Thaiscooter.com - การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคล
                                
  • การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคล

    การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคล
    การนำเข้ารถยนต์ส่วนบุคคล ทั้งการนำเข้าชั่วคราว แล้วส่งกลับออกไป และการนำเข้ามาแบบถาวร มีขั้นตอนในการนำเข้า ดังนี้

    การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่วคราว
    รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือสำราญและกีฬา หรือเรือประมงที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนเป็นการชั ่วคราว และจะส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายใน 1-2 เดือนแต่ทั้งนี้ไม่เกิน 6 เดือน (ตามวัตถุประสงค์ที่นำเข้ามาเพื่อการท่องเที่ยว) จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า โดยผู้ที่ประสงค์จะนำยานพาหนะส่วนบุคคลประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือสำราญและกีฬา หรือเรือประมงเข้ามาพร้อมกับตนเองเป็นการชั่วคราวต้อ งปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ให้ครบถ้วน

    1. เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลช ั่วคราว
    (1) ใบขนสินค้าพิเศษและมีสำเนา 5 ฉบับ
    (2) ทะเบียนยานพาหนะ
    (3) บัตรประจำตัวและหนังสือเดินทางของผู้ควบคุมยานพาหนะ และใบขับขี่นานาชาติ
    (4) หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้ควบคุมยานพาหนะมิใช่เจ้าของ
    (5) คำร้องขอนำรถเข้ามาเพื่อการท่องเที่ยวเป็นการชั่วครา ว
    (6) หลักฐานการซื้อขาย เช่น Proforma Invoice, Invoice
    (7) สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล
    (8) สัญญาประกันการส่งกลับ
    (9) เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)

    2. ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่ วคราว
    (1) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นใบขนสินค้าพร้อมเอกสารประกอบ ต่อสำนักงานหรือด่าน ศุลกากรที่นำเข้า กรณีมีสิ่งของอื่นหรือผู้โดยสารและสิ่งของติดตัวผู้โ ดยสารเข้ามาพร้อมกับยาน พาหนะ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องแจ้งกรมศุลกากรด้วย
    (2) กรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ หากเอกสารถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้า และกำหนดวงเงินค้ำประกันสำหรับการนำเข้านั้น ๆ
    (3) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักประกัน (เงินสดหรือ ธนาคารค้ำประกัน) ไปชำระที่ฝ่ายบัญชีและอากร

    การประกันและการค้ำประกัน
    • ผู้นำเข้าสามารถวาง ประกันด้วยเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคาร แต่สำหรับ รถจักรยานยนต์ ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนำเข้าทางสำนักงานศุลก ากรท่าเรือกรุงเทพ สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้ค้ำประกันตนเองได้
    • ในกรณีที่ผู้นำเข้าไม่สามารถจะวางประกันด้วย เงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของ ธนาคารได้จริงๆ อาจขอให้สถานทูตรับรองเพื่อ กรมศุลกากรใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติให้ผู้นำเข้าค้ ำประกันตนเองก็ได้
    • การกำหนดเงินประกันและเงินค้ำประกัน กรมศุลกากรจะกำหนดโดยถือตามราคาบวกค่าภาษีอากรทุกประ เภทของรถที่นำเข้าเป็นยอดเงินประกัน
    (4) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักฐานการวางประกันมาแสดงต่อเ จ้าหน้าที่ศุลกากร
    (5) กรมศุลกากรจะตรวจยานพานะและสิ่งของติดตัวผู้โดยสาร เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะมอบสำเนา ใบขนสินค้าพิเศษให้ผู้นำเข้าไว้ 1 ฉบับ เพื่อใช้กำกับยานพาหนะและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเ มื่อนำยานพาหนะออกไปนอก ประเทศไทย

    3. ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการส่งออกยานพาหนะส่วนบุคคล
    (1) ผู้ส่งออกยื่นสำเนาใบขนสินค้าพิเศษที่กรมศุลกากรออกใ ห้ขณะนำเข้าแก่เจ้า หน้าที่ศุลกากร ณ จุดตรวจปล่อยที่สำนักงานหรือด่านที่ทำการส่งออก
    (2) กรมศุลกากรจะตรวจยานพาหนะและสิ่งของติดตัวผู้โดยสาร เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะได้ทำการบันทึกการส่งออกเพื่อตั ดบัญชีที่ได้ลงทะเบียน ไว้ในคอมพิวเตอร์และจะถอนประกันทัณฑ์บนที่ผู้นำเข้าท ำไว้กับกรมศุลกากรขณะนำ เข้า (กรณีวางค้ำประกันด้วยเงินสดหรือหนังสือธนาคาร)

    4. กรณีผู้นำเข้าไม่นำรถกลับออกไปในระยะเวลาที่กำหนด
    (1) หากผู้นำเข้าไม่นำรถกลับออกไปในระยะเวลาที่กำหนดไว้ใ นสัญญาประกันทัณฑ์บน กรม ศุลกากรจะบังคับสัญญาทัณฑ์บนเต็มจำนวนที่กำหนดไว้โดย ไม่มีการลดหย่อนทั้ง สิ้น

    การบังคับตามสัญญาประกัน
    • เมื่อครบกำหนดตามที่ ระบุไว้ในสัญญาประกัน หรือผู้นำของเข้าได้แสดงความจำนงก่อน ครบกำหนดดังกล่าวว่า ไม่ประสงค์จะนำรถกลับออกไป กรมศุลกากรจะบังคับสัญญาประกันเต็มตามจำนวนที่กำหนดไ ว้โดยไม่มีการลดหย่อน ใดๆ ทั้งสิ้น
    • ในกรณีที่มีผู้นำรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศทางเขตแดนทางบกเป็นก าร ชั่วคราวและจะนำกลับออกไป แต่นำกลับออกไปไม่ทันภายในเวลาที่กำหนดตามที่ระบุ ไว้ในสัญญาประกัน โดยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนการปฏิบัติตามสัญญาประกันนั้น ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าปรับวันละ 100 บาท นับจากวันที่ครบกำหนดในสัญญาประกัน แต่ไม่เกิน 1,000 บาท
    • ในกรณีที่ผู้ นำเรือเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และจะนำกลับออกไป แต่นำกลับออกไปไม่ทันภายในเวลาที่กำหนดตามที่ระบุไว้ ในสัญญาประกัน โดยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนการปฏิบัติตามสัญญาประกันนั้น ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าปรับวันละ 500 บาท นับจากวันที่ ครบกำหนดในสัญญาประกัน แต่ไม่เกิน 5,000 บาท

    คำว่า “เรือสำราญและกีฬา” หมายถึง เรือที่ใช้สำหรับหาความสำราญ หรือเรือที่ใช้เพื่อการเล่นกีฬาโดยเฉพาะ และไม่ได้ใช้เพื่อการค้า การทหาร หรือการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เรือสำราญ และกีฬา หรือเรือประมงที่เข้ามาจากต่างประเทศนั้น นายเรือจะต้องมารายงานเรือเข้าเช่นเดียวกับเรือทั้งห ลายที่มาจากต่างประเทศ ส่วนเรือสำราญและกีฬา หรือเรือประมงที่เดินทางไปต่างประเทศ จะต้องยื่นใบสำแดงรายงานเรือออก และขอรับใบปล่อยเรือขาออกจากกรมศุลกากรด้วย
    (2) กรณีผู้นำเข้าต้องการขอขยายเวลาการนำรถออกนอกประเทศไ ทยตามที่ระบุไว้ในสัญญา ประกัน ทัณฑ์บน ก็สามารถขอขยายเวลากับกรมศุลกากรได้อีก แต่ไม่เกิน 6 เดือน เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็น เช่น เครื่องยนต์เสีย หรือรถยนต์ถูกชนต้องเสียเวลาในการซ่อม ก็อาจขยายเวลาออกไปให้เกินกว่า 6 เดือนได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 8 เดือน นับแต่วันนำเข้า โดยยื่นขอขยายเวลา ณ ด่านศุลกากร

    การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลแบบถาวร

    รถยนต์นั่งใหม่ทุกประเภท ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนใช้งานในต่างประเทศ สามารถนำเข้าได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ และไม่จำกัดจำนวน ยกเว้นรถที่มีน้ำหนักไม่เกิน 3,500 กก.
    ผู้นำเข้าต้องขอใบอนุญาตนำเข้าจากสำนักงานมาตรฐานผลิ ตภัณฑ์ ( สมอ.) โทร 02 202 3331
    รถ ยนต์นั่งใช้แล้ว ต้องขออนุญาตก่อนการนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โทร 02-547 4804 และถ้ารถมีน้ำหนักไม่เกิน 3,500 กก. ต้องขอใบอนุญาตนำเข้าจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (สมอ.) ด้วย
    คำเตือน รถยนต์นั่งใช้แล้วจะต้องได้รับใบอนุญาตการนำเข้าจากก รมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ก่อนวันเรือเข้า มิฉะนั้นจะถูกปรับร้อยละ 10 ของราคาของ ไม่น้อยกว่า 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท

    1. หลักเกณฑ์การนำเข้ารถยนต์นั่งเก่าใช้แล้วแบบถาวร
    (1) นำเข้ามาใช้ได้เองเพียงคนละ 1 คัน
    (2) กรณีเป็นชาวต่างประเทศจะต้องเป็นผู้ที่จะเข้ามาอยู่ใ นประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 1 ปี โดยมีหนังสือ อนุญาตการเข้าเมืองจากกองตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และใบอนุญาตทำงานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมม าแสดงในการนำเข้าด้วย
    (3) กรณีชาวไทยมีคู่สมรสเป็นชาวต่างประเทศ จะต้องมีหลักฐานแสดงว่าเป็นคู่สมรสและนำรถยนต์เข้ามา เพื่อมีภูมิลำเนาใน ประเทศไทย รวมทั้งผู้นำเข้าต้องถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครองรถยนต ์คันนั้นระหว่างอยู่ใน ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จนถึ งวันที่เดินทางเข้ามา อยู่ในประเทศไทย
    (4) กรณีเป็นชาวไทย ต้องเป็นชาวไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศติดต่อกันเป็นเวลา เกินกว่า 1 ปี 6 เดือน แล้วเดินทางกลับมามีภูมิลำเนาในประเทศไทย และถือกรรมสิทธิ์ครอบครองรถยนต์คันนั้นระหว่างอยู่ใน ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน และมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์

    2. เอกสารที่ควรจัดเตรียมการนำเข้ารถยนต์แบบถาวร
    (1) เอกสารทั่วไป
    • ใบขนสินค้าขาเข้า ประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนา 3 ฉบับ
    • ใบตราส่งสินค้า
    • เอกสารการซื้อขายรถยนต์ (ถ้ามี)
    • ใบสั่งปล่อยสินค้า (กศก.100/1)
    • ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน
    • เอกสารอื่น ๆ เช่น หนังสือมอบอำนาจ
    (2) เอกสารเพิ่มเติมกรณีเป็นรถยนต์เก่าใช้แล้ว
    • ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน
    • หนังสือเดินทาง กรณีย้ายภูมิลำเนา
    • ทะเบียนรถยนต์ที่จดทะเบียนการใช้งานที่ต่างประเทศมาแ ล้ว
    • ใบอนุญาตการนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

    3. ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการ
    (1) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นใบขนสินค้าพร้อมเอกสารประกอบ ต่อสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้า
    (2) กรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ หากเอกสารถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้า และประเมินค่าภาษีอากรที่ผู้นำเข้าจะต้องชำระ
    (3) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนไปชำระเงินค่าภาษีอากรที่ฝ่ายบัญ ชีและอากร
    (4) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักฐานการชำระเงินมาแสดงต่อเจ ้าหน้าที่ส่วนตรวจสินค้าเพื่อรับของออกจากอารักขาศุล กากร

    4. หลักเกณฑ์การประเมินอากร กรมศุลกากรกำหนดเกณฑ์การประเมินราคาโดยใช้ราคา CIF (ราคา+ค่าประกันภัย+ค่าขนส่ง) เป็นฐานการประเมินอากรขาเข้าโดยมีวิธีการคิด ดังนี้

    4.1 ราคา
    4.1.1 ให้ใช้ราคารถยนต์ใหม่ที่ตัวแทนผู้ผลิตรถยนต์นำเข้ามา ในหรือส่งออกไปนอก
    ราชอาณาจักรของผู้ผลิตรถยนต์
    4.1.2 กรณีไม่มีราคาตามข้อ 4.1.1 ให้ใช้ราคาในหนังสือ PARKERs CAR PRICE
    GUIDE และ JAPANESE CAR ลด 25% เป็นราคา F.O.B.
    4.1.3 กรณีมีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบใหม ่ของรถยนต์
    ผิดไปจากสภาพเดิม ให้ประเมินราคาโดยคำนึงถึงส่วนนั้นๆด้วย
    4.1.4 กรณีที่รถยนต์มีสภาพบุบสลายเนื่องจากเหตุอื่นนอกจากก ารใช้งานตามปกติ เช่น
    รถถูกชน รถคว่ำ ไฟไหม้ เป็นต้น ให้พิจารณาลดราคาลงตามควรแก่กรณี
    4.1.5 รถยนต์เก่าใช้แล้ว จะกำหนดส่วนลดตามระยะเวลาที่จดทะเบียนให้ ดังนี้

    อัตราส่วนลดราคารถยนต์นั่งใช้แล้ว
    1 จดทะเบียนใช้แล้ว ไม่เกิน - 2 เดือน แต่ไม่เกิน - - หักส่วนลด 2.5 %
    2 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า - 2 เดือน แต่ไม่เกิน - 4 เดือน หักส่วนลด 5 %
    3 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า - 4 เดือน แต่ไม่เกิน - 6 เดือน หักส่วนลด 7.5 %
    4 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า - 6 เดือน แต่ไม่เกิน - 8 เดือน หักส่วนลด 10 %
    5 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า - 8 เดือน แต่ไม่เกิน - 10 เดือน หักส่วนลด 12.50 %
    6 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า - 10 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี - หักส่วนลด 15.00 %
    7 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 1 ปี - แต่ไม่เกิน 1 ปี 2 เดือน หักส่วนลด 16.67 %
    8 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 1 ปี 2 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน หักส่วนลด 18.33 %
    9 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 1 ปี 4 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน หักส่วนลด 20.00 %
    10 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 1 ปี 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี 8 เดือน หักส่วนลด 21.67 %
    11 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 1 ปี 8 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี 10 เดือน หักส่วนลด 23.33 %
    12 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 1 ปี 10 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี - หักส่วนลด 25.00 %
    13 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 2 ปี - แต่ไม่เกิน 2 ปี 2 เดือน หักส่วนลด 26.67 %
    14 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 2 ปี 2 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี 4 เดือน หักส่วนลด 28.33 %
    15 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 2 ปี 4 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน หักส่วนลด 30.00 %
    16 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 2 ปี 6 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี 8 เดือน หักส่วนลด 31.67 %
    17 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 2 ปี 8 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี 10 เดือน หักส่วนลด 33.33 %
    18 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 2 ปี 10 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี - หักส่วนลด 35.00 %
    19 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 3 ปี - แต่ไม่เกิน 3 ปี 2 เดือน หักส่วนลด 36.67 %
    20 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 3 ปี 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี 4 เดือน หักส่วนลด 38.33 %
    21 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 3 ปี 4 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี 6 เดือน หักส่วนลด 40.00 %
    22 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 3 ปี 6 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี 8 เดือน หักส่วนลด 41.67 %
    23 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 3 ปี 8 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี 10 เดือน หักส่วนลด 43.33 %
    24 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 3 ปี 10 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี - หักส่วนลด 45.00 %
    25 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 4 ปี - แต่ไม่เกิน 4 ปี 2 เดือน หักส่วนลด 46.67 %
    26 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 4 ปี 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี 4 เดือน หักส่วนลด 48.33 %
    27 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 4 ปี 4 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี 6 เดือน หักส่วนลด 50.00 %
    28 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 4 ปี 6 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี 8 เดือน หักส่วนลด 51.67 %
    29 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 4 ปี 8 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี 10 เดือน หักส่วนลด 53.33 %
    30 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 4 ปี 10 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี - หักส่วนลด 55.00 %
    31 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 5 ปี - แต่ไม่เกิน 5 ปี 2 เดือน หักส่วนลด 55.83 %
    32 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 5 ปี 2 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี 4 เดือน หักส่วนลด 56.67 %
    33 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 5 ปี 4 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี 6 เดือน หักส่วนลด 57.50 %
    34 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 5 ปี 6 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี 8 เดือน หักส่วนลด 58.33 %
    35 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 5 ปี 8 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี 10 เดือน หักส่วนลด 59.17 %
    36 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 5 ปี 10 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี - หักส่วนลด 60.00 %
    37 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 6 ปี - แต่ไม่เกิน 6 ปี 2 เดือน หักส่วนลด 60.50 %
    38 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 6 ปี 2 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี 4 เดือน หักส่วนลด 61.00 %
    39 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 6 ปี 4 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี 6 เดือน หักส่วนลด 61.50 %
    40 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 6 ปี 6 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี 8 เดือน หักส่วนลด 62.00 %
    41 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 6 ปี 8 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี 10 เดือน หักส่วนลด 62.50 %
    42 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 6 ปี 10 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี - หักส่วนลด 63.00 %
    43 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 7 ปี - แต่ไม่เกิน 7 ปี 2 เดือน หักส่วนลด 63.50 %
    44 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 7 ปี 2 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี 4 เดือน หักส่วนลด 64.00 %
    45 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 7 ปี 4 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน หักส่วนลด 64.50 % Discount
    46 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 7 ปี 6 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี 8 เดือน หักส่วนลด 65.00 %
    47 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 7 ปี 8 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี 10 เดือน หักส่วนลด 65.50 %
    48 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 7 ปี 10 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี - หักส่วนลด 66.00 %
    49 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 8 ปี - แต่ไม่เกิน 8 ปี 2 เดือน หักส่วนลด 66.33 %
    50 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 8 ปี 2 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี 4 เดือน หักส่วนลด 66.67 %
    51 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 8 ปี 4 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี 6 เดือน หักส่วนลด 67.00 %
    52 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 8 ปี 6 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี 8 เดือน หักส่วนลด 67.33 %
    53 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 8 ปี 8 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี 10 เดือน หักส่วนลด 67.67 %
    54 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 8 ปี 10 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี - หักส่วนลด 68.00 %
    55 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 9 ปี - แต่ไม่เกิน 9 ปี 2 เดือน หักส่วนลด 68.33 %
    56 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 9 ปี 2 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี 4 เดือน หักส่วนลด 68.67 %
    57 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 9 ปี 4 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี 6 เดือน หักส่วนลด 69.00 %
    58 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 9 ปี 6 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี 8 เดือน หักส่วนลด 69.33 %
    59 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 9 ปี 8 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี 10 เดือน หักส่วนลด 69.67 %
    60 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 9 ปี 10 เดือน แต่ไม่เกิน 10 ปี - หักส่วนลด 70.00 %
    61 จดทะเบียนใช้แล้ว เกินกว่า 10 ปี - - - - ประเมินราคาตามสภาพรถ

    4.2 ค่าประกันภัย
    4.2.1 กรณีที่มีการประกันภัยก่อนวันเรือเข้าในราชอาณาจักรใ ห้ใช้ค่าประกันภัยตามที่จ่ายจริง
    4.2.2 กรณีที่ไม่มีหลักฐานการประกันภัยตามข้อ 4.2.1ให้ถือเกณฑ์ 1% ของราคาประเมิน FOB

    4.3 การกำหนดค่าระวางบรรทุก
    4.3.1 กรณีที่มีค่าระวางบรรทุกล่าสุดที่ตัวแทนของผู้ผลิตรถ ยนต์นำเข้า ก็ให้ใช้ค่าระวาง
    บรรทุกดังกล่าว
    4.3.2 กรณีที่ไม่มีค่าระวางบรรทุกตามข้อ 4.3.1 ให้ใช้ค่าระวางบรรทุกสูงสุดที่ใช้เป็น
    เกณฑ์ ประเมินก่อนหน้าภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ของรถยนต์ประเภท และชนิดเดียวกัน ถ้าไม่มีค่าระวางบรรทุกดังกล่าว ให้หัวหน้าฝ่ายการนำเข้า หรือ นายด่านศุลกากรพิจารณา ตามความเหมาะสม
    4.3.3 กรณีที่ไม่มีค่าระวางบรรทุกตามข้อ 4.3.1 และข้อ 4.3.2 ให้เปรียบเทียบกับค่าระวาง
    บรรทุก สูงสุดที่ใช้เป็นเกณฑ์ประเมินของรถยนต์ต่างรุ่นกันที ่เคยนำเข้ามาก่อนหน้า ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน โดยพิจารณาถึงน้ำหนักรูปร่าง ลักษณะของตัวรถ และเมืองกำเนิดที่ใกล้เคียง ถ้าไม่มีค่าระวางบรรทุกดังกล่าว ให้หัวหน้าฝ่ายการ นำเข้า หรือนายด่านศุลกากรพิจารณาตามความเหมาะสม
    4.3.4 กรณีที่ค่าระวางบรรทุกตามสำแดงสูงกว่าค่าระวางบรรทุก ตามข้อ 4.3.2 และข้อ
    4.3.3 ให้ใช้ ค่าระวางบรรทุกที่สูงกว่าดังกล่าวเป็นเกณฑ์ประเมิน
    4.3.5 กรณีนำเข้ามาทางอากาศยาน ให้ใช้ค่าระวางบรรทุกทางอากาศยานตามที่จ่ายจริง
    ในกรณีที่ไม่ทราบค่าระวางบรรทุกของอากาศยานให้ใช้ค่า ระวางบรรทุกจากบริษัท การบินนั้น
    4.3.6 กรณีไม่สามารถหาค่าระวางบรรทุกตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้ถือเกณฑ์ 10% ของ
    ราคาประเมิน FOB

    • ตารางอัตราภาษีอากร

    ชนิดของยานพาหนะ ความจุกระบอกสูบ อัตราอากร (%) อัตราภาษีสรรพสามิต (%) (ตัวคูณ) ภาษีเพื่อมหาดไทย
    (%)* ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    (%) อัตราอากรรวม(%)
    ยานพาหนะส่วนบุคคล รวมถึงรถโดยสารไม่เกิน 10ที่นั่ง ไม่เกิน 2000 ซีซี และไม่เกิน 220 แรงม้า 80 30
    (0.4477612) 10 7 187.47

    2001 ซีซี แต่ไม่เกิน 2500 ซีซี และไม่เกิน 220 แรงม้า 80 35
    (0.5691057) 10 7 213.171

    2501 ซีซี แต่ไม่เกิน 3000 ซีซี และไม่เกิน 220 แรงม้า 80 40
    (0.7142857) 10 7 243.94

    เกิน 3000 ซีซี หรือเกิน 220 แรงม้า 80 50
    (1.1111111) 10 7 328

    * ภาษีเพื่อมหาดไทยจะคิดเป็น10% ของภาษีสรรพสามิต.



    ตัวอย่างการคำนวณภาษีอากร
    มูลค่า CIF ของยานพาหนะที่นำเข้า และภาษีอากรที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
    • หากราคานำเข้า CIF = 100 บาท
    • อากรขาเข้า = 80 %
    • ภาษีสรรพสามิต = 35 %
    • ภาษีเพื่อมหาดไทย = 10 % of ภาษีสรรพสามิต
    • ภาษีมูลค่าเพิ่ม = 7 %

    อากรขาเข้าและภาษีรวมในการนำเข้าสามารถคำนวณได้ดังตั วอย่างต่อไปนี้

    1. อากรขาเข้า = (ราคา CIF * อัตราอากรขาเข้า)
    = (100 * 0.8)
    = 80 บาท

    2. ภาษีสรรพสามิต = (ราคา CIF + อากรขาเข้า) * {อัตราภาษีสรรพสามิต/1-(1.1 * อัตราภาษีสรรพสามิต)}
    = (100+80) * {0.35/1-(1.1*0.35)}
    = 180 * 0.5691057
    = 102.439 บาท

    3. ภาษีเพื่อมหาดไทย = ภาษีสรรพสามิต * อัตราภาษีเพื่อมหาดไทย
    = 102.439 * 0.1
    = 10.2439 บาท

    4. ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม = (ราคา CIF + อากรขาเข้า + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย)
    = (100 + 80 + 102.439 + 10.2439)
    = 292.6829 บาท

    5. ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม * อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
    = 292.6829 *0.07
    = 20.4878 บาท

    ค่าภาษีอากรรวม = 1 + 2 + 3 + 5 = 213.171 บาท


    ข้อมูลเพิ่มเติม

    ประเภทยานพาหนะ ความจุกระบอกสูบ อากรศุลกากร (%) อัตราภาษีอากรรวม (%)
    ยานพาหนะ (พิกัด 87.03) ไม่เกิน 2000 ซีซี 80 188
    2001 ซีซี แต่ไม่เกิน 2500 ซีซี 80 213
    2501 ซีซี แต่ไม่เกิน 3000 ซีซี 80 244
    มากกว่า 3001 ซีซี 80 328

    รถจักรยานยนต์
    (พิกัด 87.11) 60 77.04
    รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 60 72
    รถจักรยานไฟฟ้า 60 72

    หมายเหตุ

    1. ภาษีอากรรวมของยานพาหนะและจักรยานยนต์ = อากรศุลกากร + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
    2. ภาษีอากรรวมของจักรยานยนต์ไฟฟ้าและจักรยานไฟฟ้า = อากรศุลกากร + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
    3. การ นำเข้ายานพาหนะและรถจักรยานยนต์เก่าหรือใช้แล้วต้องใ ช้ใบอนุญาตจากกรมการค้า ต่างประเทศก่อนการนำเข้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  02-547-4804.
    4. ค่า ภาษีอากรของยานพาหนะจะไม่ถูกกำหนดจนกระทั่งยานพาหนะน ั้นมาถึงท่าที่จะผ่าน พิธีการ และได้ยื่นเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกรมศุลกากรแ ล้ว

    ติดต่อสอบถาม
    สำหรับคำถามและข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่
    Customs Call Center โทร 1164 หรือ
    Customs Clinic โทร 0-2667-7880-4 โทรสาร 0-2667-7885 อีเมล์ [email protected] หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ณ ท่าที่นำเข้า/ส่งออก กรุณาตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงานศุลกากรใกล้ค ุณ

    http://www.customsclinic.org/index.p...id=167&lang=th