ยุคของนาฬิกาฉลาด (สมาร์ทวอช) อาจจะเริ่มต้นด้วย Pebble ที่สร้างปรากฎการณ์ความนิยมในหมู่นักพัฒนาเป็นวงกว้า ง จนตอนนี้เองแพลตฟอร์มของนาฬิกาก็ดูจะเป็นก้าวแรกของค อมพิวเตอร์สวมใส่ได้ที่มีการใช้งานจริงเป็นวงกว้าง ตัว Wellograph เป็นทีมพัฒนาที่แยกมาจากที่ของ Atiz ที่ทำธุรกิจเครื่องสแกนหนังสือมาก่อน โดยเครื่องพัฒนาในไทยนี่เอง
ในแง่ของฟีเจอร์แล้ว Wellograph คงไม่สามารถนับได้ว่าเป็นสมาร์ทวอชเต็มรูปแบบแบบเดีย วกับ Pebble หรือ Android Wear เพราะตอนนี้เองก็ยังไม่สามารถติดตั้งแอพพลิเคชั่นลงไ ปได้โดยตรง ฟีเจอร์สำคัญของ Wellograph คือการจับการเดินและอัตราการเต้นของหัวใจ ตามชื่อของผู้ผลิตที่เรียกมันว่าเป็นนาฬิกาสุขภาพ (Wellness Watch)
รูปร่างภายนอก


Wellograph เลือกใช้รูปร่างสี่เหลี่ยมแต่โค้งเล็กน้อย กระจกหน้าเป็นกระจกแซฟไฟร์โค้งตามทรงนาฬิกาที่ทางผู้ ผลิตชูเป็นฟีเจอร์สำคัญ ประเด็นของหน้าจอสี่เหลี่ยมหรือวงกลมสวยกว่ากันคงเป็ นประเด็นถกเถียงกันไปอีกนาน โดยเฉพาะเมื่อแอปเปิลเลือกใช้หน้าจอสี่เหลี่ยมไปแล้ว แต่ข้อเสียอย่างหนึ่งของ Wellograph คือความหนาที่ค่อนข้างหนา ทำให้การใส่ใช้งานบางอย่างเช่นพิมพ์งานไม่ค่อยสะดวกน ัก อีกอย่างหนึ่งคือหน้าจอสี่เหลี่ยมที่เวลามองแล้วลอยอ อกมาจากตัวหน้าปัทม์ทำให้มองดูไม่ดีนัก
แต่ในแง่ของฟีเจอร์ภายนอกที่สำคัญคือ Wellograph จะกันน้ำได้ 5 เมตร ทำให้สามารถใส่ว่ายน้ำได้สบายๆ
อินเทอร์เฟซ


Wellograph เป็นหน้าจอแบบไม่สัมผัสแต่มีปุ่มสองปุ่ม โดยกดได้สองแบบคือ "เลือก" และ "เลื่อนลง" การใช้งานโดยทั่วไปคงไม่ลำบากนัก เพราะโดยปกติประจำวันการกดปุ่มก็มักเป็นการเลื่อนหน้ าจอไปดูข้อมูลเป็นระยะมากกว่าจะทำอย่างอื่น แต่เวลาที่ต้องเข้าเมนูลึกๆ เช่น ตั้งเวลา หรือเชื่อมต่อ Bluetooth จะค่อนข้างลำบาก เพราะหากกดพลาดบางครั้งก็จะหลุดออกจากเมนูที่ต้องการ ไปเลย ระบบเมนูต่างๆ เองก็จะเป็นรายการวนลูป เพราะกดลงได้อย่างเดียว ทำให้การใช้งานช่วงแรกๆ จะงงๆ ต้องใช้เวลาปรับตัวสักพักก็จะเริ่มเข้าใจแนวคิดการออ กแบบ แต่จากที่ลองใช้มาผมก็ยังให้อินเทอร์เฟซแบบ Pebble ที่เป็นสามปุ่มนั้นเข้าใจได้ง่ายกว่าแบบนี้มาก
ความแม่นยำ

ผมทดสอบใส่ Wellograph หนึ่งวันเต็มเทียบกับเครื่องนับก้าวของ Omron HJA-311 พบว่าจำนวนก้าวต่างกันไม่ถึง 10% ตัว Omron คงได้เปรียบกว่ามากเพราะเป็นการเหน็บเอวที่นับได้ง่า ยกว่านาฬิกาที่แกว่งไปมาตลอดเวลาโดยบางทีไม่ได้เดิน แต่ตัวเลขโดยรวมก็ถือว่าไม่ต่างกันมาก ประเด็นการนับก้าวมีเรื่องแปลกๆ ที่ผมพบระหว่างการทดสอบคือบางครั้งตัวเลขที่แสดงจะเป ลี่ยนเอง เช่นอยู่ๆ จำนวนก้าวกลายเป็น 0 แล้วกลับมาประมาณเดิมอีกครั้ง
แต่อีกฟีเจอร์ของ Wellograph คือการวัดอัตราการเต้นของหัวใจจะมีการแสดงกราฟให้ดูด ้วย ผมลองดูแล้วพบว่ากราฟไม่สวยเป็นรูปคลื่นหัวใจเหมือนใ นภาพโฆษณานัก แต่ตัวเลขอัตราการเต้นค่อนข้างนิ่ง ผมเทียบกับเครื่องวัดอัตราการเต้นหัวใจแบบสายคาดหน้า อกเป็น Bluetooth LE ที่ผมใช้อยู่ก็พบว่าอันตราที่ได้ออกมาพอๆ กัน แต่ตัวเลขการอัพเดตของ Wellograph จะช้า และมีบางช่วงตัวเลขแปลกออกไปเลย เช่น อัตราการเต้นหัวใจอยู่ที่ 80-85 ครั้งต่อวินาทีเครื่องวัดแบบคาดอกจะแสดงค่าในช่วงนี้ ตลอดเวลาขณะที่ Wellograph จะนิ่งอยู่ที่ 82 อยู่พักใหญ่ๆ จึงเปลี่ยนค่าไปบ้าง แต่มีบางครั้งค่าที่เปลี่ยนก็หลุดไปเลยกลายเป็น 68 โดยรวมๆ แล้วการใช้งานน่าจะใช้เพื่อประมาณการออกกำลังกายซึ่ง ก็น่าจะแสดงแนวโน้มโดยเฉลี่ยได้ แต่การวัดแบบแม่นยำจากแขนน่าจะเป็นเรื่องที่ยากเกินไ ป
แอพลิเคชั่น

Wellograph มีแอพลิเคชั่นมาคู่กันเป็นมาตรฐาน ใช้ซิงก์ข้อมูลออกจากตัวนาฬิกาและตั้งเวลานาฬิกาให้ต รงอัตโนมัติ การใช้งานโดยทั่วไปคงไม่มีปัญหาอะไร แอพสามารถแบ่งช่วงการออกกำลังกาย สิ่งที่ขาดไปคือการเชื่อมต่อกับแอพอื่นๆ รวมถึงการส่งข้อมูลออกเป็นไฟล์
อายุแบต

อายุแบตเตอรี่เป็นอีกฟีเจอร์ของ Wellograph ที่โฆษณาว่าอยู่ได้นานถึง 7 วัน ผมใส่ใช้งานต่อเนื่อง มีกดเล่นบ้างก็อยู่ได้เกิน 4 วันสบายๆ แต่มีข้อต้องระวังคือหน้าจอวัดอัตราการเต้นหัวใจนั้น จะบังคับให้ระบบวัดหัวใจทำงานตลอดเวลาและกินแบตเตอรี ่มาก ทำงานอยู่ไม่ถึงวันก็แบตหมดได้ง่าย ตรงนี้ต้องระวังให้เปลี่ยนไปเป็นหน้าจอนาฬิกาหรือนับ ก้าวไป
บทสรุป

จากการลองใช้งาน Wellograph เองคงทำหน้าที่ในฐานะเครื่องนับก้าวได้ดีพอสมควร ปัญหาสำคัญของ Wellograph คงเป็นเรื่องของราคาที่ตอนนี้ขายอยู่ประมาณหนึ่งหมื่ นบาท ด้วยราคาขนาดขนาดนี้ฟีเจอร์สำคัญเทียบกับสมาร์ทวอชอื ่นๆ ที่กำลังออกมาเต็มตลาดคงเป็นความสามารถกันน้ำ และอายุแบตเตอรี่ที่อยู่ได้หลายๆ วัน
จุดเด่น

  • กันน้ำ
  • อายุแบตเตอรี่นาน

จุดด้อย

  • ราคาแพง
  • ตัวเรือนนาฬิกาขนาดใหญ่

Smart Watch, Review




อ่านต่อ...