เหตุเกิดจากน้องเพื่อนผม ต้องการผ่าตัดด่วน แต่เลือดที่น้องต้องการไม่มีที่โรงบาลนั้น ต้องไปขออีกโรงบาล ระหว่างรอเลือดมาน้องได้เสียชีวิตนะครับ ถ้าเลือดมีที่โรงบาลนั้นน้องเพื่อนผมคงไม่เสียชีวิต เพื่อนผมได้คุยกับหมอ เลยรู้ว่าตอนนี้เลือดได้ขาดแคลนมาก แต่ละโรงบาลแทบจะไม่มี ไม่เพียงพอในการรักษาผู้ป่วย เลือดกรุ๊ป a b ab o โดยเฉพาะกลุ่มพิเศษพวก a- b- ยิ่งขาดแคลนใหญ่ถึงขนาดว่าคนที่เตรียมจะผ่าตัด ต้องไปหาคนเลือดกรุ๊ปเดียวกันมาบริจาค ฟังแล้วน่าตกใจ ผมเลยคิดว่าถ้าเหตุการณ์นี้เกิดกับใครคงเสียใจกันทุก คน ตอนนี้พวกเราแข็งแรงไปบริจาคโลหิตกันดีกว่า วันเกิดก็ไปบริจาค หรือจะจัดทริปไปบริจาคก็ดีนะครับ จะได้ไม่ต้องมีคนเสียใจ
คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต
1. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์
2. น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพทั่วไปสมบูรณ์ดี
3. ไม่มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
4. ไม่เป็นไข้มาเลเรียมาในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา และไม่เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่าง ๆ ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต โลหิตออกง่ายผิดปกติ โรคเลือดชนิดต่าง ๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์
5. ไม่อยู่ในภาวะน้ำหนักลดมากในระยะสั้น
6. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือสำส่อนทางเพศ ไม่มีประวัติติดยาเสพติด
7. งดการบริจาคโลหิตภายหลังผ่าตัด คลอดบุตรหรือแท้งบุตร 6 เดือน (ถ้ามีการรับโลหิตต้องงดบริจาคโลหิต 1 ปี)
8. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์
ดูแลตัวเองก่อนมาบริจาคโลหิต
*ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
*ควรมีสุขภาพสมบูรณ์ดีทุกประการไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาใดๆ
*ควรรับประทานอาหารมาก่อน และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไม่มีไขมัน
*งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
*งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
*สุภาพสตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ ์
*การบริจาคโลหิตครั้งต่อไปเว้นระยะ 3 เดือน ยกเว้นการบริจาคพลาสมาหรือเกล็ดโลหิต
ข้อปฏิบัติหลังบริจาคโลหิต
*นอนพักบนเตียงอย่างน้อย 3-5 นาที ห้ามลุกจากเตียงทันที จะเวียนศีรษะเป็นลมได้
*ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ และดื่มน้ำมากกว่าปกติเป็นเวลา 2 วัน
*ไม่ควรรีบร้อนกลับ นั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ
*หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลมระหว่างลุกจากเตี ยงหรือขณะเดินทางกลับ ต้องรีบนั่งก้มศีรษะต่ำ ระหว่างเข่าหรือนอนราบ เพื่อป้องกันอันตรายจากการล้ม
*หากมีโลหิตซึมออกมา ให้ใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว กดลงบนผ้าก๊อสหรือพลาสเตอร์ที่ปิดรอยเจาะ ให้นิ้วหัวแม่มือกดด้านใต้ข้อศอกและยกแขนสูงจนโลหิตห ยุดสนิท หากโลหิตไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคเพื่อพบ แพทย์พยาบาล
*งดออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากภายหลังการบริจาค โลหิต ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูงหรือทำงานเกี่ยว กับเครื่องจักรกล ควรหยุดพักหนึ่งวัน
*รับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
*หลีกเลี่ยงการใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการบวมช้ำ
ท่านที่มีประวัติดังต่อไปนี้ ควรงดการบริจาคโลหิตคือ
*ท่านหรือคู่สมรสของท่าน เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชาย ที่ขายบริการทางเพศ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา
*เคยเป็นผู้ที่เสพยาเสพติดโดยใช้เข็มฉีดยา
*รู้ตัวว่าติดเชื้อเอดส์
ทุกท่านมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ในการรับบริ จาคโลหิต ใช้ครั้งเดียวสำหรับคนเดียวแล้วทิ้ง
20 คำถามก่อนการบริจาคโลหิต
1. อายุ 17 ปี สุขภาพสมบูรณ์ พร้อมที่จะบริจาคโลหิต
2. นอนหลับเพียงพอไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
3. รับประทานอาหารประจำมื้อ เรียบร้อยแล้ว
4.ไม่มีอาการท้องเสียท้องร่วงภายใน 7 วัน
5.ไม่มีน้ำหนักลดในระยะ3เดือนที่ผ่านมาโดยไม่ทราบสาเ หตุ
6.ไม่ได้รับประทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาแก้ปวดข้อ
7.ไม่ได้รับประทานยาแก้อักเสบภายใน 7 วัน
8.ไม่เป็นโรคหอบหืด ลมชักโรคผิวหนังเรื้อรังไอ เรื้อรังวัณโรคหรือโรคภูมิแพ ้อื่นๆ
9.ไม่เคยเป็นหรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคตับอักเสบ
10.ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ไต ไทรอยด์มะเร็งโรคโลหิตออกง่ายหยุดยาก
11.ไม่ได้ทำฟันภายใน 3 วันที่ผ่านมา
12.ท่านหรือคู่ของท่านไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับผ ู้อื่น
13.ไม่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ภายใน 6 เดือน หรือผ่าตัดเล็กภายใน 1 เดือน
14.ไม่มีการเจาะหู สัก ลบรอยสัก ฝังเข็มในระยะ 6 เดือน
15.ไม่เคยมีประวัติยาเสพติด หรือพ้นโทษในระยะ 3 ปี
16.ไม่เคยเจ็บป่วยที่ต้องรับโลหิตผู้อื่นในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา
17.ไม่ได้ฉีดวัคซีนในระยะ 14 วัน
18.ไม่เคยเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อมาลาเรียชุกชุมใน ระยะ 1 ปีหรือเคยป่วยเป็นมาลาเรีย
19.ไม่อยู่ในระหว่างมีรอบเดือน
20.ไม่ได้คลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
สำหรับผู้มีโรคประจำตัว
- โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานอนุโลมให้บริจาคเลือดได ้ ถ้าใช้ยาควบคุมได้ดีอย่างอย่างต่อเนื่องและต้องเป็นเ พียงโรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น
- โรคหัวใจทุกชนิดต้องงดบริจาคเลือด
- โรคไตชนิดเรื้อรังต้องงดบริจาคเลือด ถ้าเป็นชนิดอักเสบเฉียบพลัน และรักษาหายขาดภายใน 1 ปี สามารถบริจาคเลือดได้
- โรคธัยรอยด์ชนิดไม่เป็นพิษต้องรักษาหายแล้ว ถ้าเป็นชนิดเป็นพิษแม้รักษาหาย และหยุดยาแล้วก็ไม่ควรบริจาคเลือด
- โรคมะเร็งทุกชนิดไม่ควรบริจาคเลือด รักษาหายแล้วก็ตาม เพราะไม่สามารถทราบสาเหตุและตำแหน่งการกระจานหรือแฝง ตัวของโรค
- โรคโลหิตออกง่าย-หยุดยาก เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ควรงดบริจาคเลือด เพราะมีโอกาสเสียชีวิตเพราะเสียเลือดมาก และเลือดหยุดยาก
- โรคเรื้อรังอื่นๆ ควรงดบริจาคเลือด
คุณประโยชน์
1. ได้รับความภูมิใจที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกาย เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นการทำบุญอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะทำให้ท่านมีความสุขใจ
2. ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุก 3 เดือน
3. ได้รับทราบหมู่โลหิตของตนเองทั้งระบบ เอ บี โอ และ ระบบ อาร์เอช
4. โลหิตทุกยูนิตที่ได้รับบริจาค ต้องผ่านกระบวนการคัดกรองเชื้อต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ เหมือนกับการที่ผู้บริจาคโลหิตได้รับการตรวจหาเชื้อไ วรัสตับอักเสบ บี, ไวรัสตับอักเสบ ซี, เอดส์ และอื่นๆ
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการตอบแทนผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้จัดทำเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิตขึ้น เพื่อมอบให้ผู้บริจาคโลหิต
อานิสงส์ของการบริจาคโลหิต - ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพแข็งแรง ช่วยต่ออายุ ต่อไปจะมีผู้คอยช่วยเหลือไม่ให้ตกทุกข์ได้ยาก เทพยดา ปกปักรักษาได้เกิดมามีร่างกายที่งดงามในภพหน้า ส่วน ภพนี้ก็จะมีราศีผุดผ่อง
ขออนุโมทนา กับทุกๆ ท่านที่เสียสละเพื่อผู้ป่วย สาธุ. . .
Bookmarks