อีกหนึ่งความสามารถของ Retina MacBook Pro ที่ยังไม่มีใครพูดถึงมากนักก็คือการแสดงผลในโหมด scaling หรือว่าง่าย ๆ คือการแสดงผลที่ให้พื้นที่ในการทำงาน (desktop space) เทียบเท่ากับ 1680x1050 หรือ 1920x1200 ซึ่งหากเทียบกับโหมด Retina ปกติแล้ว ถึงแม้ว่าภาพและตัวหนังสือจะมีความละเอียดสูงมากกว่า จอภาพเดิม 4 เท่าด้วยหน้าจอความละเอียด 2880x1800 ก็ตาม แต่พื้นที่ในการใช้งานของผู้ใช้จริง ๆ แล้วก็เทียบเท่ากับหน้าจอ 1440x900 เท่านั้น
ที่น่าสนใจคือวิธีการเรนเดอร์ภาพในโหมด scaling ต่าง ๆ ของ OS X ซึ่งแทนที่แอปเปิลจะเลือกใช้วิธีการขยายภาพต้นฉบับที ่ 1920x1200 มาให้เต็มจอขนาด 2880x1800 ตามปกติแล้ว แอปเปิลกลับเลือกใช้วิธี oversampling ด้วยการให้การ์ดจอทำงานหนักกว่าที่มันได้ถูกออกแบบมา โดยการ์ดจอจะต้องเรนเดอร์ภาพขนาด 3840x2400 (หรือ 4 เท่าของขนาด 1920x1200 หรือว่าง่าย ๆ ที่ 9.2 เมกะพิกเซล) หลังจากนั้นค่อย downscale ภาพกลับลงมาอยู่ที่ 2880x1800 อีกที โดยวิธีนี้จะทำให้คุณภาพของภาพออกมาดีกว่าการ upscale ภาพตามปกติ
ผลที่ตามมาก็คือประสิทธิภาพในการทำงานที่อาจจะลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรนเดอร์ animation ต่าง ๆ ของ OS X อย่างเช่นการ scroll หน้าเว็บต่าง ๆ โดยจากการทดสอบด้วยหน้าเว็บที่ใช้ทรัพยากรในการเรนเด อร์สูงอย่างเฟสบุ๊ค frame rate จาก MacBook Pro รุ่นปี 2011 เฉลี่ยจะอยู่สูงกว่า 50 เฟรมต่อวินาที Retina MacBook Pro ในโหมด scaling สามารถประมวลผลเฉลี่ยออกมาได้แค่ 20 เฟรมต่อวินาทีเท่านั้น แต่ทั้งหมดนี้ก็มาจากการที่ GPU จะต้องประมวลผลจำนวนพิกเซลที่มากกว่าเดิมหลายเท่า
ทั้งหมดนี้พอสรุปได้ว่ามันไม่มีวิธีแก้ไขปัญหานี้ได้ มากนัก เนื่องจากแอปเปิลได้พยายามผลักดันให้ชิปกราฟฟิคทำงาน หนักที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว และมากกว่าที่ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายอื่นเคยทำ แต่จากในรายงานเดียวกันนี้ของ AnandTech การทดสอบเดียวกันนี้บน OS X Mountain Lion การทดสอบ scroll หน้าเว็บต่าง ๆ มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และน่าจะมาจากการที่แอปเปิลเลือกใช้ Core Animation ในการเรนเดอร์การ scroll
ส่วนวิธีการที่จะให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีกว่านี้ไ ด้อีกนั้น คงไม่มีวิธีอื่นนอกจากรอให้มีเทคโนโลยีหน่วยประมวลผล กราฟฟิคที่จะสามารถตอบสนองความต้องการทางทรัพยากรที่มากกว่าเดิมมาก ของหน้าจอความละเอียดสูงเหล่านี้ได้
ที่มา - AnandTech ผ่านทาง MacRumors
อ่านต่อ...
Bookmarks