รวมใบขับขี่-เล่มทะเบียน-ป้ายทะเบียนจักรยาน - หน้า 2
                                
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 2 หน้า แรกแรก 1 2
กำลังแสดงผล 16 ถึง 17 จากทั้งหมด 17

ชื่อกระทู้: รวมใบขับขี่-เล่มทะเบียน-ป้ายทะเบียนจักรยาน

  1. #16
    wasant's Avatar
    วันที่สมัคร
    Dec 2005
    สถานที่
    คนบ้ารถถีบ
    ข้อความ
    4,203
    ขอบคุณ
    4
    ได้รับขอบคุณ 139 ครั้ง ใน 94 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    24

    มาตรฐาน



    ไปได้ใบขับขี่จักรยานยุคจอมพล ป.มาใบนึง อยู่ในยุคที่เรียกว่ายุคภาษาวิบัติ ที่เราเห็นหนังสือเก่าๆสะกดคำแปลกๆนี่แหล่ะ ใบขับขี่แบบนี้เคยเห็นใบนึงนานแล้ว อยากได้มาก มาคราวนี้เจออีกก็เลยซื้อเก็บไว้ ราคาสูงกว่าใบขับขี่ทุกใบที่เคยได้มา แต่เรามองที่คุณค่าและความหายากมากกว่าก็เลยซื้อมาเก ็บไว้ เอาไว้ดูเองและรวบรวมให้เด็กรุ่นหลังได้ดู เพราะนับวันยิ่งนานไปก็ยิ่งหายากแล้วครับ













    รูป รูป    
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย wasant : 02-04-2014 เมื่อ 07:02
    สอบถามได้ที่ 08-1234-6980 วสันต์
    ธนาคารกรุงเทพฯ สะสมทรัพย์ สาขาเซ็นทรัลเวิร์ล ชื่อบัญชี วสันต์ เกิดศิลป์ หมายเลขบัญชี 879-000-5162
    คนบ้ารถถีบ วสันต์ เกิดศิลป์ http://www.facebook.com/#!/profile.p...00001558849888

  2. #17
    wasant's Avatar
    วันที่สมัคร
    Dec 2005
    สถานที่
    คนบ้ารถถีบ
    ข้อความ
    4,203
    ขอบคุณ
    4
    ได้รับขอบคุณ 139 ครั้ง ใน 94 ข้อความ
    ผลการให้คะแนน
    24

    มาตรฐาน


    รื่อง"ยุคไม่ขำ..วัธนธัมไทย" ของเทาชมพู ลุงแก่ได้บทความหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยน
    แปลงการเขียนภาษาไทยในยุคนั้น อันทำให้เราเรียกยุคนั้นว่าเป็นยุค"ภาษาวิบัติ" มานำเสนอ
    ให้ทราบดังนี้

    . " ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐบาลในสมัย ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
    เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยขึ้นคณะหนึ ่ง
    เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมี
    ๑. ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นประธานกรรมการ
    ๒. นายยง อนุมานราชธน (พระยาอนุมานราชธน) เป็นรองประธานกรรมการที่ ๑
    ๓. นายเพียร ราชธรรมนิเทศ (พระราชธรรมนิเทศ) เป็นรองประธานกรรมการที่ ๒
    ๔. พระนางเธอลักษมีลาวัณ เป็นกรรมการที่ปรึกษา
    ๕. หม่อมกอบแก้ว อาภากร เป็นกรรมการที่ปรึกษา
    ๖. ท่านผู้หญิงพิบูลสงคราม เป็นกรรมการที่ปรึกษา
    ๗. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร (พลตรี พรเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น
    นราธิปพงศ์ประพันธ์ )เป็นกรรมการที่ปรึกษา
    ๘. นายพันเอกประยูร ภมรมนตรี (ต่อมาเป็นพลโท )เป็นกรรมการที่ปรึกษา
    ๙. นายวิจิตร วิจิตรวาทการ (หลวงวิจิตรวาทการ )เป็นกรรมการที่ปรึกษา
    ๑๐. นายเถียร วิชียรแพทยาคม (หลวงวิเชียรแพทยาคม) เป็นกรรมการ
    ๑๑. นาย ต. สารประเสริฐ (พระสารประเสริฐ) เป็นกรรมการ
    ๑๒. นายเช็ง ศิวศริยานนท์ (พระวรเวทย์พิศิษฐ์) เป็นกรรมการ
    ๑๓. นายพันเอก น. สารานุประพันธ์ (หลวงสารานุปรพันธ์) เป็นกรรมการ
    ๑๔. นายอรุณ บุณยมานพ (หลวงบุณยมานพพาณิชย์ เจ้าของนามปากกา "แสงทอง")
    เป็นกรรมการ
    ๑๕. นายสนิท ศตะกูรมะ เป็นกรรมการ
    ๑๖. นายสังข์ พัฒโนทัย เป็นกรรมการ
    ๑๗. นายเปลื้อง ณ นคร เป็นกรรมการ
    ๑๘. นางนิล คงศักดิ์ เป็นกรรมการ
    ๑๙. นางสาวสงวน เฟื่องเพ็ชรเป็นกรรมการ
    ๒๐. นายร้อยตรีสมจิตร ศิกษมัต เป็นกรรมการ
    ๒๑. นายบุญธรรม ตราโมช เป็นกรรมการ
    ๒๒. นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เป็นกรรมการ
    ๒๓. นายทองสืบ ศุภะมาร์ค เป็นกรรมการ
    ๒๔. นายทวี ทวีวรรธนะ เป็นกรรมการ
    ๒๕. นายกี อยู่โพธิ์ (ธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) เป็นกรรมการและเลขานุการ
    ๒๖. นางสาวสุดา จันทนศิริ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

    . และต่อมาได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมกรร มการอีกหลายท่าน เช่น
    ขุนวิจิตรมาตรา นายวงศ์ เชาวนะกวี เป็นต้น กรรมการดังกล่าวนี้ มีหลายท่านยังมีชีวิต
    อยู่และเป็นกรรมการชำระปทานุกรมแห่งราชบัณฑิตยสถานด้ วย

    หลักการซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้ถือปฎิบัติในการปร ับปรุงภาษาไทยนั้น ตือ
    ๑. ภาษาไทยที่ใช้อยู่มีที่มาจากภาษาต่างๆ สมควรพิจารณาวางหลักเกณฑ์ให้ชัดว่า ถือหลัก
    ภาษาอะไรเป็นรากฐานของศัพท์ภาษาไทยทั้งปวง
    ๒. เมื่อยึดภาษาใดเป็นต้นศัพท์แน่แล้ว ควรวางเกณฑ์ที่จะแปลงศัพท์นั้นมาใช้เป็นภาษาไทย
    ไม่ใช่นำมาทั้งเต็มรูปศัพท์ นอกจากนั้นในการทำปทานุกรม ศัพท์ใดที่มาจากต้นศัพท์ภาษาอื่น
    ต่างกัน แต่มาเป็นภาษาไทยพ้องกัน เสียงเดียวกัน ก็เห็นควรระงับเสียบ้าง เลือกใช้แต่
    เฉพาะภาษาเดียว
    ๓. ศัพท์บางคำที่ใม่ได้ใช้กันในสาธารณะทั่วไป แต่ใช้สำหรับกวีโวหารการประพันธ์หรือภาษา
    วิทยาการโดยเฉพาะ ก็เห็นควรแยกเสีย หมายเหตุไว้ให้ทราบว่าคำนั้นป็นภาษาใดใช้ในโอกาสไหน

    . ในที่สุดก็ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการปรับปรุงตัวอักษรไทย ลงวันที่ ๒๙
    พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ให้คงมีพยัญชนะเหลือเพียง "ก ข ค ง จ ฉ ช ซ ญ ด ต ถ ท น บ ป
    ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ส ห อ ฮ" รวม ๓๑ ตัว และตัด ใ (ไม้ม้วน) และ"ฤ ฤาฦ ฦา" ออก
    ตัว "ทร" ก็ใช้ "ซ" แทน ตัว "ญ" ตัดเชิงล่างออก เป็นต้น
    . การปรับปรุงภาษาไทยครั้งนี้ ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาก โดยเฉพาะคำที่มาจาก
    ภาษาบาลี เช่น "สงฆ์" ซึ่งแปลว่า "หมู่" เมื่อตัดตัว ฆ ออก ก็ต้องเขียนว่า "สงค์" แปลว่า
    "ข้องอยู่" หรือ "วัฒน" แปลว่า "ผู้เจริญ" เมื่อเขียนเป็น "วัธน" ก็แปลว่า "ฆ่า" เป็นต้น
    . ตัวอย่างหนังสือสมัย ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เช่น เรื่อง "กำเหนิดกฏหมาย
    อาญาและกำเหนิดการลงอาญาแก่ผู้กระทำผิด" ของ ส. วินิจฉัยกุล จากหนังสือ
    "ราชบัณฑิตสาร" สำนักธรรมศาสตร์และการเมืองแห่งราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑ เล่มที่ ๒
    พฤษจิกายน ๒๔๘๗ มีข้อความว่า
    . "คำว่า อาญากัม ตามความหมายอย่างกว้างอธิบายได้ว่า เป็นกัมอันสังคมกะทำตอบด้วย
    อาญา อาญากัมและอาญาจึงเป็นปรากตการน์แห่งสังคมอันหยู่ในบ ังคับแห่งกดของสังคม
    สาตร และผันแปรไปตามความเปลี่ยนแปลงอันเกิดแก่สังคม เช่น ความเปลี่ยนแปลงในทาง
    เสถกิจ ทางความเชื่อถือ และระดับแห่งวัธนธัมตามยุคตามสมัยของชนแต่ละชาติ แต่แม้ว่า
    จะมีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มากะทบกะเทือนก็ดี หลักอันว่าด้วยอาญากัมและอาญายังคงอยู่
    ในบังคับแห่งหลักสำคัญอันเป็นรากถานบางประการ ซึ่งปรากดขึ้นตามยุคตามสมัย นับตั้งแต่
    สมัยดึกดำบรรพ์ มาจนกระทั่งถึงหมู่ชนซึ่งบันลุถึงขีดอารยะธัมอันสูง ทั้งนี้ก็เพราะเป็นเรื่อง
    อันเกี่ยวกับธัมชาติมนุสและจิตไจของมนุส"
    . กรรมการท่านหนึ่ง คือ อาจารย์วงศ์ เชาวนะกวี ในคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรม
    ภาษาไทยชุดนี้ เป็นคนแรกที่ได้เล่าถึงสาเหตุที่รัฐบาลของ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
    ต้องปรับปรุงแก้ไขอักษรไทยใหม่อย่างกะทันหันในครั้งน ั้นว่า เป็นเพราะญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาตั้ง
    ฐานทัพอยู่ในประเทศไทย เพื่อทำสงครามมหาเอเซียบูรพานั้น ได้มาแจ้งให้นายกรัฐมนตรี
    ทราบว่า ภาษาไทยเรียนยากเพราะมีพยัญชนะและสระมากมายเหลือเกิน จึงเห็นว่าควรใช้ภาษา
    ญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการแทน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ตอบว่า ไทยเรามีตัวหนังสือเป็น๒ ชุด
    ชุดหนึ่งใช้ในราชการ ซึ่งเรียนยากหน่อย ส่วนชุดที่เรียนง่ายมีอีกชุดหนึ่งสำหรับสามัญชน
    ทั่วๆไป ญี่ปุ่นต้องการที่ง่าย ซึ่งความจริงขณะนั้นมีชุดเดียว ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจึงได้
    เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นการด่วน เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องนี้ มิฉะนั้น เราจะต้อง
    กลายเป็นเมืองขึ้นญี่ปุ่นไป ในที่สุดคณะรัฐมนตรีก็ได้ลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการส่ง เสริม
    วัฒนธรรมไทยดังกล่าวขึ้น และได้จัดให้มีการประชุมพิจารณาเรื่องนี้อย่างรีบด่ว น ได้มีการ
    ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องนี้เพียง ๒ ครั้งเท่านั้น คือ ประชุมครั้งแรกเมื่อ
    วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ และครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
    พอถึงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ก็มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องการปรับปรุง
    ตัวอักษรไทยออกมาแล้ว นับว่าเป็นการทำงานแข่งกับเวลา และแข่งกับความอยู่รอดของ
    เมืองไทยและวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างยิ่ง

    . การเขียนหนังสือไทยแบบ "สมัย จอมพล ป." นี้ มีอายุยืนยาวอยู่ ๒ ปีเศษ เมื่อเปลี่ยน
    คณะรัฐบาลใหม่ในคราวต่อมา รัฐบาลใหม่ก็ยกเลิกกลับไปใช้การเขียนภาษาไทยอย่างเดิ มอีก
    และก็ใช้เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้"

    (จำนงค์ ทองประเสริฐ : ภาษาของเรา)

    น่าจะต้องขอบคุณในความดีของท่านจอมพล ป. ในเรื่องนี้ มิฉะนั้นในปัจจุบันเราคงจะ
    ต้องทักกันว่า "โอฮ้าโย่ โกซัยมัส" หรือ "คนนิจิวะ" กันแล้ว
    สอบถามได้ที่ 08-1234-6980 วสันต์
    ธนาคารกรุงเทพฯ สะสมทรัพย์ สาขาเซ็นทรัลเวิร์ล ชื่อบัญชี วสันต์ เกิดศิลป์ หมายเลขบัญชี 879-000-5162
    คนบ้ารถถีบ วสันต์ เกิดศิลป์ http://www.facebook.com/#!/profile.p...00001558849888

หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 2 หน้า แรกแรก 1 2

Bookmarks

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •