ไมโครซอฟท์กับโลกโอเพนซอร์ส เมื่อไมโครซอฟท์ในตอนนี้ไม่ใช่บริษัทเดิมที่เรารู้จั ก
ผลการให้คะแนน
10
ไมโครซอฟท์กับโลกโอเพนซอร์ส เมื่อไมโครซอฟท์ในตอนนี้ไม่ใช่บริษัทเดิมที่เรารู้จั ก
เมื่อวันเสาร์ที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์จัดงาน Microsoft + Open Source Day งานสัมมนาที่พูดถึงความเข้ากันได้ระหว่างบริการของไม โครซอฟท์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สจำนวนมาก หรือแม้แต่ความเข้ากันได้กับระบบจากผู้ผลิตรายอื่นเช ่น iOS และ OS X จากแอปเปิลเอง
ภาพของไมโครซอฟท์ที่ไม่เป็นมิตรกับโลกโอเพนซอร์สนัก ทั้งที่ตัวซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์เป็นซอฟต์แวร์ปิดซอ ร์ส และการแข่งกันกับซอฟต์แวร์อีกหลายๆ ตัว แต่ท่าทีของไมโครซอฟท์ในช่วงหลังเปลี่ยนไปอย่างมาก และเป็นมิตรต่อโลกโอเพนซอร์สมากขึ้นจนกระทั่งมาถึงวั นที่ไมโครซอฟท์จัดงาน Open Source Day ของตัวเอง
ภาพการทำงานร่วมกันระหว่างไมโครซอฟท์และโลกโอเพนซอร์ สมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโลกเข้าสู่ยุคของคลาวด์ ในงานครั้งนี้ไมโครซอฟท์ระบุว่ามีเซิร์ฟเวอร์ที่รันอ ยู่บน Azure แต่เป็นลินุกซ์ถึง 20% และหากนับเฉพาะลูกค้าจากประเทศไทย จำนวนเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นลินุกซ์จะสูงถึง 55% มากกว่าเซิร์ฟเวอร์ที่รันเป็นวินโดวส์เองเสียอีก แสดงให้การเปิดกว้างที่มากขึ้นของไมโครซอฟท์ เพื่อให้นักพัฒนาได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการใช้งา นคลาวด์ของไมโครซอฟท์
การทำให้ลินุกซ์สามารถทำงานบน Azure ซึ่งมีฐานเป็นวินโดวส์ได้ไม่ใช่เรื่องที่ได้มาเองโดย ไม่มีคนทำงาน โครงการ Openness ภายในไมโครซอฟท์ ทำงานร่วมกับกลุ่มมาตรฐานมากกว่า 150 กลุ่ม กลุ่มทำงานอีกกว่า 400 กลุ่ม เพื่อให้แน่ใจได้ว่าซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยมสูงหล ายๆ ตัว นับแต่ PHP, Python, MongoDB, NodeJS, Hadoop, Linux, หรือ Android จะทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์และบริการของไมโครซอฟท์ได้อย ่างสมบูรณ์
Azure เป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานร่วมกันกับโลกโอเพนซอร์ ส ไมโครซอฟท์ซัพพอร์ตซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในทุกระดับ
ระบบปฎิบัติการลินุกซ์ และวินโดวส์ ระบบฐานข้อมูลอย่าง MongoDB และ Hadoop อุปกรณ์ที่ซัพพอร์ตทุกสายตั้งแต่ Windows Phone, Android, และ iOS ระบบจัดการเนื้อหา (CMS) รองรับระบบยอดนิยมอย่าง Drupal, WordPress, Joomla, ไปจนถึงระบบที่ใช้เทคโนโลยี .NET ของไมโครซอฟท์เองอย่าง Orchard และ DotNetNuke ภาษาที่ใช้พัฒนาที่รองรับทั้ง .NET, PHP, Python, NodeJS, และ Java
แนวทางเช่นนี้ทำให้ Azure เป็นตัวเลือกที่เปิดกว้างทั้งผู้ที่ต้องการใช้เทคโนโ ลยีของไมโครซอฟท์เอง ที่ช่วงหลังเริ่มเปิดให้ผู้อื่นเข้าถึงได้มากขึ้นเรื่อยๆ หรือจะเลือกใช้งานเทคโนโลยีจากโครงการที่เปิดซอร์สอื ่นๆ มารันบนโครงสร้างของไมโครซอฟท์ก็ได้เช่นกัน
นอกจากการทำงานร่วมกับชุมชนมากขึ้นแล้ว ไมโครซอฟท์ยังเปิดให้คนเข้าถึงทั้งซอฟต์แวร์และบริกา รของตัวเองได้ง่ายขึ้นอย่างมากในช่วงหลัง ในงานนี้ไมโครซอฟท์แนะนำ 3 โครงการที่ไมโครซอฟท์เปิดให้คนเข้าถึงทั้งบริการและซ อฟต์แวร์ได้ง่ายขึ้น
Azure4Research โครงการสนับสนุนโครงการวิจัยให้สามารถเข้าถึงพลังประ มวลผลของ Azure ได้ง่ายขึ้น ปีที่แล้วมีโครงการเสนอเข้าไปขอสนับสนุนโครงการนี้กว ่า 700 โครงการและได้รับการสนับสนุนถึง 360 โครงการ หรือประมาณครึ่งหนึ่ง โครงการนี้ยังรวมถึงการเข้าฝึกการใช้งาน Azure
Azure for Education โครงการสนับสนุนชั้นเรียนให้สามารถใช้ Azure เพื่อเรียนรู้การใช้งานคลาวด์จากของจริง โดยอาจารย์สามารถยื่นขอสนับสนุนชั้นเรียนที่ต้องการเ รียนรู้การใช้งานคลาวด์ โดยอาจารย์จะได้รับเครดิต 250 ดอลลาร์ต่อเดือนเป็นเวลา 1 ปี และนักเรียนในชั้นจะได้รับเครดิต 100 ดอลลาร์ต่อเดือนเป็นเวลา 6 เดือน
BizSpark โครงการสนับสนุนทั้งซอฟต์แวร์และคลาวด์สำหรับสตาร์ตอ ัพที่กำลังจะเริ่มให้บริการ ตอนนี้มีสตาร์ตอัพกว่าหนึ่งแสนรายทั่วโลกได้รับการสน ับสนุนผ่าน BizSpark สำหรับธุรกิจที่ต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติมโดยเฉพาะ บริการ Azure ยังสามารถยื่นขอสนับสนุนเป็น BizSpark Plus ผ่านโครงการสนับสนุนสตาร์ตอัพที่ร่วมมือกับไมโครซอฟท ์ หากได้รับสนับสนุนเป็น BizSpark Plus จะได้รับเครดิต Azure สูงสุดถึง 60,000 ดอลลาร์
ความเปลี่ยนแปลงของไมโครซอฟท์ที่เปิดกว้างมากขึ้น การซัพพอร์ตที่กว้างกว่าเดิม การทำงานร่วมกับโครงการภายนอกที่เพิ่มมากขึ้นและเพื่ อให้คนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ได้ง่ายขึ ้น ซึ่งทำให้ไมโครซอฟท์ในวันนี้ไม่เหมือนกับไมโครซอฟท์ท ี่เราเคยรู้จักเมื่อสิบกว่าปีก่อนอีกต่อไป
Microsoft, Advertorial, Open Source
อ่านต่อ...
กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts
Forum Rules
Bookmarks