นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมเป็นต้นไป เว็บไซต์สังคมออนไลน์ Weibo (เวย์ปั๋ว) หรือ Twitter ของจีน ผู้ใช้ชาวจีนจะต้องให้ชื่อจริงและหมายเลขบัตรประชาชน กับทางการจีนก่อนเข้าใช้ กฎใหม่ที่ออกมานี้ทำให้สถานที่ที่เปิดให้มีการพูดคุย อย่างเสรีซึ่งมีเพียงไม่กี่แห่งในจีนต้องมีอันแปรเปล ี่ยนไปอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งผู้คนจำนวนมากมองว่าการที่ออกกฎบังคับส่งข้อมูลใ ห้กับทางการจีนเช่นนี้จะเป็นการเร่งให้ Weibo ล่มสลายเร็วขึ้น
องค์กรควบคุมอินเทอร์เน็ตของจีนระบุตัวเลขผู้ใช้ Weibo ว่า เมื่อปีที่ผ่านมา มีผู้เลิกใช้ไปทั้งสิ้น 56 ล้านราย จากจำนวนผู้ใช้ทั้งหมด 331 ล้านราย เหลือเพียง 275 ล้านราย นอกจากนี้ ผลการวิจัยของศูนย์การศึกษาด้านวารสารศาสตร์และสื่อม วลชนของมหาวิทยาลัยฮ่องกงซึ่งตีพิมพ์เมื่อเดือนเมษาย นปีที่ผ่านมา ยังระบุว่า 94% ของข้อความที่โพสต์ใน Weibo โพสต์โดยผู้ใช้เพียง 5% หรือ 10 ล้านราย และมีผู้ใช้เกือบ 60% ที่ไม่เคยโพสต์อะไรเลย
ส่วนหนึ่งที่ทำให้ Weibo เสื่อมความนิยมลงนั้น คือการเข้ามาของ WeChat หรือแพลตฟอร์มสำหรับส่งข้อความแชท ซึ่งนอกจากจะมีกราฟิกที่สวยงามน่าดึงดูดกว่า Weibo แล้ว WeChat ยังใช้ระบบ invite-only ทำให้ทางการจีนเข้ามาสอดส่องได้ยากกว่า Weibo มาก
ทั้งนี้ ตัวการสำคัญก็ยังคงเป็นทางการจีน โดยในปี 2012 ทางการจีนได้ออกกฎแบนโพสต์ของ Weibo ที่มีลักษณะ "เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง, ชื่อเสียงและผลประโยชน์ของประเทศ" (ดูเหมือนไทยเองก็ไปลอกจีนมาแล้วออกมาในชื่อ "พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์") บัญชีผู้ใช้ Weibo ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลถูกปิด นอกจากนี้ทางการจีนยังเริ่มมุ่งเป้ากำจัดกลุ่มผู้ใช้ ที่มีความโดดเด่นใน Weibo ที่มีชื่อว่า "Big V" ซึ่งสมาชิกในกลุ่มต่างก็มีการยืนยันตัวตนผู้ใช้ ประกอบไปด้วยนักแสดงชื่อดัง, นักเขียน และคอลัมนิสต์ โดยมีผู้ติดตามจำนวนหลายล้านคน
สมาชิกของ Big V หลายร้อยคนถูกตำรวจจับกุมตัว โดยหนึ่งในนั้นคือ Charles Xue แกนนำคนสำคัญ ซึ่งถูกจับในข้อหาใช้บริการโสเภณี แต่สื่อของทางการจีนมองว่าเขาถูกจับเพราะการวิพากษ์ว ิจารณ์รัฐบาล
"เมื่อสี จิ้นผิง เข้ามาอยู่ในอำนาจ ผมคิดว่าเขาเข้าใจว่าอินเทอร์เน็ตมีพลังที่มีอิทธิพล ต่อประชาชนอย่างไร ดังนั้นเขาจึงพยายามทำให้แน่ใจว่าทุกอย่างอยู่ในการค วบคุมของเขา" Charlie Smith ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ FreeWeibo.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่คอยสอดส่องเนื้อหาที่ถูกเซ็นเซอร ์จาก Weibo กล่าวความเห็นเกี่ยวกับกรณีการปิดกั้นที่มีแนวโน้มรุ นแรงขึ้น เขายังกล่าวอีกว่า มาตรการกำจัด Big V เป็นเหมือนการทำลาย Weibo และปฏิกิริยาที่จะตามมา โดยการทำลายเสียงของเหล่าผู้ที่มีอิทธิพลต่อผู้อื่น ซึ่งมาจากหลากหลายสังคมที่แตกต่างกัน เป็นผลให้เหล่าผู้คนที่กำลังจะเข้าใจในพลังของอินเทอ ร์เน็ตในฐานะเครื่องมือสื่อสารต้องหุบปากเงียบลงไป
แม้จะมีการกวาดล้างสมาชิกกลุ่ม Big V ลงไป แต่ในปัจจุบันนั้นก็ยังมีสมาชิกกลุ่มที่ว่านี้อยู่ อย่างเช่น Wang Xiaoshan นักเขียนและคอลัมนิสต์ ผู้ซึ่งเคยกล่าวไว้เมื่อปี 2012 ว่า "ทุกๆ คน ต่างก็พูดถึง 'ความฝันของจีน' แต่ผมคิดว่าการที่จะบรรลุความฝันนั้นในจีน คุณจะต้องมีรายได้อย่างต่ำเดือนละ 100,000 หยวน (ประมาณ 520,000 บาท) ไม่ก็เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรืออพยพไปอยู่ต่างประเทศ" หลังจากผ่านการกวาดล้างมา ในปัจจุบัน Wang ก็เลิกวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หันมาวิพากษ์วิจารณ์ภาพยนตร์ฮอลลีวูด กับโฆษณาร้านขายไวน์ออนไลน์ของเขาเท่านั้น
นอกจากนี้ ดูเหมือนว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบ จะไม่ใช่มีเพียงคนเด่นคนดังอย่างกลุ่ม Big V อย่างเดียว เพราะหากผู้ใช้ทั่วไปที่มียอดเข้าชมมากกว่า 5,000 ครั้ง หรือมีการแชร์และส่งต่อกันมากกว่า 500 ครั้ง ที่ทำผิดกฎดังกล่าว ก็มีสิทธิ์ที่จะติดคุก 3 ปีเช่นกัน ดังในกรณีเด็กชายอายุ 16 ปี ในภาคตะวันตกของจีน ที่ถูกจับกุมหลังโพสต์ข้อความใน Weibo ว่า "เจ้าหน้าที่รัฐต่างปกป้อง (เข้าใจว่าหมายถึงความผิด?) กันและกัน"
Smith ทิ้งท้ายว่า การกระทำเช่นนี้เป็นวิธีการที่ไม่ยั่งยืน รังแต่จะสร้างความไม่พอใจ และความขัดแย้งที่ตามมาจะไม่ได้มีแต่ในเพียงอินเทอร์ เน็ต แต่จะลุกลามมายังบนท้องถนนอีกด้วย
ที่มา - BBC
Sina Weibo, China, Privacy, WeChat




อ่านต่อ...