มาชมแผ่นเสียงกันดีกว่า - หน้า 3
                                
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 7 หน้า แรกแรก 1 2 3 4 5 6 7 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 31 ถึง 45 จากทั้งหมด 95

ชื่อกระทู้: มาชมแผ่นเสียงกันดีกว่า

  1. #31

    มาตรฐาน



    พี่panna คับ ผมก้อสนใจเหมือนกันคับ มีแหล่งคึกษาข้อมูลที่ไหนบ้างคับ มีเวปไซหรือป่าว หนังสือก้อได้คับ แล้วที่สวนจักตุจักรโครงการไหนคับ ราคาแผ่นเสียงที่เขาเล่นกันขึ้นอยู่กับอะไรคับ คำถามเยอะไปหน่อยรบกวนด้วยคับสนใจมากๆขอบคุณคับ

  2. #32
    Senior Member PH_UD's Avatar
    วันที่สมัคร
    Dec 2005
    สถานที่
    -
    ข้อความ
    2,696
    ขอบคุณ
    0
    ได้รับขอบคุณ 1 ครั้ง ใน 1 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    21

    มาตรฐาน

    /\7 คิดถึงตอนเด็กๆจัง เคยเห็นพี่ชายเล่นแผ่นเสียง มีชุดหนึ่งที่ทั้งวงโผล่หน้าที่ระเบียงตึก
    มีเพลงLove me do เป็นเพลงดัง ไม่รู้ไช่ชื่ออัลบั๊มหรือปล่าว..

  3. #33

    มาตรฐาน

    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ MONGOLIAN CHOP SQUAD
    พี่panna คับ ผมก้อสนใจเหมือนกันคับ มีแหล่งคึกษาข้อมูลที่ไหนบ้างคับ มีเวปไซหรือป่าว หนังสือก้อได้คับ แล้วที่สวนจักตุจักรโครงการไหนคับ ราคาแผ่นเสียงที่เขาเล่นกันขึ้นอยู่กับอะไรคับ คำถามเยอะไปหน่อยรบกวนด้วยคับสนใจมากๆขอบคุณคับ
    แหล่งข้อมูลสำหรับ แผ่นเสียงเท่าที่ผมเข้าไปดูบ่อยๆ ก็มี่อยู่ไม่กี่เวปครับ
    ๑. pisutshop.com เป็นเวปซื้อขายแผ่นเสียงและแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่อ งแผ่นเสียงครับ
    ๒. tonchabab.com เป็นเวปที่พูดเรื่องของแผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเ สียงครับ

    สวนจตุจักรโครงการไหนผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ แต่อยู่ใกล้กับที่เค้าขายของเก่าครับ แต่ไหนๆก็ไปแล้วทำไมไม่เดินให้ทั่วหละครับ กำไลชีวิด/\3

    ราคาแผ่นเสียงขึ้นอยู่กับอะไร ก็คงเหมือนรถหละครับ รุ่นไหนมีน้อยหายากก็แพงหน่อยครับ/\2

  4. #34

    มาตรฐาน

    อ้างอิง ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ PH_UD
    /\7 คิดถึงตอนเด็กๆจัง เคยเห็นพี่ชายเล่นแผ่นเสียง มีชุดหนึ่งที่ทั้งวงโผล่หน้าที่ระเบียงตึก
    มีเพลงLove me do เป็นเพลงดัง ไม่รู้ไช่ชื่ออัลบั๊มหรือปล่าว..
    เท่าที่ทราบเพลงนี้จะอยู่ใน เรดอัลบัม ปี 1962/1966 ครับ
    บีเทิลส์บันทึกเสียง Love Me Do เมื่อวันที่4 กันยายน 1962 ที่ Abbey Road Studios, Londonและ วันที่ 5 ตุลาคม 1962 ก็ได้บันทึกเสียงซิงเกิ้ลแรกคือ Love Me Do/ P.S. I Love You ทั้ง 2 เพลงเป็นฝีมือการแต่งของ จอห์นกับพอลครับ/\7

  5. #35

    มาตรฐาน

    เปลี่ยนแนวมาดูเพลงแจสกันบ้างครับ

    หลุยส์ อาร์มสตรอง /\7













    รูป รูป  

  6. #36

    มาตรฐาน

    อาร์มสตรอง เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ปี ค.ศ.1901 และเสียชีวิตด้วยวัย 71 ปี ที่นิวยอร์ก เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ปี ค.ศ.1971

    ก่อนหน้านี้ มีความเข้าใจผิดมานานว่า อาร์มสตอง เกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ.1900 บางรายหลงเข้าใจว่าเกิดปี ค.ศ.1898 ด้วยซ้ำ อาศัยได้เอกสารจาก The Sacred Heart of Jesus Church ยืนยันถึงพิธีแบ๊บติสท์เมื่อคราวแรกเกิด
    ชีวิตแรกเริ่มของนักทรัมเป็ตคนนี้ เติบโตขึ้นมาในย่านสลัมคนดำที่มีชื่อว่า แบ็ค โอ"ทาวน์ ของนครนิวออร์ลีนส์ พ่อของเขาเป็นกรรมกร ชื่อว่า วิลลี อาร์มสตรอง ส่วนแม่ของเขา นอกจากหน้าที่แม่บ้านแล้ว ยังมีอาชีพเสริมเป็นโสเภณี ซึ่งเป็นอาชีพที่ถูกต้องตามกฎหมายในช่วงนั้น /\7













    รูป รูป  

  7. #37

    มาตรฐาน

    เมื่อ อาร์มสตรอง ลืมตาขึ้นดูโลกไม่นานนัก พ่อของเขาก็ทิ้งครอบครัวไป แมรี อัลเบิร์ต หรือ มายันน์ แม่ของเขา จึงตัดสินใจย้ายบ้านไปอยู่ในย่านโสเภณี เพื่อดิ้นรนหาเลี้ยงชีวิต เด็กชายหลุยส์ เติบโตมาพร้อมกับการดูแลของย่า โจเซฟิน อาร์มสตรอง จนโตพอที่จะกลับไปหาแม่ ประทังชีวิตด้วยอาหารราคาถูก หรือการขุดคุ้ยหาเศษซากอาหารกระป๋องในกองขยะ และบ่อยครั้งที่แม่ของลูกปล่อยให้ลูกชายและน้องสาวขอ งเขา อยู่ในความดูแลของคนแปลกหน้าที่มีใจกรุณาทั้งหลาย
    ศิลปินที่ยิ่งใหญ่คนนี้ ค้นพบการร้องเพลงก่อนที่จะเล่นดนตรีเป็นด้วยซ้ำ เขาเริ่มต้นในวงขับร้องเสียงประสานของเด็กๆ 4 คน ร้องเพลงตามสถานที่สาธารณะ อย่างร้านตัดผม เพื่อแลกกับเศษเงินไม่กี่เซ็นต์ ซึ่งมีการวิเคราะห์กันว่า ประสบการณ์ภาคสนามเหล่านั้น เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกโสต หรือ Ear Training ที่มีนัยยะอันลึกล้ำในเวลาต่อมา /\7













    รูป รูป  

  8. #38

    มาตรฐาน

    จนคืนหนึ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ (ประมาณว่าเป็นคืนวันที่ 31 ธันวาค ค.ศ.1913) ขณะที่มีอายุย่าง 13 ปี อาร์มสตรอง นึกสนุกอย่างใดไม่ทราบได้ เขายิงปืนขึ้นบนฟ้าอย่างคึกคะนอง จนส่งผลให้ถูกส่งตัวเข้าบ้านคุ้มครองเด็ก ที่มีชื่อว่า The Home for Colored Waifs
    ที่นั่นเอง เด็กชายวัย 13 ขวบ ได้มีโอกาสเรียนรู้การเป่าคอร์เน็ท โดยร่วมอยู่ในวงดนตรีของบ้านคุ้มครองเด็กแห่งนั้น กระทั่งเมื่อกลับออกมาสู่โลกภายนอก หลุยส์ อาร์มสตรอง ก็ตั้งใจแล้วว่า จะยึดอาชีพนักดนตรีให้ได้ โดยอาศัยหยิบยืมเครื่องดนตรีชนิดนี้จากผู้อื่นเป็นเค รื่องมือหาเลี้ยงชีพ
    นับเป็นโชคของอาร์มสตรอง ที่ได้พบปะกับนักทรัมเป็ตชื่อดังในวงการขณะนั้น จากการคลุกคลีอยู่ในสถานเริงรมย์ของนิวออร์ลีนส์ บุคคลนั้นก็คือ คิง โอลิเวอร์ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนเด็กชายหลุยส์ให้มีโอกาสแสดงออกซ ึ่งความสามารถทางดนตรีต่อหน้าผู้คนหลายต่อหลายครั้ง
    เมื่อโอลิเวอร์ ย้ายถิ่นฐานจากนิวออร์ลีนส์ไปปักหลักยังชิคาโกในปี ค.ศ.1918 หลุยส์ อาร์มสตรอง ก็ได้งานแทนที่ตำแหน่งของโอลิเวอร์ ในวงของนักทรอมโบน คิด โอรี เลยทีเดียว ซึ่งบ่งบอกถึงฝีมือการเป่าคอร์เน็ตของนักดนตรีหนุ่มท ี่ได้รับการยอมรับแล้ว
    ในปีเดียวกันนั้นเอง อาร์มสตรอง ได้แต่งงานครั้งแรกกับโสเภณีนางหนึ่ง เธอชื่อว่า เดซี แต่ก็เป็นชีวิตการแต่งงานแสนสั้น เพราะมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกันไม่เว้นแต่ละวัน/\7













    รูป รูป  

  9. #39

    มาตรฐาน

    ในปี ค.ศ.1919 เมื่อหมดหนทางเล่นดนตรีในนิวออร์ลีนส์ จากเงื่อนไขที่สถานเริงรมย์ปิดตัวลงตามคำสั่งของทางก าร อาร์มสตรอง จึงย้ายไปเล่นดนตรีในเรือที่ล่องไปมาในแม่น้ำมิสซิสซ ิปปี ซึ่งเป็นอีกขั้นหนึ่งของการพัฒนาความสามารถทางดนตรี เพราะช่วงนี้ เขาฝึกฝนการอ่านโน้ตเป็นแล้ว/\7













    รูป รูป  

  10. #40

    มาตรฐาน

    ชื่อเสียงของ หลุยส์ อาร์มสตรอง เริ่มโด่งดังขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ คิง โอลิเวอร์ ชักชวนให้เขาเข้าร่วมวงที่ ชิคาโก โดยเล่นที่ ลินคอล์น การ์เดนส์ ในปี ค.ศ.1922 ซึ่งวง ครีโอล แจ๊ส แบนด์ ของ โอลิเวอร์ วงนี้ได้ส่งอิทธิพลให้แก่แวดวงดนตรีในชิคาโกเป็นอย่า งยิ่ง อาร์มสตรอง ยังได้บันทึกเสียงครั้งแรกกับโอลิเวอร์ ในช่วงนี้ และยังได้พบกับ ลิล ฮาร์ดิน นักเปียโนสาวผิวดำของวง ซึ่งมีดีกรีทางด้านการแสดงดนตรีจากมหาวิทยาลัยฟิสก์ ทั้งคู่ลงเอยด้วยการแต่งงานกันในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1924 (อาร์มสตรอง หย่าร้างกับเธอในปี ค.ศ.1932 และหลังจากนั้น มีภรรยาอีก 2 คน ประกอบด้วย อัลฟา สมิธ และ ลูซิลล์ วิลสัน ตามลำดับ)/\7













    รูป รูป  

  11. #41

    มาตรฐาน

    หลังจากเริ่มต้นชีวิตแต่งงานใหม่ ลิล ในฐานะภรรยา มีบทบาทต่อความคิดและการตัดสินใจของอาร์มสตรอง อย่างเด่นชัด เธอผลักดันให้ อาร์มสตรอง ย้ายจากชิคาโกไปอยู่ที่นิวยอร์ก โดยได้งานในวงดนตรีของ เฟล็ทเชอร์ เฮนเดอร์สัน ออร์เคสตรา ซึ่งเป็นวงดนตรีชั้นนำในยุคนั้น /\7













    รูป รูป  

  12. #42

    มาตรฐาน

    หลุยส์ อาร์มสตรอง กลับมาชิคาโกอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนของปี ค.ศ.1925 พร้อมกันนั้น วง ฮ้อท ไฟว์ ของเขา ก็เริ่มงานบันทึกเสียงอย่างเป็นซีรีส์ ถึงกว่า 60 ซีรีส์ ซึ่งได้กลายมาเป็นหลักฐานทางดนตรีแจ๊สที่มีคุณค่าในเ วลาต่อมา โดยช่วงนี้เอง ที่เขาเปลี่ยนจาก "คอร์เน็ท" มาเป็น "ทรัมเป็ต" และมีซีรีส์บันทึกเสียงอย่าง Heebie Jeebies ซึ่งเป็นผลงานชุดแรกๆ ที่ อาร์มสตรองได้โชว์เสียงร้องแบบ Scat Vocal/\7













    รูป รูป  

  13. #43

    มาตรฐาน

    ความสำเร็จของ หลุยส์ อาร์มสตรอง ไม่ได้อยู่ในฐานะนักดนตรีแจ๊สที่พัฒนาการเล่นอิมโพรไ วเซชั่น มาจากพื้นฐานของดนตรีนิวออร์ลีนส์เท่านั้น หากด้วยเสียงร้องที่เปี่ยมความรู้สึก และบุคลิกภาพอันอบอุ่นบนเวที แซชโม ได้ก้าวขึ้นมาเป็น เอนเตอร์เทนเนอร์ คนสำคัญของสหรัฐในช่วงปลายทศวรรษ 1930s และของโลกในช่วงกลางทศวรรษ 1950s เขาเป็นคนดำคนแรกที่ได้แสดงในหนังขนาดยาว มีผลงานภาพยนตร์ยอดนิยมกว่า 50 เรื่อง จนได้ชื่อว่า Ambassador Satch
    ทั้งนี้ วิเคราะห์กันว่า ปัจจัยหนึ่งของความสำเร็จด้านความนิยมนั้น มาจากการสนับสนุนจากผู้จัดการส่วนตัวที่ชื่อ โจ กลาเซอร์ ซึ่งดูแลภาพลักษณ์ที่ออกสู่สาธารณะของเขาตั้งแต่ปี ค.ศ.1935 เป็นต้นมา /\7













    รูป รูป  

  14. #44

    มาตรฐาน

    ด้วยสาเหตุจากโรคหัวใจ อันเป็นปัญหาสุขภาพที่ค่อนข้างรุนแรง ทำให้ หลุยส์ อาร์มสตรอง ต้องเลิกเป่าทรัมเป็ตตั้งแต่ปี ค.ศ.1959 และหันมาร้องเพลงอย่างเดียว จนถึงวันเสียชีวิต/\4













    รูป รูป  

  15. #45
    Senior Member original_beIR's Avatar
    วันที่สมัคร
    Dec 2005
    ข้อความ
    681
    ขอบคุณ
    4
    ได้รับขอบคุณ 3 ครั้ง ใน 3 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    19

    มาตรฐาน


    ถ่ายทอดเรื่องราว จากแผ่นเสียง เลยหรอพี่

หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 7 หน้า แรกแรก 1 2 3 4 5 6 7 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Bookmarks

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •