ก่อนที่จะลงรายละเอียดข่าวนี้ก็ต้องท้าวความเกี่ยวกั บแพ็คเกจที่ไมโครซอฟท์วางขาย Windows ก่อนครับ
ปัจจุบันนี้ไมโครซอฟท์วางขาย Windows 7 กับผู้ใช้งานทั่วไปในสามรูป คือ ชุดอัพเกรด ชุด OEM สำหรับผู้ผลิตและผู้ประกอบคอมพิวเตอร์ (System Builder) และชุด FPP (หรือที่เรียก "แบบกล่อง") โดยชุด System Builder จะมีราคาถูกกว่าชุด FPP ทำให้ผู้ใช้ (end user) ซื้อไปติดตั้งลงคอมพิวเตอร์ของตน แต่ความเป็นจริงแล้วไมโครซอฟท์ห้ามผู้ใช้ติดตั้งและใ ช้ Windows ที่มีไลเซนส์แบบ OEM (System Builder) เอง แต่ต้องซื้อแบบกล่องมาใช้
ล่าสุด ไมโครซอฟท์ได้ปรับเปลี่ยนข้อตกลงว่าด้วยการอนุญาตสำห รับผู้ใช้ (EULA) ของ Windows 8 แบบ OEM (System Builder) โดยเรียกมันใหม่ว่า Personal Use License for System Builder (การใช้งานส่วนบุคคลสำหรับผู้ผลิตและผู้ประกอบคอมพิว เตอร์) สำหรับใจความสำคัญของ EULA นี้คือ จะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถซื้อ Windows ไปติดตั้งและใช้งานบนคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องที่ผู้ใช้ประกอบ (build) ขึ้นมาเพื่อใช้งานส่วนบุคคล หรือติดตั้งและใช้งานบนคอมพิวเตอร์เสมือน (local virtual machine) หรือบนอีกพาร์ติชันหนึ่งได้ [ผู้เขียนข่าวลง Blognone เข้าใจว่า ในที่นี้ "local virtual machine" หมายถึงคอมพิวเตอร์เสมือนที่รันอยู่บนคอมพิวเตอร์หลั กของผู้ใช้เอง ไม่ใช่คอมพิวเตอร์เสมือนที่รันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ ส่วน "อีกพาร์ติชันหนึ่ง" หมายถึงพาร์ติชันที่ไม่ใช่ตัวที่ใช้บู๊ตเข้าสู่คอมพิ วเตอร์ได้] สำหรับไลเซนส์ Personal Use License for System Builder จะมากับ Windows ที่จะได้รับการวางขายในวันที่ 26 ต.ค. เป็นต้นไป
แล้วคนที่ซื้อคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปอย่างโน้ตบุ๊กที่ไ ม่มี Windows มาให้ล่ะ ยังต้องซื้อแบบ FPP อยู่ต่อไป?
ที่มา: ZDNet


อ่านต่อ...