เมื่อคืนนี้ FCC หรือ กสทช. ของสหรัฐอเมริกา ลงมติสนับสนุนกฎเกณฑ์ net neutrality ห้ามผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) บล็อคหรือบีบความเร็วทราฟฟิกประเภทใดเป็นพิเศษ
ประเด็นเรื่อง net neutrality เป็นประเด็นถกเถียงในต่างประเทศมาหลายปีแล้ว ที่มาของเรื่องนี้คือ ISP มักต้องการบีบทราฟฟิกของผู้ให้บริการออนไลน์บางประเภ ท (เช่น Netflix หรือ YouTube) ให้ส่งข้อมูลได้ช้าลง และขายสิทธิการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงขึ้น (fast lane) ในแพ็กเกจที่ต้องจ่ายเพิ่ม
บริษัทสายไอทีอย่าง Netflix, Google, Facebook สนับสนุนนโยบาย net neutrality หรือทราฟฟิกทุกอย่างต้องถูกปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนบรรดา ISP และผู้ให้บริการโทรศัพท์รายใหญ่ๆ อย่าง AT&T, Verizon ต่อต้านนโยบายนี้
FCC เคยออกกฎ net neutrality มาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2010 แต่กฎเกณฑ์ไม่เข้มงวดมากนัก ทำให้ Verizon ยื่นฟ้องและชนะคดีจนกฎแทบไม่มีผลบังคับใช้ รอบนี้ FCC กลับไปทำการบ้านมาใหม่ให้กฎเข้มงวดขึ้น โดยปรับเงื่อนไขให้อินเทอร์เน็ตกลายเป็น "สาธารณูปโภคพื้นฐาน" เทียบเท่าการโทรศัพท์คุยด้วยเสียง จึงถูกกำกับดูแลเข้มงวดกว่าตามกฎหมายโทรคมนาคมของสหร ัฐ (Communications Act)
มุมมองเรื่อง net neutrality ภายใน FCC เองก็แยกเป็นสองฝ่ายชัดเจน โดยกรรมการเสียงข้างมากที่แต่งตั้งโดยพรรคเดโมแครตสน ับสนุน net neutrality ส่วนกรรมการเสียงข้างน้อยฝ่ายรีพับลิกันคัดค้าน ผลการลงมติคือ 3-2 โดยฝ่ายเดโมแครต (รวมถึงประธาน FCC คือ Tom Wheeler) ลงมติ 3 คะแนนสนับสนุนกฎ net neutrality ฉบับใหม่
หลัง FCC ลงมติ 3-2 ทางบริษัทโทรคมนาคมทั้ง AT&T และ Verizon ก็ออกมาแถลงการณ์แสดงความผิดหวังต่อมติครั้งนี้ โดยกรณีของ Verizon ไปไกลถึงขนาดแถลงการณ์เป็นรหัสมอร์ส มีเนื้อหาโจมตี FCC ว่ากำลังพาชาวอเมริกันย้อนยุคไปยังปี 1934 ปีเดียวกับที่กฎหมาย Communications Act ผ่านสภา (ใครอยากถอดโค้ดรหัสมอร์ส เข้าไปดูได้ที่ Verizon)

ที่มา - Ars Technica
FCC, USA, Telecom, Net Neutrality, Verizon




อ่านต่อ...