บทสัมภาษณ์นี้ถือเป็นหนึ่งในซีรีส์การสัมภาษณ์ผู้บริ หารบริษัทไอทีในประเทศไทย คราวนี้เป็นบริษัทเครือข่ายอย่าง Cisco ที่กำลังเริ่มผันตัวเองไปทำธุรกิจด้านอื่นๆ เช่น ศูนย์ข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ กลุ่มเมฆ และวิดีโอ คนที่พูดเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือไม่มีใครอื่นนอกจาก ดร.ธัชพล โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของ Cisco
ดร.ธัชพล มีประสบการณ์ด้านไอทีองค์กรมานาน เคยทำงานมาแล้วทั้งกับ EMC, Microsoft, Sun และ DEC นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษให้มหาวิทยาลัยหลายแห่ง ด้วย
ดร.ธัชพล โปษยานนท์
ธุรกิจหลักของ Cisco คืออุปกรณ์เครือข่าย แต่ตอนนี้ Cisco ก็เผชิญกับการแข่งขันจากทั้งข้างบน (เช่น Juniper) และข้างล่าง (เช่น Huawei) บริษัทจะรับมือสถานการณ์นี้อย่างไร?

Cisco เน้นการสร้างนวัตกรรมและมูลค่าเพิ่ม (value added) ให้กับลูกค้า มากกว่าการแข่งขันด้วยราคา จะเห็นว่าระยะหลัง Cisco สร้างนวัตกรรมและเข้าไปยังตลาดใหม่ๆ มากขึ้น เช่น ตลาดเซิร์ฟเวอร์ หรือตลาดการทำงานร่วมกันในองค์กร (collaboration)
จุดเด่นของ Cisco คือมีโซลูชันครบวงจร (end-to-end solution) มีสินค้าครบถ้วนกว่าคู่แข่ง ระบบเครือข่ายไม่ได้มีแค่อุปกรณ์เครือข่ายโดยตรง แต่ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ อย่างความปลอดภัย หรือคุณภาพการให้บริการ (QoS) ด้วย
ขอยกตัวอย่างว่า คู่แข่งจะเข้ามาแข่งด้านความปลอดภัยเครือข่ายกับเราก ็ยากหน่อย ปัจจุบันแนวคิดด้านความปลอดภัยเปลี่ยนไปมาก จากเดิมที่คิดเฉพาะความปลอดภัยด้านกายภาพ อุปกรณ์แต่ละระบบมีไฟร์วอลล์แยกขาดจากกัน แต่สมัยนี้ความปลอดภัยกลับไปอยู่ที่ end point หรือปลายทางของผู้ใช้แทน ซึ่งผลิตภัณฑ์ของเราเน้นที่แพลตฟอร์มโดยรวมมากกว่าจุ ดใดจุดหนึ่ง
สำหรับตลาดล่าง เราคงเน้นไปที่ภาพลักษณ์ในระยะยาวมากกว่าราคาถูก เพราะราคาถูกเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ตอบสนองความยั่งย ืนของระบบไอทีองค์กร เช่น มีปัญหาเรื่องคุณภาพ หรือทำให้ระบบล่ม สร้างผลกระทบต่อสูง (ค่าใช้จ่ายรวม (TCO) ที่ต้องใช้ไปกับการกู้ระบบเยอะกว่าค่าอุปกรณ์ด้วยซ้ำ เราต้องทำให้ลูกค้ามองเห็นคุณค่าที่แตกต่างจริงๆ ไม่อย่างนั้นจะไปจบที่การแข่งขันราคา
ปัจจุบันมีแนวคิดที่เรียกว่า Software-defined Network (SDN) หรือการบริหารจัดการเครือข่ายที่ระดับของซอฟต์แวร์แท นที่จะเป็นฮาร์ดแวร์แบบเดิม (ตัวอย่าง OpenFlow) ตรงนี้ถือว่า SDN เข้ามากินตลาดของ Cisco หรือเปล่า?

Cisco ก็สนับสนุนแนวคิด SDN แต่ตลาด SDN ตอนนี้ยังอยู่ในระดับเริ่มต้นอยู่มาก การทำตลาดจริงๆ ต้องมีอะไรซับซ้อนกว่านั้นอีกเยอะ
ส่วน OpenFlow เราก็สนับสนุนเต็มที่ มีชื่อของเราอยู่ในสมาชิก OpenFlow และไม่มีเหตุอะไรที่จะต้องต่อต้าน
ช่วงหลัง Cisco ออกมาผลักดันโครงการ ONE (Open Network Environment) ที่เปิด API ให้คนข้างนอกหรือระบบจากบริษัทอื่น ไม่ทราบว่ามียุทธศาสตร์อย่างไร

เราเลือกเปิด API หรือสร้างมาตรฐานต่างๆ ให้กับวงการเครือข่าย เพราะจุดยืนของเราไม่เห็นด้วยกับแนวทางซอฟต์แวร์แบบป ิด (proprietary) แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางฟีเจอร์ยังเปิดเผยไม่ได้ เพราะต้องเก็บไว้เป็นจุดขายของ Cisco จริงๆ
ที่ผ่านมาเราพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กร consortium ต่างๆ เช่น IPv6 หรือ HotSpot 2.0
พูดถึง IPv6 แล้ว คิดว่าความตื่นตัวเรื่องนี้ในประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้ าง?

เมืองไทยยังตื่นตัวกันเฉพาะผู้ให้บริการเครือข่ายขนา ดใหญ่ๆ อย่าง ISP เท่านั้น ในขณะที่กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่เครือข่ายโดยตรง เช่น การเงินหรือคอนเทนต์ ยังคงดูทิศทางตลาด (wait & see) มากกว่า ที่ผ่านมาเราเข้าไปช่วยให้คำแนะนำ ช่วยเทรนพนักงาน ช่วยประเมินความเสี่ยงให้กับพาร์ทเนอร์ ทั้งหมดฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แต่โดยรวมองค์กรไทยก็ยังสนใจกันน้อย

ภาพประกอบจาก Cisco Flickr
เข้ามายังประเด็นเรื่องเซิร์ฟเวอร์ หลายปีมานี้ Cisco หันมาทำเซิร์ฟเวอร์เองในชื่อ UCS (Unified Computing System) อยากให้อธิบายที่มาที่ไปของยุทธศาสตร์นี้สักหน่อย

ถ้าดูเซิร์ฟเวอร์สาย x86 เราไม่เห็นนวัตกรรมในวงการนี้มานานแล้ว เพราะพัฒนาการของมันไปอยู่ที่ระดับชิปแทบทั้งหมด สิ่งที่ดีขึ้นคือการเพิ่มสมรรถภาพของการประมวลผล แต่ในแง่นวัตกรรมแล้วไม่มีอะไรใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนว ิธีการใช้งานเซิร์ฟเวอร์เลย
Cisco เข้ามายังตลาดนี้ จากมุมมองของคนที่เข้าใจเครือข่าย เราเห็นแนวโน้มของตลาดว่ามุ่งไปที่งาน 3 ด้านคือ virtual, mobile, social และตลาดต้องการ server ที่ตอบโจทย์เหล่านี้ เรายังมองไปที่ระดับของศูนย์ข้อมูลว่าทุกอย่างควรประ สานเข้าเป็นผืนเดียวกันหมด ทุกอย่างต้องเชื่อมกับเครือข่าย เป็น network-enabled
แนวคิด UCS จึงรื้อความเชื่อเดิมๆ ของเซิร์ฟเวอร์ในอดีต เราเชื่อว่าเซิร์ฟเวอร์ควรเฉือนทรัพยากรให้เหมาะกับง านได้ตลอดเวลา ควบคุมการโยกย้ายทรัพยากรไปทำงานได้อย่างชาญฉลาด และตอบโจทย์ 3 ข้อข้างต้น ที่ผ่านมาเซิร์ฟเวอร์ในอดีตไม่ได้ออกแบบมาสำหรับ virtualization โดยตรง พอเอามาใช้จริงๆ มันเป็นการปะผุเสียเยอะ แต่ UCS ออกแบบมาเพื่อการนี้แต่แรก ลูกค้านำไปใช้ก็แนะนำกันปากต่อปากว่าเราเข้าใจ virtualization โดยเฉพาะงานที่ต้องการหน่วยความจำมากๆ เช่น วิดีโอสตรีมมิ่ง หรืองานพวก virtual desktop (VDI) ก็มีธนาคารไทยนำไปใช้หลายแห่ง
แอพพลิเคชันที่รันบน UCS ก็ใช้ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นแอพทั่วๆ ไปอย่าง Exchange/SharePoint, แอพตระกูล ERP ของ SAP/Oracle รวมไปถึงแอพเฉพาะทางพวกที่ต้องใช้เครือข่ายหรือหน่วย ความจำเยอะ อย่างสตรีมมิ่งที่บอกไปแล้ว
UCS เพิ่งขายในตลาดโลกไม่นาน แต่โตเร็วมาก จากเราเป็นคนโนเนมในวงการนี้ ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับสามของโลกแล้ว ตามหลัง IBM แค่นิดเดียว ถ้าเป็นตลาดในประเทศไทยผมว่าติดอันดับหนึ่งในสาม
ลูกค้าได้ใช้แล้วแนะนำกันปากต่อปาก ว่า Cisco เข้าใจ virtualization ที่เป็น memory hungry เช่น vdo streaming หรือ virtualization ในธนาคาร (เช่น กรุงไทย, TMB ทำ virtual desktop)

วิดีโอแนะนำแนวคิดของ Cisco UCS
ช่วงหลัง Cisco เองก็ไล่ซื้อบริษัทจำนวนมาก อะไรคือยุทธศาสตร์ของการเลือกว่าจะซื้อบริษัทไหน

ยุทธศาสตร์ของเราคือ "network is a platform" เรามองว่าตลาดในอนาคตเป็น quad play ของเทคโนโลยี 4 ตัว ได้แก่

  • voice
  • data
  • video
  • mobility

ส่วนของ voice เราเจาะตลาดนี้มา 8-9 ปีแล้ว แรกๆ คนสงสัยเยอะว่าทำไมบริษัทฮาร์ดแวร์อย่าง Cisco มาจับตลาด voice แต่ตอนนี้พิสูจน์แล้วว่าสินค้าของเราเป็นมาตรฐานที่ไ ด้รับการยอมรับจากตลาด voice เรียบร้อย
อันดับต่อไปคือ video โดยเราจะเน้นที่ video over IP เช่น การซื้อบริษัท Tandberg ที่ทำ video collaboration แข่งกับไมโครซอฟท์มาก่อน ต่อไปเราจะเป็นระบบสื่อสารครบวงจร (unified communication) แถมได้บนอุปกรณ์พกพาบนแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนด้วย
โซลูชันพวกนี้นำไปใช้ต่อได้เยอะครับ ทุกวันนี้เราขายระบบสำหรับคอลล์เซ็นเตอร์ที่ฉลาดกว่า เดิม ลูกค้าสามารถแชทมาคุยกับฝ่ายสนับสนุนก่อนได้ หรือจะส่งเข้ามาเป็น video call ก็ได้ ถ้าพนักงานของเราตอบไม่ได้ก็มีระบบการยกระดับปัญหาไป ให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาพูดคุยได้


วิดีโอโฆษณา Cisco Tandberg
ถ้าเป็นเรื่องของ collaboration คิดว่า WebEx ค่อนข้างดัง

จำนวนลูกค้านับเป็นไลเซนส์ ในไทยเป็นล้านไลเซนส์ มีหมดทั้งองค์กรเล็กและใหญ่ ภาครัฐ เอสเอ็มอี
ไลเซนส์เล็กสุดที่เรามีคือทดลองใช้ฟรี 15 วัน ผลิตภัณฑ์ของเราดีกว่า Skype ตรงเป็น 1-to-many สื่อสารเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้
ถ้าใหญ่หน่อย ตลาดที่เป็นองค์กรภาครัฐจะมี site license เช่น ธนาคารกรุงเทพ ตอนนี้ระบบทั้งหมดยังต้องวิ่งผ่านเซิร์ฟเวอร์ของเราอ ยู่ แต่จะมีไลเซนส์แบบ on premise (ติดตั้งใช้เองในองค์กร) เร็วๆ นี้ สำหรับภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยบางแห่งที่เปิดสอนไม่ได้เนื่องจากปัญหาต่ างๆ ก็ใช้ WebEx สอนแทน ตัวอย่างเช่น ศศินทร์ AIT และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นต้น
ทุกวันนี้ไม่พูดถึงคลาวด์ก็คงไม่ได้ Cisco มองเรื่องนี้อย่างไร

ตอนนี้ยังอยู่ช่วงให้การศึกษาแก่ตลาด ทุกคนเริ่มรับรู้รับทราบว่ามันคืออะไร แต่ต้องส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้กันจริงจังมากข ึ้น องค์กรใหญ่ๆ บางแห่งลองระบบนำร่องกันบ้างแล้ว ส่วนผู้ให้บริการในไทยกำลังลองนำเทคโนโลยีของเราไปทำ cloud อยู่ มีทั้งระดับของ IaaS และ SaaS ถ้าภาครัฐก็ตื่นตัวจากการกระตุ้นตลาดของ สรอ. (สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์)
โอกาสที่ประเทศไทยจะเป็นผู้นำด้านคลาวด์ยังริบหรี่อย ู่ แต่ในแง่การใช้งานก็ควรให้เกิดประโยชน์มากขึ้น บริการคลาวด์ส่วนมากยังมาจากต่างประเทศ เช่น Salesforces.com ประเทศไทยต้องกล้าลงทุนกันอย่างจริงจังเพื่อไปสู้กับ เขา โดยควรเจาะตลาดที่เป็นจุดเด่นของประเทศไทยอยู่แล้ว เช่น คลาวด์สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สำหรับอุตสาหกรรมโรงพยาบาล มันมีอะไรเล่นได้เยอะ เช่น ฐานข้อมูลสุขภาพที่แชร์กันในกลุ่มประเทศ AEC
ที่กล่าวไปหมายถึง public cloud ใช่ไหมครับ ถ้าเป็น private cloud สถานการณ์เป็นอย่างไรบ้าง?

องค์กรใหญ่ๆ ลองระบบนำร่องกันเยอะ สายธนาคารทำกันเกือบหมดแล้ว บริษัทใหญ่ๆ อย่าง SCG/PTT/กลุ่มไทยเบฟ/ซีเกท ทำ private cloud กันหมดแล้ว โดยเป้าหมายคือเป็นโครงสร้างสำหรับแอพภายในองค์กร และนำเข้ามาแก้ปัญหาเรื่องทรัพยากรไอทีไม่พอใช้งาน
ในระยะยาวองค์กรสามารถนำ public cloud มาทำ hybrid cloud ได้ด้วย เช่น การสำรองระบบสำหรับภัยพิบัติ ผมไม่คิดว่าทุกองค์กรควรลงทุนทำ DR site กันเองทั้งหมด ซึ่งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ถือเป็นการลงทุนซ้ำซ้อน เพราะการเกิดภัยพิบัติส่วนใหญ่เกิดไม่พร้อมกัน ล่มเฉพาะบางอย่าง เช่น วันนี้เมลล่ม พรุ่งนี้ฐานข้อมูลล่ม ไม่จำเป็นต้องสำรองทั้งหมด 100% ด้วยตัวเอง ถ้าทำระบบที่เป็น disaster recovery as a service จะช่วยลดต้นทุนตรงนี้ได้
แนวทางการสร้างคน Cisco มีโครงการสนับสนุนภาคการศึกษาอย่างไร?

เราเน้นทรัพยากรมนุษย์ เรามีโครงการด้านการศึกษาที่เดิมเรียก Net Academy มีมหาวิทยาลัยกับโรงเรียนเข้าร่วมในหลักสูตร 60 แห่ง ผลิตคนในสายนี้ได้เป็นหลักพันต่อปี แต่เอาเข้าจริงแล้วตลาดยังขาดคนในหลักหมื่น คนที่ว่านี้คือคนที่เข้าใจเครือข่าย เข้าใจว่ามันกำลังหลอมรวมกับ data/voice/video แบบที่กล่าวไปแล้ว
โครงการนี้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Social Innovation เพราะต้องการขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น ไม่เน้นเฉพาะการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวเองอย่างเดียว แต่เน้นการศึกษาเพื่อเข้าไปช่วยเหลือสังคมและประเทศไ ด้ด้วย เช่น ตอนน้ำท่วม นักศึกษาของโครงการก็เข้าไปช่วยเรื่องการวางเครือข่า ยในยามเกิดภัยพิบัติ ช่วยโรงพยาบาลรามาธิบดีทำระบบไอทีช่วยกระจายหมอ-คนไข้ไปยังศูนย์อพยพแต่ละแห่ง หรือที่ จ.สตูล มีโรงเรียนบนเกาะที่มีปัญหาครูไปสอนไม่ได้ถ้าพายุเข้ า เราก็นำเทคโนโลยีไปช่วยทำการสอนทางไกล หรือที่สมุทรสาคร โรงเรียนมีนักเรียนน้อยจะถูกยุบ เด็กต้องเดินทางมาเรียนไกล เราก็ทำระบบการสอนทางไกลให้นักเรียนเข้าชั้นเรียนใกล ้บ้าน แล้วสลับครูสอนผ่านวิดีโอจากทางไกล
Cisco ยังมีโครงการฝึกงานที่เรียก Industry Attachment Program ให้นักศึกษาปี 3-4 มาฝึกงานแบบสหกิจศึกษา ลองกับงานจริงในบริษัทจริง โดย Cisco จะเป็นตัวกลางคอยเชื่อมกับพาร์ทเนอร์ระดับใหญ่ๆ ให้ ตอนนี้รับได้ปีละประมาณ 80 คน ปีหน้าก็จะพยายามเพิ่มจำนวนขึ้น เข้าไปสมัครได้ที่ cisco.com/thailand
ถามในฐานะตัวแทนนักศึกษาด้านไอทีที่อ่าน Blognone คิดว่าทักษะอะไรบ้างที่ควรมี ถ้าต้องการทำงานในสายทางนี้

นักศึกษาสามารถเข้าชั้นเรียนออนไลน์ของ Cisco เพื่อเรียนรู้ได้เลย ส่วนจะสอบ certification หรือไม่ก็ตามสะดวก แต่ผมสนับสนุนให้สอบ เพราะอีกเดี๋ยวเรามี AEC เข้ามา เรื่องมาตรฐานการรับรองทักษะเป็นเรื่องสำคัญ เราควรมี certification เพื่อแสดงความสามารถให้กับตลาดภายนอกประเทศเห็น
สำหรับทักษะเทคโนโลยีที่ต้องการคือด้าน network admin และ network operation โดยทักษะที่ง่ายสุดคือ monitoring/troubleshoot/config สามอย่างนี้ขาดมากๆ และต่อไปเทคโนโลยีพวกนี้มันจะซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ต่อไปท่อ 1 ท่อจะต้องรองรับมีเดียทุกชนิด (voice/video/data) ต้องมีระบบความปลอดภัย ต้องทำ virtualization แถมยังมีเครือข่ายไร้สายเข้ามาเพิ่มนอกเหนือจากเครือ ข่ายแบบมีสายเดิม คำถามคือจะจัดการอย่างไร ถ้าตอบได้ก็รับรองอนาคตสดใสในสายงานนี้


อ่านต่อ...