ตำนาน Mz ตอน 1
                                
กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

ชื่อกระทู้: ตำนาน Mz ตอน 1

  1. #1
    Junior Member
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    สถานที่
    -
    ข้อความ
    7
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    0

    Arrow ตำนาน Mz ตอน 1



    หลายคนคงพอทราบแล้ว และบางคนคงไม่ทราบ
    พอดีไปเจอใน นักเลงมอเตอร์ไซด์ เมื่อ 8 ปีมาแล้ว เลยเอามาเล่าสู่กันฟัง

    MZ อยู่มาได้ทุกวันนี้มีประวัติโชกโชน โดยเฉพาะกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ และเป็นอีกค่ายที่มีความพัวพันกับหลายยี่ห้อ โดยเฉพาะในสังกัดเยอรมัน สำหรับตำนานรถแรงจากแดนคอมมิวนิสต์ เยอรมันตะวันออก (ขณะนั้น) เริ่มขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เพียงไม่กี่ปี ตอนนั้นวงการมอเตอร์ไซด์ยุโรปเชื่อกันว่า เครื่องยนต์ 2 จังหวะแบบเดิมๆ คงใกล้กาลอวสาน เพราะไม่สามารถพัฒนาต่อไปอีกได้แล้ว นอกจากนั้นโรงงานผลิตหลายแห่งยังเชื่อมั่นเครื่องยนต ์ 4 จังหวะมากกว่า และในที่สุด DKW ก็แหกกฎด้วยการสร้างระบบซูเปอร์ชาร์จให้กับเครื่องยน ต์ 2 จังหวะเมื่อปี 1920 โดยใช้ชื่อรุ่นว่า “ดีคส์” (Deeks) หลายต่อหลายคนวิจารณ์ว่าสมรรถนะของมันเยี่ยมมาก แต่เสียงดังพิกล

    อย่างไรก็ตามแม้จะมีเสียงค่อนแคะเกี่ยวกับอุปกรณ์เคร ื่องยนต์รุ่นที่ว่า ค่อนข้างใหญ่และดูเทอะทะ ไม่เหมาะสำหรับสนามประลองความเร็ว แต่โรงงาน DKW ก็ยังคงตั้งหน้าตั้งตาผลิต 3 ปีต่อมาเครื่องหมายการค้าถูกเปลี่ยนเป็น MZ ขณะที่โรงงานยังคงใช้ย่านซาชูปาอู ในเมืองแซกโซนี่ของเยอรมันตะวันออกเหมือนเดิม (เยอรมนีช่วงหลังสงครามถูกแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ตะวันตก กับ ตะวันออก ซึ่งอย่างหลังปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์โดยมีรัสเซีย หนุนหลัง) ไม่มีใครรู้เลยว่าหลังสงครามสิ้นสุดแล้วโรงงาน DKW ต้องพบกับความวิบัติอย่างไร เนื่องจากในขณะนั้นเมืองแซกโซนี่กลายเป็นส่วนหนึ่งขอ งที่ตั้งกองทหารของรัสเซีย จวบจนปี 1946 จึงมีผู้รายงานว่าเมืองซาชูปาอูบางส่วนรอดพ้นจากการท ำลาย สามารถกลับไปผลิตมอเตอร์ไซด์ 2 จังหวะได้ใหม่อีกครั้ง ลักษณะคล้ายคลึงกลับ DKW มาก พวกหลังม่านเหล็กเรียกว่า IFA

    ในช่วงทศวรรษที่ 40 วงการแข่งขันมอเตอร์ไซด์ทางเรียบกระทบกระเทือนอย่างห นักเพราะผลพวงของสงคราม กระทั่งปี 1949 ก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง โดยเฉพาะในเยอรมันตะวันออกมีการสร้าง RT125 ขึ้นมา เป็นรถสูบเดียว 2 จังหวะ ที่ให้แรงม้า 6.5 bhp ที่ 6,500 รอบต่อนาที รูปร่างเหมือนกับ DKW รุ่นก่อนสงครามไม่มีผิด ใช้ระบบกันสะเทือนหน้าแบบเทเลสโคปิค และระบบกันสะเทือนหลังชนิดพลั้งเกอร์ นับเป็นผลงานอันปราณีตของโรงงานซาชูปาอู ที่ออกสู่สายตาสาธารณชนอีกครั้ง

    ต่อมาปี 1951 ระบบซูเปอร์ชาร์จในมอเตอร์ไซด์ถูกกำหนดเป็นข้อห้ามโด ยสมาพันธ์แข่งรถจักรยานยนต์นานาชาติ หรือ FIM แต่ข้อห้ามนี้ดูเหมือนว่าจะไม่มีผลต่อโรงงานซาชูปาอู ในเยอรมันตะวันออก เพราะวิศวกรเลิกคิดที่จะผลิตมานานแล้ว พวกเขาหันไปทำเจ้า RT125 ให้เป็นมอเตอร์ไซด์ขนาด 9 แรงม้า ที่ 7,000 รอบต่อนาที พร้อมกันนั้นวิศวกรมือดีอย่าง วอลเตอร์ คาเดน ก็เข้ามาร่วมเสริมทีม โดยประวัติของเดน เคยเป็นผู้ออกแบบให้กับ “เคนไนทซ์” ซึ่งมีความสามารถทางด้านเครื่องยนต์โดยเฉพาะ สิ่งแรกที่เดนทำเมื่อมาอยู่ที่นี่ก็คือ ติดตั้งระบบ “โรตารี่ ดิสค์ วาล์ว (Rotary Disc Valve เป็นระบบไอดีชนิดแผ่นหมุนทางด้านข้างของแคร้งค์เครื่ อง) ให้กับ RT125 ผลปรากฎว่ากำลังม้าเพิ่มเป็น 11 bph ที่ 8,000 รอบต่อนาที ข่าวนี้สร้างความยินดีต่อชาวหลังม่านเหล็กเป็นอย่างย ิ่ง รัฐบาลกลางได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน โดยขึ้นกับคณะกรรมการวัฒนธรรมทางกายภาพและการกีฬา แล้วในปี 1953 โรงงานซาชูปาอูก็ได้รับอิสระไม่ต้องถูกควบคุมจากรัฐบ าลคอมมิวนิสต์ มีการตั้งชื่อบริษัทเป็น “วีอีบี มอเตอร์ราดเวิร์ค ซาชูปาอู” (VEB Motorradwork ZSCHOPAU) พร้อมเครื่องหมายการค้า MZ ที่ย่อมาจาก มอเตอร์ราดเวิร์ค ซาชูปาอู นั่นเอง

    MZ ยุคคอมมิวนิสต์รุ่งโรจน์ ดูเหมือนจะไปได้ดีกว่าที่คิด ปี 1954 มีการเพิ่มกำลังรุ่น 125 เป็น 4 สปีด 13 แรงม้า ที่ 8,000 รอบต่อนาที ระบบกันสะเทือนหลังใช้สวิงอาร์มร่วมกับช็อค แต่ระบบกันสะเทือนหน้ายังคงเป็นเออร์เลียร์พลั้งเกอร ์ แพทเทิร์น หรือระบบผลักขึ้น-ลง แบบง่ายๆ เท่านั้น ส่วนรุ่น 250 กรังด์ปรีซ์ก็คือ เครื่องยนต์ 125 สองเครื่องมาประกบกันนั่นเอง

    มีต่อตอน 2

  2. #2

    Thumbs up ละ...ละ...แหล่ม ! เลย

    แหล่ม...เลยครับ/\2
    แล้วพอจะมีข้อมูลของ 175 ถังเหลี่ยม กับ โตงแตงบ้างป่าวครับ
    เห็นเค้าบอกว่ามีแค่เมืองไทย...ไม่รู้จิงป่าว
    ถ้ามีก็เอามาลงเป็นความรู้กันบ้างนะครับ
    บนถนนที่ทอดทางสายหนึ่ง ผู้คนขันแข่งต่างคนแสดงให้ระแวงต่อกัน...ต่างหวังพิชิตดังดีเด่นมันต้องเป็นของฉัน...ไม่เหลือ การแบ่งปัน...จนเป็นสันดาน...ของคน

  3. #3
    Senior Member Safety Man's Avatar
    วันที่สมัคร
    Dec 2005
    สถานที่
    ลาดกระบัง
    ข้อความ
    1,752
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    20

    มาตรฐาน

    จริง..

  4. #4
    Junior Member
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    สถานที่
    -
    ข้อความ
    7
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 0 ครั้ง ใน 0 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    0

    มาตรฐาน ตอน 2


    ปี 1961 "mz 125" เพิ่มกำลังเครื่องยนต์ได้อย่างน่ากลัว เป็น 25 แรงม้า ที่ 10,800 รอบต่อนาที แน่นอนฝีมือการคิดค้นยังคงเป็นสมองจาก "วอลเตอร์ คาเดน" ตามบันทึกเก่าๆ ระบุไว้ว่าเขาเคยทดลองเครื่องยนต์ขนาด 200 แรงม้า ที่ 1 ลิตร (ประมาณ 1,000 ซีซี.) ประสบความสำเร็จ แต่น่าเสียดายข้อมูลอันนั้นได้หายสาบสูญไปเสียก่อน
    ย้อนกลับมาที่ปี 1961 ปีเดียวกัน การแข่งขันชิงแชมป์โลกนับว่าดุเด็ดเผ็ดมันส์มากยิ่งข ึ้นเมื่อแต่ละทีมนักแข่งระดับยอดเต็มสังกัดสำหรับ "mz" เองได้ "เอิร์น เดกเจอร์", "อลัน เชฟเฟิร์ด", "ลาสซโล ซาโบ้",
    "ฮานส์ ฟิสเซอร์" และ "วอลเตอร์ เบรเม่" มาร่วมทีม นอกจากนั้นเครื่องยนต์โมเดลใหม่ยังถูกเปลี่ยนเป็นระบ บระบายความร้อนด้วยน้ำทั้งรุ่น 125 และ 250 ชนิดสองสูบ การแข่งขันอาร์เจนติน่ากรังซ์ปรีซ์สนามสุดท้าย "เดกเนอร์" กลายเป็นแชมป์โลกรุ่น 125 แม้ก่อนหน้านั้นเขาจะไม่ค่อยสมบูรณ์ ในสนามเยอรมันตะวันตก แต่ "เดกเนอร์" กลายเป็นแชป์โลกรุ่น 125 แม้ก่อนหน้านั้นเขาจะไม่ค่อยสมบูรณ์ ในสนามเยอรมันตะวันตก แต่ "เดกเนอร์" ก็พิสูจน์ว่าเขามีความสามารถพอที่จะดับดวงรุ่งอย่าง "ทอมฟิลลิส" ของทีมฮอนด้า ซึ่งตอนนั้นรถญี่ปุ่นยี่ห้อนี้กำลังมีอิทธิพลต่อกรรม การและผู้จัดการแข่งขันมาก ภายหลังรถยี่ห้อ "ซูซูกิ" และ "ยามาฮ่า" ได้เอาระบบโรตารี่ ดิสค์ วาล์ว ไปใช้กับตนเองบ้าง
    ทางด้าน "mz" แม้จะมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องในสนามแข่ง แต่รถที่ทำขายก็ยังเป็นรถพื้นๆ เครื่องยนต์ 2 จังหวะสูบเดียว ไม่ต่างจาก "dkw" สมัยก่อนมากมายอะไรนัก ในสายตาของพวกยุโรปตะวันตกมองว่าหน้าตาของมันประหลาด ใช้ระบบกันสะเทือนพิลึกกิกกือ (ด้านหน้า) โคมไฟติดกับถังน้ำมัน เวลาเลี้ยวก็ไม่เลี้ยวตาม เฟรมใช้เหล็ก แข็งผสมกับอลูมินั่มอัลลอยบางชิ้น ชื่อของ "mz" จึงมักไม่อยู่ในหัวใจของคนตะวันตก ขณะที่กลุ่มประเทศหลังม่านเหล็กกลับเป็นที่รู้จักและ ขายได้ดี อย่างไรก็ตามปี 1956 ชื่อเสียง "mz" ในรายการอินเตอร์เนชั่นแนล ซิกส์เดย์ ไทรอัล ก็กระหึ่มขึ้นเมื่อ "วอลเตอร์ วิงค์เลอร์" คว้าเหรียญเงิน ช่วงนี้นับเป็นปีที่ "mz" รุ่งโรจน์ในการแข่งขันรายการไอเอสดีทีต่างๆ ทั้งยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก ได้รางวัลมาเป็นกระบุง จนในที่สุดรัฐบาลเยอรมันตะวันออกได้ให้มีการแข่งขันช ิงถ้วยกุนเธอร์ เบอมันน์ ปรากฏว่าทีมของ Mz คว้ารางวัลมาอีก ประกอบด้วย "เบิร์น อูลมันน์" ขี่รุ่น 300, "เวอร์เนอร์ ซาเลฟสกี้" กับ "ฮานน์ เวเบอร์" ขี่รุ่น 250 และ "ปีเตอร์ อูห์ลิก" กับ "ฮอร์ส โลห์" ขี่รุ่น 175 ทั้งหมดล้วนเป็นพนักงานของโรงงาน Mz แทบทั้งนั้น พวกเขาชนะรายการอื่นๆ อีกหลายหนไม่ว่าจะเป็นในสวิเดน, เยอรมันตะวันตก หรือสุดยอดรายการทางเรียบไอเซิ่ลอ๊อฟแมน นักแข่งเหล่านี้ขี่ได้อย่างทรหดแม้ท่ามกลางสายฝนเขาก ็ยังขี่ได้ นับเป็นเกียรติยศของชาวเยอรมันตะวันออกสมัยนั้นโดยแท ้
    ความสำเร็จของ "mz" ถ้าจะดูกันตามเหตุผล เป็นเพราะสมัยก่อนไม่ค่อยมีใครเชื่อถือเกี่ยวกับชิ้น ส่วนที่ทำด้วยอลูมินั่มอัลลอย หรือโลหะเบาๆ ชนิดอื่นๆ ขณะที่ "mz" นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาดัดแปลงใช้ได้อย่างยอดเยี่ยมไม ่ว่าจะเป็นตัวเครื่องยนต์, ข้อเหวี่ยง, เสื้อสูบ, ฝาสูบ คลัทช์ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่โรงงานซาชูปาอูทำมาก่อนทั้งนั้น
    และนี่ก็คืออดีตอันรุ่งเรืองของ "mz" ที่ปัจจุบันพวกเขากลายเป็นคนเยอรมันเหมือนกันหมดไม่ว ่าจะฝั่งซ้ายหรือฝั่งขวา

Bookmarks

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •