วันนี้นอกจาก กสทช. แถลงข่าวเรื่องการกำกับดูแลค่าบริการ 3G ลง 15-20% จากราคาปัจจุบัน ทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ กสทช. ยังเผยแพร่บทความของ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ หนึ่งในกรรมการ กทค. ชื่อว่า ถึงเวลาวิพากษ์ การประมูล 3 จี อย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของประชาชน ต่อสาธารณชนอีกด้วย
บทความนี้อธิบายประเด็นที่ กสทช. ถูกโจมตีทั้งหมด 7 ประเด็น เช่น ระบบสัมปทาน รายได้ของรัฐบาล ราคาตั้งต้นของการประมูล กระบวนการโจมตี กสทช. และ กทค. เป็นต้น
ผมนำเวอร์ชันเต็มๆ มาลงเผยแพร่บน Blognone เพื่อให้ทุกท่านได้อ่านและตัดสินกันเองครับ
ฉบับ Scribd
ถึงเวลาวิพากษ์ประมูล 3 จี อย่างสร้างสรรค์
ฉบับ plain text
ถึงเวลาวิพากษ์ การประมูล 3 จี อย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของประชาชน
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า จากการเคลื่อนไหวการคัดค้านการประมูล 3 จี ทำให้หลายฝ่ายไม่สบายใจเกรงว่าจะเป็นปัญหาลุกลามบานป ลายและเกิดความเสียหายต่อประเทศไทย ตนในฐานะกรรมการ กสทช. และเป็นหนึ่งในกรรมการ กทค. ขอยืนยันว่าได้ดำเนินการในเรื่องนี้ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต รอบคอบ และใช้ดุลพินิจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประเทศชาติ ในขณะนี้ โดยมุ่งประโยชน์ของประชาชนชาวไทย อย่างไรก็ตาม ได้ติดตามเรื่องต่างๆ และข้อมูลข่าวสารด้วยความเป็นห่วง รวมทั้งได้มีการหารือ กับผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์ในเรื่องดังกล่าวดังนี้
ประเด็นแรก การเคลื่อนไหวต่อต้านการประมูลในครั้งนี้มีการนำประเ ด็นเรื่องสัมปทานมาเกี่ยวข้องทั้งๆ ที่มีหลายคนมีแนวคิดที่ไม่เห็นด้วยกับระบบสัมปทานมาก ่อน รวมทั้งเคยผลักดันให้มีการเปลี่ยนจากระบบสัมปทานเป็น ระบบการแข่งขัน แต่ตอนนี้มีความพยายามนำเรื่องการประมูลมาเปรียบเทีย บกับข้อดีของระบบสัมปทาน ทั้งๆ ที่ ระบบการประมูลคลื่นความถี่จะเป็นการช่วยลดการผูกขาดอ ำนาจของหน่วยงานของรัฐ เพิ่มการแข่งขันให้ภาคเอกชน ส่งผลให้คุณภาพดีขึ้น และราคาค่าบริการถูกลง การนำประเด็นเรื่องราคาตั้งต้นการประมูลมาโจมตีว่า กสทช. ตั้งราคาตั้งต้นการประมูลต่ำไป โดยมีการสื่อข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่คลาดเคลื่อนแ ละนำมาเปรียบเทียบกับมูลค่าสัมปทาน ทั้งๆ ที่การประมูลครั้งนี้เป็นการนำคลื่นความถี่ที่ไม่อยู ่ภายใต้สัมปทานมาจัดสรรให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดย มิได้เข้าไปแทนที่ระบบสัมปทาน จึงเป็นเรื่องที่น่ากังขาอย่างยิ่ง
ประเด็นที่สอง การเคลื่อนไหวคัดค้านการประมูลในครั้งนี้เคลื่อนไหวใ นประเด็นที่ต้องการเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล โดยการพยายามให้ กสทช. หารายได้ให้รัฐบาลเยอะๆ และมุ่งโจมตีว่ารัฐบาลจะเสียผลประโยชน์จากการประมูลใ นครั้งนี้ ทั้งๆ ที่ กสทช. เป็นองค์กรของรัฐก็จริงแต่เป็นอิสระจากรัฐบาลและมิได ้มีหน้าที่หารายได้ให้รัฐบาล แต่ต้องจัดสรรคลื่นความถี่ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จึงมีข้อสงสัยว่าเหตุใดจึงเคลื่อนไหวเช่นนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดต่อบทบาทอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ตามรัฐธรรมนูญและกฏหมาย
ประเด็นที่สาม การให้ กสทช. กำหนดราคาตั้งต้นการประมูลสูงเกินไปโดยไม่มีหลักวิชา การรองรับ ทำให้ส่งผลเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายย่อยไม่ให้เข ้าร่วมการประมูลได้ ทำให้ตลาดผูกขาดเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น เหตุใดการคัดค้านจึงต้องการให้ กสทช. กำหนดราคาตั้งต้นที่สูงอย่างไม่มีเหตุผล โดยมีการบิดเบือนข้อเท็จจริงจากผลการศึกษาของคณะผู้ว ิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่นนี้ หาก กสทช. ทำตามข้อเรียกร้อง ย่อมเป็นการทำให้ กสทช. กระทำผิดกฎหมายเนื่องจากถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ต่อผู ้ประกอบการรายใหญ่และมุ่งหารายได้ให้รัฐบาล โดยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบที่รัฐธรรมนูญกำหนดที ่จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน
ประเด็นที่สี่ กระบวนการโจมตีการทำงาน และ discredit กสทช. ถูกทำอย่างเป็นระบบ มีการเคลื่อนไหวตั้งแต่ก่อนการประมูล มีการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ส่งต่อกันเป็นทอดๆ มีการปลุกระดมโดยใช้สื่อหลายแขนง ซึ่งถ้ากระบวนการนี้ยังดำเนินต่อไปอาจนำไปสู่ความขัด แย้งทางการเมือง ประชาชนบางกลุ่มอาจถูกโน้มน้าวให้เกิดความเข้าใจผิดๆ จนต้องการให้ล้มการประมูล 3 จีครั้งนี้
ประเด็นที่ห้า มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า กระบวนการเคลื่อนไหวนี้มิได้เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ทา งวิชาการอย่างสุจริตใจ เนื่องจากมีการปลุกเร้าให้คนไทยเกลียดชังและหวาดระแว งว่า กสทช. ทำให้รัฐสูญเสียรายได้นับหมื่นล้าน ทั้งที่จริงๆ แล้วคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลครั้งนี้ รัฐบาลไม่ได้มีต้นทุนใดๆ เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้วและใช้ได้ตลอดไปโ ดยสามารถกำหนดระยะเวลาการใช้ตามอายุของใบอนุญาตได้ เมื่อหมดใบอนุญาตก็สามารถนำมาจัดสรรได้ใหม่ และที่ผ่านมาคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz จำนวน 45 MHz ก็ถูกทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใดๆ ตรงกันข้าม หากไม่มีการนำคลื่นความถี่นี้มาจัดสรร หรือประวิงเวลาให้การจัดสรรคลื่นย่านความถี่นี้ต้องล ่าช้าออกไป จะทำให้เกิดวิกฤตต่อระบบโทรคมนาคมของไทยและเกิดความเ สียหายต่อประเทศชาติอย่างมหาศาล
ประเด็นที่หก อีกไม่ถึง 2 ปี เราก็จะเข้าสู่ AEC แล้ว หากประเทศไทยยังมีระบบโทรคมนาคมที่ไม่มีประสิทธิภาพเ ราก็จะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ไม่ได้ และเมื่อบริษัทโทรคมนาคมของต่างชาติเข้ามาแข่งขัน บริษัทโทรคมนาคมของไทยจะไม่มีโอกาสเติบโตได้ การขัดขวางผลการประมูล 3 จี จะทำให้ต่างชาติได้ประโยชน์แต่ประเทศไทยเสียหายย่อยย ับ จึงมีหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นเรื่องที่ผิดปกติที่มีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้โ ดยทำให้ประเทศชาติเสียหาย แต่ต่างชาติได้ประโยชน์
ประเด็นที่เจ็ด มีการโจมตีการทำงานของ กทค. เช่น โจมตีว่า กทค. เร่งรับรองผลการประมูล และ รีบให้ใบอนุญาตโดยพิรุธ ทั้งๆ ที่สื่อมวลชนก็เห็นแล้วว่าเราได้มีการถ่ายทอดเสียงใน วันพิจารณาผลการประมูล โดยมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ได้มุบมิบแอบทำ และไม่ได้ลุกลี้ลุกลนแต่ต้องดำเนินการตามกรอบเวลาที่ กฎหมายกำหนด นอกจากนี้มีการกล่าวหาว่า กสทช. เร่งรัดออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะการประมูล ซึ่งไม่เป็นความจริง ดังจะเห็นได้จากวันนี้ที่ กทค. ได้แถลงการณ์ยืนยันว่ามีเงื่อนไขที่ผู้ประกอบการจะต้ องดำเนินการก่อนให้บริการ 3 จี ซึ่งเราต้องแน่ใจก่อนว่าผู้ประกอบการต้องทำตามเงื่อน ไขที่เรากำหนดก่อนว่าประชาชนผู้ใช้บริการได้รับประโย ชน์สูงสุด
จึงขอวิงวอนให้ประชาชนชาวไทยรับฟังข้อมูลต่างๆ อย่างมีสติ ไตร่ตรองให้รอบคอบ อย่าให้การยั่วยุใดๆ อยู่เหนือเหตุผลจนทำให้คนไทยเกลียดชังกัน และมองข้ามประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับจากการประมูล 3 จี บทเรียนความขัดแย้งทางการเมืองในอดีตที่เกิดความเสีย หายอย่างเจ็บปวดต่อประเทศชาติ จึงคงไม่มีใครต้องการให้เหตุการณ์ความขัดแย้งนี้เกิด ขึ้นอีก ซึ่งผมขอยืนยันว่าการเมืองไม่ได้มาเกี่ยวข้องในการที ่ กสทช. จัดประมูล 3 จี ในครั้งนี้ โดยบอร์ดกระทำการโดยบริสุทธิ์ใจและทำเพื่อประโยชน์ขอ งคนไทย จึงขอให้ประชาชนชาวไทยมั่นใจว่า กสทช. จะสานต่อภารกิจเพื่อชาติให้สำเร็จให้ได้ เพื่อให้การจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับเทคโนโลยี 3 จี ซึ่งเป็นการประมูลคลื่นความถี่ครั้งแรกในประวัติศาสต ร์ชาติไทย เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จ ริง
หมายเหตุ: เน้นตัวหนาเล็กน้อยโดย Blognone
อ่านต่อ...
Bookmarks