อนที่จะเดินหน้าร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนี้

  1. มีหลักประกันหรือไม่ว่าการออกกฎหมายชุดเศรษฐกิจดิจิท ัล โดยเฉพาะพ.ร.บ.กสทช. และ พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชา ติ จะทำให้การใช้คลื่นความถี่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของก ารใช้คลื่นความถี่จริง
  2. ต่อให้การใช้คลื่นความถี่เป็นไปตามวัตถุประสงค์แล้ว จะมั่นใจได้อย่างไรว่าคลื่นจะถูกใช้อย่างมีประสิทธิภ าพ
  3. หากยกเลิกการจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยการประมูลและใช้ก ารคัดเลือกแทน รัฐบาลจะมีหลักประกันอย่างไรว่าจะมีการใช้คลื่นความถ ี่อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. รัฐบาลมีหลักประกันอย่างไร ว่าจะไม่ไปแทรกแซงการทำงานของกสทช. เพราะร่างพ.ร.บ.กสทช.ที่ออกมานั้น ได้กำหนดไว้ว่า กสทช.จะต้องทำตามนโยบายและแผนแม่บทของคณะกรรมการดิจิทัลเพ ื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  5. จะมีหลักประกันอย่างไรว่า ธรรมาธิบาลของกสทช.ซึ่งเป็นปัญหามากในปัจจุบันจะดีขึ ้น ในเมื่อร่างพ.ร.บ.กสทช.ฉบับนี้ไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องก ารใช้เงินหรือเรื่องของซุปเปอร์บอร์ดเลย
  6. มีหลักประกันอะไร ว่าจะมีการประมูล 4G ภายในเร็ววันนี้ เพราะการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยึดอำนาจ ก็เป็นเหตุให้มีการเลื่อนประมูล 4G และก็มีความพยายามในการร่างกฎหมาย 10 ฉบับที่ว่านี้ ซึ่งอาจทำให้ตีความได้ว่า รัฐบาลไม่ต้องการให้มีการประมูลคลื่นต่างๆ รวมทั้งคลื่น 4G ด้วย

ทางด้านสฤณี อาชวานันทกุล ประธานมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง (เครือข่ายพลเมืองเน็ต) ออกมากล่าวเสริมว่า หากกฎหมายจะตอบโจทย์การนำไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลจริง กฎหมายจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและผู้ประก อบการ ทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัว (privacy) ว่ารัฐจะไม่มาสอดแนมประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจโดยไม่ มีเหตุอันควร และความมั่นใจในเสถียรภาพของระบบ (information security) อีกทั้งสร้างสนามแข่งขันที่เท่าเทียมและเป็นธรรม เพราะการพูดถึงเศรษฐกิจดิจิทัล คือการพูดถึงเศรษฐกิจสมัยใหม่ นวัตกรรมต่างๆ เป็นเศรษฐกิจที่โดยธรรมชาติควรจะเอื้อให้ผู้ประกอบกา รรายเล็กที่อาจไม่ได้มีทุนมาก เข้ามานำเสนอบริการให้เราได้เลือกใช้ แต่หากมีหน่วยงานหนึ่งเป็นทั้งคนกำกับ ส่งเสริม และเป็นคนทำธุรกิจด้วย แบบนี้จะส่งผลเสียต่อการสร้างสนามแข่งขัน และต่อผู้บริโภคเอง ที่จะไม่ได้บริการที่หลากหลายให้เลือกใช้
ส่วนในเรื่องความปลอดภัยของระบบสารสนเทศนั้น สฤณีกล่าวว่า การให้อำนาจรัฐในการสอดแนมประชาชนไม่ได้ช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับระบบ ทว่าสิ่งที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยของระบบคือเรื่องม าตรฐานความปลอดภัย ความพร้อมของเจ้าหน้าที่ และเรื่องการประสานงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐและเ อกชน การออกกฎหมายที่เอื้อให้รัฐสอดแนมประชาชนจึงไม่ได้ตอ บโจทย์ที่ต้องการแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยของระบบสารสน เทศ นอกจากนี้ หากไปดูกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ของต่างประเทศ เช่น ของสหรัฐอเมริกาที่เผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์มากขึ ้นเรื่อยๆ ก็จะพบว่ากฎหมายมีความชัดเจนว่ากฎหมายมุ่งดูแลในเรื่ องทางเทคนิคเท่านั้น
ที่มา - Thai Netizen Network
" />
Law, Privacy, TDRI, Thailand




อ่านต่อ...