Defi Advance CR หน้าขาว ไฟสีฟ้า
Defi Advance CR หน้าขาว ไฟสีแดง
เกจวัดต่างๆในรถยนต์ มีหน้าที่อย่างไร นอกจากเท่ห์แล้ว ต้องอ่านให้เป็น
สนใจ เกจวัด defi รุ่นไหนโทรสอบถามได้เลยนะครับ 085-233-9475 เพชร หรือผ่านทาง Whatsapp , Line , Facebook แล้วแต่สะดวก
ถ้าตอบกระทู้ช้าขออภัยด้วยครับ
1. มาตรวัดอุณหภูมิเครื่องยนต์ (WATER TEMP METER)
Defi Advance CR Water Temp วัดความร้อนหม้อน้ำ
สำหรับมาตรวัดความร้อนตามปกติในรถธรรมดาทั่วไป ก็จะมีติดตั้งมาให้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว
แต่ว่ารถยนต์ทั่วไปนั้นอาจไม่ได้อ่อนไหวในเรื่องของค วามร้อนมากนัก ค่าแสดงให้เห็นจึงไม่ละเอียด ทั้งนี้เป็นเพราะทางโรงงานตั้งใจทำมาอย่างนั้น เพื่อคนขับจะได้ไม่ต้องเป็นห่วงมาก แต่ว่าเมื่อไหร่ที่เกจความร้อนขยับสูงขึ้น หรือไฟแสดงผลแสดงสำหรับรถรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ติดตั้งเก จวัดความร้อนมาให้จากโรงงาน นั่นหมายความว่าความร้อนขึ้นค่อนข้างมาก หากทิ้งไว้นานอาจไม่ทันการเครื่องยนต์อาจเสียหายก่อน ได้ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ติดแก๊ส หรือใช้เครื่องยนต์เทอร์โบและมีการโมดิฟาย หรือปรับบูสต์ เครื่องยนต์จะร้อนกว่าปกติ เรื่องปัญหาความร้อนมีความสำคัญมาก เพราะอาจหมายถึงความเสียหายที่เกิดกับเครื่องยนต์ได้ เช่นเครื่องน๊อค หรือฝาสูบโก่งเพราะความร้อนเกิน โดยปกติเซ็นเซอร์ที่ใช้วัดความร้อนของเครื่องยนต์จะต ิดตั้งอยู่ตรงท่อน้ำที่ออกจากเครื่อง ซึ่งอุณหภูมิโดยปกติที่เครื่องยนต์ทำงานควรจะอยู่ที่ ราว 90-100 องศาเซลเซียส และควรควบคุมไม่ให้สูงขึ้นเกินไปกว่า 120 องศาเซลเซียส หากว่าอุณหภูมิยังสูงขึ้นก็พอมีวิธีแก้ไขคือ เพิ่มขนาดของหม้อน้ำให้ใหญ่ขึ้น เปิดกันชนหน้าให้ลมผ่านเข้าหม้อน้ำได้ง่ายขึ้น หรือไม่ก็เจาะสคูปดักลมบนฝากระโปรงหน้า ให้ลมเข้ามาเป่าห้องเครื่อง วิธีการเหล่านี้พอจะสามารถทำให้เครื่องยนต์เย็นได้บ้ างเหมือนกัน
2. โวลท์ มิเตอร์ (VOLT METER)
Defi Advance CR Volts วัดกระแสไฟ
ใช้วัดพลังงานแบตเตอรี่รถยนต์ว่าเหลือเท่าไหร่ เหมาะกับรถที่ติดเครื่องเสียง หรือรถยนต์ทั่วไปเพื่อบอกสถานะไฟแบต ทำให้ไม่ต้องเสี่ยงที่จะต้องเข็นรถเนื่องจากสตาร์ทไม ่ติด เนื่องจาก แบตเตอรี่สมัยนี้มักไม่ค่อยทนและไม่บอกพลังไฟที่เหลื อ พอไฟหมดก็สตาร์ทไม่ติดเลย ตัวมิเตอร์สามารถช่วยบอกสถานะได้เป็นอย่างดี ใช้เพื่อเช็คดูประสิทธิภาพและกำลังไฟของแบตเตอรี่เพื ่อไม่ให้ เกิดปัญหาในการใช้งาน หรือสตาร์ทไม่ติด
วิเคราะห์ระบบไฟฟ้าในรถจากค่าที่อ่านได้จากโวลท์มิเต อร์
- ขณะดับเครื่องค่าควรอยู่ประมาณ 12-12.8 โวลท์ ถ้าต่ำกว่า12 ถือว่าผิดปกติอาจมีสาเหตุมาจากแบตเตอรี่เริ่มเสื่อม (เก็บไฟไม่อยู่) หรือไดชาร์จชาร์จไฟได้ไม่เต็มที่ (ดูในหัวข้อการตรวจสอบไดชาร์จ)
- วิธีตรวจสอบว่าแบตเสื่อมหรือไม่ทดสอบได้โดยหลังจากขั บรถปกติมาจอดและดับเครื่องประมาณ 1 นาที ค่าที่อ่านจากมิเตอร์ต้องมีค่าระหว่าง 12-12.8 โวลท์ หลังจอดไว้ (4-6ชั่วโมง) หรือข้ามวันค่าที่อ่านได้ต้องประมาณ 12-12.8 โวลท์ เท่าเดิมถือว่าปกติ ถ้ามีค่าต่ำกว่านี้มากๆ เช่น 11.5-11.9 แบตเตรี่เริ่มเก็บไฟไม่อยู่แต่ยังพอไหว แต่ถ้าต่ำกว่า 11.5 โวลท์ลงไป ถือว่าอันตรายเพราะถ้าจอดทิ้งสัก 2 วันอาจสตาร์ทไม่ติด (ถ้าอายุแบตเตอรี่ยังใหม่ก็อาจจะเกิดจากมีกระแสไฟฟ้า รั่วลงกราวด์ แนะนำเข้าร้านให้ช่างไฟฟ้ารถยนต์ตรวจสอบครับ) ***อายุแบตเตอรี่ทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 18-24 เดือน แล้วแต่การดูแล***
การตรวจสอบไดชาร์จจากการอ่านค่าจากโวลท์มิเตอร์ ให้ทำการติดเครื่องยนต์แล้วอ่านค่าจากโวลท์มิเตอร์ค่ าปกติได้ดังนี้
1. ที่รอบเครื่องยนต์ 1000 รอบต่อนาที (รอบเดินเบา) จะต้องมีค่าประมาณ 13.5-13.8 โวลท์ ถ้ามีค่าต่ำกว่านี้เช่น 12.8-13.4 โวลท์ไดชาร์จเริ่มมีปัญหาคือชาร์จไฟได้ไม่เต็มที่ ถ้าต่ำกว่า 12.8 โวลท์แสดงว่าไดชาร์จไม่ชาร์จกระแสไฟฟ้าให้กับแบตเตอร ิ่ และถ้าต่ำกว่า 12 โวลท์ ถือว่าขณะนั้นระบบไฟฟ้าในรถดึงกระแสไฟฟ้าแบตเตอรี่มา ใช้งานเพียงอย่างเดียว ให้ทำการตรวจซ่อมไดชาร์จ
2. ที่รอบเครื่องยนต์ 2000-2500 รอบต่อนาที จะต้องมีค่าประมาณ 13.8-14.7 โวลท์ อาจมากกว่านี้ได้เล็กน้อยแต่ต้องไม่เกิน 15 โวลท์ถ้ามากกว่า 15 โวลท์อาจมีสาเหตุมาจากเรกกูเตอร์ (วงจรควบคุมแรงดันของไดชาร์จ) อาจมีปัญหา ผลเสียคือแบตเตอรี่อาจเสื่อมเร็วเพราะถูกชาร์จด้วยแร งดันที่สูงเกิน ทำให้เกิดความร้อนสูงในแบตฯ ถ้าร้อนมากๆจะทำให้น้ำกลั่นเดือดได้
วิธีทดสอบว่าไดชาร์จจ่ายกระแสเพียงพอหรือไม่ สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ ทำตามข้อ 1 และ 2 แล้วทำการเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถทุกอย่าง เช่น ไฟหน้า,แอร์,ที่ปัดน้ำฝน,เครื่องเสียง ฯลฯ แรงดันที่วัดได้ต้องเหมือนกับค่าปกติในข้อ 1 และ 2 ถ้าค่าที่วัดได้ตกลงมาก แสดงว่าไดชาร์จจ่ายกระแสไม่พอ อาการนี้อาจไม่เกิดขึ้นกับรถเดิมๆ แต่จะมีผลในรถที่ติดตั้งเครื่องเสียงแรงๆ ผลเสียคืออาจทำให้ไดชาร์จทำงานตลอดเวลาทำให้อายุการใ ช้งานต่ำลง
3. แวคคั่ม มิเตอร์ (VACUUM METER)
Defi Advance CR Vacuum วัดสถานะเครื่องยนต์
มาตรวัด VACUUM ตัวนี้ จริง ๆ แล้วมันก็อยู่ในมาตรวัดตัวเดียวกับมาตรวัดอัตราบูสต์ เทอร์โบ มาตรวัดตัวนี้จะตอบสนองกับอัตราการเหยียบคันเร่ง โดยเข็มจะกวาดไปมาตามการเร่ง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเช็คความสิ้นเปลืองน้ำมันได้เ หมือนกัน สำหรับการดูค่าของมาตรวัดตัวนี้ต้องดูเวลาเครื่องเดิ นเบา ซึ่งจะดูได้จากค่าสูญญากาศ ถ้าค่าสูญญากาศนี้มีมาก ก็จะถือได้ว่าเครื่องยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ ไม่รั่วซึม แต่ถ้าค่านี้ลดลงไปมาก นั่นก็เป็นไปในทางตรงกันข้าม มาตรวัดตัวนี้จึงเป็นมาตรวัดที่อาจมีไว้เช็คสภาพของเ ครื่องยนต์ได้ ทั้งนี้ในขณะเครื่องยนต์เดินเบาถ้าเข็มบนมาตรวัดนี้บ อกค่าไม่ถึง 30 cmHg นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเครื่องยนต์มีสภาพย่ำแย่ โดยเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ที่มีความสมบูรณ์ค่าตัวนี้จะอยู่ที่ประมาณ 45 cmHg
vacuum คือแรงดูด
boost คือแรงอัด
เวลาถอนคันเร่ง ค่าแวค จะยิ่งสูง เวลาเหยียบคันเร่งค่าแวคจะลดลงเข้าใกล้ 0
รถ turbo ก็เหมือนกัน เพียงแต่ถ้าปริมาณอากาศเพิ่มมากจนกลายเป็นแรงอัด ก็จะกลายเป็นบูสแทน
สรุป รถ turbo-na เหยียบหรือถอนคันเร่ง เข็มวัดแวค จะไปในทิศทางเดียวกัน
เพียงแต่ รถ NA จะไม่มีค่าแรงดันบูส ค่าที่เกจแสดงจะไม่เลยขึ้นไปถึงช่วงบูส
1 centimeter of mercury (cmHg) = 1.33 kilopascal (kPa)
1 inch of mercury (inHg) = 3.39 kilopascal (kPa)
cmHg (เซนติเมตรปรอท) และ inHg (นิ้วปรอท)
30 cmHg = 39 kPa
45 cmHg = 59 kPa
1 Bar = 100 kPa = 14.5037738 PSI
4. มาตรวัดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง (A/F METER)
Defi Advance CR A/F (Air/Fuel ratio) วัดส่วนผสมน้ำมันกับอากาศ
มาตรวัดตัวนี้เป็นการเช็คความสมดุลระหว่างอากาศกับน้ ำมันเชื้อเพลิง สำหรับ A/F คืออัตราส่วนระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งโดยทั่วไปอัตราส่วนตามหลักการนี้จะต้องมีค่าเท่า กับ 14 ในขณะที่เครื่องเดินเบา เลข 14 ก็จะหมายถึงอากาศ 14 ส่วน/น้ำมัน 1 ส่วน ซึ่งจะผสมอยู่ในห้องเผาไหม้สำหรับจุดระเบิด และค่านี้จะต่ำลงไปในขณะที่มีการเร่งเนื่องจากปริมาณ น้ำมันเพิ่มขึ้น และค่า A/F นี้จะสูงขึ้นในขณะที่ทำการถอนคันเร่ง โดยค่า A/F นี้จะถูกแบ่งออกเป็น "บาง" กับ "หนา" ซึ่งถ้าต้องการทำให้รถแรงขึ้น ก็ต้องปรับให้ค่า A/F ให้มีค่าที่บางลง คือการปรับให้น้ำมันน้อยลง-อากาศมากขึ้น อย่างไรก็ตามการปรับในลักษณะดังกล่าว ก็มีผลทำให้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับอย่างระมัดระวัง ทั้งนี้ค่า A/F ไม่ควรสูงเกินกว่า 12 เพราะนั่นหมายความว่าน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยเกินไป ซึ่งในรถที่มีการโมดิฟาย ควรจะให้มีค่า A/F ขณะเร่งอยู่ในช่วง 10.5- 11.5 ก็พอ
เราต้องทราบกันก่อนว่า การสันดาบภายในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์เบนซินนั้น จะต้องมีปัจจัยสำคัญหลักสามประการคือ
อากาศ Air + เชื้อเพลิง Fuel + ไฟ Ignition
และเพื่อให้ได้พลังงานความร้อนอยู่ในช่วงที่เหมาะสมท ี่สุด อัตราส่วนผสมระหว่างอากาศกับเชื้อเพลิง (Air/Fuel Ratio) ควรเท่ากับ A=14.7 ส่วน ต่อ F=1 ส่วน (A/F=14.7/1)
ซึ่งเมื่ออากาศถูกดูดเข้าห้องเผาไหม้ไปผสมกับเชื้อเพ ลิงในห้องเผาไหม้แล้ว หัวเทียนก็จะสปาร์คขึ้นในจังหวะที่ลูกสูบอัดขึ้นเกือ บสูงสุด แล้วเกิดการระเบิดของก๊าซในห้องเผาไหม้ ดันลูกสูบลงไปขับข้อเหวี่ยง เพื่อหมุนแกนกลางชุดส่งกำลังขับเคลื่อนรถกันต่อไป
หากการเผาไหม้ให้พลังงานไม่ดี (Rich) เครื่องก็ไม่มีเรี่ยวแรงมีก๊าซเสีย และเขม่าที่หลงเหลือจากการเผาไหม้เยอะ
และหากเผาไหม้ดีเกินไป (Lean) อุณหภูมิของการเผาไหม้นั้นจะทำให้เครื่องยนต์ร้อนจัด จนโลหะขยายตัวเกินขีด และอาจหลอมละลายได้ในที่สุด
ลองนึกถึงหัวตัดเชื่อมแก๊สที่เราเห็นตามร้านทำท่อรถย นต์ ว่าหากเขาบิดวาวล์อ๊อกซิเจนน้อย ก็จะมีควันดำที่เปลวไฟ ใช้ตัดโลหะไม่ได้แค่ทำให้อุ่นและทิ้งเขม่าไว้เพียบ
ในทางตรงข้าม หากเปิดวาวล์อ๊อกซิเจนเพิ่มขึ้น เปลวไฟจะร้อนแรงกว่าเดิม จี้ไปที่อะไรก็หลอมละลายหมดแม้แต่เหล็กแผ่นหนาๆ ก็ไม่เหลือ เครื่องยนต์ก็โดนแบบนั้นเหมือนกันครับ ท่านที่จูนแก๊สบางๆ หวังแต่ความประหยัด ระวังไว้เถอะ
5. มาตรวัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง (OIL TEMP METER)
Defi Advance CR Oil Temp วัดความร้อนน้ำมันเครื่อง
อุณหภูมิน้ำมันเครื่อง มีความสำคัญมากพอสมควร เพราะถือว่ามีผลกระทบกับเครื่องยนต์โดยตรง หากว่าอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องสูงเกินไป เครื่องยนต์ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องจะขึ้นอยู่กับคุณภาพ ของน้ำมันเครื่องที่ใช้ ซึ่งในตลาดน้ำมันเครื่องแยกเป็นหลายประเภท มีทั้งแบบทนความร้อนสูงที่อุณหภูมิสูงถึง 120 องศาเซลเซียส ส่วนบางประเภทอุณหภูมิแค่ 110 องศาเซลเซียส ก็ทนไม่ไหวกลายสภาพเป็นน้ำก็มี โดยปกติของอุณหภูมิน้ำมันเครื่องจะสูง-ต่ำ ไปในแนวทางเดียวกับอุณหภูมิของเครื่องยนต์หรืออุณหภู มิหม้อน้ำ ซึ่งถ้าความร้อนของน้ำขึ้น อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องก็จะขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ในสภาพการใช้งานเครื่องยนต์ควรรักษาอุณหภูมิข องน้ำมันเครื่องให้อยู่ในช่วง 80-110 องศาเซลเซียส
ถ้าหากอุณหภูมิสูงขึ้นไปเกิน 120 องศาเซลเซียส ควรทำให้เย็นลงก่อนจึงใช้งานเครื่องยนต์ต่อไป สำหรับทางออกในการช่วยรักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่อง รถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายมักมีการใส่ OIL COOLER เข้าไปช่วยก็ทำให้อุณหภูมิน้ำมันเครื่องไม่สูงเกินไป
6. มาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง (OIL PRESSURE METER)
Defi Advance CR Oil Pressure วัดแรงดันน้ำมันเครื่อง
มาตรวัดตัวนี้จะมีส่วนสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงประสิ ทธิภาพของน้ำมันเครื่อง โดยค่าที่แสดงออกมาให้เห็นจะเป็นเวลาที่เครื่องยนต์ท ำงานในรอบสูงๆ หรือขณะที่เครื่องยนต์มีอุณหภูมิในการทำงาน เพราะเมื่อน้ำมันเครื่องเจอเข้ากับความร้อนสูง ๆ จะถูกหลอมให้เหลวลง และถ้าน้ำมันเครื่องเหลวมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพความหล่อลื่นก็จะลดลง การสึกหรอจนถึงการระบายความร้อนก็จะลดประสิทธิภาพลงต ามไปด้วย ดังนั้นการตรวจสอบตรงจุดนี้จึงมีความสำคัญ ซึ่งมาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่องจะเป็นตัวบ่งบอกข้อมู ลนี้ได้ โดยในการแสดงข้อมูลให้เห็นนั้น หากว่ามีแรงดูดน้อย ที่เรียกว่า "แรงดันต่ำ" จะถือว่าการหล่อลื่นไม่ดี เพราะแสดงถึงว่าน้ำมันเครื่องเหลวมาก ใช้แรงดูดน้อยก็ไหลเข้ามาแล้ว ในทางกลับกัน ถ้าน้ำมันเครื่องมีความหนืดมาก แรงดูดก็ต้องใช้แรงมาก เรียกว่า "แรงดันสูง" จะสังเกตได้ว่าเวลาที่น้ำมันเครื่องยังคงเย็น มาตรวัดจะแสดงว่ามีแรงดันสูง แต่เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้น น้ำมันเครื่องคลายความหนืดลง ความดันก็จะเริ่มต่ำลงมา สำหรับรถยนต์โดยทั่วไปในขณะวิ่ง แรงดันน้ำมันเครื่องควรอยู่ที่ประมาณ 3 - 4 kg/cm2 หรือหากสูงมากก็ไม่ควรจะเกิน 6 kg/cm2
1 kg/cm2 = 98 kPa
3 - 4 kg/cm2 = 294 - 392 kPa
6 kg/cm2 = 588 kPa
7. มาตรวัดบูสต์ (BOOST METER)
Defi Advance CR Boost/Turbo วัดบูสเทอร์โบ สำหรับรถเทอร์โบ
มาตรวัดตัวนี้จะเห็นในรถยนต์แทบทุกคันที่มีการติดตั้ งเทอร์โบเข้าไป รวมถึงรถยนต์ที่มีเทอร์โบมาจากโรงงานก็อาจจะมีตัวนี้ มาให้ เนื่องจากมันเป็นตัวบ่งบอกสำคัญให้ผู้ขับขี่ทราบว่า มีแรงดันอากาศ หรือแรงบูสต์เข้ามายังเครื่องยนต์มากน้อยเพียงไร มาตรวัดตัวนี้โดยปกติบนหน้าปัด จะมีค่าตัวเลขด้านล่างขึ้นมาที่ 0 ซึ่งเป็นค่าของแวคคั่ม หรือ แรงดันลบ และจาก 0 ขึ้นไป จะเป็นของเทอร์โบ หรือ แรงดันบวก และในส่วนของเทอร์โบนี่เองที่จะเป็นส่วนบ่งบอกว่า เทอร์โบ กำลังทำงานอยู่
สำหรับการดูค่าอัตราบูสต์เทอร์โบนั้น ถ้าหากว่าเข็มบนมาตรวัดเดินช้ามาก เป็นตัวแสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า เทอร์โบมีขนาดใหญ่เกินไป ส่งผลให้ไอเสียที่ไปปั่นใบเทอร์โบไม่พอ การแก้ไขก็น่าจะเป็นการเปลี่ยนเป็นแคมฯ องศาสูง หรือไม่ก็เปลี่ยนจังหวะของวาล์วเป็นต้น นอกจากนี้หากบนมาตรวัดชี้ว่ามีแรงบูสต์สูงเกินไปจากท ี่มีการตั้งค่าเอาไว้ ก็อาจจะสรุปได้ว่าเกิดปัญหาขึ้นที่สปริงวาล์วของเวสต ์เกต ที่เป็นตัวควบคุมแรงดันบูสต์ของเทอร์โบเป็นต้น สำหรับมาตรวัดอัตราการบูสต์นี้ อาจจะมีค่าการวัดไม่เหมือนกัน บางครั้งอาจบ่งบอกค่าการวัดเป็น Bar (บาร์) หรือว่า psi (ปอนด์) อีกทั้งค่าสูงสุดของมาตรวัดบูสต์ ก็ไม่เท่ากัน จึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการ
1 Bar = 100 kPa = 14.5037738 PSI
8. มาตรวัดรอบ (TACHO METER) RPM
Defi Advance CR RPM วัดรอบเครื่องยนต์
สำหรับมาตรวัดรอบ ก็เหมือนกับมาตรวัดความร้อน คือรถยนต์ส่วนใหญ่จะมีการติดตั้งมาให้จากโรงงานอยู่แ ล้ว แต่สาเหตุที่มีบางคนต้องไปติดเพิ่มอาจจะมาจากเหตุผลต ่างกันไป บางคนอาจคิดว่าเป็นอุปกรณ์ตกแต่งสร้างความสวยงาม หรือความเท่แต่กับบางคนอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นจริง ๆ อย่างรถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายเปลี่ยนไปใช้แคมฯ องศาสูงมาก ๆ จนทำให้สามารถเร่งรอบได้มากกว่าเดิม ซึ่งวัดรอบที่มีติดมากับรถไม่สามารถแสดงข้อมูลได้เพี ยงพอ จึงต้องหาอันใหม่มาติดเข้าไป หรือในรถยนต์ที่ทำขึ้นมาสำหรับการแข่งขันควอเตอร์ไมล ์ซึ่งจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ ถือเป็นสิ่งที่ต้องการให้ความสำคัญมาก การตัดสินแพ้ชนะอยู่ที่เวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที ดังนั้นมาตรวัดรอบที่มาพร้อมไฟเตือน จึงกลายเป็นอุปกรณ์ช่วยได้อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามการแพ้ชนะไม่ได้เพียงอุปกรณ์ที่ว่าเท่าน ั้น จังหวะฝีมือ สมาธิ ในการเปลี่ยนเกียร์ของผู้ขับขี่เป็นเรื่องที่สำคัญกว ่า
9. มาตรวัดแรงดันเชื้อเพลิง (FUEL PRESSURE METER)
Defi Advance CR Fuel Pressure วัดแรงดันน้ำมันเบนซิน
สำหรับมาตรวัดตัวนี้ใช้เป็นตัวเช็คแรงดันน้ำมันเชื้อ เพลิงว่า ในขณะที่เหยียบคันเร่งแล้วน้ำมันขึ้นมาตามปริมาณที่เ ราออกแรงกด ลงไปบนคันเร่งหรือไม่ สำหรับคนที่ใช้รถแบบปรกติหรือใช้บนถนนทั่วไป มาตรวัดตัวนี้คงจะไม่จำเป็น อย่างไรก็ดีหากว่า ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดเกิดมีปัญหาขึ้นมา มาตรวัดที่บอกค่าของแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็สามารถเป็นตัวบอกความผิดปกติได้ วิธีดูมาตรวัดตัวนี้ จะใช้ดูค่าในขณะที่รถยนต์ติดเครื่องเดินเบาเป็นหลัก สำหรับรถยนต์ที่มีเทอร์โบติดตั้งอยู่ด้วยค่าของแรงดั นนี้จะขึ้น ไปตามอัตราการบูสต์ เช่น ค่าที่วัดได้ในขณะเดินเบามีค่าเป็น 3 บาร์ แต่เมื่อเทอร์โบบูสต์ไป 1 บาร์ ค่าบนของมาตรวัดจะชี้ไปที่ 4 บาร์ ซึ่งหากว่าแรงดันนี้ตกลง นั่นหมายถึงว่าขนาดของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉี ดที่ใช้ไม่เพียงพอเสียแล้ว ดังนั้นมาตรวัดตัวนี้จึงมีความจำเป็นไม่น้อยสำหรับรถ ยนต์เทอร์โบ ซึ่งผู้ขับขี่ความสังเกตค่าแรงดันในขณะที่เดินเบาเป็ นหลัก และสังเกตว่าแรงดันน้ำมัน นั้นขึ้นไปตามอัตราการบูสต์หรือไม่
1 bar = 100 kPa
10. มาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสีย (EX. TEMP METER)
Defi Advance CR Exhaust Temp วัดอุณหภูมิท่อไอเสีย
อุณหภูมิของท่อไอเสีย หลายคนอาจจะมองว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับประสิทธิภาพ การทำงานของเครื่องยนต์ ทว่าในความเป็นจริงมันมีส่วนที่สัมพันธ์กับแรงดันน้ำ มัน หรือการไหลของอากาศสำหรับรถที่ผ่านการโมดิฟาย นอกจากน้ำมันเครื่องแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญ ก็คือ ปริมาณการจ่ายน้ำมันเบนซิน ซึ่งปริมาณน้ำมันเบนซินจะมากจะน้อย ก็สามารถวัดได้จากมาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสียนี่เอง ซึ่งหากมีการปรับน้ำมันให้อ่อนลง จะทำให้อุณหภูมิของท่อไอเสียเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นในทางตรงกันข้ามน้ำมันแก่ อุณหภูมิของท่อไอเสีย ก็จะต่ำลง ดังนั้นมาตรวัดอุณหภูมิไอเสีย จึงสามารถบอกข้อมูลของรถในขณะวิ่งได้ อย่างไรก็ตามโดยทั่วไป มาตรวัดอากาศไหลเข้า หรือว่ามาตรวัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็ใช้บอกข้อมูลในทางเดียวกัน
สนใจ เกจวัด defi รุ่นไหนโทรสอบถามได้เลยนะครับ 085-233-9475 เพชร ถ้าไม่ได้รับสายจะโทรกลับ ถ้าตอบกระทู้ช้าขออภัยด้วยครับ
credit หนังสือเทคนิคแต่งรถ + เวป
Bookmarks