ไมโครซอฟท์รีเสิร์ชพัฒนายกทรงอัจฉริยะและแอพเพื่อช่ว ยให้ผู้สวมใส่ไม่อยากกินตามอารมณ์
-
- ผลการให้คะแนน
- 10
ไมโครซอฟท์รีเสิร์ชพัฒนายกทรงอัจฉริยะและแอพเพื่อช่ว ยให้ผู้สวมใส่ไม่อยากกินตามอารมณ์
ไมโครซอฟท์รีเสิร์ชร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งโรเชสเตอร์ ในสหรัฐฯ และมหาวิทยาลัยเซาแธมตันในสหราชอาณาจักร พัฒนาต้นแบบ ยกทรงอัจฉริยะ (smart bra) ที่ฝังเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เครื่องวัดการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการเหนี่ยวนำไฟ ฟ้าของผิวหนัง (EDA) ไจโรสโคปแบบสองทิศทาง และเครื่องวัดอัตราเร่งแบบสามทิศทาง (ภาพที่ 1)
นักวิจัยอธิบายว่า สัญญาณ EKG และ EDA สามารถใช้ประเมินอารมณ์ของผู้สวมใส่ ณ ขณะนั้นได้ และที่เลือกใช้ยกทรงเพราะต้องการอุปกรณ์ที่ผูัใช้สวม ใส่สบายเป็นเวลานานและสามารถเก็บสัญญาณ EKG และ EDA ได้ในคราวเดียวกัน และเพราะสามารถติดตั้งอุปกรณ์ให้ตรวจจับคลื่นไฟฟ้าหั วใจใกล้หัวใจได้

ภาพที่ 1
นอกจากนั้นนักวิจัยยังพัฒนาระบบเพื่อเก็บข้อมูลจากเซ ็นเซอร์แบบเรียลไทม์ เรียกว่า GRASP (Generic Remote Access Sensing Platform) ซึ่งประกอบด้วยเซ็นเซอร์บอร์ด เฟิร์มแวร์ ไลบารีพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยระบบนี้จะส่งข้อมูลไปยังวินโดวส์โฟนผ่านบลูทูธและ ข้อมูลจะถูกสำรองขึ้นบนกลุ่มเมฆ Windows Azure และยังพัฒนาแอพ EmoTree เพื่อดูสถานะอารมณ์ของผู้สวมใส่ ณ ขณะนั้น และมีหน้าจอให้ผู้ใช้ระบุอารมณ์ด้วยตัวเองทุกชั่วโมง (ภาพที่ 2) หน้าจอบันทึกมื้ออาหารหรือขนมที่ทานเข้าไป ซึ่งเมื่อผู้ใช้บันทึกสิ่งที่ทานเข้าไปแล้วแอพจะถามอ ารมณ์ก่อนทานสิ่งเหล่านั้น และหน้าจอ "intervention screen" แนะนำให้ผู้ใช้ฝึกนับหนึ่งจนถึงสิบและหายใจเข้าออกลึ กๆ เป็นเวลา 10 ครั้ง โดยจะมีปุ่มให้กดเมื่อทำครบหนึ่งรอบ (ภาพที่ 3)

ภาพที่ 2

ภาพที่ 3
เมื่อแอพตรวจพบว่าผู้สวมใส่ยกทรงกำลังมีอารมณ์เครียด หน้าจอ intervention screen จะปรากฏขึ้นมาก่อนที่ผู้ใช้จะมีโอกาสทานอาหารหรือขนม โดยการฝึกนับถึงสิบแล้วหายใจลึกๆ นั้นเป็นกระบวนการบำบัดด้วยการรับรู้และพฤติกรรม (CBT) ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สงบสติอารมณ์และลดโอกาสที่จะเข้าส ู่โหมดการกินตามอารมณ์ (emotional eating)
ผลลัพธ์จากการทดลองยังไม่เด่นชัดนัก โดยร้อยละ 87.5 ของผู้สวมใส่บอกว่าพวกเขาเริ่มตระหนักถึงอารมณ์ของพว กเขาและผลกระทบของอารมณ์ต่อนิสัยการกินมากขึ้น แต่แค่ร้อยละ 37.5 ของผู้สวมใส่เท่านั้นที่บอกว่าพฤติกรรมการกินเปลี่ยน ไปหลังจากพวกเขาตระหนักถึงอารมณ์และจดบันทึกอาหารที่ ทานเข้าไป ส่วนเซ็นเซอร์ในยกทรงทำงานได้อย่างน่าพอใจ โดยมีความแม่นยำอยู่ที่ 72%
นักวิจัยยอมรับว่าการกินตามอารมณ์นั้นไม่ได้เกิดขึ้น กับผู้หญิงเท่านั้นแต่ยังเกิดกับผู้ชายด้วย อย่างไรก็ตามการที่จะพัฒนาฮาร์ดแวร์ที่สวมใส่ได้ให้ผ ู้ชายเป็นเรื่องยาก เนื่องจากเซ็นเซอร์จับสัญญาณ EKG จะอยู่ห่างจากหัวใจค่อนข้างมาก
ที่มา: มหาวิทยาลัยแห่งโรเชสเตอร์ ผ่าน สำนักข่าวบีบีซี
Microsoft, Research, Wearable Computing
อ่านต่อ...
-
กฎการส่งข้อความ
- You may not post new threads
- You may not post replies
- You may not post attachments
- You may not edit your posts
-
Forum Rules
Bookmarks