ขอขอบคุณที่มาบทความ : carvariety เฟียต 124 สปอร์ตสไปเดอร์ (Fiat 124 Sport Spider)คือผลผลิตของเฟียตแห่งอิตาลี มีสายการผลิตเป็นระยะเวลา 20 ปี โดยส่วนใหญ่ของรถรุ่นนี้ส่งออกไปจำหน่ายในสหรัฐอเมริ กา
Sport Spider เริ่มเปิดตัวในงานแสดงรถยนต์ที่ตูรินเดือนพฤศจิกายน 1966 จากนั้นรถตัวน้องคือ Fiat 124 Coupeก็คลอด ตามมาในปี 1967 รถสองคันนี้มีความเกี่ยวข้องกับ Fiat 124 Sedan ซึ่งผลิตขึ้นมาก่อนหน้านั้น เนื่องจากใช้ระบบส่งกำลัง ที่ต่อเนื่องกันมา แต่ความแตกต่างของพวกมันก็มีให้เห็นเด่นชัดเช่นกัน โดยเฉพาะ Spider ที่มีฐานล้อสั้นกว่า Coupe กับ Sedan นอกจากนี้ตัวถังของ Spider ยังออกแบบและผลิตโดยบริษัทออกแบบรถชื่อก้องโลก พินินฟารีน่า (Pininfarina) ขณะที่ Coupe กับ Sedan ออกแบบและผลิตตัวถังโดยเฟียตเอง
เครื่องยนต์ของรถรุ่นนี้ และเหล่าพี่น้องออกแบบโดยออเรลิโอ ลัมเปรดี้อดีตหัวหน้าวิศวกรรมของเฟอร์รารี่ โดยลัมเปร ดี้เพิ่มขนาดความจุให้รถขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มต้นด้วยขนาด 1438 ซี.ซี. ในปี 1966 แล้วเพิ่มขึ้นเป็น 1608 ซี.ซี. ในปี 1970 (ลดลง มาเหลือ 1592 ซี.ซี. ในปี 1973) ตามด้วย 1756 ซี.ซี. ในปี 1974 และปิดท้ายด้วย 1995 ซี.ซี. ในปี 1979 ปี 1980 มีการ เปลี่ยนแปลงระบบจ่ายเชื้อเพลิงจากคาร์บูเรเตอร์ไปเป็ นหัวฉีด นอกจากนั้นยังมีแบบที่ติดเครื่องยนต์เทอร์โบ เรียกว่า Volumex ในช่วงปลายของสายการผลิต แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก
เครื่องยนต์ที่มีพื้นฐานการออกแบบของลัมเปรดี้ ยังคงถูกผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งศตวรรษ 1990 ถือเป็นเครื่องยนต์ที่อยู่ยงคงกระพันที่สุดรุ่นหนึ่ง เท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ ทั้ง Spider และ Coupe ถูกส่งออกไปจำหน่าย ยังสหรัฐครั้งแรกในปี 1968 พอถึงปี 1969 Spider ก็เป็นรถตลาดราคายุติธรรมรุ่นหนึ่งในไม่กี่รุ่นที่ติ ดดิสก์เบรก ทั้ง 4 ล้อ นอกจากนี้พวกเขายังมีสิ่งนำเสนอให้ลูกค้าก็คือ ระบบส่งกำลัง 5 สปีด ยางเรเดียล ดับเบิลโอเวอร์เฮด แคมชาฟท์ หลังคาประทุนที่สามารถติดตั้งได้ภายใน 15 วินาที ราคาขายของ Spider ในสหรัฐสำหรับปี 1968อยู่ ที่ 3,250 เหรียญสหรัฐ ใกล้เคียงกับวอลโว่ 122 (3,000 เหรียญ) และพลีมัธ บาร์ราคูดา เครื่อง 340ci (3,200 เหรียญ สหรัฐ)
Edsel Ranger เลือกเกิดไม่ได้
ขอขอบคุณที่มาบทความ : นิตยสารรถวันนี้ ปีที่ 9 ฉบับที่ 401 (487/1 ปี40) วันที่ 16-23 กันยายน 2551 เอดเซล (Edsel) คือรถยนต์ที่ผลิตโดยบริษัทฟอร์ด มอเตอร์ ระหว่างปีการผลิต 1958,1959 และ1960 เป็นที่รู้จักในฐานะ "หนึ่งในรถยนต์ที่ล้มเหลวที่สุดในประวัติศาสตร์อุตสา กรรมยานยนต์ของสหรัฐ โดยเฉพาะในเรื่องของการตลาด"
ฟอร์ดทำโครงการเอดเซลให้ดูเป็นความลับน่าค้นหาสร้างค วามสนใจให้เกิดขึ้นกับลูกค้า ซึ่งก็น่าจะเป็นวิธีที่ถูกต้องแต่ตัวของผลิตภัณฑ์ที่ เปิดตัวของผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวเมื่อวันที่ 4กันยายน 1957 สร้างความผิดหวังให้ผู้ที่รอคอย เพราะมันไม่ได้มีอะไรใหม่หรือสร้างความตื่นตาตื่นใจใ ห้เกิดขึ้น นั่นคือจุดเริ่มต้นแห่งหายนะสำหรับ Edsel ซึ่งยังอุตสาห์ผลิตจำหน่ายได้นานถึง 3 ปี
มีผู้วิจารณ์ว่าชื่อ Edsel คืออีกหนึ่งในข้อผิดพลาดสำคัญ เพราะฟอร์ดไม่ได้ใช้ชื่อที่ได้จากการสำรวจตลาดมาเป็น เวลานาน แต่กลับใช้ชื่อ Edsel (Edsel Bryant)ซึ่งเป็นชื่อของบุตรชายคนเดียวของเฮนรีและคลารา ฟอร์ดแทน ชนิดไม่อิงหลักวิชาการ
และที่ปฏิเสธไม่ได้คือ มันเป็นรถขนาดใหญ่เกินไป ขณะที่ความนิยมของรถเล็กกำลังจะมา Edsel จึงกลายเป็นรถที่สวนกระแส ไม่น่าแปลกใจที่ยอดขายจะมีแต่ตกต่ำลง เท่านั้นยังไม่พอปี 1957 บังจัดเป็นปีที่อุตสาหกรรมรถยนต์ซบเซาด้วย โดยมีเพียงฟอร์ดธันเดอร์เบริ์ด กับแรมเบลอร์ อเมริกัน เท่านั้นที่มียอดขายสูงขึ้น
สำหรับเอดเซล เรนเจอร์ (Edsel Ranger) คือเอดเซลโมเดลที่ยืนหยัดอยู่จนวาระสุดท้าย Ranger ใช้ตัวถังร่วมกับ Edcel Pacer ซึ่งเป็นแบบย่อขนาด แต่ Ranger ถูกวางตัวไว้ในตลาดที่ต่ำกว่า โดยใน 2 ปีแรกของการผลิต Ranger ไม่ได้เป็นรถตัวหลัก เป็นเพียงตัวเสริมเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าที่อาจจะชอบ รถที่มีตัวถังสั้นลงกว่ารถใหญ่โดยปรกติเล็กน้อย แต่ถึงขนาดนั้นก็ยังมีฐานล้อห่าง 118 นิ้ว (9 ฟุต 10 นิ้ว)
รถรุ่นนี้ติดตั้งเครื่องยนต์ V8ความจุ 361 ลูกบาศก์นิ้ว ส่งกำลังแบบ 3 สปีดธรรมดา มีออพชั่นเป็นเกียร์ออโต้ Teletouch ซึ่งมีปัญหาค่อนข้างมาก จน กระทั่งถูกยกเลิกไปในปี 1959 ซึ่งในปีการผลิตนั้น Ranger ก็ได้ยึดฐานล้อออกไปเป็น 120 นิ้ว (10 ฟุต)เช่นเดียวกับโมเดลอื่น ไม่ว่าจะเป็น Corsair, Pacer หรือ Citation สำหรับสไตล์ตัวถังก็มีให้เลือกทั้ง 2 ประตูคูเป้ 4 ประตูซีดาน รวมทั้ง 2 ประตู และ 4 ประตูฮาร์ดท็อป
Edsel มียอดขายในปีแรกทั้งสิ้น 63,110 คัน จัดเป็นรถปีแรกที่มียอดจำหน่ายสูงสุดเป็นอันดับสองเท ่าที่เคยมีมา เป็นรองเพียงการเปิดตัวของPlymouth ในปี 1928 เท่านั้น แต่เริ่มต้นสวยไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จ Edsel เริ่มแผ่วในปี 1959ซึ่งขายได้เพียง 44,891 คัน แล้วปี 1960 ก็กลายเป็นปีการผลิตสุดท้ายของEdsel ซึ่งผลิตออกจำหน่ายเพียง 2 ตัว คือ Ranger กับ Villager และขายออกเพียง 2,846 คันแล้วฟอร์ดก็ประกาศยุติการผลิต Edsel เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 1959 เพียง 4 วันหลังจากที่เปิดตัวรถรหัส 1960 (จำหน่ายต่อไปถึงปลายเดือนพฤศจิกายน)
สำหรับ Edsel Ranger มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 21,701 คัน แบ่งเป็นตัวถัง 2 ประตูคูเป้ 4,615 คัน 4 ประตู ซีดาน 74,14 คัน ฮาร์ดท็อปคูเป้ 6,005 คัน และฮาร์ดท็อป 4 ประตู 3,667 คัน ราคาขายอยู่ระหว่าง 24,84-2,643 เหรียญสหรัฐ
มาร์มอน (Marmon)ยอดนักบุกเบิก
มาร์มอน(Marmon) คือชื่อของรถยนต์ซึ่งผลิตโดยบริษัท Nordyke&Marmon Company ซึ่งตั้งอยู่ที่อินดีแอนาโปลิส รัฐอินดีแอนา ตั้งแต่ปี ค.ศ.1902 ถึงปี 1933 บริษัทนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเมื่อเป็นผู้ริเริ ่มติดตั้งกระจกมองหลังนอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิกเคร ื่องยนต์ V16 และนำอะลูมิเนียมมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์
บริษัทแม่ของมาร์นอน ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1851 จำหน่ายอุปกรณ์โม่แป้งก่อนจะแตกสาขาการผลิตตลอดช่วงป ลายศตวรรษที่ 19 รถยนต์คันแรกของพวกเขาผลิตออกมาเป็นรถตัวอย่างในปี 1902 ติดตั้งเครื่องยนต์ V-twin ระบายความร้อนด้วยอากาศ แล้วจึงเปลี่ยนเป็นเครื่อง v4 ระบายความร้อนด้วยอากาศในปีต่อมา
ไม่กี่ปีให้หลัง มาร์มอนเริ่มบุกเบิกเครื่องยนต์ v6 และ v8 จากนั้นก็หันมาใช้เครื่องยนต์สูบเรียงซึ่งดูจะเข้าท่ ากว่าซึ่งก็ทำให้มาร์มอนมีชื่อเสียงว่าเป็นรถยนต์ที่ เร็วและเชื่อถือได้ยี่ห้อหนึ่งในช่วงทศวรรษ 1900
ปี 1909 มาร์มอนออกรถ "โมเดล 32" สู่ตลาด และสร้างชื่อด้วยการเป็นรถยนต์คันแรกที่คว้าแชมป์ควา มเร็วรายการ "อินดีแอนาโปลิส 500" นอกจากนี้ยังได้รับการบันทึกว่า เป็นรถยนต์คันแรกของโลกที่ติดตั้งกระจกมองหลังด้วย
เท่านั้นยังไม่พอ มาร์มอนผลิตรถ"โมเดล 34" ขึ้นมาในปี 1916 ติดตั้งเตรื่องยนต์ 6 สูบเรียง โอเวอร์เฮดวาล์วผ(ohv)บล็อกเป็นอะลูมิเนียม ที่โดเด่นคือ ใช้วัสดุผลิตแชสซี และตัวถังที่มีน้ำหนักเบาทำให้รถคันนี้มีน้ำหนักเพีย ง 3,295 ปอนด์(ประมาณ 1,495 กก.)
ความสำเร็จของโมเดล 34 ทำให้มันมีช่วงการผลิตถึง 8 ปี แต่แล้วบริษัทก็ต้องพบกับปัญหาด้านการเงิน พวกเขาพยายามแก้สถานการณ์ด้วยการผลิตรถเครื่องยนต์ 8 สูบเรียงให้ชื่อว่า รูสเวลต์(Roosevelt) ออกจำหน่ายในปี 1929 ซึ่งมันได้รับการบันทึกว่าเป็นรถเครื่อง 8 สูบคันแรกของโลก ที่จำหน่ายในราคาต่ำกว่า 1,000 เหรียญ มีส่วนช่วยให้ยอดจำหน่ายสูงถึง 22,300 คัน แต่แทนที่จะลืมตาอ้าปากได้ มาร์มอนกลับต้องโชคร้ายเพราะตลาดหุ้นตกอยู่ในช่วงซบเ ซาหนักในปีนั้นทำให้บริษัทประสบปัญหาด้านการเงินเพิ่ มชึ้น
เฮาเวิร์ด มาร์มอน เริ่มงานรถเครื่องยนต์ v16ในปี 1927 ใช้เวลาถึง 4ปีกว่างานจะสำเร็จ แต่กลับไม่ได้รับคำยกย่องว่าเป็นเจ้าแรก เพราะในช่วงเวลานั้นคาดิลแลคได้เปิดตัวเครื่องยนต์ v16 ของพวกเขาเองออกมาได้ ก่อน โดย ผู้ออกแบบคือ โอเวน แนคเกอร์ อดีตวิศวกรของมาร์มอนเอง เช่นเดียวกับค่ายเพียร์เลส (Peerless)ที่มี เจมส์ โบแฮนนอน อดีตวิศวกรของมาร์มอนอีกคนหนึ่งเป็นที่ปรึกษา
Marmon Sixteen ออกแบบโดยใช้อะลูมิเนียมทั้งคัน เครื่องยนต์ 16 สูบของพวกเขามีความจุ 8 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 200 แรงม้า จัดเป็นรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ที่สุดในยุคนั้น น่าเสียดายที่ ผลิตออกมาได้เพียง 400 คัน ในเวลา 3 ปี ก่อนที่จะต้องยุติการผลิตเพราะปัญหาด้านการเงินดังกล ่าว
ติดตามวิกฤตตลาดรถ
Alfa Romeo GT 1300 Juniorของดีจากแดนมะกะโรนี
ใครก็ตามที่เป็นนักเลงรถระดับคลาสสิกของโลกก็คงต้องร ู้จักและคุ้นเคยกับตำนานรถสปอร์ตของแดนมะกะโรบ้างอย่ างน้อยที่สุดAlfa Romeo เจ้าของฉายางูใหญ่แห่งมิลานก็ต้องผ่านเข้าหูกันบ้าง Alfa สร้างรถยนต์ระดับท็อปของโลกออกมาอวดสรรพคุณบนท้องถนน มาอย่างยาวนาน แม้แต่ในบ้านเราเองชื่อของ Alfa ก็ยังคงมีมนต์ขลังอยู่เสมอดดยเฉพาะกลุ่มคนรักรถสปอร์ ตเครื่องแรงจากอิตาลี ที่ถึงแม้จะมีเพียงกระจุกเดียวเท่านั้น แต่นั่นถือว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้ ที่เข้าทำนองที่ว่าถ้าไม่รักกันจริงก็ต้องแยกทางกันไ ป
กับตำนานความสำเร็จของรถสปอร์ตย่อมเยา ในช่วงปลายยุค 60 กับ Alfa Romeo GT 1300 Junior รถสไตล์สปอร์ตคูเป้ เกิดขึ้น ประมาณปี 1966 นับเป็นรถคูเป้ ที่มีความสวยงามมีเอก ลักษณ์เฉพาะตัว
ความจริงแล้วรถ Alfa ที่ประสบความสำเร็จและสร้างชื่อเสียงให้กับ Alfa จนโด่งดังก็คงต้องยกให้กับเวอร์ชั่น Giulietta sprint รถคูเป้สุดสวยเครื่องยนต์ 1,290 ซี.ซี. และตัวสปอร์ตเปิดประทุน Giulia spider เครื่องยนต์ 1,570 ซี.ซี.ฝีมือการออกแบบของ Pinin Farina ซึ่งรุ่งโรจน์อยู่ในช่วงปี 1954-1965 และถ้าขยับรุ่นให้ใหญ่ขึ่นก็ต้องเป็น Berlina ซึ่งสร้างความอือฮาได้ไม่น้อย หลังจากนั้นจึงได้มาเป็นรุ่น ALFETTA
สำหรับสปอร์ตคูเป้ GT 1300 Junior เกิดขึ้นในช่วงต่อปี 1966 โดยทางต้นสังกัดได้หันมาใช้บริการนักออกแบบอีกค่าย ที่ไม่ใช่Pinin Farina เหมือนเคย แต่เป็นดีไซน์เนอร์คู่แข่งมีชื่อเสียงไม่แพ้กันนั่นค ือ Bertone
GT 1300 Junior นับเป็นรถสปอร์ตมีเสน่ห์ดึงดูดใจไม่น้อย โดยเฉพาะบอดี้ที่ไม่ได้เน้นความปราดเปรียวมากนัก ตัวถังทรงสามกล่อง มองผ่านอาจนึกว่าเป็นรถซีดานไปได้เช่นกัน แต่ในความเรียบง่ายนี้เองก่อให้เกิดความเป็นอมตะแบบท ี่เรียกว่า Classical Alfa design เส้นสายตัวถังไม่ซับซ้อน รวมเข้ากับไฟหน้าตากลมใหญ่แบบข้างละดวงดูมีมนต์เสน่ห ์รับโลโก้ประจำตัวที่แปะติดอยู่ที่กระจังหน้า รับกันอย่างมีจังหวะกับกันชนหน้าชุบโครเมียมชิ้นเล็ก
มุมมองจากด้านข้างจะเห็นได้อย่างชัดเจน GT 1300 Junior เป็นคูเป้ ที่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์ แปลกตาตรงที่กระจกประตูหน้ามีหูช้างเอาไว้เปิดรับลม ส่วนด้านท้ายออกแบบกันง่าย
แต่ก็ไม่ถึงกับจืดชืดจนเกินไปนัก ดดยมีอักษรบ่งบอกชื่อรุ่น "GT 1300 Junior"แปะหราบนสันฝากระโปรงท้ายแก้เลื่ยน ไฟท้ายออกแบบกันง่าย เหมือนก้อนขนมปังปอนด์ วางแนวนอนซึ่งรวมเอาไฟต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน
มาดูภายในห้องโดยสาร GT 1300 Junior เป็นคูเป้แบบ 4 ที่นั่ง ซึ่งมีความสะดวกสบายพอควร GT 1300 Junior มีดีที่ตรงแดชบอร์ดลายไม้ทั้งแผง เกจหน้าปัดแบบอนาล็อก จอกลม เรียงกันอยู่เบื้องหลังพวงมาลัย 4 จอ สำหรับคอนโซลกลางลืมไปได้เลยเพราะไม่มี มีแต่กระปุกเกียร์โผล่ขึ้นมาแทน ดังนั้นวิทยุ และสวิตซ์ต่างๆ จึงเรียงกันอยู่บนกึ่งกลางแดชบอร์ดนั่นเอง
สำหรับพวงมาลัยให้อารมณ์ความเป็นรถสปอร์ตด้วยพวงมาลั ยแบบ 3 ก้าน ส่วนเบาะนั่งใช้แบบสปอร์ตกึ่งบักเกตซีต มีพนักพิง ศรีษะ ปรับระดับได้ ส่วนเบาะหลังเป็นเบาะยาวแต่ช่วงเบาะหลังค่อนข้างแคบต ามฟอร์มรถสปอร์ต 2+2 ที่นั่งเครื่องยนต์ขุมพลังติดตัว หากเปิดฝากระโปรงหน้าของรถค่ายนี้ คงจะคุ้นเคยกันดีกับเครื่องยนต์ 4 สูบ ทวินแคม ซึ่งทันสมัยสุดๆในยุคนั้น เครื่องยนต์แบบ 4 สูบ DOHC 8 วาล์ว ขนาดความจุกระบอกสูบ 1,290 ซี.ซี.พร้อมระบบการจ่ายเชื้อเพลิงด้วยคาร์บูเรเตอร์ Weber 40DCOE 28 2 ตัว ระเบิดพลังงานออกมาได้สูงสุดถึง 104 ps /6,000 rpm มีแรงบิดสูงสุด 137 Nm /3,200 rpm แค่เห็นสเปกก็ต้องยอมรับแล้วล่ะว่าแรงของจริง โดยเฉพาะเมื่อเทียบอายุของรถ
ระบบถ่ายทอดกำลัง Alfa เน้นเอามันจึงไม่สนใจความสะดวกสะบาย ระบบเกียร์จึงใช้ธรรมดา 5 สปีด เร้าอารมณ์ไม่น้อยเมื่ออยู่หลังพวงมาลัย ระบบกันสะเทือนต้องยอมรับว่า alfa เน้นเป็นพิเศษกับการเกาะถนน รุ่นไหนรุ่นนั้นไว้ใจได้ ลงพวงมาลัยแบบrecirculating ball ระบบเบรกใช้แบบอิสระสองวงจรไขว้จัดการกับฝูงม้าพยศ ดดยมีหม้อลมเบรกและวาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรกที่ล้อห ลัง ประสิทธิภาพเบรกที่คิดตัวมาจึงไว้ใจได้แม้ว่าขณะนั้น ขะยังไม่รู้จัก ABS ก็เถอะ ดดยใช้บริการดิสก์เบรกทั้ง 4ล้อ
ว่ากันไปความสะใจของบรรดาเซียน Alfa ร้อยทั้งร้อยปักใจหลงรักอยูกับเสียงคาร์บูเรเตอร์ดุด ไอดี และเสียงแผดก้องหวานๆของเครื่องยนต์ ซึ่งช่วยให้ลืมความเมื่อยเวลาเหยียบคลัตซ์ ตลอดจนค่าตัวและค่าอะไหล่ที่ไม่ใช่ถูกๆ
รถคลาสสิค 10 อันดับรถที่ผู้หญิงขับแล้ว ผู้ชายชื่นชอบ
ขอบคุณที่มาข้อมูลและรูป : นิตยสารรถวันนี้ ฉบับวันที่ 15-22 มกราคม 2551
เมื่อพูดถึงผู้หญิงขับรถยนต์ ผู้ขับที่เป็นชายส่วนมากมักจะมีทศนะคติในแง่ลบ แต่ก็มีไม่น้อยที่ชื่นชม โดยเฉพาะเมื่อเธอผู้นั้นขับรถที่ดูหรู หรือเท่ มีเสน่ห์ให้ต้องเหลียวมอง
เว็บไซด์ evencars.com ทำการสำรวจความคิดเห็น (โพล) ในหัวข้อ "ผู้หญิงขับ รถคลาสสิก คันไหนแล้วดูดีที่สุด"ซึ่งในเสียง ส่วนใหญ่เทคะแนนให้กับ เมอร์เซเดส-เบนซ์ SL โรดสเตอร์ (Mercedes-Benz SL Roadster) รุ่นปี 1960
เบนซ์สปอร์ต รุ่นนี้ดูโฉบเฉี่ยวสุดๆเมื่อเปิดประทุน มีการผลิตระหว่างปี 1955 ถึง 1963 ยิ่งเป็นรถจากค่ายดาวสามแฉกด้วยแล้วยิ่งส่งให้ ผู้ขับขี่โดดเด่นเป็นเทพธิดาบนแดนดิน รถรุ่นนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกก้เพราะ เกรซ เคลลี่ ซูปเปอร์สตาร์ฮอลลีวู้ด ขับมันมาฉากในภาพยนต์เรื่อง Hign Society และรถรุ่นนี้ก็ยังคงความงดงามอย่างเป็นเอกลักษณ์มาถึ งปัจจุบัน
"เมอร์เซเดส SL โรดสเตอร์ เป็นรถยนต์ที่งดงามอย่างปฏิเสธไม่ได้ การซื้อรถรุ่นนี้สักคันหนึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็น ว่าเจ้าของรถคันนี้มีฐานะดีและใช้เงินเป็นในการเลือก สิ่งดีๆให้กับชีวิต" อเลกซ์ เจนเนอร์-ฟัสต์ ผู้ทำโพล์นี้ออกความเห็นว่า
สำหรับรถคันอื่นๆส่วนใหญ่ผู้ลงคะแนนจะให้ความสนใจกับ รถที่มีสมรรถนะดีเยี่ยม เครื่องยนต์แรงสูง ไม่ว่าจะเป็น ปอร์เช่ 911 (Porche 911) มิตซูบิชิ อีโว (Mistsubishi Evo) หรือ ซูบารุอิมเพรซ่า (Subaru Impreza)
แต่ที่โดเด่นอย่างไม่น่าเชื่อ กลายเป็น แลนด์โรเวอร์ ดีเฟนเดอร์ (Land Rover Defender) ซึ่งเป็นรถคันโปรดของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธแห่ง อังกฤษ หรือรุ่นใหม่ขึ้นมาหน่อยอย่าง เรนจ์โรเวอร์สปอร์ต (Range Rover Sport)
"ผู้ชายที่เข้าโหวตชื่นชอบผู้หญิงที่ขับรถแรง แต่มีข้อแม้ว่าเธอต้องรู้จักบังคับมันให้ดีด้วย นั้นทำให้มีผู้โหวตให้แลนด์โรเวอร์ เพราะผู้หญิงคนใดที่ขับมันได้ สมควรได้รับคำชื่นชมว่าเป็นหญิงแกร่ง เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้" เจนเนอร์-ฟัสต์ เสริม
รถสปอร์ตที่นั่งเปิดประทุน ได้รับเสียงสนับสนุนค่อนข้างหนาแน่นไม่น้อย ยิ่งมาแปลกแหวกแนวอย่าง เคเตอร์แร่ม (Caterham) ยิ่งน่าสนใจจนมากขึ้น ติดทำเนียบท้อป-10 กับเขาด้วย ขณะเดียวกันข้ามไปอีกขั้วหนึ่งก็จะพบความแปลกที่น่าค ้นหาอีกแบบสำหรับสุภาพสตรีที่ขับรถสุดยอดหรูอย่าง โรลสรอยซ์แฟนทอม (Rolls-Royce Phantom) เพราะรถระดับนี้เธอควรจะเป็นผู้นั่งอย่างสง่า โดยมีสารถีประจำตัวขับให้เท่านั้น
ส่วนรถยนต์เล็กๆสไตล์เก๋ ก็ไม่รอดสายตาไปได้เพราะมันเหมาะกับหญิงสาวที่ดูคล่อ งแคล่ว ซุกซนเล็กน้อยและน่าทะนุถนอม ไม่ว่าจะเป็น เฟียต 500(Fiat 500) หรือ โฟล์คกอล์ฟ R32 (VW Goft R32) Top Ten Chart รถที่ผู้หญิงขับ แล้วคุณผู้ชายให้ความชมชื่น
- 1.เมอร์เซเดส-เบนซ์ SL โรดสเตอร์
- 2.ปอร์เช่ 911
- 3.มิตซูบิชิ อีโว
- 4.แลนด์โรเวอร์ ดีเฟนเดอร์
- 5.ซูบารุ อิมเพรซ่า
- 6.โรลสรอยซ์ แฟนทอม
- 7.เรนจ์โรเวอร์ สปอร์ต
- 8.เฟียต 500
- 9.โฟล์คกอล์ฟ R32
- 10.เคเตอแร่ม
Mercedes-Benz SL Roadster
MG ปี 1964
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลและรูป : นิตยสารรถวันนี้ ฉบับวันที่ 30 มกราคม-6 กุมภาพันธ์ 2550
ตัวอย่างภาพ ของ รถ MG รถโบราณในปัจจุบันเริ่มเป็นที่ต้องการมากขึ้นทุกที ราคาจึงถีบตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การหารถมาขับสักคันสมัยนี้ยากขึ้น ยิ่ง MG ปี 1964 ที่มีรูปร่างด้านหน้าออกแบบคล้าย รถโรลสรอยซ์ ทรงสวย ยิ่งหายากมากขึ้น เพราะในเมืองไทยมีอยู่น้อยมาก แต่ใครมีไว้ในครอบครองต้องบอกว่าคุ้มค่าจริงๆ
คนที่ได้เป็นเจ้าของครอบครองเจ้า MG ปี 1964 นั้นมีชื่อว่า คุณสุพจน์ อัพวานนท์ หรือ คุณแขก นักสะสม รถคลาสสิก ทั้ง รถอเมริกันและยุโรป โดยเจ้าตัวมี รถคลาสสิก อยู่ในครอบครองทั้งหมดถึง 6 คัน ถือว่ามีความรัก รถคลาสสิก อย่างแท้จริง เพราะทุกคันล้วนให้การดูแลรักษาเป็นอย่างดี แถมทะเบียนแต่ละคันไม่มีขาด ต่อภาษีตลอด และรถแต่ละคันก็อยู่ในสภาพสมบรูณ์มากซึ่งใครก็ตามที่ ได้เห็นรถแต่ละคันแล้วล้วนอยากได้กันจนน้ำลายไหล เจ้า MG คันงาม เป็นหนึ่งในรถที่คุณแขกรักมาก ได้มาเมื่อประมาณ6-7 ปีมาแล้ว โดยซื้อรถคันมาในราคา 60,000-70,000 บาท ตอนแรกที่ได้มา ลองเอามาขับเล่นดูสักพักเพื่อดูว่าเป็นอย่างไรซึ่งสุ ดท้ายก็ไปไม่รอดจึงยกเครื่องทำใหม่หมด ใช้เวลาอยู่ประมาณ 1 ปี โดยเริ่มต้นจากการทำเครื่องยนต์จากร้านแรกพอเสร็จแล้ วก็ส่งต่อไปร้านทำสี ซึ่งสีเดิมนั้นเป็นสีนำเงิน แล้วมาเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล แต่ทางขนส่งบอกว่าให้จดทะเบียนเป็นสีเหลือง เสร็จจากทำสีส่งต่อไปยังร้านทำเบาะหุ้มหนังใหม่ทั้งค ัน แต่ยังเน้นรูปร่างเดิมของเบาะไวซ์ จากนั้นนำกระจังหน้าไปชุบโครเมียมใหม่ให้เงางาม ตอนแรกไปดูกระจังหน้าใหม่ที่ซอยวัชรพล ขายในราคา 5,000 บาท เลยไม่เอา ใช้ของเดิมดีกว่า ส่วนล้อก็ใช้ล้อเดิม ขนาด 12 นิ้ว แต่เปลี่ยนยางใหม่เท่านั้น
สำหรับช่วงล่างเปลี่ยนลูกหมากใหม่หมด โดยระบบของช่วงล่างเป็นระบบไฮดรอลิกปั๊มลมทั้ง 4 ล้อ ซึ่งกระปุกไฮดรอลิกนั้นจะอัดลมเพื่อช่วยรักษาการทรงต ัว ถ้ารู้สึกว่าช่วงล่างนิ่มเกินไปก็อัดลมเพิ่ม ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นเทคโนโลยีเมื่อ 43 ปีที่แล้ว พร้อมกันนั้นระบบเบรกก็เป็นแบบหน้าดิสก์หลังดรัม และที่สำคัญรถคันนี้ใข้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า ส่งผลให้แตกต่างจากรถโบราณทั่งไปสิ้นเชิง
ระบบส่งกำลังเป็นแบบธรรมดา 4 สปีด เดินหน้า สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 100กม./ชม. และส่วนที่ชอบมากที่สุดที่คุณแขกเล่าให้ฟังคือ กระจังหน้าและกระโปรงด้านหน้าออกแบบเหมือน รถโรลสรอย์ บวกกับคิ้วข้างรับกับการดีไซน์ของรถ ไล่ระดับได้อย่างสวยงาม อีกทั้งไฟท้ายคือเรือนไมล์ที่บอกความเร็วเหมือนหน้าป ัดวิทยุสมัยก่อน คือเมื่อความเร็วเพิ่มขึ้น จะมีเข็มวิ่งเป็นเส้นตรงจากด้านซ้ายไปด้านขวาตามระดั บความเร็วที่เหยียบขึ้นไป การดีไซน์นี้ถือว่าไม่มีใครเหมือน แถมเด่นด้วยความทันสมัยลงตัว
คุณแขกบอกว่ารถคันนี้นำมาใช้งานแบบอาทิตย์ละครั้ง เพื่อให้เครื่องยนต์ไม่โทรม และบำรุงรักษาอย่างดี เคยมีคนมาขอซื้อต่อหลายครั้งแต่คุณแขกบอกว่าอย่างไรก ็ไม่ขายให้ใครเด็ดขาดเนื่องด้วยชอบรถคันนี้มากจะเก็ย ไว้ใช้งานแบบนี้ไปเรื่อยไป นอกจากนี้คุณแขกยังมีอะไหล่จากญี่ปุ่น เป็นอะไหล่ของ Volkswagen รุ่น Karmann โดยมีทั้งป้ายโลโก้ นาฬิกา เรือนไมล์วัดความเร็ว เรือนไมล์วัดรอบ สนใจติดต่อหาคุณแขกได้ที่ โทร.08-1632-1402
ไทรอัมพ์ SX (Triumph SX) สปอร์ตพวงมาลัยขวา
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลและรูป : นิตยสารรถวันนี้ วันที่30 มกราคม-6 กุมภาพันธ์ เมื่อกล่าวถึงรถสปอร์ต ไทรอัมพ์ (Triumph) ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายคนจะรู้จักเป็นอย่างดี เพราะรถจากเมืองโคเวนทรีหลายรุ่นหลายแบบเป็นที่นิยม และเป็น รถระดับคลาสสิก มาถึงปัจจุบัน แต่หากย้อนไปช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แทบจะไม่เคยได้ยินชื่อเสียงของไทรอัมพ์เลย
อันที่จริง ไทรอัมพ์มีรถดีๆอยู่พอสมควรระหว่างทศวรรษ 1930 แต่พวกเขาผลิตพวงมาลัยขวาเท่านั้น จึงไม่สามารถแพร่ออกสู่ตลาดใหญ่ทั้งในยุโรปและอเมริก าได้
หนึ่งในรถสปร์ตพวงมาลัยขวาที่เป็นความภูมิใจเงียบๆขอ ง ไทรอัมพ์ ก็ คือ ไทรอัมพ์ เซาเธิร์นครอส (Triumph Southern Cross)หรือที่เรียกกันง่ายๆว่าไทรอัมพ์ SX
ไทรอัมพ์ เซาเธิร์นครอส ตั้งตามชื่อของหมู่ดาวกางเขนใต้ มีระยะเวลาผลิตจำหน่ายระหว่างปี 1932-1937 เป็นตัวชูโรงของไทรอัมพ์ในยุคนั้น เนื่องจากประสบความสำเร็จในรายการประชันความเร็ว ใหญ่ๆหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็น อัลไพน์ เทรล หรือ มอนติคาร์โล แรลลี่
SX รุ่นแรก เป็นรถสปอร์ตทัวเรอร์ 4 ที่นั่ง มีพื้นฐานมาจากรุ่นพี่คือ ไทรอัมพ์ซูเปอร์ 9 และซูเปอร์ 10 ใช้เครื่องยนต์โคเวนทรี ไคลแมกซ์ 4 สูบ ความจุกระบอกสูบ 1122 ซี.ซี. พอถึงปี 1934 พวกเขาก็เปิดตัว ไทอัมพ์ กลอเรีย (Triumph Gloria SX) ออกแบบโดย วอลเตอร์ เบลโกรฟ เริ่มต้นจากสปอร์ต 4 ที่นั่ง แล้วปรับเปลี่ยนเป็น 2 ที่นั่งในปี 1935
โดนัลด์ ฮีลีย์ (Donald Healey)ผู้อำนวยจการด้านเทคนิคของไทรอัมพ์ยยุคนั้น ตัดสินใจ ส่ง Gloria SX ลงแข่งขันรายการมอนติคาร์โล แรลลี่ ปี 1935 ผลคือคว้าแชมป์รุ่นของตนเอง และเป็นที่สองด้านเวลารวม
ไทรอัมพ์ กลอเรีย SX จัดเป็นรถที่ทันสมัยมากหากพูดกันด้านเทคนิค ใช้ไฮดรอลิกดรัมเบรก ของล็อกฮีด ใช้ระบบไฟฟ้า 12 โวลต์ และมีโช้กอัพที่ปรับแต่งได้ตามความเหมาะสม เครื่องยนต์ 4 สูบ 1122 ซี.ซี.พอถึงปี 1934 พวกเขาก็เปิดตัว ไทรอัมพ์ กลอเรีย (Triumph Gloria SX)ออกแบบโดย วอลเตอร์ เบลโกรฟ เริ่มต้นจากสปอร์ต 4 ที่นั่ง แล้วปรับเปลี่ยนเป็น 2 ที่นั่งในปี 1935
ไทรอัมพ์ กลอเรีย SX จัดเป็นรถที่นำสมัยหากพูดกันด้านเทคนิค ใช้ไฮดรอลิกดรัมเบรก ของล็อกฮีด ใช้ระบบไฟฟ้า 12 โวลต์ และมีโช้กอัพที่ปรับแต่งได้ตามความเหมาะสม เครื่องยนต์ 4 สูบของไคลแมกซ์ ถูกเพิ่มความจุเป็น 1232 ซี.ซี.และมีเวอร์ชั่นเครื่องยนต์ 6 สูบ 1476 ซี.ซี.เพิ่มเติมขึ้นมาภายหลัง ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 120 กิโลเมตรรต่อชม. (130 กม./ชม.สำหรับเวอร์ชั่น 6 สูบ)
ปี 1936 ไทรอัมพ์ กลอเรีย SX ลงแข่งขันรายการมอนติคาร์โล แรลลี่อีกครั้งคราวนี้ได้รองแชมป์สำหรับรุ่นรถขนาดเบ าอีกครั้งคราวนี้ได้รองแชมป์สำหรับรุ่นรถขนาดเบาอีกค ันหนึ่งได้ที่ 3 สำหรับ ladies cup กลางปีนั้นเอง ฮีลีย์ ได้เปิดตัว SX อีกถึง 3เวอร์ชั่น ติดตั้งเครื่องยนต์ 4 สูบ 2แบบ และ 6 สูบอีก 1 แบบ โดยเครื่องยนต์ที่ใช้เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้เป็นเครื่ องยนต์แบบใหม่แบบ OHV ที่เบากว่าและแรงกว่าเดิม และประกาศว่า SXที่ปรับปรุงนี้พร้อมจำหน่ายในปี 1937 จะเป็นปีสุดท้ายของไทรอัมพ์ SX เนื่องจากมีปัญหาด้านการขยายตลาด
คาดว่าไทรอัมพ์ กลอเรีย SX จะถูกผลิตออกมาทั้งสิ้นไม่เกิน 200 คัน และมีเพียงไม่กี่คันที่หลงเหลืออยู่ในสภาพดีในปัจจุบ ัน
แม้รถพวงมาลัยขวา รุ่นนี้จะถูกคนส่วนใหญ่ลืมไป แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ไทรอัมพ์ เซาเธิร์นครอส เป็นบรรพบุรุษที่บุกเบิกเส้นทางสู่ความสำเร็จที่สูงไ ปกับไทรอัมพ์รุ่นต่อๆมา โดยเฉพาะไทรอัมพ์TR ซี่รีส์ต่างๆ
Triumph Southern Cross
Humber Super Snipe ความสูญเสียของอังกฤษ
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลและรูป : นิตยสารรถวันนี้ วันที่3-10 เมษายน 2550
ไม่น่าเชื่อว่าภายในระยะเวลาเพียงชั่วอายุคนเดียว โรงงานผลิตรถยนต์ของอังกฤษแห่งหนึ่งจะต้องแปรสภาพจาก ความโด่งดังมาเป็นเกือบจะไม่เหลืออะไรเลย
บริษัทดังกล่าวได้แก่ ฮัมเบอร์(Humber) ซึ่งเคยผลิตรถยนต์ชั้นดีออกมาไม่น้อย แต่กลับต้องพบกับชะตากรรมอันโหดร้าย
Humberคือรถที่ได้รับความนิยมสูงในช่วงสงครามโลกครั้ งที่ 2 กษัตริย์จอร์จ ที่ 6 และนายกรัฐมนตรีวินสตันเชอร์ชิล ต่างมีรถยนต์ยี่ห้อนี้ในครอบครอง
Humber รถที่ได้รับความนิยมสูงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของ Humber ในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองก็คือ Super Snipe และญาติของมันคือ Pullman
Humber Super Snipe ติดตั้งเครื่องยนต์ 6 สูบเรียง ความจุ 4086 ซี.ซี. เครื่องยนต์ดังกล่าวยังเป็นแบบเก่า คือมีวาล์ว อยู่ด้านข้าง ให้กำลังสูงสุด 100 แรงม้าที่ 3,400 รอบ/นาที ความเร็วสูงสุด 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
Super Snipe ไม่ใช่รถสปอร์ต เป็นรถเก๋งซาลูน 4 ประตู 4 ที่นั่ง ซึ่งมีส่วนผสมระหว่างความแข็งแกร่งของตัวถัง กับความทนทานของเครื่องยนต์ ส่วนผสมดังกล่าวช่วยให้คว้าตำแหน่งรองแชมป์รุ่นโอเวอ ร์ออล ในการแข่งขันมอนติคาร์โล แรลลี่ ปี 1950 ช่วยสร้างชื่อให้กับรถรุ่นนี้เป็นอย่างมาก
ตั้งแต่ปี 1952 Humber ปรับรูปลักษณ์ให้ทันสมัยขึ้น และดูกระเดียดไปทางรถอเมริกันมากกว่าเดิม เช่น กระจัง หน้าที่ขยายกว้างออกไปเต็มความกว้างของตัวถัง หรือกันชนที่ชุบโครเมียมมันวาว Super Snipe ยืนยงอยู่ในตลาดรถยนต์ยาวนานถึงปี 1967 โดยมีการรถยนต์ยาวนานถึงปี 1967 โดยมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาครื่องยนต์ โดยความจุของกระบอกสูบไล่มา ตั้งแต่ 2655 ซี.ซี. 2731 ซี.ซี. 2965 ซี.ซี. ไปจนถึงเครื่องยนต์ขนาดเกินกว่า 4000 ซี.ซี.ก่อนจะหายหน้าไปอย่างไม่มีวันกลับ พร้อมๆกับชื่อของ Humber
สาเหตุที่ความยิ่งใหญ่ของHumber ต้องกลายเป็นอดีตก็คือเรื่องของการตลาด เนื่องจากขณะนั้นรถยนต์จากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นประ เทศเยอรมันนี ฝรั่งเศส หรืออิตาลี ต่างพยายามเข้ามาทำการตลาดในเมืองผู้ดี และดูเหมือนว่าชาวอังกฤษจะมีใจต้อนรับรถยนต์ต่างแดนอ ยู่ไม่น้อย ส่งผลให้พิ้นเมืองเริ่มถูกมองข้าม
Humberพยายามปรับเปลี่ยนหลายอย่างเพื่อรับมือกับการร ุกรานจากต่างชาติ แต่กลับเป็นความผิดพลาดเพราะพวกเขาสูญเสีบความเป็นเอ กลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งเป็นจุดขายสำคัญปัญหาภายในบริษัท คือเรื่องการเงินจึงประดังเข้ามาจนแบกรับภาระหนี้สิน เอาไว้ไม่ได้
การตายจากของHumber จึงถือเป็นการสูญเสียครั้งหนึ่งของวงการรถอังกฤษ
Cadillac V8 รถหรูในช่วงข้าวยากหมากแพง
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลและรูป : นิตยสาร รถวันนี้ ปีที่ 8 ฉบับที่ 365 คาดิลแลค (Cadillac) คือรถยนต์ชั้นหรูของ General Motors-GM ค่ายรถยนต์ระดับยักษ์ใหญ่ ของสหรัฐ ส่วนใหญ่จำหน่ายอยู่ภายในสหรัฐเองและในแคนาดา โดยในสหรัฐคำว่า Cadillac ถูกนิยามให้ใกล้เคียงกับคำว่า high quality ความโดดเด่นของคาดิลแลค ทำให้รถยนต์ยี่ห้อนี้อยู่ยืนยงกับ GM มาตั้งแต่ปี 1909 จนถึงปัจจุบันเกือบครบ 1 ศตวรรษ
จากสายการผลิตอันยาวนานคาดิลแลคจึงถูกผลิตออกมาหลายร ุ่นหลากรูปแบบ เราจะเจาะเอาเพียง ช่วงทศวรรษ 1920 และ 1930
ช่วงระหว่างหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐอ่อนตัว คาดิลแลคหวังจะจับตลาดรถหรู โดยแนะนำรถยนต์ติดตั้งเครื่อง V16 บี ซีรี่ส์ 452 แต่ก็ไม่ประสบคสามสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังลดหลั่นระดับความหรูของรถลงมาที่รถเครื่องยนต์ 12 สูบ และ 8 สูบด้วย
หลังจากผ่านไประยะหนึ่ง พวกเขาจึงรู้ว่าเครื่องยนต์ที่เหมาะสมที่สุดในช่วงเว ลาดังกล่าวก็คือเครื่องยนต์ V8 เป็นพื้นฐานสำหรับสินค้าหลาย ๆ รุ่นในยุคนั้น
คาดิลแลคเครื่องยนต์ 8 สูบ ซีรี่ส์ 355 ของปี 1931 เป็นรถใหญ่ ฐานล้อ 134 นิ้ว (11 ฟุต 2 นิ้ว) ดูคล้ายคลึงกับ รุ่นก่อนหน้านั้นคือซีรี่ส์ 353 ตัวรถมีการออกแบบตัวถังให้โหลดต่ำลง ไฟหน้าเล็กลงกว่าเดิมเล็กน้อย
จะเห็นว่าเครื่องยนต์ยังไม่เปลี่ยนแปลง แต่รูปลักษณ์เปลี่ยนใหม่ มีการเพิ่มสไตล์ตัวถังทั้งซาลูนและคูเป้ เช่นเดียวกัน รถฟลีตวู้ดของ GM ที่ออกมา 6 ปีก่อนหน้านี้ ซึ่งมีให้เลือกทั้งเวอร์ชั่น 4 ประตูและเวอร์ชั่นสปอร์ต
เครื่องยนต์ V8 L-เฮด ซีรี่ส์ 355 ของคาดิลแลค ปี 1931 ให้กำลังสูงสุด 95 แรงม้า ใช้เกียร์ 3 สปีด กันสะเทือนทั้งหน้า/หลังเป็นแหนบแบบเซมิ-เอลลิปติก ราคาขาย 170,500 เหรียญ ไม่ถือว่าแพงจนเกินไปเมื่อเทียบกับ สิ่งที่พวกเขามอบให้กับลูกค้า
Imperia ความภูมิใจของเบลเยี่ยม
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลและรูป : นิตยสาร รถวันนี้ ปีที่ 8 ฉบับที่ 359 ประเทศเบลเยียมเป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในยุโรป ศักยภาพในด้านต่าง ๆ มีจำกัด แต่พวกเขาก็ยังสามารถผลิตรถยนต์ของตัวเองออกมาใช้ได้ โดยเฉพาะรถยนต์ยี่ห้อ อิมพีเรีย (Imperia) จัดว่าเป็นความภาคภูมิใจของชาวเบลเยียมก็ว่าได้
คนยุคปัจจุบันอาจจะลืมชื่ออิมพีเรียไปแล้ว อย่างไรก็ตามสิ่งที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ก็คือ อิมพีเรีย เป็นบริษัทรถยนต์ ของเบลเยียม ที่ยืนหยัดอยู่ในตลาดรถยนต์ได้ยาวนานที่สุด ก่อนจะต้องปิดกิจการไป อิมพีเรียก่อตั้งขึ้นในปี 1906 ที่เมืองลีแอช โดยอาเดรียน เพียดเบิฟ ซึ่งเลือกเอามงกุฎของจักพรรดิชาร์ลมาญมาเป็นสัญลักษณ ์ ในช่วงแรกก็ผลิตรถตลาด สไตล์การออกแบบก็ธรรมดา ๆ จนกระทั่งได้ พอลเฮนเซ่ วิศวกรชาวดอยช์มาช่วยสร้างสีสันและพัฒนาคุณภาพ
ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปี 1920 เมื่อมาติเยอ ฟาน ร็อกเกน (Mathieu van Roggen) นักธุรกิจไฟแรงเข้ามาครอบครองกิจการ เขาคือกุญแจสำคัญสำหรับการอยู่รอดของอิมพีเรีย
ฟาน ร็อกเกน นำบริษัทสู่ทิศทางใหม่ในปี 1923 เมื่อว่าจ้างอาโนลด์ คูชาร์ด มาออกแบบ และพัฒนารถเล็ก ราคาย่อมเยาว์ออกมาตีตลาด โดยคูชาร์ดออกแบบเครื่องยนต์ขนาดย่อมออกมา 2 แบบคือ 6CV และ 7CV โดยแบบ 6CV ดูจะมีประสิทธิภาพดีกว่าและถูกนำไปติดตั้งให้รถยนต์อ ิมพีเรียไปจนถึงช่วงทศวรรษ 1930 ยอดขายของอิมพีเรีย ช่วงนี้ก็พุ่งกระฉูดกว่าเดิม นั่นคือ เฉลี่ยปีละ 500 คัน ส่งผลให้อิมพีเรียคือค่ายรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ ่งของเบลเยียม มีคู่แข่งสำคัญคือ มิเนอร์วา กับ FN
ดวงของ อิมพีเรีย เริ่มตกในช่วงทศวรรษ 1930 เมื่อเกิดวิกฤตรุมเร้า ทั้งเรื่องรถรุ่นเก่าที่เริ่มล้าสมัย และคู่แข่งจาก ต่างแดนที่มีราคาถูกกว่าจากกำลังการผลิตที่สูงกว่าช่ วยให้ลดต้นทุน ฟาน ร็อกเกน ทราบว่าเขาต้องเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อกระตุ้นตลาด เขาจึงเดินหมากตาใหม่ด้วยการหันไปหาความช่วยเหลือจาก บริษัท อัดเลอร์ (Adler) ของเยอรมนี ทำให้ได้รถยนต์แบบใหม่ขับเคลื่อนล้อหน้าออกสู่ตลาดเย อรมนี ในปี 1932 ชื่อ Adler Trumpf แล้วค่อยนำเข้ามา เบลเยียมเปลี่ยนชื่อเป็น Imperia Trumpf โดยรถยนต์รุ่นที่มีชื่อเสียงของอิมพีเรียในยุคนั้นได ้แก่ TA-7 Alouette และ TA-11 Jupiter
ปี 1935 บริษัทรถหรูอย่างมิเนอร์วาก็ไปไม่รอด ต้องขายกิจการให้กับ ฟาน ร็อกเกน ทำให้อิมพีเรียกลายเป็นบริษัท ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในเบลเยียม แต่ความพยายามของฟาน ร็อกเกน ที่จะประคองสถานการณ์ของบริษัททำได้เพียงระยะเวลาหนึ ่งเท่านั้น การที่เบลเยียมมีตลาดเล็กทำให้ไม่สามารถต่อกรกับยักษ ์ใหญ่จากอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี หรือ อิตาลีได้
สงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงปลายทศวรรษ 1930 จนถึงกลางทศวรรษ 1940 ยิ่งทำให้ทุกอย่างเลวร้ายลง แล้วอิมพีเรียก็ก้าวสู่ช่วงสุดท้ายด้วยการผลิตรถรุ่น TA-8 ในปี 1947 ซึ่งเป็นรถเปิดประทุนเน้นความเป็นสปอร์ตมากขึ้น กว่าช่วงก่อนสงครามโลก ติดตั้งเครื่องยนต์ 4 สูบ โอเวอร์เฮดวาล์ว ซึ่งถือว่าทันสมัย ความจุกระบอกสูบ 1340 ซี.ซี. แต่กลับต้องใช้ช่วงล่างที่มีคุณภาพต่ำลงเพราะปัญหากา รเงิน
หลังจากผลิต TA-8 ออกจำหน่ายได้ราว 1,000 คัน อิมพีเรียก็ต้องประกาศยุติการผลิตไปในปี 1949 (ทำเพียงการเป็นตัวแทนจำหน่ายให้รถนำเข้ายี่ห้ออื่นร วมทั้งมอเตอร์ไซค์ยี่ห้ออัดเลอร์) และปิดกิจการ อย่างสิ้นเชิงในปี 1958