เมื่อคืนนี้ Apple ได้เปิดตัว Research Kit โดยโฆษณาว่ามันเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยนักวิจัยด้านการแ พทย์ (Medical Research -- บางทีเราจะใช้คำว่า Clinical Research ในกรณีที่เก็บคนไข้ที่เป็นคนจริงๆ เพราะ Medical Research นี่รวมทดลองทางการแพทย์ที่ทำในห้องทดลองและสัตว์ทดลอ งด้วย) เพื่อนำไปในการเก็บข้อมูล และเพิ่มจำนวนคนไข้ที่สมัครใจเข้าร่วมงานวิจัย ผมในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับวงการวิจัยทางการแพทย์ ขอแสดงความเห็นส่วนตัวจากคนที่เคยทำงานวิจัยมาบ้างเล ็กน้อยดังนี้ครับ
1. ปัญหาในการกำหนดผู้เข้าร่วมวิจัย (Subject Eligibility)

แอปเปิลโฆษณาว่างานวิจัยส่วนใหญ่มักมีปัญหากับการหาผ ู้เข้าร่วมงานวิจัยใหม่ๆ โดยพยายามชี้ให้เห็นว่า Research Kit จะทำให้เราค้นหาผู้เข้าร่วมงานใหม่ๆ ได้มากกว่าเดิม เพราะเพียงแค่ดาวน์โหลดแอพ คุณก็สามารถเข้าให้ข้อมูลในงานวิจัยได้แล้ว
แต่โดยปกติแล้วงานวิจัยที่เป็น Clinical Research นี้ผู้เข้าร่วมวิจัยมักจะเป็นคนที่ผู้วิจัยกำหนดไว้อ ยู่แล้ว ว่าจะต้องเป็นโรคไหน อาการเป็นมากน้อยอย่างไร รวมถึงสถานที่เก็บงานวิจัยคือที่ไหนบ้าง ภาษาทางงานวิจัยเราเรียกว่ามี Population และ Sample ที่ชัดเจน คือเข้าทั้งเกณฑ์คัดเข้า (Inclusion Criteria) และเกณฑ์คัดออก (Exclusion Criteria) ที่แน่นอน ซึ่งตรงจุดนี้ หากเราเปิดกว้าง ให้ "ใครก็ได้" มาให้ข้อมูลงานวิจัย เราจะกำหนดกรอบการวิจัยอย่างไร ถ้าหากผมทำการศึกษาเรื่องเบาหวาน โดยผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นใครก็ได้ กรอบงานวิจัยมันจะชัดเจนได้อย่างไรว่าจะเป็นคนไข้กลุ ่มไหน คนไข้เบาหวานที่ใช้ไอโฟนเหรอ? นอกจากนี้จะรู้ได้อย่างไรว่าเขาเข้าเกณฑ์วิจัย คือเป็นเบาหวานจริงๆ ซึ่งถ้าเก็บจากในโรงพยาบาล เรามีความมั่นใจมากกว่าแน่ๆ ว่าเขาจะเป็นเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์
2. ผู้เข้าร่วมวิจัยที่ "เป็นโรค" ส่วนใหญ่ มีปัญหาด้านการเข้าถึงเทคโนโลยี (Access)

แน่นอนว่าตัวอย่างที่แอปเปิลโชว์ให้ดู คนไข้ในงานวิจัยส่วนใหญ่ยังพอมีแรงไหว แต่เอาเข้าจริงแล้วผู้เข้าร่วมงานวิจัยหลายกลุ่มยังไ ม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีแบบนี้ได้ เช่น ถ้าจะศึกษาคนไข้ที่เป็นอัมพาต เขาจะยังมานั่งกดไอโฟนให้เราได้หรือ หรือผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหาด้านสายตาหรือการเคลื่อ นไหวนิ้ว จะทำการให้ข้อมูลได้อย่างไร

ภาพผู้ป่วยแบบนี้มานั่งกดไอโฟนยังเป็นไปได้ลำบาก
"Clinicians in Intensive Care Unit" by Calleamanecer - Own work. Licensed under CC BY-SA 3.0 via Wikimedia Commons.
3. ปัญหาของความถูกต้องของข้อมูล (Measurement Validity)

เนื่องจากในแอพต่างๆ ที่แอปเปิลเอามายกตัวอย่างนั้น ผู้เข้าร่วมวิจัยหรือ Subject สามารถที่จะใส่ข้อมูลของตัวเองลงไปได้เองเลย ทีนี้ก็กลายเป็นว่ากระบวนการวัดต่างๆ มีความเป็นไปได้ที่จะเชื่อถือไม่ได้ (Measurement Bias) ยิ่งเท่าที่ผมดูจากแอพที่ปล่อยออกมา ส่วนมากเป็นข้อมูลที่คนไข้กรอกเองด้วย เช่น ให้วัดอัตราการหายใจเอง แล้วใส่ลงในแอพ ปัญหาคือเราจะเชื่อถือได้มากแค่ไหนว่าข้อมูลส่วนนี้ม ันถูกต้อง เพราะการวัด (Measurement) นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก (ผมว่าสำคัญที่สุดเลยครับ) ในงานวิจัย Clinical Research
นอกจากนี้แล้ว หากบอกว่าเป็น "แพลตฟอร์ม" ในการบันทึกผลการวิจัย เช่น อาจจะเอา Accelerometer มาวัดจำนวนก้าว หรือให้แท็ปหน้าจอสลับกันเพื่อดูว่ามือขยับได้ปกติหร ือไม่นั้น เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า iPhone ที่ผู้ใช้งานใช้อยู่นั้น มีการเทียบกับมาตรฐาน (Calibration) แล้ว ไม่ใช่เป็นไอโฟนที่ Accelerometer กำลังจะพัง หรือให้ข้อมูลที่เพี้ยน ซึ่งตรงนี้ก็ยังไม่มีงานวิจัยอะไรที่จะมารองรับว่ากา รเก็บข้อมูลของเราจากไอโฟนนั้นมีมาตรฐานเพียงพอ และยิ่งถ้าบอกว่าเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์อื่นได้หลายชนิ ด ปัญหาของมาตรฐานนี้ก็จะยิ่งยากเข้าไปอีก
4. ปัญหาด้านการเลือกเฉพาะคนที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ ่งเข้าร่วมวิจัย (Selection Bias)

แน่นอน คนที่จะซื้อไอโฟนได้ก็ต้องมีเงินอยู่ประมาณหนึ่ง หมายความว่าการที่เราจะเอาไอโฟนไปเก็บข้อมูลจากผู้เข ้าร่วมงานวิจัยนั้น ผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่ยินยอมจะเข้าร่วมงานวิจัยเราจ ะต้องมีไอโฟน ซึ่งก็อาจจะหมายความว่าเขามีความเป็นอยู่ที่ดีประมาณ หนึ่ง (ไม่งั้นคงไม่มีไอโฟนใช้ ใช้โทรศัพท์คนอื่น หรือโทรศัพท์เครื่องละไม่กี่ร้อยบาทแทน) ทำให้ตัวอย่างที่เข้าร่วมงานวิจัยเรา อาจถูกเลือก (select) มาแล้วซึ่งอาจส่งผลต่อตัวแปรต่างๆ ที่เก็บในงานวิจัย ทำให้คนเหล่านี้มีลักษณะไม่เหมือนคนไข้ทั่วๆ ไปได้
5. ปัญหาการเงิน (Financial)

ข้อนี้เป็นปัญหาอย่างมากเลยครับ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาอย่างเรา คืองานวิจัยส่วนใหญ่ปัญหาคือหาเงินมาสนับสนุนค่อนข้า งยาก (โดยเฉพาะถ้าไม่มีเส้นสาย) เอาง่ายๆ อย่างงานวิจัยที่ทำๆ กันอยู่ค่าใช้จ่ายสี่ห้าแสนยังแทบจะไม่มีทุนมาให้ทำ บางทีคนทำต้องควักเนื้อออกเอง จะนับประสาอะไรกับงานวิจัยที่จะต้องทั้งซื้อไอโฟนให้ ผู้เข้าร่วมวิจัย และทั้งพัฒนาแอพพลิเคชั่นมาให้ผู้เข้าร่วมวิจัยกรอก ไม่นับ "งานหลังบ้าน" ที่จะต้องตามเก็บข้อมูล ตามดูว่าผู้เข้าร่วมงานวิจัยมีปัญหาในการใช้แอพไหมอี ก (ซึ่งงานหลังบ้านนี่ก็ค่าใช้จ่ายสูงไม่แตกต่างกัน เพราะข้อมูลก็ต้องเก็บอย่างมีมาตรฐานอีก) ผมว่างานวิจัยส่วนใหญ่แม้จะมี sponsor ผมว่าแค่ค่าไอโฟนนี่ก็อ้วกแล้วครับ

ผมเองคิดว่ามันเป็นการที่ดีที่เราจะมีอุปกรณ์ที่ช่วย เก็บข้อมูลในงานวิจัยจริงๆ แต่ปัญหาหลายๆ อย่างของงานวิจัยที่ไม่สามารถแก้ด้วยการพัฒนาอุปกรณ์ เพียงอุปกรณ์เดียวขึ้นมาเก็บข้อมูลแบบนี้ เราคงจะต้องมีวิธีอะไรอย่างอื่นที่ทั้งเก็บข้อมูลแม่ นยำ, สะดวก ที่สำคัญคือประหยัดและเอาไปใช้ในงานวิจัยจริงได้ดีกว ่านี้ครับ ดังนั้น เราคงต้องดูต่อไปว่า Research Kit เป็นเครื่องมือเปลี่ยนไอโฟนเป็น Clinical Research Device ที่ใช้งานได้จริง หรือเป็นเพียงฟีเจอร์ขายของจากบริษัทเทคโนโลยีที่นัก วิจัยส่วนใหญ่ไม่(มีเงิน)จะซื้อครับ...
ที่มา: ต้นฉบับผู้เขียนได้เขียนไว้บนบล็อกส่วนตัวครับ
Apple, iPhone, Medical, Research, ResearchKit




อ่านต่อ...