เรื่องหัวเทียน หลายท่านอาจจะเคยบอกว่า แชมเปี้ยน ซิดีสุด / ไม่นะ ต้อง บอสส แพลทตินั่ม เท่านั้นสิ / อะไรกัน ของ ngk ก็ดีออก / ใช้แบบที่เป็น IRIDIUM ดิสุดยอดเลยนะ..........
สรุปแล้วจะใช้อะไรดีหว่า.....?
ซึ่งจริงๆ การเลือกใช้หัวเทียน ต้องเลือกให้เหมาะกับสภาพรถของเรา ด้วยคับ
ไม่ใช้ว่า เกลียว เหมือนกัน/เท่ากัน หรือ คนนั้นบอกมาว่ายี่ห้อนี่ดีก็ใส่ๆ เข้าไป
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีแค่นั้น มีรถหลายๆคันวิ่งไม่ออก หลายคันเครื่องร้อนจัด บางคันสูบทะลุ
ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดกับรถที่มี เครื่องรอบจัด หรือรถที่ใช้ความเร็วสูงเป็นเวลานาน และที่สำคัญเครื่องที่ได้รับการโม
มาจำเป็นต้องเลือกหัวเทียนให้ถูกต้องในการขับขี่ หากเป็นรถใช้งานธรรมดาก็ไม่ค่อยจะมีผลสักเท่าใดนัก
หัวเทียน จะจุดประกายไฟก็ต่อเมื่อได้รับกระแสไฟจากคอลย์กระโดด จากเขี้ยวกลาง แล้วไปครบวงจรที่เขี้ยวข้างเพื่อจุดระเบิดให้ ไอดี ในการจุดระเบิดให้ไอดีนั้นอุณหภูมิจะรอนประมาณ 2,500 องศาเซลเซียส และมีแรงดันประมาณ 50 กก./ตร.ซม. ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหน้าที่ของหัวเทียน ที่ต้องรับภาระหนักเลยทีเดียว
การเลือกใช้หัวเทียนให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของเคร ื่องยนต์มีข้อควรคำนึงที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
1. ค่าความร้อน
2. ความยาวเกลียว
ค่าความร้อน เนื่องจากหัวเทียนยื่นเข้าไปในห้องเผาไหม้ ได้รับความร้อนจากห้องเผาไหม้อยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีการระบายความร้อน ความสามารถในการระบายความร้อนนี้เรียกว่า ค่าความร้อน ซึ่งหัวเทียนที่เราเรียกกันว่า หัวเทียนร้อน (หัวเทียนที่ระบายความร้อนได้ช้า) หรือ หัวเทียนเย็น (หัวเทียนที่ระบายความร้อนได้เร็ว) สามารถดูได้จากเบอร์ของหัวเทียน
ความยาวเกลียว การเลือกหัวเทียนควรจะต้องมีความระวังในเรื่องความยา วเกลียวด้วยเพราะหากขนาดเกลียวยาวเกินไป จะทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวลูกสูบเมื่อเครื่องยนต์ ทำงาน
มารู้จักกับส่วนประกอบของหัวเทียนกัน
หัวเทียนนั้นจะประกอบด้วย
- ขั้วหัวเทียน ( Terminal )
- ฉนวน ( Insulator )
- เปลือก ( Shell )
- แหวนหรือปะเก็นกันรั่ว ( Sealing Gasket )
- เขี้ยวกลาง ( Center Electrode )
- เขี้ยวด้านข้าง ( Ground Electrode )
หัวเทียนสามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ
1. หัวเทียนร้อน
2. หัวเทียนปานกลาง
3. หัวเทียนเย็น
หัวเทียนร้อน
หัวเทียนแบบนี้เป็นหัวเทียนที่มีกระเบื้องเคลือบหุ้ม ปลายโลหะยาวหรืออยู่ลึก ค่าความร้อนที่สะสมไว้ภายในขณะเครื่องยนต์ทำงานสูง เพราะพื้นที่รับความร้อนมีมาก การถ่ายเทความร้อนไปฝาสูบใช้ระยะเวลานาน ดังนั้นหัวเทียนแบบนี้จึงเหมาะกับเครื่องยนต์ที่มีรอ บต่ำ หรือ เครื่องยนต์ที่ทำงานเบาใช้ระยะเวลาไม่มากนัก
หัวเทียนปานกลาง
หัวเทียนแบบนี้เป็นหัวเทียนที่มีกระเบื้องเคลือบโลหะ ปานกลางไม่ตื้นหรือลึกเกินไป ค่าความร้อนที่สะสมไว้ภายในขณะเครื่องยนต์ทำงานไม่ต่ ำหรือสูง เพราะพื้นที่รับความร้อนมีไม่มากและการถ่ายเทความร้อ นไปยังฝาสูบก็ใช้ระยะเวลาไม่สั้นไม่ยาวนัก หัวเทียนประเภทนี้เหมาะกับเครื่องยนต์ที่ใช้งาน ทั่วไปที่มีความเร็วรอบไม่ต่ำและไม่สูงเกินไป
หัวเทียนเย็น
หัวเทียนแบบนี้เป็นหัวเทียนที่มีกระเบื้องเคลือบหุ้ม ปลายโลหะสั้น หรือมองเห็นกระเบื้องเคลือบอยู่ตื้น จะมีค่าความร้อนที่สะสมไว้ภายในขณะทำงานที่ต่ำ เพราะพื้นที่รับความร้อนน้อยและการถ่ายเทความร้อนไปย ังฝาสูบใช้เวลาสั้น ดังนั้นหัวเทียนแบบนี้จึงเหมาะกับเครื่องยนต์รอบจัด หรือใช้ความเร็วสูง หรือใช้ความเร็วสูงเป็นระยะเวลานานๆ
การดูรหัสตัวอักษรพิมพ์บนหัวเทียน
นอกจากการดูจากตัวหัวเทียนแล้วเรายังสามารถดูได้จากเ บอร์ของหัวเทียนได้ดังตัวอย่าง NGK B7ES หรือ NGK B8ES
NGK - คือยี่ห้อของหัวเทียน
อักษร B ตัวแรกหมายถึง ขนาดความโตของเกลียวหัวเทียน
เลขต่อท้ายตัวอักษร B หมายถึงหัวเทียนร้อนหรือเย็น เลขยิ่งน้อยหัวเทียนก็ร้อน เลขมากก็หัวเทียนเย็น ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันจะอยู่ประมาณ 7-8-9 ซึ่งเป็นหัวเทียนปานกลาง
อักษร H หรือ E ตามหลังตัวเลขหมายถึงความยาวของเกลียว H เท่ากับ 12.7 มม. อักษร E เท่ากับ 19.0 มม.
อักษร S หมายถึงแบบหรือชนิดของหัวเทียนพิเศษ รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ทำเขี้ยวกลางและฉนวนที่ต่างกันไป
นอกจากนี้หัวเทียนบางรุ่นยังมีเลขปิดท้ายอีกทีซึ่งหม ายถึงระยะห่างของขั้วหัวเทียน
***ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ***