หลังจากอเมซอนวางจำหน่ายเจ้า Kindle Voyage มาพักหนึ่ง เพื่อนผมคนเดิมก็ซื้อ Kindle Voyage มาเมื่อสัปดาห์ก่อน ผมก็ขออนุญาตหยิบยืมมาลองใช้เป็นเวลาหนึ่งคืน ผมก็เลยได้โอกาสจับของจริงมาทดสอบการใช้งานและพร้อมก ับแชร์ให้เพื่อนๆให้ได้รับทราบกัน
ตัว Kindle ที่เพื่อนผมสั่งมาเป็น Kindle Voyage รุ่น Wi-Fi only พร้อมโฆษณาราคา 199 เหรียญสหรัฐนะครับ ประกอบกับผมมี Kindle Paperwhite รุ่นแรกอยู่ ดังนั้นในการรีวิวการใช้งานเจ้า Kindle Voyage ผมอาจจะเปรียบเทียบกับ Kindle Paperwhite รุ่นแรกบ่อยหน่อยนะครับ เผื่อใครจะได้เห็นภาพมากขึ้น (จะได้หลวมตัวบ้าง)
หมายเหตุ: รุ่นที่ผมทดสอบคือรุ่น Wi-Fi เฟิร์มแวร์รุ่น 5.6.1 (2531760037) แบบมีโฆษณา (with special offers)

ฮาร์ดแวร์

  • หน้าจอ E Ink รุ่น Carta ขนาด 6 นิ้ว แสดงผลความละเอียด 1448 x 1072 ที่ 300 dpi แสดงภาพแบบ grey scale ได้ 16 ระดับ พร้อมแสงในตัว (front light) และระบบสัมผัสแบบ capacitive
  • มีเซนเซอร์แม่เหล็กรองรับปกที่ช่วยเปิดปิดเครื่องอัต โนมัติ (auto sleep/wake)
  • กว้าง 11.5 ซม. ยาว 16.2 ซม. และหนา 0.76 ซม.
  • หนัก 180 กรัม สำหรับรุ่น Wi-Fi อย่างเดียว และ 188 กรัม สำหรับรุ่น Wi-Fi กับ 3G
  • หน่วยความจำบนเครื่อง 4 GB เหลือให้ใช้งานได้จริงประมาณ 3GB
  • สนับสนุน Wi-Fi ทั้ง a/b/g/n และรองรับมาตรฐานความปลอดภัยทั้ง WEP WPA WPA2 และ WPS
  • ซีพียู Cortex A9 หนึ่งแกน รันที่ความเร็วสูงสุด 1GHz และแรม LPDDR2 512 MB
  • แบตเตอรี่แบบเปลี่ยนไม่ได้ 3.8V ความจุ 1320 mAh (5.01Wh)

Kindle Voyage มีด้านหน้าที่สะดุดตา เพราะมีด้านหน้าที่แบนราบเสมอกันเป็นกระจกชิ้นเดียวต ั้งแต่จอภาพไปถึงขอบเครื่องคล้ายกับสมาร์ทโฟนปัจจุบั น ไม่เหมือนคินเดิลรุ่นก่อนหน้าตัวจอกับกรอบจะแยกชิ้นก ันซึ่งจะมีรอยต่อให้ฝุ่นผงไปสะสมไว้ได้ กระจกหน้าพื้นผิวเรียบลื่นเวลาลูบ ซึ่งจะต่างจาก Paperwhite ที่จะเวลาลูบจะรู้สึกสากที่ปลายนิ้วเล็กน้อยคล้ายกระ ดาษ ส่วนแถบขาวที่เห็นเป็นจุดและเส้นสีขาวทั้งด้านซ้ายแล ะขวาจอภาพเป็นเซนเซอร์รับแรงกด PagePress เพื่อช่วยในการพลิกหน้าหนังสือ จะพูดถึงรายละเอียดฟีเจอร์นี้ในภายหลัง
จอภาพ เป็นจอสัมผัสแบบ capacitive โดยส่วนตัวรู้สึกว่าเซนเซอร์ละเอียดขึ้น เพราะจากประสบการณ์รู้สึกว่ามีปัญหาเวลาจิ้มคำศัพท์บ น Paperwhite บางครั้งไม่ค่อยตรงคำหรือไม่ค่อยตรงบรรทัด ทำให้ต้องตั้งใจเล็งเป็นพิเศษ แต่ระหว่างการทดสอบก็ไม่เคยเจอปัญหานี้บน Kindle Voyage

ส่วนฟีเจอร์หน้าจอลดแสงสะท้อนโดยการกัดพื้นผิวขนาดเล ็กไว้ (micro-etching) ที่โฆษณาว่าจะช่วยลดแสงสะท้อนลง ทำให้อ่านหนังสือง่ายขึ้น แต่ก็ในการทดสอบเบื้องต้นโดยใช้แสงไฟภายในห้อง ก็ไม่รู้สึกว่าแตกต่างและช่วยอะไรได้มากนัก สู้ขยับตัวเปลี่ยนมุมมองไม่ให้ย้อนแสง ได้ผลกว่าเยอะ

ด้านข้างเครื่องเรียบ ไม่มีปุ่มอะไรทั้งสิ้น

ด้านล่างมีเพียงไฟ LED แสดงสถานะการชาร์จและช่องต่อ micro USB เท่านั้น

ด้านหลัง Kindle Voyage เรียกว่าคล้ายกับเครื่องตระกูล Fire มาก กรอบหลังเครื่องเป็นแมกนีเซียมเพื่อให้น้ำหนักเบาแต่ ยังคงความแข็งแรง ผิวสัมผัสคล้ายยางกันลื่นไม่ทิ้งรอยนิ้วมือ ด้านบนเป็นพลาสติกมันเงาสีดำที่ดูดรอยนิ้วมือมาก ปุ่มเปิดปิดเครื่องถูกย้ายมาอยู่หลังเครื่องด้านซ้าย เวลาใช้งานจะสามารถกดได้ด้วยนิ้วชี้มือขวา ซึ่งเวลาใช้งานจริงชอบมากเพราะกดง่ายขึ้นเยอะ แทนที่ต้องไปควานหาปุ่มเปิดปิดเล็กๆ ท้ายเครื่องหรือไม่ก็พึ่งบริการปกแม่เหล็ก ที่ริมเครื่องทำลาดไว้เล็กน้อยทำให้ดูโฉบเฉี่ยวหยิบจ ับใช้งานไม่รู้สึกว่าหนา
ในแง่น้ำหนัก เครื่อง Kindle Voyage เบากว่า Paperwhite เล็กน้อย (น้ำหนักลดลงประมาณ 15% คือ 180-188 กรัม เมื่อเทียบกับ Paperwhite ที่ 213-221 กรัม) ส่วนเรื่องขนาดโดยรวมเรียกว่าสั้นลงกว่า Paperwhite เล็กน้อย โดยรวมๆแล้วแม้ว่าในแง่ขนาดและน้ำหนักถือว่าพัฒนาดีข ึ้น แต่ในสำหรับผู้ใช้งาน Kindle Paperwhite เดิมก็ไม่ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งถ้ามีการใช้ปกร่วมด้วย น้ำหนักที่แตกต่างเพียงสามสิบกรัมก็ไม่ได้มีความสำคั ญนัก อย่างไรก็ตาม Kindle Voyage ก็ยังคงพกพาได้สะดวกและสามารถถืออ่านมือเดียวได้เป็น เวลานาน
หน้าจอ
ถ้าเปรียบเทียบพัฒนาเรื่องหน้าจอ Kindle Voyage กับ Paperwhite รุ่นแรก พบว่ามีความแตกต่างที่เห็นได้คือ contrast เพิ่มขึ้น เพราะเปลี่ยนมาใช้จอ Carta (เช่นเดียวกับ Paperwhite รุ่นที่สอง) แต่โดยส่วนตัวก็ไม่ได้รู้สึกได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะถ้าไม่ได้เอามาวางคู่กัน อาจจะไม่รู้สึกว่าพัฒนาการเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเอามาวางเทียบกัน จะรู้สึกได้ว่าพื้นที่สีขาว Kindle Voyage ขาวกว่าเล็กน้อย ส่วน Paperwhite จะดูอมเขียว ส่วนสีดำ Kindle Voyage ดำกว่า ด้านล่างเป็นภาพที่เอามาเปิดวางคู่กัน

จุดเด่นอีกจุดของ Kindle Voyage คือใช้หน้าจอที่มีความละเอียดสูงขึ้นจาก 758x1024 มาเป็น 1072x1448 (จาก 212 dpi มาเป็น 300 dpi) ทำให้สามารถแสดงผลได้คมชัดขึ้น
เนื่องจากผมไม่มีอุปกรณ์เฉพาะ ผมจึงขออนุญาตถ่ายทอดถึงความละเอียดที่สูงขึ้นโดยการ ถ่ายภาพหน้าจอ Kindle Voyage กับ Paperwhite ที่วางคู่กันแล้วเปิดใช้ฟอนต์เดียวกันขนาดใหญ่สุด

ส่วนถัดไปเป็นภาพที่ crop 100% ภาพด้านบน

จะเห็นได้ชัดว่าตัวหนังสือบน Kindle Voyage แสดงได้คมชัดกว่า Paperwhite มาก

แต่จากการใช้งาน รู้สึกว่าหน้าจอความละเอียดสูงขึ้นอาจจะมีประโยชน์ใน การดูรูปประกอบหรือแผนที่ในหนังสือเสียมากกว่า เพราะแม้ว่าความละเอียดจะสูงขึ้นแต่จำนวนตัวหนังสือต ่อบรรทัดและต่อหน้าก็ยังเท่าเดิม เพียงแต่ตัวหนังสือจะละเอียดคมชัดขึ้น ถ้าเอามาเปิดอ่านอีบุ๊คเพียงอย่างเดียวและอาศัยดูควา มละเอียดอย่างเดียวก็ยากที่จะบอกความแตกต่าง คือสำหรับผม Paperwhite มันก็ละเอียดพอสำหรับอ่านอีบุ๊คแล้ว แต่ถ้าชอบอ่านข้อความมากๆ ในหน้าเดียวและยังมีสายตาที่ยังดี ก็สามารถใช้ฟอนต์ขนาดเล็กสุดบวกฟีเจอร์เปิดคำศัพท์ (WordWise) ตัวหนังสือทุกตัวก็ยังคมชัดอยู่ ส่วนภาพด้านล่างเป็นภาพของ Kindle Voyage และ Paperwhite ที่แสดงฟอนต์ขนาดเล็กสุด
โดยส่วนตัวคิดว่าปัญหาอยู่ตรงที่ขนาดหน้าจอเพียง 6 นิ้ว ต่อให้ตัวอักษรคมชัดขึ้น แต่สำหรับคนทั่วไปถ้าไม่ใช่คนช่างสังเกตหรือไม่เอามา วางคู่กันก็อาจจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง และตอนนี้ก็เริ่มรู้สึกอยากได้หน้าจอที่ใหญ่ขึ้นมากก ว่า
ฟีเจอร์ front light
ตัว Kindle Voyage เองก็มาพร้อมกับไฟในตัว (front light) ซึ่งในครั้งนี้ก็พัฒนาได้ดีขึ้น แต่เดิมที่เคยใช้ Paperwhite เวลาอ่านในห้องนอนบางครั้งรู้สึกว่าความสว่างแต่ละขี ดแรกๆ มันยังหยาบไป หลายครั้งรู้สึกอยากให้แสงมันกำลังพอดีไม่แยงตาแต่ยั งสว่างพอที่จะอ่านหนังสือได้ ปกติผมเวลาอ่าน Paperwhite ในห้องนอนจะใช้ระดับ 3 แต่พอมาเทียบกับ Kindle Voyage จะอยู่ที่ระดับ 6 ถึง 7

ภาพด้านบนเป็นภาพที่เปิดแสงต่ำสุดทั้งคู่ที่ถ่ายในห้ องมืด เพื่อแสดงให้เห็นว่า Kindle Voyage นั้นมืดกว่า Paperwhite มาก ส่วนที่เห็นในภาพถ่ายจะดูเหมือน Paperwhite จะสว่าง แต่สำหรับตาเปล่า ผมก็แค่เห็นตัวหนังสือเป็นก้อนๆ อ่านไม่ออกแล้วนะครับ ส่วน Kindle Voyage นี่แค่เห็นแสงจอลางๆ เลยครับ

ภาพด้านบนเป็นภาพที่เปิดแสงสูงสุดทั้งคู่ จะเห็นว่า Kindle Voyage แสงออกขาวอมน้ำเงินและสว่างจ้ากว่า Paperwhite มาก
ผมรู้สึกว่าคินเดิลได้ปรับปรุงความสว่างของ front light ได้กว้างขึ้นและละเอียดขึ้น ความสว่างต่ำสุดจะทำได้มืดกว่า แต่ถ้าให้สว่างสุดก็สว่างกว่ามาก รวมถึงรู้สึกว่าอุณหภูมิแสง front light ของ Kindle Voyage จะสูงกว่า Paperwhite อีกด้วย อีกทั้งปรับปรุงในแง่ความสม่ำเสมอของแสงให้สว่างทั่ว จอภาพ ด้วยตาเปล่าไม่พบว่ามีเงามืดบริเวณสี่ห้าบรรทัดสุดท้ ายด้านล่างจอภาพอย่างที่เคยเจอใน Paperwhite แล้ว
สำหรับ Kindle Voyage มาพร้อมกับเซนเซอร์วัดแสงซึ่งจะใช้ปรับความสว่าง front light ได้อัตโนมัติ (Auto Brightness) ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่ค่อยชอบเท่าไรตรงที่ไม่ยืดหยุ่น เมื่อเลือก Auto Brightness แล้วก็ต้องปล่อยให้เครื่องปรับความสว่างให้อัตโนมัติ ตามอำเภอใจของมัน ไม่สามารถปรับแต่งตามความชอบใจของผู้ใช้งาน รวมทั้งเมื่อออกแดดก็เร่งแสง front light ให้สว่างสุด ซึ่งโดยส่วนตัวรู้สึกว่าเปล่าประโยชน์ คือรู้สึกว่าถ้ามีแสงสว่างเพียงพอแก่การอ่านแล้วก็อย ากให้มันปิดแสงไปเลยมากกว่า แทนที่จะไปเร่งแสงสว่างสูงๆ ให้พื้นหลังขาวโอโม่ แต่สิ้นเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
PagePress

จุดขายอย่างหนึ่งของ Kindle Voyage คือ PagePress ที่เป็นเซนเซอร์รับแรงกดที่อยู่สองด้านของหน้าจอ ทำให้สามารถอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องยกมือไปปัดหน้าจ อเพื่อเปลี่ยนหน้า ตัวเซนเซอร์ไม่ได้ไวต่อการสัมผัส เวลาอ่านสามารถพักนิ้วหัวแม่มือไว้ได้บนเซนเซอร์โดยไ ม่เปลี่ยนหน้าเอง ถ้าต้องการจะเปลี่ยนหน้าก็แค่ออกแรง

อ่านต่อ...