ผู้อ่าน Blognone ติดตามข่าวการประมูล 3G มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ถึงตอนนี้การประมูล 3G ก็เข้าใกล้ขึ้นเรื่อยๆ ถึงตอนนี้ก็คงได้เวลาของการสรุปความเข้าใจรวบยอดถึงก ารประมูล 3G ที่กำลังมีขึ้นในบ้านเรา
3G คืออะไร?

คำว่า 3G หรือระบบการสื่อสารสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ในยุคที่ส าม เป็นกลุ่มของเทคโนโลยีสื่อสารที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่ างประเทศ (International Telecommunication Union - ITU) ได้กำหนดไว้กว้างๆ ถึงการพัฒนาของการสื่อสาร โดยยุคแรกคือโทรศัพท์มือถืออนาล็อก และยุคที่สองคือโทรศัพท์ GSM ที่เราใช้งานกันอยู่ในทุกวันนี้
กลุ่มเทคโนโลยี 3G มีลักษณะเหมือนๆ กัน คือ การออกแบบคำนึงถึงการใช้งานที่ไม่ใช่การโทรศัพท์ (non-voice) เช่นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมาตั้งแต่แรก ขณะที่ระบบ 2G ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ออกแบบมาเพื่อการสื่อสา รด้วยการโทรศัพท์เป็นหลัก และส่วนเสริมเช่น GPRS/EDGE นั้นถูกออกแบบเพิ่มเติมเข้ามาในภายหลัก

การพัฒนา 3G เกิดขึ้นในช่วงปี 2001 เป็นต้นมา หรือประมาณ 16 ปีหลังการพัฒนาระบบ GSM ที่เราใช้งาน ทำให้เทคนิคการส่งข้อมูลก้าวหน้าไปมาก การทำความเร็วบนระบบ 3G นั้นสามารถทำได้สูงสุดตามทฤษฎีถึง 42 Mbps แต่ในการใช้งานจริงจะต่ำกว่านี้ เช่นที่เราเห็นในช่วงทดสอบระบบที่หลายๆ ค่ายสามารถทำความเร็วได้ในช่วง 5-15 Mbps
ที่จริงแล้วเทคโนโลยี 3G มีหลายตัว เช่น EVDO ที่พัฒนามาจาก CDMA และ TD-SCDMA ที่มีให้บริการเฉพาะในประเทศจีน แต่มาตรฐานการสื่อสารในช่วงหลายปีมานี้ค่าย GSM เริ่มได้รับความนิยมกว่าสายอื่นๆ และมาตรฐาน 3G ในค่ายนี้คือมาตรฐาน UMTS ที่มีการพัฒนามาหลายขั้นนับแต่ W-CDMA และในช่วงหลังเป็น HSPA ที่ขึ้นเป็นตัว H ในโทรศัพท์มือถือเมื่อเราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 3G ทุกวันนี้
ทำไมต้องคลื่น 2100?

เทคโนโลยี 3G นั้นเหมือนคล้ายกับ 2G ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ สามารถใช้บนคลื่นได้หลากหลาย เช่นในบ้านเราจะเห็นผู้ให้บริการ GSM บนคลื่น 900 และ 1800 กันเป็นส่วนมาก บริการ 3G ก็เช่นเดียวกัน มันสามารถให้บริการได้บนคลื่น 800, 850, 900, 1900, และ 2100 (ไม่มี 3G ปลอมนะครับ) อย่างไรก็ดี ITU ได้กำหนดให้คลื่น 2100 นั้นเป็นคลื่นสากลที่ใช้ตรงกันทุกประเทศ ทำให้โทรศัพท์ทั้งหมดที่ผลิตออกมาจะรองรับคลื่น 2100 และรับคลื่นอื่นๆ ต่างกันไป
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราจะพบความลำบากที่ต้องเลือกโ ทรศัพท์อย่างระวังว่าจะรองรับคลื่นที่ผู้ให้บริการใช ้อยู่หรือไม่ เมื่อมีผู้ให้บริการรายหลักให้บริการบนคลื่น 2100 การเลือกผู้ให้บริการก็จะง่ายขึ้น
เหตุผลสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการเลือกใช้คลื่น 2100 คือทุกวันนี้ประเทศไทยมีคลื่นส่วนนี้ว่างอยู่ถึง 45 MHz (เป็นช่วงความถี่ เช่น 2100-2105 เป็นความกว้าง 5 MHz) การปล่อยให้คลื่นเหล่านี้ว่างเอาไว้จะกลายเป็นคลื่นท ี่ไม่เกิดประโยชน์อะไร ถือเป็นความสูญเสียทรัพยากรที่นำมาใช้งานได้
คลื่น 45 MHz มากน้อยแค่ไหน การเทียบการใช้งานคงต้องเทียบกับบริการ 3G ทุกวันนี้ เช่น

  • AIS นั้นให้บริการ 3G บนคลื่น 900 ด้วยคลื่นกว้าง 5 MHz เพราะต้องแบ่งจากคลื่นทั้งหมดที่มีอยู่ 17.5 MHz
  • DTAC นั้นให้บริการบนคลื่น 850 ด้วยความกว้าง 10 MHz
  • Truemove H นั้นให้บริการบนคลื่น 850 เช่นกันด้วยความกว้างคลื่น 15 MHz
  • TOT3G ให้บริการบนคลื่น 2100 เพียงรายเดียว บนคลื่นกว้าง 15 MHz

ปัญหาการใช้งานทุกวันนี้เกิดจากปริมาณคลื่นนั้นไม่สม สัดส่วนกัน เช่น AIS นั้นมีผู้ใช้มากถึง 35 ล้านราย ขณะที่ TOT นั้นมีผู้ใช้ไม่ถึงสามแสนราย ทำให้ผู้ใช้จำนวนมากกระจุกอยู่ในคลื่นแคบๆ ที่รองรับผู้ใช้ได้น้อย การจัดสรรคลื่นให้มากขึ้นให้กับผู้ให้บริการที่มีผู้ ใช้มาก จะทำให้ผู้ให้บริการสามารถจัดการคลื่นได้ดีขึ้น
ทำไมไม่ข้ามไป 4G

เทคโนโลยี 4G ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่องๆ ในทุกวันนี้เป็น LTE ทั่วโลกนิยมใช้งานมันบนคลื่น 1800 หรือ 2600 และมีคลื่นอื่นๆ ตามภูมิภาคต่างๆ เช่น สหรัฐฯ นั้นใช้คลื่น 700 ร่วมด้วย การจัดสรรคลื่นในย่าน 1800 และ 2600 นั้นเป็นสิ่งที่ควรกระทำต่อไป หากกสทช. สามารถดึงคลื่นที่ใบอนุญาตหมดอายุลงแล้วกลับมาจัดสรร ใหม่ได้ เช่น คลื่น 1800 บางใบอนุญาตก็กำลังจะหมดอายุลงในไม่กี่ปีข้างหน้า
การให้บริการ 4G บนคลื่น 1800 หรือ 2600 นั้นสามารถทำไปพร้อมๆ กับการให้บริการ 3G บนคลื่น 2100 ได้ไม่มีความจำเป็นต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง และการข้ามไป 4G โดยไม่เปิดประมูลคลื่น 3G ก็จะทำให้คลื่น 2100 ที่ว่างอยู่จำนวนมากไม่ถูกใช้งานให้เป็นประโยชน์ในที ่สุด
อีกเหตุผลหนึ่งคืออุปกรณ์ที่ใช้กับบริการ 4G นั้นยังมีราคาแพงมากในทุกวันนี้ ขณะที่โทรศัพท์ หรือโมเด็ม 3G นั้นมีขายทั่วไปในราคาถูกบางครั้งอยู่ในหลักร้อยบาท แต่โทรศัพท์ 4G จะมีราคาสูงเกินหนึ่งหมื่นแทบทั้งสิ้น การข้ามไปใช้เทคโนโลยีใหม่โดยไม่มีเปิดให้บริการ 3G จะทำให้คนที่ไม่มีกำลังซื้ออุปกรณ์ราคาแพงไม่สามารถเ ปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีที่ใหม่กว่าได้
ทำไมต้องประมูล

การประมูลคลื่นเป็นข้อกำหนดตามกฎหมายของพ.ร.บ.องค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจ ายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ตามกฎหมายฉบับนี้กสทช. ไม่สามารถจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อนำไปใช้ให้บริการทา งธุรกิจด้วยวิธีการอื่น โดยอำนาจของกสทช. จะอยู่ที่การกำหนดหลักเกณฑ์การประมูล ซึ่งได้ผ่านกระบวนการร่างและรับฟังความคิดเห็นจนประก าศในราชกิจจานุเบกษาไปเรียบร้อยแล้ว (อ่านเพิ่มเติม อธิบายกฎเกณฑ์การประมูลคลื่น 3G)
ประมูลแล้วจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนคือบริการโทรศัพท์ทุกวันนี้ที่เรา ใช้อยู่ เป็นระบบสัญญาสัมปทานเป็นส่วนใหญ่ นั่นคือเอกชนนั้นวางเครือข่ายให้กับรัฐวิสาหกิจของรั ฐ แล้วเข้าบริหารเครือข่ายเหล่านี้ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยแบ่งเงินส่วนแบ่งรายได้ให้
ความจำกัดของระบบเช่นนี้ คือ เมื่อเอกชนต้องการทำอะไรใหม่ๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของใบอนุญาตเสียก่อน ซึ่งก็ให้อนุญาตได้ไม่เกินสิ่งที่ใบอนุญาตให้ไว้อีกท ี การประมูลครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่เอกชนได้รับใบอนุ ญาตโดยตรง ทำให้ส่วนแบ่งรายได้จากเดิมที่ต้องนำส่งรัฐวิสาหกิจจ ำนวนมาก ลดลงเป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและเงินเข้ากองทุน USO ที่จะนำไปใช้เพื่อพัฒนาความเท่าเทียมทางการสื่อสารแล ะการศึกษา ให้แก่ผู้ด้อยโอกาสและพื้นที่ธุรกันดารห่างไกล ยากต่อการเข้าถึง ก็สามารถนำการสื่อสารเข้าไปใช้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบท โครงการแพทย์ทางไกล การจัดทำโทรศัพท์ขั้นพื้นฐานให้กับชุมชนต่างๆ
สุดท้าย กสทช. ยังทำวิดีโออธิบายการประมูลสั้นๆ ให้ดูเป็นการสรุปบทความนี้กันครับ



อ่านต่อ...