วันนี้ (29 ม.ค.) สำนักงาน กสทช. จัดเสวนา NBTC Public Forum 1/2558 หัวข้อ "ทรัพยากรคลื่นความถี่และทิศทางการสื่อสารภายใต้ร่างก ฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล" โดยเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ "ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล" ที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ตอนนี้มาร่วมเสวนา
ผมไปร่วมงานช่วงเช้า และได้ขอเอกสารนำเสนอของวิทยากรมาเผยแพร่ต่อ พร้อมสรุปประเด็นของวิทยากรแต่ละท่านนะครับ (คำเตือน: ภาพประกอบเยอะหน่อย)
เริ่มจากคุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ที่รู้จักกันในชื่อย่อ สพธอ. หรือ ETDA ในภาษาอังกฤษ การร่างกฎหมายชุดนี้ สพธอ. ถือเป็นแกนหลัก และคุณสุรางคณาในฐานะผู้อำนวยการก็เป็นหัวหน้าทีมร่า งกฎหมายทั้งหมด
เอกสารนำเสนอของคุณสุรางคณา แนะนำภาพรวมของกฎหมายดิจิทัลชุดนี้ โดยอธิบายว่าเศรษฐกิจดิจิทัล (digital economy หรือ DE ในสไลด์) มีความสำคัญอย่างไรบ้าง ทั้งในแง่บวกคือการเติบโตเชิงเศรษฐกิจ และในแง่ลบคือภัยคุกคามไซเบอร์สารพัดอย่าง
แนวคิดของร่างกฎหมายชุดเศรษฐกิจดิจิทัลเกิดจากหน่วยง านต่างๆ ในประเทศไทยยังไม่มี "นโยบายระดับชาติ" ด้านดิจิทัลเลย ที่ผ่านมาเป็นต่างคนต่างทำ ไม่ไปในทิศทางเดียวกัน
ดังนั้นกฎหมายจึงตั้งใจเปลี่ยนกระทรวงไอซีทีเป็น "กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" เพื่อรับบทบาทนี้ และตั้งคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งช าติ (รายละเอียดในบทความ รู้จัก "คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" มหาเทพชุดใหม่ของวงการไอทีไทย) มากำกับดูแลระดับนโยบาย
คุณสุรางคณาย้ำว่ายังไม่ต้องตื่นเต้นไปกับร่างกฎหมาย ชุดที่ผ่านมติคณะรัฐมนตรี เพราะยังมีกระบวนการทางกฎหมายอีกมาก สามารถแก้ไขได้ในระหว่างทาง (อย่างไรก็ตาม คุณสุรางคณาก็ตอบคำถามในช่วงหลัง ยอมรับว่ารัฐบาลชุดนี้อยู่ไม่นาน และต้องเร่งออกกฎหมายชุดนี้ให้ทันก่อนรัฐบาลหมดอายุ)
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน TDRI ในฐานะวิทยากรร่วมเสวนา ได้ให้ความเห็นแย้งในประเด็นนี้ว่าจากการทำงานกับคณะ กรรมการกฤษฎีกาในร่างกฎหมายหลายชุด พบว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาจะทำหน้าที่แก้รายละเอียดทางเ ทคนิคกฎหมายเท่านั้น ไม่ได้แก้หลักใหญ่ใจความของกฎหมายแต่อย่างใด และถ้ารัฐบาลส่งร่างกฎหมายที่ยังไม่ "ตกผลึกทางความคิด" ให้กฤษฎีกาพิจารณา ก็เปรียบเสมือนการอุดรูรั่วในบ้านที่ออกแบบมาไม่ดีตั ้งแต่ต้น
การจัดหมวดร่างกฎหมายดิจิทัล ในมุมของ สพธอ. แยกได้เป็น 3 กลุ่มคือ
- กลุ่มนโยบาย (policy) คือร่างกฎหมายตั้งคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ (ตัวย่อ NDEC) มากำหนดนโยบาย
- กลุ่มทรัพยากร (resource) คือร่างกฎหมายโยกกองทุน กสทช. เดิมมาเป็นกองทุนพัฒนาดิจิทัล เพื่อเป็นทรัพยากรสนับสนุนการพัฒนาดิจิทัล
- กลุ่มดำเนินงาน (operation) แยกเป็นอีก 4 กลุ่มย่อยคือ
- กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน hard infrastructure คือ ร่าง พ.ร.บ. กสทช. ฉบับใหม่
- กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน soft infrastructure คือ ร่าง พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับใหม่, ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเ ล็กทรอนิกส์, ร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์, ร่าง พ.ร.บ.การกระทำควาผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่, ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- กลุ่มสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัล คือร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (อัพเกรด SIPA)
- กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน service infrastructure คือร่าง พ.ร.บ. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่อยู่ในร่างกฎหมาย 10 ฉบับนี้ และมีแผนจะทำในอนาคต
ในอีกมิติ ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลมีด้วยกันทั้งหมด 12 ฉบับ โดยอีก 2 ฉบับที่เพิ่มมา (คอลัมน์ซ้ายสุดในภาพ) ยังมี พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 ที่ผ่าน สนช. แล้ว และมีร่าง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ ที่กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาของ สนช. ด้วย
รายละเอียดของกฎหมายกลุ่มที่ 1
- พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 กำกับดูแลการอนุญาตเรื่องต่างๆ ของหน่วยงานราชการให้รวดเร็วขึ้น และใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เต็มที่
- ร่าง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ เพิ่มประเด็นเรื่องการแอบบันทึกภาพยนตร์ในโรง และ "ข้อมูลบริหารสิทธิ" (เข้าใจว่าหมายถึง rights management)
รายละเอียดของกฎหมายกลุ่มที่ 2
- ร่าง พ.ร.บ.พัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งคณะกรรมการดิจิทัลแห่งชาติหรือ NDEC
- ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เปลี่ยนชื่อกระทรวงไอซีที
- ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลฯ โยกกองทุน กสทช. มาอยู่กับกระทรวงดิจิทัล
- ร่าง พ.ร.บ.การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล อัพเกรด SIPA
ส่วนสาเหตุที่ สพธอ. เร่งรัดกฎหมายชุดนี้ คุณสุรางคณาอธิบายว่าตนเองเป็นผู้ผลักดันร่างกฎหมายค ุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาเกือบ 20 ปีแล้วยังไม่สำเร็จ รอบนี้เลยใช้วิธี "ทำแบบเงียบๆ" เพื่อไม่ให้มีเสียงคัดค้าน เพื่อที่กฎหมายชุดนี้จะผ่านมติคณะรัฐมนตรีได้โดยเร็ว จากนั้นค่อยมารับฟังความคิดเห็นอีกทีหนึ่ง และออกตัวว่าถ้าทำให้ตื่นตระหนกก็ต้องขออภัยด้วย
รายละเอียดของกฎหมายกลุ่มที่ 3
- ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับใหม่ แก้ไขกฎเกณฑ์และปรับปรุง สพธอ.
- ร่าง พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ ปรับปรุงข้อผิดพลาดในกฎหมายฉบับเดิม แก้ความกำกวมในหลายจุด
- ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตั้งคณะกรรมการและสำนักงานมั่นคงไซเบอร์ มาดูแลงานด้าน security "ที่ไม่เกี่ยวกับการทหาร"
- ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำหนดมาตรการด้านคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และตั้งคณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล
ตัวแทนจาก Thai Netizen ถามคำถามว่าถ้า ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เน้นความปลอดภัยของระบบ ไม่เกี่ยวกับความมั่นคงทางการทหาร ทำไมจึงมีตัวแทนจากหน่วยงานด้านความมั่นคงมาร่วมเป็น กรรมการหลายตำแหน่ง แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนนัก
ส่วนประเด็นว่าทำไมคณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล ใช้สำนักงานร่วมกับคณะกรรมการความมั่นคงไซเบอร์ ทั้งที่ภารกิจงานดูไม่เกี่ยวข้องกัน คำตอบของคุณสุรางคณาคือ "ทรัพยากรบุคคลมีจำกัด" เลยต้องแชร์สำนักงานร่วมกัน
ประเด็นต่างๆ ที่ สพธอ. ได้รับเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ ในสไลด์ลิสต์ประเด็นเหล่านี้ แต่ไม่ถูกพูดถึงอย่างละเอียดมากนักในงานสัมมนา
จุดที่น่าสนใจคือคุณสุรางคณายังให้ข้อมูลเรื่องแผนกา รออกกฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัลในระ ยะยาว ว่ามีทั้งหมด 4 ช่วง ตอนนี้เราอยู่ในช่วงที่ 2 คือร่างกฎหมาย 10 ฉบับ เมื่อทำกฎหมายชุดนี้เสร็จแล้ว ช่วงถัดไปจะทำเรื่องกฎหมายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ด้วย
เนื่องจากเป็นงานที่ กสทช. จัด คุณสุรางคณาเลยพูดประเด็นของร่าง พ.ร.บ. กสทช. ฉบับใหม่ด้วย ในประเด็นว่า กสทช. สูญเสียความเป็นอิสระจากร่างกฎหมายฉบับใหม่ คุณสุรางคณายืนยันว่า กสทช. ยังมีอิสระในการทำงาน แค่ต้องทำงานไปในทิศทางเดียวกับนโยบายของคณะกรรมการด ิจิทัลแห่งชาติเท่านั้น
ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับร่างกฎหมาย กสทช. ฉบับใหม่ ซึ่งเป็นแค่การลิสต์ประเด็นที่มีคนพูดถึง แต่ไม่ได้อธิบายคำตอบหรือที่มาที่ไปอย่างละเอียดนัก
ประเด็นอื่นๆ ของร่างกฎหมายชุดนี้
ความเห็นของวิทยากรท่านอื่นๆ จะตามมาในบทความต่อไปครับ
ETDA, Law, MICT, Thailand
อ่านต่อ...
Bookmarks