อ่าวกลับมาแล้วหรือ
อ่าวกลับมาแล้วหรือ
A100 CG110 JX110 Vespa64 BMC
ศุกร์นี้ฝนไม่ตกนัดคุยกันเรื่องจะไปครบรอบหน่อยนะครั บอ.นิวว่างแล้วใช้ไหม
จะได้คุยเรื่องรายละเอียดด้วย
เบสมาได้ไหมศุกร์นี้![]()
A100 CG110 JX110 Vespa64 BMC
Cl90พร้อมครับ.......แต่ถ้าได้งานก่อนอย่าว่ากันเด้อ ครับ....
วิธีการสังเกตุ และ หาสาเหตุเพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้นเครื่องยนต์ 4 จังหวะ
เครื่องยนต์สตาร์ทติดยาก สตาร์ทไม่ติด
1.ไม่มีกำลังอัด
- ระยะห่างของ กระเดื่องวาล์วไม่ถูกต้อง
- ปลอกวาล์วสึก
- วาล์วทำงานผิดพลาด
- แหวนลูกสูบ , เสื้อสูบหลวม
2.ไฟไม่ออกหัวเทียนหรือ ทองขาว
- หัวเทียนสกปรก
- หน้าทองขาวสกปรก
- จังหวะการจุดระเบิดผิดพลาด
- คอยล์เสื่อม
- ไฟลัดวงจรในคอนเดนเซอร์
3.น้ำมันไม่ลงคาร์บูเรเตอร์
- ท่อส่งน้ำมันตัน
- ลูกลอยชำรุด
- ก๊อกน้ำมันตัน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------เครื่องยนต์มีเสียงดัง
1.เสียงดังจากกระเดื่องวาล์ว
- ตั้งวาล์วห่างเกินไป
- สปริงวาล์วหัก
- ลูกเบี้ยวเป็นรอยหรอไหม้
2.เสียงดังจากโซ่ราวลิ้น
- โซ่ราวลิ้นหย่อน
- เฟืองราวลิ้นสึก
- ตัวเร่งชำรุด
3.เสียงดังในกระบอกมาก
- ห้องเผาไหม้มีเขม่าจับมาก
- สลับลูกสูบหลวม
- ตั้งไฟแก่เกินไป
4.เสียงจากคลัตซ์
- น๊อตคลัตซ์ขันไม่แน่น
- จานและเฟืองคลัตซ์สึกหรอ ไม่เรียบ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------คลัตซ์ลื่นหรือปล่อนคลัตซ์ไม่คล่อง
- ปรับตั้งคลัตซ์ไม่ถูกต้อง
- แผ่นคลัตซ์ไม่เรียบ หรือสึกหรอมาก
- สปริงคลัตซ์อ่อนเกินไป
- จานคลัตซ์สึก , บิดคด
- ขันสปริงคลัตซ์ไม่เท่ากัน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เข้าเกียร์ หรือเปลี่ยนเกียร์ยาก
- ดุมเปลี่ยนเกียร์สึกมาก
- ลูกเบี้ยวเกี่ยร์ชำรุด
- ลิ้นสปริงเกียร์หัก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------ควันไอเสียมาก
จุดที่สังเกตุ มีควันขาวออกจากท่อมาก
- เติมน้ำมันเครื่องมากเกินไป
- เสื้อสูบ แหวนหลวม
- เสื้อสูบเป็นรอย
- บูชวาล์วหลวม
------------------------------------------------------------------------------------------------------แรงม้าตก
จุดที่สังเกตุ กำลังไม่ดี , ไม่คงที่ - วาล์วรั่ว
- สปริงวาล์วอ่อน
- เสื้อสูบหลวม
- ตั้งไฟอ่อนเกินไป
- หน้าทองขาวสกปรก , ไม่เรียบ
- หัวเทียนเสื่อม
- หม้อกรองอากาศตัน
- คาร์บูเรเตอร์สกปรก
- ระดับลูกลอยผิดพลาด
-----------------------------------------------------------------------------------------------------เครื่องยนต์ร้อนจัด
จุดที่สังเกตุ เครื่องยนต์ร้อนเร็ว ในเวลาไม่นาน
- น้ำมันเครื่องสกปรก
- ใช้น้ำมันเครื่องผิดชนิด
- ตั้งไฟไม่ได้สมดุล
- มีเขม่าในห้องเผาไหม้มาก
- มีดินโคลนจับที่เครื่องยนต์มาก
--------------------------------------------------------------------------------------------------------ทองขาวไหม้ , แบตเตอรี่ไม่มีไฟ หรือไฟไม่ชาร์จ
- คอนเดนเซอร์เสื่อม
- แบตเตอรี่น้ำแห้ง
- ขั้วแบตเตอรี่ หรือ แผ่นตะกั่วหลุด
- สเตเตอร์ไม่ชาร์จไฟ
- ไฟลัดวงจร หรือสายไฟหลวม
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
A100 CG110 JX110 Vespa64 BMC
เรื่องดีๆที่ผู้ใช้ควรทราบ ในภาวะน้ำมันแพง
รถจักรยานยนต์เป็นหนึ่งในยานพาหนะยอดนิยม ยิ่งในยุคน้ำมันแสนจะแพงอย่างเช่นทุกวันนี้ตามเมืองใ หญ่ๆที่จราจรติดขัด ดูเหมือนรถจักรยานยนต์ จะเป็นพาหนะที่น่าใช้มากที่สุด เพราะอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลืงจะประหยยัดกว่า รถยนต์มาก เมื่อมีผู้หันมาใช้รถจักรยานยนต์มากขึ้น วิธีการขับ รถแบบประหยัดเงิน
ไม่ควรอุ่นเครื่องยนต์ก่อนออกเดินทางเกิน 10 นาที เพราะส่วนใหญ่มักสตาร์ทเพื่อทำการอุ่นเครื่องให้อุณห ภูมิถึงที่กำหนดใช้เวลานานกว่า 10 นาที แทบทั้งนั้น ทำสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงโดยใช่เหตุ อาจลดเวลาการอุ่นเครื่องเหลือแค่ 5 นาที ก็น่าจะพอแล้ว จากนั้นค่อย ๆ ขับช้าๆรอให้อุณหภูมิเครื่องยนต์ถึงจุดทำงานก่อนแล้ว ค่อยขับตามปกติ
.ในระหว่างที่รอใครๆหรือลงไปทำธุระใดๆไม่ควรติดเครื่ องยนต์ทิ้งไว้ เพราะทำให้เกิดอาจสิ้นเปลืองน้ำมันโดยไม่จำเป็น และก่อให้เกิดควันไอเสีย ไปรบกวนผู้คนรอบข้าง รวมทั้งผิดกำหมายระวังโดนปรับนะครับ
สำหรับการขับขี่เพื่อใช้งานนั้นควรรักษาระดับความเร็ วให้คงที่และสม่ำเสมอ ไม่ควรใช้ความเร็วสูงมากเกินที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากผิด กฎหมายแล้วยังเสี่ยงต่ออุบัติเหตุด้วย
หลีกเลี่ยงการใช้งานระบบเบรคโดยไม่จำเป็น การขับขี่แบบและการเร่งเครื่องแบบทันทีทันใด ในสภาพการจราจรที่ติดขัดจะต้อง มีการใช้งานระบบ เบรคมากขึ้น ต้องเร่งเครื่องยนต์บ่อยครั้งขึ้น เปลืองน้ำมันโดยเปล่าประโยชน์
ไม่ควรบรรทุกสิ่งของที่ไม่จำเป็น บางครั้งบรรดาช่องเก็บของต่างๆ อาจจะมีข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่จำเป็น ซึ่งการลดน้ำหนักการบรรทุก ช่วยลดภาระ การทำงานของเครื่องยนต์ การเผาไหม้น้ำมันเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงานก็ลดลง
เลือกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีค่าออคเทนให้เหมาะสมกั บเครื่องยนต์ ซึ่งดูได้จากสมุดคู่มือประจำรถตลอดจนแผ่นพับแสดงรายล ะเอียด ที่สำคัญๆของ ตัวรถทุกรุ่นและทุกยี่ห้อจะระบุการใช้งานของน้ำมันเช ื้อเพลิงไว้ชัดเจน
วางแผนการเดินทางก่อนจะสตาร์ทเครื่องยนต์ ก่อนการเดินทางแต่ละครั้งควรสละเวลาเพื่อคิดคำนวณเส้ นทางตลอดจนระยะทาง เพื่อช่วยประหยัด ทั้งเวลาการเดินทางและประหยัดน้ำมัน
ต้องถนอมคลัทช์ ถนอมรถ ถนอมน้ำมัน ไม่ควรเร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรงขณะออกรถแต่ยังปล่อ ยคลัทช์ไม่สุด หรือเมื่อเข้าเกียร์แล้วไม่ยอม ปล่อยคลัทช์หรือ "เบิ้คลัทช์" ทำให้ระบบคลัทช์สึกหรอเร็วและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเป ล่าๆ
ควรออกรถแบบนุ่มนวล เพราะการออกรถที่รุนแรง กระชากคันเร่งเป็นประจำ การสูญเสียน้ำมันเชื้อเพลิงจะมากกว่า ปกติและเมื่อมีการลี้ยวอย่างรุนแรง ที่ความเร็วสูง จะทำให้เครื่อยนต์ ระบบเบรคและยางสึกหรอเร็วขึ้นกว่าปกติ
ไม่ควรเร่งเครื่องยนต์เมื่อจอดอยู่กับที่เฉยๆหรือกรณ ีเปลี่ยนเกียร์เพื่อดัยเครื่องยนต์เพราะไม่มีประโยชน ์อะไรเลย
ทางเดียวกันไปด้วยกัน เพื่อลดการใช้รถ ทำให้สภาพการจราจรดีขึ้น ความแออัดบนท้องถนนจะลดลง อากาศดีขึ้น ที่จอดรถเพียงพอ
ไม่ดัดแปลลงสภาพรถให้ผิดไปจากมาตราฐานจากโรงงานผู้ผล ิต ทางวิศวกรและโรงงานผู้ผลิตได้ออกแบบทดสอบให้เครื่องย นต์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและการประหยัดเชื้อเพลิงส ูงสุดแล้ว ไม่ควรปรับแต่งใดๆ เพิ่มอีก หากเป็นไปได้การนำรถเข้าตรวจสภาพอย่างสม่ำเสมอ ตามกำหนดตารางการบำรุง และเลือกใช้อะไหล่แท้ที่รับรอง คุณภาพจากผู้ผลิต เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานอย่างสมบูรณ์
ตรวจเชคสภาพยางและเติมลมยางให้มีแรงดันถูกต้อง ลมยางอ่อนทำให้เกิดแรงเสียดทานที่ล้อมาก เครื่องยนต์ทำงานหนัก สึกหรอมาก กินน้ำมัน เชื้อเพลิงด้วย
ใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับความเร็วรถตามคำแนะนำในคู่มือ การใช้เกียร์ต่ำที่ความเร็วสูงจะทำให้เครื่อวยนต์ทำง านที่ความเร็วรอบสูงเกินความจำเป็น ทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้
เชคทำความสะอาดไส้กรองอากาศ เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกเข้าห้องเผาไหม้ ป้องกันการสึกหรอของชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ต่างๆ ลดการสึกหรอ
ควรปรับแต่งรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ให้อยู่ในมาตราฐ านที่กำหนดและคงที่ ไม่ให้รอบเดินเบาสูงเกินไปรวมถึงอัตราส่วน ผสมระหว่างน้ำมัน และอากาศ ทำให้การเผาไหม้ทำได้ดีเป็นการประหยัดน้ำมันและลดมลพ ิษ
ตรวจเชคปรับตั้งโซ่ขับเคลื่อนไม่ให้ตึงหรือหย่อนเกิน ไป เพราะถ้าหย่อนทำให้เสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ เกิดเสียง สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและทำให้ทั้งโซ่และชิ้นส่วนถายใ นระบบเสียหายเร็วกว่าปกติอีกด้วย
ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมานี้ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมข องผู้ขับขี่เองที่จะใส่ใจปฏิบัติ นะครับ
A100 CG110 JX110 Vespa64 BMC
การเตรียมรถในฤดูฝน ฤดูฝนปี 2553 นี้เกิดขึ้นรวดเร็วกว่าปกติ เนื่องจากมีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยส่งผ ลให้ประเทศไทย เกิดฝนตกหนักหลายพื้นที่และในช่วงฤดูฝนนี้ยังมีผลโดย ตรงให้กับประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์โดยเฉพาะ เครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ดังนั้นการเตรียมรถจักรย านยนต์ของท่านให้พร้อมรับกับสภาพการการใช้งานในสภาวะ ดังกล่าวจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการขับขี่ โดยมีส่วนที่สำคัญๆ ที่ควรตรวจเช็คดังนี้
- ปลั๊กหัวเทียน ตรวจสอบว่าปลั๊กหัวเทียนหลวม, หมดสภาพหรือไม่ หากหลวมให้ เปลี่ยนใหม่ เนื่องจากปลั๊กหัวเทียนที่หลวมหรือหมดสภาพจะทำให้น้ำ เข้าไปขัดขวางการส่งกระแสไฟไปยังหัวเทียนเป็นเหตุให้ เครื่องยนต์ดับ
- กรองอากาศ ตรวจสอบการรั่วของระบบอากาศจะต้องไม่มีการรั่วทั้งจา กหม้อกรอง ข้อต่อระหว่างกรองอากาศกับคาร์บูเรเตอร์และ ไส้กรองอากาศต้องไม่มีการฉีกขาดเพื่อป้องกันละอองน้ำ ฝนหรือโคลนที่อาจกระเด็นเข้าเครื่องยนต์และสร้างความ เสียหาย
- น้ำมันเครื่อง ตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องหรือเปลี่ยน – ถ่าย น้ำมันเครื่องใหม่
- ระบบเบรก ดรัมเบรก ตรวจสอบระดับผ้าเบรก, ตรวจสอบและหล่อลื่นสายเบรกหากชำรุด ให้เปลี่ยนใหม่ ดิสก์เบรก ตรวจสอบระดับผ้าเบรกหากต่ำกว่ากำหนดให้เปลี่ยนใหม่
- โซ่ขับและสเตอร์ ตรวจสอบหากโซ่ขับยืดเกินค่าที่กำหนดหรือฟันสเตอร์ล้ม เปลี่ยนทั้งชุด และเมื่อมีการใช้รถในขณะที่ฝนตกหลังการขับขี่ควรทำกา รหล่อลื่นชุดโซ่ทันที
- ยางหน้าและยางหลัง ตรวจสอบระดับความลึกของดอกยางหากสึกต่ำกว่าค่าที่ กำหนดไว้ที่แก้มยางให้เปลี่ยนยางใหม่ และควรตรวจเติมลมยางให้แรงดันลมอยู่ในมาตรฐาน 1 สัปดาห์ สายเคเบิ้ล เช่นสายคันเร่ง,สายไมล์, สายคลัตช์ ตรวจเช็คลวดสลิงมีการฉีกแตก หรือไม่ถ้ามีให้ทำการเปลี่ยนและควรทำการหล่อลื่นด้วย น้ำมันเครื่องให้ทั่ว
A100 CG110 JX110 Vespa64 BMC
เตรียมตัวขับขี่ทางไกล...มั่นใจทุกเส้นทาง
เมื่อสบโอกาสเหมาะเมื่อไหร่หลายๆ คนออกเดินทางและชอบที่จะขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นระยะ ทางไกล ด้วยเพราะขับขี่ง่ายกว่าบนถนนธรรมดา เนื่องจากไม่มีสี่แยกและไม่มีรถวิ่งสวน บางคนจึงเผลอซิ่งอย่างสบายใจ
แต่ไม่ว่าจะขับขี่บนถนนทางไกลหรือทางใกล้ก็ตาม ก็ต้องใช้ความระมัดระวังเช่นเดียวกันเพราะหากผิดพลาด เพียงเล็กน้อยอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงหรือโศก นาฏกรรมอันใหญ่หลวงได้ ซึ่งส่วนใหญ่บนเส้นทางไกลสายต่างๆ มักจะเป็นอุบัติเหตุชนกัน หรือไม่ก็เป็นอุบัติเหตุเดี่ยว (รถจักรยานยนต์คันเดียว) ประเภทแฉลบชนกำแพงหรือเสียหลักตกข้างทางเป็นส่วนมาก
การเตรียมพร้อมล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการขับ ขี่รถจักรยานยนต์ทางไกล ต่อไปนี้เป็น ข้อควรปฏิบัติ เล็กๆ น้อยๆ ที่ตำรวจทางหลวงท่านแนะนำเพื่อป้องกันอุปสรรคและปัญห ายุ่งยากที่จะเกิดขึ้นระหว่างขับขี่รถจักรยานยนต์ทาง ไกล และเพื่อให้คุณเดินทางถึงจุดมุ่งหมายปลายทางตามกำหนด โดยปลอดภัย (บางข้อคุณรู้แล้ว แต่อาจเผลอลืมไปแล้วก็ได้)
การเตรียมตัวของผู้ขับขี่
พักผ่อนให้เพียงพอก่อนการเดินทางงดเว้นการดื่มสุราหร ือของมึนเมาทุกชนิดก่อนการเดินทาง ควรศึกษาเส้นทางโดยตลอดเสียก่อน โดยตรวจดูจากแผนที่ ถามผู้รู้ หน่วยบริการของตำรวจทางหลวงหรือการท่องเที่ยว เพื่อกำหนดเส้นทางการเดินทางว่าจากจุดใดไปจุดใด ถนนสายใดมีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ร้านปะยาง ร้านอาหาร หรือจุดพักรถที่ใดบ้าง
ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ยามาฮ่าคู่ใจให้สมบูรณ์ที่สุดก ่อนออกเดินทาง
การตรวจสอบสภาพรถ และสัมภาระต่างๆ ควรทำแต่เนิ่นๆ อย่างตรวจอย่างรีบเร่ง (ลวกๆ) ก่อนออกเดินทางอะไรบ้างที่ควรตรวจเช็คให้อยู่สภาพเรี ยบร้อยสมบูรณ์ น้ำมันเชื้อเพลิงดูว่ามีพอหรือไม่ น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรกพร่องไปหรือเปล่า สายพานหรือโซ่มีรอยชำรุดฉีดขาดหรือไม่ ยางล้อเก่าเกินไปหรือเปล่า อ่อนไปหรือแข็งเกินพอดีหรือไม่ สัมภาระใช้เชือกผูกอย่างแข็งแรงแน่นหนาหรือยัง แบตเตอรี่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ และอย่าลืมตรวจเช็คสภาพไฟสัญญาณต่างๆ ของตัวรถ เช่น สัญญาณแตร ไฟเลี้ยว ไฟหน้า ไฟเบรก ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ควรนำอุปกรณ์และอะไหล่ที่จำเป็นติดตัวไปด้ว ย เช่น เครื่องมือประจำรถ หัวเทียนเบอร์มาตรฐาน (เบอร์ที่กำหนดมากับตัวรถ) เชือกผูกของ และที่ลืมไม่ได้ก็คือสมุดคู่มือรับประกัน เพราะด้านหลังของสมุดคู่มือดังกล่าวมีรายชื่อศูนย์บร ิการยามาฮ่าทั่วประเทศ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ให้คุณอุ่นใจตลอดการเดินทางด้วย
การปฏิบัติขณะขับขี่รถจักรยานยนต์
ในเวลากลางคืนไม่ควรขับขี่ติดต่อระยะทางยาวกว่า 150 กม. ถ้ารู้สึกง่วงหรืออ่อนล้าก็อย่าฝืน ควรเปลี่ยนให้ผู้อื่นขับขี่แทนหรือแวะปั๊มน้ำมันให้ห ายเหนื่อยก่อนค่อยเดินทางต่อ
เมื่อขับขี่ระยะทางยาวๆ คุณเพียงแต่บิดคันเร่งแช่ไว้จึงอาจทำให้คุณง่วงนอนหร ือหลับในได้ โดยเฉพาะการขับขี่ทางไกล ควรตรวจสอบจุดแวะจอดไว้ล่วงหน้า หรือกำหนดล่วงหน้าว่าจะจอดพักที่ไหน เติมน้ำมันที่ไหน และถ้าหยุดพักทุก 1 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 2 ชั่วโมง จะช่วยลดความอ่อนเพลียลงได้
อย่าแซงในที่คับขัน บนสะพานในทางโค้ง ทางแยก ทางร่วม หรือที่ผิดกฎหมาย อย่าขับขี่ตามหลังรถคันอื่นในระยะกระชั้นชิด ให้ขับขี่ด้วยความเร็วสม่ำเสมอ แต่อย่าเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ให้สัญญาณก่อนหยุด ก่อนเลี้ยว ก่อนแซงทุกครั้ง
การขับผ่านทางแคบ ทางโค้ง บนเนิน บนภูเขา ควรขับให้ชิดขอบทางด้านซ้ายและก่อนเข้าทางโค้งควรให้ เสียงสัญญาณเตือนรถอื่นที่จะสวนมา
ข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ว่ามาสรุปง่ายๆ ก็คือ จงปฏิบัติตามเครื่องหมายหรือสัญญาณจราจรโดยเคร่งครัด แค่นี้คุณก็จะสามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ยามาฮ่าคันเก ่งของคุณท่องเที่ยวไปได้ทุกที่... แบบไร้ขีดจำกัดเลยทีเดียว
A100 CG110 JX110 Vespa64 BMC
ขับขี่อย่างไรให้คลายเครียดเร็วหรือช้า...แค่ไหนปลอด ภัยที่สุด
เคยสังเกตไหมครับว่าบางครั้งที่เราขี่จักรยานยนต์ที่ สภาพไม่พร้อม หรือรถที่ขนาดเล็กๆ ขึ้นไปบนถนนใหญ่ แล้วก็เกรงอกเกรงใจรถอื่นๆ ที่วิ่งกันแบบมาเต็มๆ เร็วๆ โดยยอมที่จะวิ่งบนไหล่ทางด้านซ้ายน่ะ บรรยากาศมันน่าหวาดเสียวขนาดไหนตอนที่ถูกรถแต่ละคันแ ซง
ในทางกลับกัน ขณะที่ต้องควบรถสมรรถนะสูงๆ ไปแบบรีบเร่งบนทางสัญจรที่ชาวบ้านชาวเมืองเขาไม่ได้ร ีบร้อนกัน บรรายกาศแห่งความเคร่งเครียดก็ไม่ได้ต่างไปจากกัน นั่นแหละครับคือที่มาของหัวข้อเรื่องสั้นที่ว่า เร็ว หรือช้า แค่ไหนปลอดภัยที่สุด
เพราะต้นเหตุแห่งการเกิดความเครียดขณะขับขี่ อย่างหนึ่งก็คือการที่ต้องคอยระวังอย่างหวาดเสียวต่อ โอกาสที่อำนวยต่อการเกิดอุบัติเหตุนั่นเอง ครับ ในสถานการณ์นี้ก็คือเรื่องของ ความเร็วที่ไม่สัมพันธ์กัน หรือแตกต่างกันมากเกินไป นั่นเอง
ลองนึกภาพตัวเราเดินกินลมอยู่บนฟุตบาทขณะที่ผู้คนทั่ วไปเขากำลังเร่งรีบจะแย่งกันขับรถไปทำงานตอนเช้าดูก็ ได้ ระวังยังไงเดี๋ยวก็ยังต้องมีใครมาชน เพราะต้องมีสักคนหนึ่งละที่ไม่คิดว่าเราจะช้าผิดปกติ ขนาดนั้น เหมือนกันกับการเข้าไปวิ่งจ๊อกกิ้งในตลาดโอกาสพลาดท่ าอย่างน้อยก็ถูกด่านั้นมีแน่นอน
ด้วยประสบการณ์แล้วเรากำลังจะแนะนำว่าพยายามใช้รถใช้ ถนนให้เข้ากับสถานการณ์ขณะนั้นนั่นแหละครับ ขึ้นไฮเวย์ก็ทำตัวให้เร็วเท่าชาวบ้านเขาไว้ ใกล้ชุมชนที่เขาไม่รีบก็ช้าตามให้แนบเนียนที่สุด นอกจากจะไม่เครียดแล้ว ยังปลอดภัยที่สุดอีกด้วยครับ
A100 CG110 JX110 Vespa64 BMC
วันศุกร์นี้ถ้าฝนตกเจอกันใต้kfcนะครับหรือที่เรารู้จ ักกันคือโรงอาหารม.เรานะครับจะคุยกันเรื่องทริปครบรอ บครับผม![]()
A100 CG110 JX110 Vespa64 BMC
ตรงลงกันว่าจะไปกันวันศุกร์ที่ 8 /10/53 เวลา 4 ทุ่ม นะครับ เจอกันที่ช่อฟ้าครับ
เรื่องที่พักจะไปดูกันวันที่5/10/53 มีอ.นิว กับอ.นัด
ยอดตอนนี้แบบยังไม่เป็นทางการนะครับ
เครื่องกลประมาณ15คน
โยธา 10 คน
ปริ้นติ้งและอื่นๆๆ 10 คน
รถน่าจะประมาณ 20 คัน
รถยนต์ประมาณ 3 คัน
โปรดเตรียมรถของท่านให้พร้อมนะครับอุปกรณ์พื้นฐาน
พักผ่อนให้เพียงพอและขับขี่กันเป็นแถวไม่ต้องรีบร้อน ไปกันเรื่อยๆๆๆนะครับ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Panu. : 04-10-2010 เมื่อ 12:23
A100 CG110 JX110 Vespa64 BMC
งานนี้ผมขอไปด้วยคนนะครับพี่