News Image Thumbnail:



บริษัท HGST (Hitachi Global Storage Technology) ที่รู้จักดีในฐานะอดีตบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิกส์ยี่ห้อ Hitachi ซึ่งถูกซื้อโดย Western Digital ไปเมื่อปีก่อน ออกมาประกาศความสำเร็จในการพัฒนาฮาร์ดดิสก์บรรจุก๊าซ ฮีเลียมในเชิงพาณิชย์เป็นรายแรกของโลก
คำถามที่ตามมาคือ ทำไมเราต้องบรรจุฮีเลียมลงไปด้วย เหตุผลมีอยู่ว่า ในปัจจุบันนี้ภายในฮาร์ดดิสก์ไม่ได้สูญญากาศ และเมื่อจานดิสก์หมุนด้วยความเร็วสูงนั้นจะถูกแรงต่า งๆ กระทำ อย่างเช่นแรงต้านอากาศ ซึ่งส่งผลให้มอเตอร์ต้องใช้ไฟมากขึ้นและทำงานหนักขึ้ นเพื่อเอาชนะแรงดังกล่าว นอกจากนี้เมื่ออากาศภายในเริ่มหมุนเวียนก็จะส่งผลให้ เกิดแรงกระทำต่อหัวอ่านที่ต้องเลื่อนออกมาเพื่อทำการ เขียนและอ่านข้อมูลตลอดเวลา ส่งผลให้ความแม่นยำในการเข้าถึงตำแหน่งข้อมูลได้อย่า งถูกต้องลดลง ทำให้เป็นอุปสรรค์ต่อการเพิ่มความจุของไดร์ฟโดยการบี บขนาดของแทรกข้อมูลลงไปได้อีก
ทั้งนี้การบรรจุก๊าซฮีเลียมเข้าไปแทนที่ในปริมาณ 1 ใน 7 ของอากาศนั้นจะทำให้แรงดังกล่าวมีน้อยลง ส่งผลให้ฮาร์ดดิสก์ทำงานได้เงียบขึ้น ลดการใช้พลังงานลง 23% และยิ่งไปกว่านั้น ทำให้สามารถเพิ่มขนาดความจุของฮาร์ดไดรฟ์ด้วยการเพิ่ มจำนวนจานดิสก์เป็น 7 จานจาก 5 จานในปัจจุบัน ซึ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่อเทอราไบต์ ได้ถึง 45%
จริงๆ แล้วงานวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้จากการอัดก๊าซฮี เลียมเข้าในฮาร์ดดิสก์นั้นมีมานานแล้ว ซึ่ง Brendan Collins รองประธานฝ่ายการตลาดของ HGST กล่าวว่า "ปัญหาอยู่ที่ว่า บริษัทอื่นยังไม่ประสบความสำเร็จในการป้องกันการรั่ว ของก๊าซฮีเลียมออกจากตัวไดรฟ์ รวมถึงความสามารถในการผลิตในปริมาณมากๆ ได้ต่างหาก"
อย่างไรก็ดี HGST ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเอ าชนะปัญหาดังกล่าว รวมไปถึงขนาดความจุฮาร์ดไดร์ฟที่จะผลิตออกมาในชุดแรก แต่บอกเพียงว่าตัวไดร์ฟจะออกสู่ตลาดได้ในปี 2013 โดยเจาะกลุ่มตลาดเซิร์ฟเวอร์เป็นหลัก
ที่มา : Wall Street Journal Blog ผ่าน Engadget


อ่านต่อ...