แม้ว่าโมโตโรลาจะถูกขายให้กับเลอโนโวไปแล้ว แต่การวางขายผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวในช่วงสมัยร่มเงาของ กูเกิลนั้นก็ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น Moto X ที่ขยายเข้าไปจำหน่ายในยุโรป หรือ Moto G ที่เริ่มขยายการจำหน่ายมายังประเทศแถบภูมิภาคเอเชียแ ล้ว และได้รับเสียงตอบรับอย่างล้นหลาม (เช่นที่อินเดีย จำหน่ายหมดภายในไม่ถึงชั่วโมง)
รีวิวนี้จะเป็นการรีวิว Moto G รุ่นสองซิม (รหัสรุ่น XT1033) ที่จำหน่ายในแถบประเทศเอเชีย (และรวมถึงออสเตรเลียด้วยเช่นกัน) ซึ่งแตกต่างจากรีวิวของคุณ lewcpe อยู่พอสมควร โดยรีวิวนี้จะลงลึกถึงรายละเอียด ทั้งนี้คาดว่าหากมีการนำเข้ามาจำหน่ายในไทย (อ้างอิง) เครื่องที่จะนำมาจำหน่ายคงไม่ต่างมากไปจากนี้ เนื่องจากเป็นรุ่นที่จำหน่ายทั่วเอเชียนั่นเอง
ความนำ

Moto G เป็นมือถือของโมโตลาที่มีจุดขายอยู่ที่ความคุ้มค่าต่ อราคาในด้านประสิทธิภาพสูงมาก (อ่านสเปคได้ที่นี่) โดยมีเป้าหมายที่เน้นไปยังประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะกับคนที่เข้าไม่ถึงสมาร์ทโฟนกลุ่มเรือธงที่ม ีราคาสูงมาก อีกทั้งยังต้องการเรื่องของการปรับปรุงซอฟต์แวร์ในเค รื่องให้ทันสมัยอยู่เสมอ (กล่าวคือ ซื้อแล้ว ไม่ต้องร้องเพลง "เรือนแพ") ซึ่งสำหรับ Moto G ในวันเปิดตัวก็มีการรับรองว่าจะได้รับการปรับรุ่นจาก Jelly Bean ไปเป็น KitKat ซึ่งก็สามารถปล่อยตัวปรับรุ่นหลังจากการเปิดตัวได้ไม่นานนัก (รุ่นสองซิมตามหลังอยู่เดือนเศษๆ) ซึ่งทำให้ได้รับคำชมจากเว็บไซต์ต่างๆ มากพอสมควร
สำหรับภูมิภาคเอเชีย แม้ว่าจะมีการระบุรายชื่อประเทศที่จำหน่ายในวันเปิดตัว ซึ่งมีประเทศแถบเอเชียอยู่ด้วย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง แต่กว่าจะวางจำหน่ายจริงก็ล่วงหลังจากงานเปิดตัวอยู่ สองเดือนเศษ (สิงคโปร์ จำหน่ายวันที่ 16 มกราคม ส่วนฮ่องกง จำหน่ายวันที่ 21 มกราคม) และทุกรุ่นที่นำเอาเข้ามาจำหน่ายในย่านเอเชียจะเป็นร หัส XT 1033 ซึ่งรองรับการใช้งานแบบสองซิมการ์ดทั้งสิ้น (ในรีวิวนี้จะเรียกสลับกันระหว่างรุ่นสองซิม กับ XT1033 โดยแล้วแต่บริบท)
เครื่องที่นำมารีวิวนี้ เป็นเครื่องที่จำหน่ายในประเทศฮ่องกง ราคา 1898 เหรียญฮ่องกง ตกประมาณ 8,000 บาท แล้วแต่อัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละวันครับ
บรรจุภัณฑ์และตัวเครื่อง

บรรจุภัณฑ์ของ Moto G ที่จำหน่ายในแถบเอเชียนี้มีขนาดที่สูงและเล็กกว่าบรร จุภัณฑ์ในรุ่นที่จำหน่ายในอเมริกา (ลองดูรีวิวของคุณ lewcpe เปรียบเทียบได้)


ด้านในนอกจากแถมที่ชาร์จแล้วยังมีหูฟังแถมมาด้วย

ภายนอกตัวเครื่องนั้นไม่ได้แตกต่าง Moto G รุ่นซิมเดียวแต่ประการใด ทั้งนี้ รูปแบบการออกแบบทั้งหมด คงแนวทางเดิมจาก Moto X ไว้ทั้งหมด โดยต้องยอมรับว่าสัมผัสนั้นไม่ได้ให้ความรู้สึกว่าเป ็นโทรศัพท์มือถือพลาสติกราคาถูกแม้แต่น้อย นอกจากนั้นแล้วโดยทั่วไปเสียงจากลำโพงดังและชัดกว่า Sony Xperia Z ที่ผมใช้อยู่เป็นประจำอย่างมาก จนรู้สึกว่าเงินที่จ่ายไปกับ Xperia Z นั้นไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย หากจะเอา Xperia Z ไปเปิดฟังเพลง

แต่สิ่งที่ชัดเจนคือ เมื่อแกะฝาหลังเครื่องออกมาแล้ว จะพบช่องใส่ซิมสองช่อง ซ้ายและขวา โดยเป็น Micro-SIM ทั้งคู่

เมื่อเทียบน้ำหนักและสัมผัสแล้ว Moto G ให้สัมผัสของเครื่องที่แน่น แต่ไม่ได้หนักจนเกินไป และใช้งานได้อย่างสบายๆ ซึ่งเมื่อเทียบกับ Xperia Z แล้ว ต้องยอมรับว่าความรู้สึกและสัมผัสของ Xperia Z แม้จะหรูหรากว่า แต่ให้ความรู้สึกเปราะบาง (fragile) มากกว่า
ซอฟต์แวร์

เป็นที่น่าเสียดายว่าเครื่องที่ผมซื้อมายังไม่ได้ KitKat ซึ่งถือว่าผิดสัญญาที่ให้พอสมควร แม้ว่าจะมีอัพเดตตามมาทีหลัง ก็ตาม แต่การใช้งานโดยทั่วไปก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรแต่อย่างใด ซึ่งผมก็ได้ทำการอัพเดตให้เป็น KitKat ให้เป็นที่เรียบร้อยในภายหลัง

ภายใน ซอฟต์แวร์ที่มากับเครื่องนั้นคือ Android ที่แทบจะไม่ได้ปรับแต่งอะไรเลย ยกเว้นโปรแกรม (หรือแอพ) บางตัว เช่น Motorola Migrate (ไม่ได้ใช้) หรือ Motorola Assist ที่ไว้ช่วยจัดการเครื่องอัตโนมัติ อย่างเช่นผมที่ตั้งค่าไว้ว่าหลังสี่ทุ่มจนถึงเจ็ดโมง เช้า เครื่องจะเงียบเสียงทุกชนิด แต่ผมมองว่าการตั้งค่านี้ยังไม่ดีเพียงพอ เพราะซอฟต์แวร์ของโซนี่ที่ชื่อว่า Smart Connect สามารถจัดการได้ดีกว่านี้ (เช่น การตั้งค่าเงียบ จะทำเมื่อถึงเวลา และเครื่องเชื่อมต่อกับที่ชาร์จแล้วเท่านั้น เป็นต้น)


FM Radio ไว้สำหรับฟังวิทยุ (ต้องต่อกับหูฟัง)

หรือคุณสมบัติอย่าง Trusted Devices ที่ถ้ามีอุปกรณ์บลูทูธที่เรากำหนดไว้อยู่ใกล้ระยะของ เครื่อง เครื่องจะไม่ทำการล๊อครหัสผ่านให้

การใช้งานแบบสองซิม

สำหรับการใช้งานแบบสองซิมนั้น สามารถกำหนดและตั้งค่าได้มากอยู่พอสมควร เช่น กำหนดว่าจะให้เครื่องเข้าถึงอินเตอร์เน้ตผ่านซิมไหน หรือสายที่เรียกเข้าออกจะมาจากเครื่องไหน ส่งข้อความใช้ซิมไหน เป็นต้น




นอกจากนั้นยังกำหนดความสำคัญได้ด้วยว่าจะให้เครื่องเ น้นการโทรหรือเน้นข้อมูล

อย่างไรก็ดีสิ่งที่ผมพบและเป็นข้อด้อยอย่างหนึ่งของ Moto G รุ่นสองซิม คือ ใช้ 3G ได้ครั้งละซิมเท่านั้น กล่าวคือ หากซิมใดซิมหนึ่งถูกกำหนดเป็น 3G อีกซิมจะเป็นเพียง 2G เท่านั้น ไม่ใช่ 3G พร้อมกันได้ทั้งคู่


ในการใช้งานจริง เครื่องจะกำหนดหรือถามเราแต่แรกว่าซิมใดจะเป็นซิมหลั ก จากนั้นก็จะไม่ถามอีก ซึ่งเราสามารถตั้งค่าให้ถามเราได้ว่าจะใช้ซิมไหนในภา ยหลัง เช่น ผม จะกำหนดให้เครื่องถามเสมอว่าโทรออกใช้ซิมไหนในการโทร แต่ละครั้ง เป็นต้น
กล้อง

ต้องยอมรับว่ากล้องของ Moto G ทำออกมาได้ดีพอสมควร และให้ภาพที่สวยในตอนกลางวันพอสมควร อาจจะไม่ต้องถึงระดับที่คมกริบ แต่ถ้าถ่ายอาหารแล้วอัพรูปขึ้นตอนสี่ทุ่มก็อาจจะสร้า งความหิวโซให้แก่คนดูได้เช่นกัน


การใช้งานจริง

ผมเชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่มอง Moto G ในฐานะเครื่องใช้เล่นเกม Ingress ซึ่งจากประสบการณ์ลองเครื่องแล้วพบว่า GPS ทำงานได้อย่างแม่นยำมาก (แม่นยิ่งกว่า Xperia Z)


นอกจากความแม่นยำแล้ว ยังไม่มีปัญหาเรื่องการแสดงผลและความเร็วด้วย ผลที่ได้อยู่ระดับเดียวกับการใช้ Xperia Z ในด้านนี้ ซึ่งยอมรับว่าผมประทับใจมาก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคืออายุของแบตเตอรี่ ที่ถ้าใช้ Xperia Z ในระยะเวลาเท่ากัน ตำแหน่งเดียวกัน และเส้นทางเดียวกันในการเล่นเกม แบตของ Xperia Z จะตกลงไปอย่างรวดเร็วมากภายในเวลาไม่นานนัก ตรงกันข้าม เมื่อใช้ Moto G แบตกลับลดลงไปไม่มากอย่างที่คาด และสามารถอยู่ได้เกือบทั้งวันโดยไม่ต้องพกแบตเตอรี่ส ำรองขนาดใหญ่ ถ้าจะบอกว่าเป็นเครื่องที่ผู้เล่น Ingress ควรนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ ก็อาจจะไม่ผิดนัก และหากใช้งานทั่วไปแบบไม่ได้เล่นเกม แบตของ Moto G ลดลงช้ามาก และถ้าไม่ใช้งานหนักมาก เมื่อถึงกลางคืน ก็ยังคงมีแบตเตอรี่ค่อนข้างเหลือเฟือพอที่จะใช้ไปถึง กลางวัน วันถัดไปได้ทีเดียว
บทสรุป (และโอกาสเข้าไทย)


หากถามว่าในช่วงสเปคใกล้เคียงกัน หรือในช่วงราคาระดับนี้ Moto G มีความน่าซื้อหรือไม่? คำตอบจากการใช้มาประมาณสามอาทิตย์เศษ คำตอบก็คือคุ้มค่ามากพอที่จะซื้อ อาจจะถือว่าด้วยประสิทธิภาพต่อราคาและแบตที่สามารถใช ้ได้ยาวนานแม้จะใช้งานในระดับปานกลาง แต่สิ่งที่ต้องถามหนักๆ มีอยู่สองจุด
หนึ่ง เครื่องสองซิมได้รับอัพเดตที่ช้ากว่าแบบซิมเดียว คำถามคือ มีโอกาสหรือไม่ที่เครื่องสองซิมจะไม่ได้ไปต่อ? (ได้ร้องเพลง "เรือนแพ")
สอง นโยบายของโมโตโรลาภายใต้ร่มเงาเลอโนโว โดยเฉพาะการปรับปรุงซอฟต์แวร์ของ XT1033 เป็นอย่างไร?
ที่ต้องถามในสองสิ่งนี้ เพราะในรุ่นซิมเดียว (XT1032) มีรุ่นที่จำหน่ายเป็น Google Play Edition ซึ่งสำหรับผู้ที่มีความชำนาญ ย่อมหาทางจัดการเปลี่ยนเครื่องธรรมดากลายเป็น GPe ได้อยู่แล้ว แต่ในกรณีของสองซิม ถือว่ามีความแตกต่างออกไปอยู่ทีเดียว
และคำถามอีกอย่างที่น่าสนใจคือ มีโอกาสที่จะเข้ามาจำหน่ายในเมืองไทยหรือไม่? ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีการลือออกมาแล้วว่าจะมีการนำเข้ามาจำหน่าย แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าจะมีการเข้ามาจำหน่ ายหรือไม่ ซึ่งผมพบสองสิ่งดังกล่าวนี้ภายในกล่องของเครื่องที่ซ ื้อมาจากฮ่องกง และอาจจะเป็นคำใบ้ว่า เราอาจจะได้เห็น Moto G มาจำหน่ายในเมืองไทย ในอนาคตอันไม่ใกล้ไม่ไกลจากนี้นัก


Moto G, Review, Motorola




อ่านต่อ...