ในการประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษ ฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2558 (งานเดียวกับข่าวเห็นชอบ กสทช. เดินหน้าประมูล 4G) คณะกรรมการฯ ยังมีมติให้หน่วยงานราชการไทยไม่สามารถของบซื้อ-ทำศูนย์ข้อมูล (data center) เฉพาะหน่วยงานของตัวเองได้อีกต่อไป แต่ต้องเปลี่ยนมาใช้ "ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ" แทน ตามแผนการบูรณาการศูนย์ข้อมูลภาครัฐ (Data Center Consolidation) เพื่อลดความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติจะเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลโครงก ารในเร็วๆ นี้ โดยโครงการจะต้องดำเนินการเสร็จภายใน 12 เดือน ตอนนี้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA) กำลังศึกษารายละเอียด
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานบอร์ด EGA ระบุว่านอกจากเรื่องการบูรณาการศูนย์ข้อมูลแล้ว ขั้นต่อไปจะผลักดันให้หน่วยงานราชการเปิดเผยข้อมูลภา ครัฐ (Open Data) เพื่อให้หน่วยงานอื่นๆ รวมถึงประชาชนนำข้อมูลไปต่อยอดได้ด้วย
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ EGA
หมายเหตุ ในมติของคณะกรรมการฯ ระบุว่ามีข้อยกเว้นให้ "หน่วยงานราชการสำคัญสองหน่วย" ที่ไม่ต้องปฏิบัติตามมตินี้ แต่ไม่บอกว่ามีหน่วยงานอะไรบ้าง ผมยังหามติฉบับเต็มไม่ได้ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมจะมารายงานครับ
หม่อมอุ๋ยเผยแผนสร้างดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ ปูพื้นรัฐบาลดิจิทัล
รองรับนโยบายดิจิตัล อีโคโนมี ปรับกระบวนภาครัฐเว้นของบสร้างศูนย์เอง
เตรียมเปิดให้เอกชนเข้าประมูล ส่งต่อ EGA ดูแลทั้งระบบ
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2557 ในส่วนของนโยบายการสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลได้กำหนดให้มีการส่งเสริมและวางรากฐานเศรษฐกิจ ดิจิทัลของประเทศอย่างจริงจัง ซึ่งมีทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่มุ่งเน้นยุทธ ศาสตร์การพัฒนาใน 5 ด้าน คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ (Hard Infrastructure) โครงสร้างพื้นฐานด้านการบริการ (Service Infrastructure) โครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรฐาน (Soft Infrastructure) ด้านส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Digital Economy Promotion) และด้านการพัฒนาสังคมดิจิทัล (Digital Society)
ขณะนี้ ทุกยุทธศาสตร์มีความคืบหน้าพอสมควร เนื่องด้วยทุกหน่วยงานซึ่งรับทราบนโยบายได้เร่งดำเนิ นการเดินหน้าตามหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยอย่างเต็มกำ ลังความสามารถ เริ่มจากการจัดตั้งเนชั่นแนล บรอดแบนด์ หรือบรอดแบนด์แห่งชาติ ที่จะนำเครือข่ายใยแก้วนำแสง หรือไฟเบอร์ออปติก เข้าถึงทุกพื้นที่ ทุกสถานประกอบการ และทุกบ้านทั่วประเทศ ซึ่งทำได้โดยไม่ต้องออกกฎหมายรองรับ ใช้เพียงตั้งคณะเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจแล ะสังคม ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานขึ้นมาพิจารณาเตรียมการ ในด้านต่างๆ ก่อนที่กฎหมายจะออกมา ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการชุดนี้ผ่านการอนุมัติโดยคณะรัฐม นตรีแล้ว การจัดเตรียมดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ที่จะรวมข้อมูลที ่มีหน่วยงานวิเคราะห์ไว้แล้วมารวมไว้ด้วยกัน ก็เป็นอีกภารกิจหนึ่งที่คืบหน้าไปมาก โดยในการจัดประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการเตรียมการด้า นดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมครั้งที่ 1/2558 ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 18 มีนาคม มีมติให้หน่วยงานราชการทั้งหมดยกเว้นหน่วยราชการสำคั ญสองหน่วยไม่สามารถของบประมาณเพื่อจัดซื้อหรือจัดทำศ ูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์หรือ IDC เป็นของหน่วยงานเฉพาะของตนเองอีกต่อไป โดยให้ปรับเปลี่ยนมาใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่ ซึ่งจะเป็นศูนย์เครือข่ายรวบรวมข้อมูลทุกด้านที่ทำงา นอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยเปิดให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน และรัฐจะเปิดให้เอกชนมาประมูล โครงการต้องเสร็จภายใน 12 เดือน และเปิดใช้งานให้ได้ภายใน 10 เดือน
จากมติดังกล่าวส่งผลให้แนวโน้มของธุรกิจดาต้าเซ็นเตอ ร์ของประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ไปอย่างสิ้น เชิง รัฐกับเอกชนจะเข้ามาร่วมกันลงทุน โดยจะมีหน่วยงานกลางรับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานการให ้บริการ มาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูล เพื่อให้คุณภาพและราคาค่าบริการที่หน่วยงานภาครัฐใช้ บริการอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน ต้องมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยรองรับ มีสัดส่วนของพื้นที่เหมาะสมในการให้บริการตามความต้อ งการของท้องถิ่นทั่วประเทศไทย ที่สำคัญที่สุดก็คือ ดาต้าเซ็นเตอร์ทุกแห่งจะมีการเชื่อมต่อถึงกัน และสามารถนำไปสู่การบริหารข้อมูลขนาดใหญ่อย่างเช่น Big Data ได้ในอนาคต
ทั้งนี้ ดาต้าเซ็นเตอร์หรือไอดีซี มีความจำเป็นมากสำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จะทำให้เกิดปริมาณข้อมูลมหาศาล ขณะเดียวกัน ภาครัฐต้องการจะนำเอาความต้องการใช้งานของภาครัฐไปกร ะตุ้นให้เกิดการลงทุนธุรกิจของเอกชน แต่ปัจจุบันยังมีผู้ให้บริการไม่มาก และแต่ละแห่งไม่ได้มีการเชื่อมต่อระบบกัน ดังนั้นเพื่อสร้างเสถียรภาพของดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งประ เทศ รัฐต้องสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดพื้นที่ขนาดใหญ่โดยหน ่วยงานรัฐจะเป็นผู้ใช้รายใหญ่เพื่อกระตุ้นความต้องกา รโดยรวมของประเทศขึ้นมา โดยดาต้าเซ็นเตอร์เหล่านี้อาจเป็นการร่วมลงทุนกับทาง ภาคเอกชน ซึ่งขณะนี้ทาง EGA กำลังศึกษารายละเอียดร่วมกับผู้ให้บริการไอดีซีทั้งภ าครัฐและเอกชน

ดังนั้น ต่อไปนี้ศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยจะเข้าสู่ยุค ที่เรียกว่า

อ่านต่อ...