เมื่อไม่นานมานี้เราเห็นข่าว Cisco เปิดตัวเราเตอร์แบรนด์ Linksys รุ่นใหม่ที่มีฟีเจอร์ Cisco Connect Cloud ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของโลก home wireless router พอสมควร
ตอนนี้อุปกรณ์เหล่านี้เริ่มวางขายในไทยแล้ว และทาง Cisco ก็ส่งมาให้ผมลองทดสอบหนึ่งตัวคือ Linksys EA4500 ซึ่งเป็นรุ่นรองท็อปที่สุดในขณะนี้ (รุ่นท็อปสุดคือ Linksys EA6500 ใช้ Wi-Fi 802.11ac ด้วย ไม่รู้จะเอาฝั่งรับที่ไหนมาทดสอบ)
เมื่อเราเตอร์มาเจอกับคลาวด์

ก่อนอื่นต้องอธิบายแนวคิดของ Cisco Connect Cloud กันก่อนนะครับ คือเราเตอร์ไร้สายที่ใช้ตามบ้าน ปกติแล้วมันจะฝังเว็บเซิร์ฟเวอร์มาให้ในตัว เอาไว้ควบคุมปรับแต่งค่าต่างๆ ในเราเตอร์ ซึ่งเวลาเราได้เราเตอร์มาใหม่ๆ วิธีการตั้งค่าแบบมาตรฐานคือเสียบสายแลน แล้วเปิดเบราว์เซอร์เข้าไปที่หมายเลขไอพีที่กำหนดมาใ ห้ (ส่วนใหญ่เป็น 192.168.1.1) แล้วปรับแต่งค่าตามต้องการ รีบูตเราเตอร์หนึ่งทีก็เรียบร้อยใช้งานได้
วิธีนี้ง่ายและใช้เป็นมาตรฐานกันมานาน แต่ในภาพรวมแล้วมันมีปัญหาใหญ่ๆ 3 ข้อ ดังนี้

  • ถ้าไม่ใช่คนไอทีที่มีความรู้ด้านระบบเครือข่าย การเข้าไปคอนฟิกค่าผ่านเว็บเซิร์ฟเวอร์ (ที่เข้าด้วยหมายเลขไอพี) อาจยุ่งยากและสับสนไปบ้าง
  • เข้าไปเปลี่ยนค่าจากเครือข่ายนอกวงได้ลำบากมาก (ต้องผ่านขั้นตอนเยอะ เช่น หาไอพีจริงมาใช้งาน หรือหาโดเมนเนม ฯลฯ)
  • การตั้งค่าขั้นสูงบางอย่างอาจทำได้ยากและต้องใช้ความ เชี่ยวชาญเยอะ เช่น port forwarding, DMZ, จำกัดการเข้าถึงตาม MAC ที่ระบุ ฯลฯ

Cisco จึงพยายามแก้ปัญหานี้ด้วยแนวคิด Connect Cloud ซึ่งอธิบายง่ายๆ คือการยกเว็บเซิร์ฟเวอร์ในตัวเราเตอร์ ไปอยู่บนกลุ่มเมฆของ Cisco แทน (ในทางปฏิบัติคือเว็บไซต์ CiscoCloudConnect.com
ข้อดีของแนวคิดนี้คือพอระบบคอนฟิกไปอยู่บนอินเทอร์เน ็ต (แทนที่จะเป็นวงแลนภายในบ้าน) เราจึงสามารถคอนฟิกเราเตอร์ตัวเองจากที่ไหนก็ได้ (แถมใช้งานเหมือนเข้าเว็บแอพทั่วไป) และระบบกลุ่มเมฆของ Cisco ก็มีแอพพลิเคชันสำหรับตั้งค่างานเฉพาะทางบางอย่างในพ ร้อมสรรพ ไม่ต้องมานั่งคอนฟิกเองให้เมื่อย

ว่าแล้วก็มาดูตัวจริงกันดีกว่าครับ
แกะกล่อง

ก่อนอื่นต้องบอกว่า EA4500 เป็นแค่ Wi-Fi router ไม่มีส่วนของ ADSL modem มาให้ในตัว ดังนั้นเราต้องพ่วงมันกับ ADSL modem ที่มีอยู่แล้วด้วยสายแลนก่อนนะครับ ต่อตรงกับสายโทรศัพท์โดยตรงไม่ได้ (ถ้าอยากได้โมเด็มด้วยต้องไปใช้ตระกูล Linksys Gateways แทน)


ตัวเราเตอร์หน้าตามีชาติตระกูลดีมาก ไม่มีไฟแสดงสถานะใดๆ ยกเว้นโลโก้ Cisco เรืองแสงได้ ส่วนพอร์ตเชื่อมต่อก็มี Ethernet ให้ 4 พอร์ตสำหรับกระจายออก และขาเข้าอีก 1 พอร์ต นอกจากนี้ยังมี USB หนึ่งช่องสำหรับเอา flashdrive ไปเสียบเพื่อทำตัวเป็น media server ได้ และมีฟีเจอร์มาตรฐานสำหรับเราเตอร์สมัยใหม่ๆ อย่างปุ่ม WDS มาให้ด้วย
เนื่องจากโมเด็มของผมต่ออินเทอร์เน็ตได้อยู่แล้ว ดังนั้นพอเสียบสายไฟเข้ากับ EA4500 และต่อสายแลนเรียบร้อย มันก็ส่งสัญญาณ Wi-Fi ออกมาทันที โดยใช้ชื่อ SSID ว่า Cisco11648 (เข้าใจว่าเป็นเลขสุ่ม) กำหนดไอพีมาให้เสร็จสรรพ แต่เป็นเครือข่ายแบบไม่ได้เข้ารหัส ใครก็มาใช้งานได้

ถ้าไม่คิดอะไรมาก เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ในความเป็นจริงเราคงไม่ซื้อเราเตอร์ราคาตั้งแพงมา ทำอะไรแค่นี้จริงไหมครับ
ติดตั้ง

Cisco ให้ซีดีสำหรับติดตั้งเราเตอร์มาให้ในกล่อง ใช้ได้ทั้งวินโดวส์และแมค (ผมยังคิดไม่ออกเหมือนกันว่าคนใช้ลินุกซ์จะทำยังไง) ถ้าเครื่องไม่มีไดรฟ์ซีดี-ดีวีดีแล้ว ก็สามารถดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์ของ Cisco ได้
กระบวนการติดตั้งและตั้งค่าเราเตอร์จะต้องทำผ่านโปรแ กรม setup ทั้งหมด ไม่สามารถทำผ่านเบราว์เซอร์แบบที่เราคุ้นเคยกันได้


ขั้นตอนไม่มีอะไรซับซ้อน แค่ตั้งชื่อ SSID, กำหนดรหัสผ่านของเครือข่าย, รหัสผ่านของตัวเราเตอร์ แค่นี้ก็เรียบร้อย

จากนั้นเราจะได้ PIN ของเราเตอร์มาหนึ่งชุด เพื่อไปลงทะเบียนกับเว็บไซต์ Cisco Connect Cloud อีกทีหนึ่ง ขั้นตอนการลงทะเบียนและกรอก PIN ไม่มีอะไรซับซ้อน คงไม่ต้องแปะภาพ
ผมพยายามลองล็อกอินเข้าไปที่ไอพีของเราเตอร์เพื่อลัด ขั้นตอนการติดตั้งด้วยซีดี ปรากฏว่าทำไม่ได้ครับ เราเตอร์จะ redirect ส่งเราไปยังเว็บไซต์ Cisco Connect Cloud แทน
Cisco Connect Cloud

เมื่อลงทะเบียนบนเว็บไซต์เสร็จเรียบร้อย ล็อกอินเข้ามา เราจะพบกับหน้าจอตั้งค่าเราเตอร์แห่งยุคกลุ่มเมฆ ตามภาพ

จากภาพเราจะเห็นเมนูด้านซ้ายมือ และ widget/app บอกสถานะด้านขวามือ
ส่วนของเมนูเองก็แยกเป็นครึ่งบนและครึ่งล่าง โดยครึ่งล่างคือหมวด Router Settings หรือการตั้งค่าเราเตอร์ทั่วไป ซึ่งตรงนี้ฟีเจอร์เหมือนกับเราเตอร์ยี่ห้ออื่นๆ ในท้องตลาด เช่น เปลี่ยนรหัส Wi-Fi, กรอง MAC ฯลฯ
แต่จุดเด่นของ Cisco Cloud อยู่ที่ครึ่งบนที่เขียนว่า Apps นั่นล่ะครับ มันคือแอพช่วยสนับสนุนงานขั้นสูงที่ Cisco เตรียมมาให้เราแล้ว เช่น

  • Device List การดูว่ามีอุปกรณ์รุ่นใดเชื่อมต่อเครือข่ายอยู่บ้าง บอกได้อัตโนมัติว่าเป็นมือถือ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก (เท่าที่ลองมาถูกเกือบหมด)
  • Guest Access หรือการรัน SSID อีกตัวสำหรับแขกที่ใช้เน็ตบ้านของเรา ให้เล่นเน็ตได้แต่ไม่เห็นคอมเครื่องอื่นๆ ที่ต่อกับเครือข่ายอยู่ ความง่ายในการใช้งานเพียงแค่กดปุ่ม On ก็ใช้ได้แล้ว ที่เหลือ Cisco จัดการมาให้เสร็จสรรพแม้แต่รหัสผ่าน
  • Parental Controls พ่อแม่สามารถตั้งค่าคอมของลูกให้เข้าถึงเนื้อหาตามที ่กำหนดในช่วงเวลาที่ต้องการได้
  • Media Prioritization จัดความสำคัญของอุปกรณ์-โปรโตคอลที่ใช้ มีรายชื่อเกมหรือแอพยอดนิยมเตรียมมาให้พอสมควร
  • Speed Test ทดสอบความเร็วการเชื่อมต่อเน็ตของเรา
  • USB Storage เราสามารถจิ้ม usb drive กับตัวเราเตอร์แล้วให้มันแปลงร่างเป็น file server ได้เลย

หน้าจอตั้งค่าอันนี้ยังสามารถใช้งานได้จาก Android/iOS ผ่านแอพ Cisco Connect Cloud ที่ดาวน์โหลดได้จาก App Store/Play Store ตามปกติ (แต่ความสามารถในการปรับแต่งจะไม่เยอะเท่ากับเวอร์ชั นเว็บ)
ในอนาคต Cisco มีแผนการเพิ่ม "แอพ" ลักษณะนี้เข้ามาบนแพลตฟอร์ม Connect Cloud อีก ตอนนี้มีตัวอย่างนิดหน่อยดูได้จากเว็บของ Connect Cloud
สรุป

แนวคิดของ Connect Cloud ถือว่าน่าสนใจมากครับ ในแง่ผู้ใช้ทั่วไปแล้ว เราเตอร์ที่มีความสามารถนี้จะคล้ายกับเครื่องใช้ไฟฟ้ ามากขึ้น ไม่ต้องมาตั้งค่ายากๆ แบบเดียวกับเราเตอร์ยุคที่ผ่านมา ส่วนแนวคิดเรื่องแอพเฉพาะกิจก็น่าจะมีประโยชน์มากกว่ านี้ถ้ามีแอพเยอะมากขึ้นในอนาคต (ตอนนี้ยังรู้สึกว่ามันน้อยไปหน่อย)
แต่ผมก็มีข้อกังขาต่อแนวคิด Connect Cloud ของ Cisco เหมือนกัน

  • ถ้าเน็ตเจ๊งแล้วเราจะปรับแต่งค่าในเราเตอร์ได้อย่างไ ร? เอาง่ายๆ แค่เน็ตไม่เจ๊ง ผมก็ประสบปัญหาพอสมควรในการเข้าเว็บ Connect Cloud ที่มักมีปัญหาอยู่เรื่อยๆ แถมโหลดช้าอีกต่างหาก
  • เอาเข้าจริงๆ แล้ว เราจำเป็นต้องเข้าไปตั้งค่าเราเตอร์ตัวเองบ่อยขนาดนั ้นเลยหรือ ประโยชน์ที่ได้จากการยกเว็บเซิร์ฟเวอร์ขึ้นกลุ่มเมฆม ันมีมากขึ้นแค่ไหนกันเชียว


นอกจากนี้ Connect Cloud เองก็มีปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัวไม่น้อย ดูได้จากข่าวเก่า ซิสโก้อัพเดตเฟิร์มแวร์โดยไม่ขออนุญาตล่วงหน้า บังคับใช้ Cloud Connect และ Cisco ขอโทษลูกค้าที่อัพเดตซอฟต์แวร์ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือและรับรองว่าข้อมูลจะไม่ส่งต่อสู่ ภายนอก
สำหรับผู้อ่าน Blognone ที่มีความรู้เชิงเทคนิคสูงอยู่แล้ว ฟีเจอร์ของ Connect Cloud คงไม่จำเป็นเท่าไรนัก และเผลอๆ อาจกลายเป็นอุปสรรคด้วยซ้ำ แต่สำหรับคนที่ซื้อเราเตอร์ใหม่และต้องการความสามารถ ด้านการควบคุมจากระยะไกล ก็อาจพิจารณาเลือกเราเตอร์ตระกูล Linksys Smart Wi-Fi ได้ครับ


อ่านต่อ...