News Image Thumbnail:



เมื่อวานนี้ (27 พฤศจิกายน) ผมได้มีโอกาสไปร่วมอบรมการพัฒนาโปรแกรมโดย HTML 5 บน BlackBerry 10 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน BlackBerry Jam Asia 2012 ในงานมีการให้นักพัฒนาที่ไปอบรมได้ "ยืมเครื่อง" ตัวต้นแบบ (prototype) ที่เรียกว่า BlackBerry Dev Alpha B สำหรับทำการทดลองโปรแกรมที่สอนเขียนกันในวันนั้นทั้ง วัน โดยต้องคืนหลังเสร็จงาน (ไม่มียืมแบบหิ้วกลับบ้าน)
ผมจึงถือโอกาส "รีวิว" เครื่อง BlackBerry Dev Alpha B ไปในตัวครั้งเดียว พร้อมๆ กับการรีวิว BlackBerry 10 Beta เพื่อที่จะได้เห็นถึงแนวทางของ BlackBerry ที่กำลังดำเนินไปอยู่ โดยจะปูพื้นหลังคร่าวๆ จากนั้นจึงไปส่วนตัวเครื่อง ซอฟต์แวร์ และจบที่ความเห็นสรุปปิดท้าย
ประวัติและความเป็นมาโดยคร่าว

หากยังจำกันได้ Research In Motion (RIM) บริษัทที่เป็นเจ้าของ BlackBerry เข้าซื้อกิจการของบริษัทที่มีชื่อว่า QNX เมื่อปี 2010 (อ้างอิง) เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีมาต่อยอดกับผลิตภัณฑ์ตัวเอง โดย QNX มีระบบปฏิบัติการที่เป็น Unix-like อยู่ตัวหนึ่ง (ใช้ชื่อเดียวกับบริษัท) ที่เป็น RTOS (Real Time Operating System กล่าวสั้นๆ คือระบบปฏิบัติการที่เอาเวลาเป็นสำคัญ โดยชุดคำสั่งต้องประมวลผลให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด อ่านเพิ่มเติมได้จากบทความใน Wikipedia)
ผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ออกมาบนพื้นฐานนี้ก็คือ Playbook OS ที่ใช้กับ BlackBerry Playbook และแน่นอนว่ามีความแตกต่างอย่างมากเมื่อเทียบกับระบบ ปฏิบัติการอื่นๆ ของ RIM ในเวลานั้น เช่น BlackBerry OS 5 6 หรือ 7 เป็นต้น (ในบทความจะเรียกว่า BBOS) ความแตกต่างนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมต้องแยกกันเขียนโ ปรแกรมออกเป็นสองชุด คือ เพื่อ Playbook และ BBOS
ต่อมา เมื่อตัดสินใจว่าต้องพัฒนา BlackBerry OS ตัวใหม่ที่จะเป็นอนาคตของบริษัท RIM จึงตัดสินใจทำระบบปฏิบัติการ BBX บนพื้นฐานของ QNX แบบเดียวกับที่ Playbook OS เป็น แต่หลังจากที่โดนบริษัทหนึ่งฟ้องในประเด็นเรื่องของช ื่อ RIM จึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเป็น BlackBerry 10 ในที่สุด ซึ่งที่ผ่านมา RIM เอาจริงเอาจังกับ BlackBerry 10 (บทความนี้จะใช้ว่า BB10) มาก แต่ประเด็นที่สำคัญก็คือ เมื่ออยู่บนฐานของ QNX แล้ว BB10 กับ BBOS จึงทำให้นักพัฒนาต้องแยกกันพัฒนาสำหรับทั้งสองสาย และมากกว่านั้นก็คือสถานการณ์ของ RIM ที่เริ่มตกต่ำในตลาดโลกจากการที่ iOS (Apple), Android (Google), Windows Phone (Microsoft) สามารถเอาชนะ BlackBerry ในเชิงของความนิยมได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องของจำนวนโปรแกรม (แอพ) ที่มีของแต่ละค่าย ทำให้ BlackBerry ดูเหมือนว่าโดนทอดทิ้งอยู่เบื้องหลังและเตรียมรอวันป ิดกิจการ และคนที่ยังใช้อยู่เองถูกมองว่าเป็น "แกะดำ" ด้วย
RIM ตระหนักในปัญหาข้อนี้ดี ที่สำคัญก็คือรู้ว่าไม่สามารถรอจนกระทั่ง BB10 เสร็จก่อนจึงค่อยให้นักพัฒนาออกแอพบนแพลตฟอร์มของตนเ องได้ RIM จึงตัดสินใจ แจกเครื่อง Dev Alpha A เพื่อให้นักพัฒนาบางส่วนเริ่มเขียนโปรแกรมสนับสนุน BB10 กันล่วงหน้า โดย Dev Alpha A แจกจ่ายไปเมื่อช่วงพฤษภาคมของปีนี้ โดยรุ่นนี้ซอฟต์แวร์ภายในคล้ายคลึงกับ Playbook OS อย่างมาก จนมีคนบอกว่าเหมือนกับเป็น "Mini Playbook" (CNET) มากกว่า จากนั้น RIM จึงพัฒนาเครื่อง Dev Alpha B และแจกจ่ายให้กับนักพัฒนาอีกชุดประมาณเดือนกันยายนที ่ผ่านมา ซึ่งสำหรับ Dev Alpha B นี้ถือได้ว่าซอฟต์แวร์ภายในสะท้อนถึง BB10 อย่างแท้จริง เพราะหน้าตาและวิธีการใช้งาน แม้ว่าจะคล้ายคลึงกับ Playbook บางส่วน แต่หลายส่วนก็แตกต่างออกไปอย่างชัดเจน และทำให้หลายคนมองว่า Dev Alpha B จะเป็นเครื่องที่ใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุด เมื่อ BB10 และมือถือใหม่ทั้งหมดจะถูกเปิดตัวในปีหน้า
ทั้งหมดคือประวัติและความเป็นมาโดยคร่าวของ Dev Alpha B (จากนี้จะเรียกว่า DA-B) BB10 และ QNX ซึ่งมีส่วนต่อความเข้าใจในเชิงประวัติและที่มา
ตัวเครื่อง

สำหรับเรื่องของคุณลักษณะของเครื่อง (specification) ผมขออนุญาตข้ามนะครับ เพราะเชื่อว่าหาอ่านได้กันเองอยู่แล้ว แต่สิ่งแรกที่สังเกตเห็นได้ก็คือ เครื่อง DA-B นั้นเป็นแท่งสีเหลี่ยมผืนผ้า (เป็นสี่เหลี่ยมจริงๆ แทบไม่เห็นความโค้งหรือมนใดๆ) สีดำอันหนึ่ง ตัวเครื่องทำจากพลาสติกที่หลายคนอาจจะไม่ชอบเพราะดูแ ล้วมันเปราะบาง แต่ในเวลาเดียวกัน เครื่องก็ให้น้ำหนักที่เบาอย่างเหลือเชื่อ หน้าจอมีขนาดที่ใหญ่และสีสดใสมากๆ ให้ภาพที่คมชัดมาก ทำให้นึกถึง Playbook ไปโดยปริยาย โดยส่วนตัวผมชอบเครื่องขนาดนี้มาก ไม่ใหญ่ไปแบบ Samsung Galaxy Note และไม่เล็กเกินไปแบบ iPhone 3GS/4/4S


สำหรับด้านข้างของตัวเครื่องไม่มีอะไรมากครับ ด้านซ้ายมือของเครื่องมีเฉพาะช่องให้ต่อ Micro-HDMI และ Micro USB เท่านั้น

ขวามือจะเป็นปุ่มปรับเสียงขึ้น-ลง และปุ่มสั่งเล่นเพลง แบบเดียวกับ Playbook

ด้านบนมีไมโครโฟน (เข้าใจว่าสำหรับ hands-free) ปุ่มเปิด-ปิด หน้าจอ (สั่ง sleep/shut down/wake) แล้วก็ช่องเสียบหูฟัง

ด้านล่าง มีลำโพงเท่านั้น (เท่านั้นจริงๆ ครับ เท่าที่ตาเห็น)

ส่วนด้านหลัง นอกจากกล้องและแฟลชเวลาถ่ายภาพ ก็มีเฉพาะโลโก้ BlackBerry คำเตือนนิดหน่อยว่าเป็นทรัพย์สินของใคร ไม่ได้ทำเพื่อขาย ฯลฯ ในกรณีผมต้องเพิ่ม Barcode เครื่องสำหรับยืมด้วยครับ

เมื่อแกะเครื่องออกมา ส่วนที่เป็นตัวเครื่องจะเห็นแบตที่ใหญ่มาก ช่องใส่ microSIM ช่องใส่ MicroSD และสำคัญที่สุดก็คือ แผงรับการเชื่อมต่อวงจร NFC จากฝาหลังครับ

แผงรับ NFC ที่ฝาหลังครับ

ถ่ายรูปกับญาติผู้พี่ BlackBerry Playbook

เปิดเครื่องครั้งแรก

เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาครั้งแรก จะพบหน้าจอการตั้งค่าเครื่องที่แทบจะเหมือน Playbook ทุกประการ โดยเริ่มต้นจากการให้เลือกภาษาก่อน และแน่นอนว่ามีภาษาไทยให้เลือกด้วย (สำหรับท่านที่คิดว่าภาษาไทยอาจจะไม่สนับสนุน คงต้องเปลี่ยนความคิด)

มีให้เลือกภาษาไทยครับ

จากนั้นก็ให้เราใส่ซิม ซึ่งในกรณีนี้ผมไม่มี MicroSIM จึงไม่ได้ทดลองครับ เลยทำให้ DV-B ต้องเชื่อมเข้ากับ Wi-Fi แทน

หลังจากทำการต่อ Wi-Fi แล้วก็อ่านข้อตกลงในการใช้งาน แล้วตามด้วยการลงทะเบียน BlackBerry ID เปิดบริการ Location Service แล้วก็ตรวจสอบอัพเดท


โดยภาพรวมถือว่าประสบการณ์ในการเปิดใช้งานครั้งแรกอย ู่ในขั้น "น่าประทับใจ"
การใช้งาน BB10

สำหรับการใช้งาน BB10 โดยภาพรวมไม่ได้มีความแตกต่างจาก Playbook มาก แต่สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือแนวคิดเรื่องของ "Flow" ที่พยายามจะทำให้ส่วนการติดต่อผู้ใช้นั้นราบลื่นมากท ี่สุดและไม่โดนขัดจังหวะจากเดิม ลองดูวีดีโอตัวอย่างได้จากด้านล่างครับ

แนวคิดดังกล่าวถือเป็นของใหม่ใน BB10 ซึ่งถูกตอกย้ำผ่านสื่อโฆษณาเสมอ ตัวอย่างที่อาจจะเรียกเสียงฮือฮาได้มากที่สุดคือคียบ อร์ดที่สามารถ "โยนคำ" ได้ เป็นต้น
หน้าจอหลักของ BB10 จะสังเกตได้ว่าในตอนนี้ยังไม่มีอะไรให้ใช้งานมาก นอกจากเรื่องพื้นฐานทั่วไป

แถบคำสั่งเปิดและปิด ลากจากด้านบนของจอ (อันนี้จะคล้ายๆ กับ Android สมัย Gingerbread)

เวลาเปิดโปรแกรมแล้วต้องการเปลี่ยนโปรแกรม ให้ใช้วิธีสไลด์จากด้านล่างขึ้นไป จากนั้นหน้าจอจะย่อขนาดลงไปเอง ในจุดนี้เราสามารถกดปิดโปรแกรม หรือกลับไปหน้าหลักเพื่อเปิดโปรแกรม (แอพ) ใหม่ตามที่เราต้องการได้

ลูกเล่นอันหนึ่งที่ผมมองว่าอาจจะเป็นของเล่นเล็กๆ ก็คือหน้าจอตอนเครื่องล๊อค (lock screen) ที่เวลาจะปลดล๊อค ตัวหน้าจอจะหายไปตามนิ้วเราที่ลากขึ้นไปจากด้านล่างจ อไปยังขอบจอ ให้ความรู้สึกเหมือนกับเอานิ้วไปลากผิวน้ำเล่นๆ แบบในตอนสมัยเด็กๆ

ที่น่าสนใจคือแต่เดิม บรรดาข้อความหรืออีเมล์ทั้งหลาย มักจะไปอยู่แยกกันเป็นเอกเทศ แต่มาถึง BB10 จะรวมกันอยู่ใน BlackBerry Hub (ในตอนนี้เมื่อเปิดหน้าจอไป ยังเขียนว่า Coming Soon ครับ)

สำหรับคุณสมบัติอย่าง "คีย์บอร์ดโยนคำ" ถือว่าทำได้น่าประทับใจอยู่มากทีเดียว แค่ปัดขึ้นเบาๆ ก็สามารถทำงานได้แล้วครับ

ส่วน BlackBerry App World ก็มีโปรแกรมให้เริ่มโหลดใช้งานไปเล่นได้บ้างแล้วครับ ถือเป็นการประกาศความพร้อมกลายๆ ว่า BB10 น่าจะพร้อมเปิดตัวแล้ว



เท่าที่ได้ใช้งาน ผมพบว่าตัว BB10 นั้นให้การตอบสนองที่ดีมากๆ ไม่มีอาการหน่วงให้เห็นแม้ว่าจะเปิดโปรแกรมไปจำนวนหน ึ่งแล้วก็ตาม นี่เป็นเรื่องที่น่าประทับใจมากกว่าระบบปฏิบัติการบน มือถือค่ายอื่นที่ผมเคยใช้มากๆ (ตัวเดียวที่ยังไม่มีโอกาสจนทุกวันนี้คือ Windows Phone) ตลอดจนถึงความง่ายในการเข้าถึงหน้าข้อมูลสำคัญต่างๆ เช่น หน้า Settings ที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิมมาก (การเข้าถึงหน้า Settings ใน BlackBerry รุ่นเก่าๆ อย่าง Curve 8520 เป็นอะไรที่ปวดหัวมาก)

เช่นเคย ยังคงสามารถสั่งให้โอนย้ายไฟล์ต่างๆ จากในเครื่องผ่าน Wi-Fi ได้ แบบเดียวกับ Playbook ทุกประการ

อันนี้ตั้งค่าการเชื่อมต่อต่างๆ ครับ (เยอะเอาเรื่องอยู่)

Android Player บน BB10

ไม้ตายอย่างหนึ่งของ RIM บน BB10 และ Playbook OS คือการสนับสนุนโปรแกรมที่เขียนขึ้นบน Android (สนับสนุนถึง 2.3 Gingerbread) และพยายามเชิญชวนให้คนที่เขียนโปรแกรมบน Android แปลงลงมาเพื่อใช้กับ BB10/Playbook OS ซึ่งขั้นตอนในส่วนนั้นผมคงไม่ไปกล่าวถึง แต่ผมได้ลองโปรแกรมบางตัวที่มีผู้ที่เคยแปลงมาแล้ว ลองมาลงเพื่อดูหน้าตาว่าโปรแกรมบน Android บน BB10 จะมีประสิทธิภาพอย่างไรบ้าง ซึ่งถ้าไม่นับตอนที่เรียกใช้ Android Player (เทียบแล้วคือเปิดเครื่อง Android) แล้ว ต้องยอมรับว่าการตอบสนองนั้นดีมาก และที่สำคัญคือแถบคำสั่งปกติของ Android ที่จะเป็นแถบถาวรบนเครื่องนั้น ก็ได้แปลงสภาพกลายเป็น action bar เช่นกัน ตัวอย่างเช่นแอพ YouTube ในภาพที่ผมลองทดลองลงในเครื่องเพื่อทดสอบ (ในที่นี้ขอไม่อนุญาตบอกวิธีการนะครับ) ดังนั้นคนที่กำลังพัฒนาโปรแกรมเพื่อ Android สามารถที่จะทำมาเพื่อลงบน BB10/Playbook OS ได้เช่นกันครับ

ภาพถ่ายที่ได้จาก DA-B

สิ่งหนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือเรื่องของกล้องใน DA-B ที่ค่อนข้างทำงานแปลกๆ กล่าวคือ ในสภาวะที่แสงน้อยและเปิดแฟลชอัตโนมัติ ภาพที่ปรากฎแทบจะดูไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าแสงเหมาะสมและไม่เปิดแฟลช ภาพที่ออกมาอยู่ในระดับที่พอรับได้ บางอันแสงน้อยแต่ไม่เปิดแฟลชแต่ภาพออกมาดูดี ถ้าไม่ใช่ว่านี่เป็นเครื่องต้นแบบ ผมอาจจะบอกว่านี่เป็นกล้องมือถือที่แย่รองลงมาจาก Galaxy Mini และ BlackBerry 8520 ของผมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และหวังว่า RIM คงแก้ไขปัญหาเรื่องของกล้องจาก DA-B ก่อนที่จะปล่อยตัวจริงออกมาในเร็ววันนี้




ภาษาไทยบน BB10

เมื่อครั้งที่ผมรีวิว BlackBerry Playbook เอาไว้ ปัญหาหนึ่งที่พบได้ก็คือการที่ตัว Playbook OS นั้นยังไม่สนับสนุนภาษาไทย ซึ่งเรื่องนี้ทาง RIM ก็ระบุอย่างชัดเจนแล้วว่า BB10 จะสนับสนุนภาษาไทยอย่างแน่นอน ซึ่งทำให้คนใช้ Playbook (เช่นผม) มีความหวังว่าเมื่อได้รับการอัพเกรดแล้ว จะกลับมาใช้งานภาษาไทยเต็มรูปแบบได้เสียที ซึ่งบน DA-B ก็แสดงให้เห็นว่า BB10 สนับสนุนภาษาไทยมาแต่แรก และรับรู้ถึงการตั้งค่าต่างๆ ด้วยเช่นกัน น่าเสียดายตรงที่ว่าผมยังไม่ได้ลองคีย์บอร์ดแบบโยนคำ ในภาษาไทยว่าใช้งานเป็นอย่างไรบ้าง


ข้อสรุปและความเห็น

แน่นอนว่ายังเป็นการด่วนสรุปจนเกินไป สำหรับโทรศัพท์ BlackBerry ของ RIM ในรุ่นหน้าว่าจะแย่หรือดี โดยการสรุปจากตัวต้นแบบที่ลองใช้วันที่อบรมทั้งวัน แต่เท่าที่เห็นก็คือการที่ RIM เอาจริงกับ BlackBerry 10 อีกทั้งยังพยายามขยายฐานของแพลตฟอร์มดังกล่าวออกไปอย ่างกว้างขวางมาก ต้องยอมรับว่างานนี้ RIM ถือว่าทำการบ้านมาดีมากครั้งหนึ่ง แต่ก็ต้องติดตามว่า ช่วงที่ผ่านมา RIM เสียศูนย์ในตลาดอย่างรุนแรง และกลายเป็นว่าเหลือแต่เพียงตลาดในเอเชียและแอฟริกาท ี่ยังคงมีความนิยมในตัว BlackBerry อยู่ การกู้คืนชื่อเสียงจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
ในเชิงตัวเครื่อง (Hardware) ต้องถือว่างานนี้ RIM กลับไปทำการบ้านมาดีมากและน่าประทับใจ เพราะเพียงแค่ตัวต้นแบบสำหรับนักพัฒนายังสามารถที่จะ ทำงานได้หลากหลายมาก ส่วนตัวถ้า RIM สามารถผลิตเครื่องนี้แล้วจำหน่ายในราคาไม่สูงนัก อาจจะทำตลาดได้ดีอย่างมาก ในด้านซอฟต์แวร์ ความพยายามของ RIM นั้นต้องยอมรับว่าทำได้อย่างดีมากๆ ในครั้งนี้ ถือว่าทำการบ้าน แก้โจทย์ของบรรดาระบบปฏิบัติการบนมือถือของเจ้าต่างๆ ได้ดีมาก สำคัญก็คือการตอบสนองที่ดีเยี่ยม ลบภาพที่ต้องสั่ง Restart เครื่องเมื่อใช้ได้สักวันสองวัน ออกไปจดหมดสิ้น แต่กล้องก็ยังเป็นสิ่ง 'ฝันร้าย' อยู่ดีบนตัวต้นแบบนี้
แต่เราก็ยังไม่รู้ว่า ความพยายามของ RIM ที่เข็น BlackBerry 10 อย่างเต็มที่นั้นจะได้ผลอย่างไร มากน้อยแค่ไหน เพราะสิ่งหนึ่งที่ RIM ยังขาดก็คือ การมองว่าทุกอย่างเป็นระบบนิเวศอันหนึ่ง (ecosystem) ที่จะต้องมีบริการที่หลากหลาย แน่นอนว่า RIM อาจจะมี BB 10 แต่ในเชิงระยะยาวแล้ว RIM ไม่มีทั้งบริการเพลงออนไลน์ของตัวเอง ไม่มีบริการร้านหนังสือของตนเอง และไม่มีบริการ Cloud Storage แบบ iCloud, Skydrive หรือ Google Drive มี ซึ่งในที่สุดแล้วตรงนี้ต่างหากที่ RIM อาจจะต้องคิดหาทางตีโจทย์ให้แตก หลังจากที่แก้ไขปัญหาหนึ่งให้ตกไปแล้ว ด้วยการออก BlackBerry 10 ที่มีคุณภาพอย่างมาก ไม่เช่นนั้น RIM อาจจะแก้ไขปัญหานี้ในระยะสั้นๆ ได้เท่านั้น ก่อนที่จะต้องถูกคลื่นกระแสเทคโนโลยีพัดและทับถมไปใน ที่สุด
หมายเหตุ ภาพทั้งหมดสามารถดูได้จากที่นี่ครับ


อ่านต่อ...