Name:  463012-PFO398-887.jpg
Views: 68
Size:  37.2 KB

ทุกวันนี้ทุกคนต่างยอมรับว่ารถยนต์คือพาหนะสำคัญที่ช ่วยทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันสะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะไม่ว่าจะเดินทางใกล้หรือไกล การขับรถยนต์ไปด้วยตนเองย่อมมีความสะดวกกว่าระบบขนส่ งสาธารณะเป็นอย่างมาก เพราะทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารสามารถเลือกที่จะทำอย ่างไรก็ได้ตามที่ตัวเองต้องการไม่ว่าจะจอดตามสถานที่ พักรถ แวะทานข้างตามร้านอาหาร หรือเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกตามความต้องการได้ตลอดเวลา ซึ่งแตกต่างจากระบบขนส่งสาธารณะที่จะพาไปได้เฉพาะจุด หมายปลายทางหรือเส้นทางที่กำหนดเอาไว้แล้วเท่านั้น แต่การเป็นเจ้าของรถสักคันก็มีภาระหน้าที่ที่จะปฏิบั ติตามระเบียบข้อกำหนดทางกฎหมายนั่นก็คือ การทำพรบ. การตรวจสอบสภาพรถยนต์เมื่อมีอายุการใช้งานของครบอายุ ตามที่กำหนด และการ ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ซึ่งการทำธุรกรรมทางภาษีรถยนต์ผ่านทางออนไลน์นั้นเป็ นรูปแบบการทำธุรกรรมรูปแบบใหม่ที่ทางภาครัฐจัดตั้งขึ ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกและรวดเร็วให้แก่ประชาชน โดยผู้ที่เป็นเจ้าของรถไม่จำเป็นที่จะต้องเดินทางไปต ่อคิวและรอดำเนินการชำระค่าภาษีเป็นระยะเวลานาน ๆ ที่กรมการขนส่ง ซึ่งช่วยลดความยุ่งยากและระยะเวลาได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดีการดำเนินการชำระภาษีผ่านระบบออนไลน์นั้น ไม่สามารถทำได้กับทุกประเภทของรถยนต์ และรองรับได้เพียงแค่ประเภทรถยนต์ดังต่อไปนี้

• ประเภทของรถที่สามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ ประเภทของรถยนต์ที่กรมการขนส่งได้เปิดรองรับให้สามาร ถใช้บริการชำระ ค่าภาษีรถยนต์ ผ่านระบบออนไลน์ได้นั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ รถยนต์ 4 ประตู รถกระบะ และรถตู้ ซึ่งในขณะนี้ระบบออนไลน์ในการเสียภาษียังไม่รองรับรถ ประเภทรถบรรทุก และรถโดยสารมากกว่า 7 ที่นั่งขึ้นไป เพราะรถเหล่านี้จะต้องมีการตรวจสอบสภาพตามวิธีการที่ กรมขนส่งทางบกกำหนดเอาไว้เท่านั้น
• การคำนวณอัตราภาษีที่แตกต่างกัน รถยนต์แต่ละประเภทจะมีการคำนวณอัตราภาษีของรถยนต์ที่ แตกต่างกันไป โดยในกรณีของรถตู้ อัตราภาษีจะพิจารณาตามน้ำหนักของตัวรถ โดยเริ่มจากรถที่มีน้ำหนัก 501- 750 กิโลกรัม จะมีอัตราภาษีเท่ากับ 450 บาท, รถมีน้ำหนักอยู่ที่ 751 – 1000 กิโลกรัม อัตราภาษีจะเป็น 600 บาท, น้ำหนักรถอยู่ที่ 1001 – 1250 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 750 บาท, น้ำหนักรถอยู่ที่ 1251 – 1500 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 900 บาท, น้ำหนักรถที่ 1501 – 1750 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 1,050 บาท, ส่วนน้ำหนักรถที่ 1751 – 2000 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 1,350 บาท และกรณีที่น้ำหนักรถเท่ากับ 2001 – 2500 กิโลกรัม อัตราภาษีจะถูกคิดเป็น 1,650 บาท และในกรณี ภาษีรถกระบะ และ ภาษีรถยนต์ 4 ประตู จะคำนวณตามอัตรากำลังของเครื่องยนต์ในอัตราที่เท่ากั น โดยในช่วง 600 cc แรกอัตราภาษีจะอยู่ที่ cc ละ 50 สตางค์ หรือ 0.50 บาท ต่อมาหากอัตรากำลังของเครื่องยนต์อยู่ในช่วง 601 – 1200 cc อัตราภาษีจะอยู่ที่ 1.50 บาทต่อ cc และหากรถมีกำลังมากเกินกว่า 1200 cc อัตราภาษีจะถูกคิดเป็น 4 บาทต่อ cc
• รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานหลายปี หากรถยนต์ที่คุณเป็นเจ้าของมีอายุการใช้งานมานานกว่า 6 ปีขึ้นไป อัตราภาษีจะเริ่มลดลงตามอัตราที่กรมขนส่งกำหนด แต่ในกรณีที่รถมีอายุการใช้งานมากกว่า 7 ปีขึ้นไป เจ้าของรถจะดำเนินการ ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้ก็ต่อเมื่อนำรถไปทำการตรวจสภาพโดยหน่วยงานที่ทางก รมขนส่งอนุญาตก่อน สังเกตได้จากสัญลักษณ์ ตรอ. นั่นเอง
• กรณีรถยนต์ชำระภาษีเกินระยะเวลาที่กำหนด เจ้าของรถยนต์บางคนที่พบปัญหาว่าตนเองเคยชำระ ภาษีรถเก๋ง ที่ใช้ระยะเวลาเกินกว่า 1 ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด จะสามารถ ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้หรือเปล่า คำตอบคือระบบออนไลน์ของกรมขนส่งนั้นสามารถรองรับรถที ่มีการชำระภาษีเกินกว่าที่กำหนดเอาไว้ได้ด้วย แต่จะมีอัตราเปรียบเทียบปรับที่เจ้าของรถจะต้องชำระเ พิ่มเติมด้วย โดยค่าปรับนั้นจะคิดในอัตราร้อยละ 1 ของอัตราภาษีที่จะต้องชำระ ยิ่งนานหลายเดือนค่าปรับก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น และถ้าหากนานเกินกว่า 3 ปี เจ้าของรถจะถูกยึดเลขทะเบียน ซึ่งจะยิ่งยุ่งยากในการดำเนินการและภาระค่าใช้จ่ายที ่เพิ่มมากขึ้น

เมื่อทราบรายละเอียดที่ควรตรวจสอบแล้ว แนะนำให้เจ้าของรถทุกคนตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมดตามท ี่กล่าวไปข้างต้นใหก้เรียบร้อย หากเจ้าของรถคนใดอยู่ในเกณฑ์การให้บริการของกรมขนส่ง ก็สามารถดำเนินการได้ทันที แต่หากมีข้อสงสัยก็สามารถติดต่อสอบถามได้ตามช่องทางท ี่กรมขนส่งกำหนดเอาไว้ในเว็บไซต์ และเมื่อยื่นเรื่อง ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ แล้วเจ้าของรถยังสามารถติดตามสถานะของการดำเนินการได ้ตลอดเวลาอีกด้วย