“แบตเตอรี่แห้ง” (Sealed Maintenance Free Car Battery - SMF) คือ แบตเตอรี่รถยนต์รูปแบบหนึ่งที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นเพ ิ่มตลอดอายุการใช้งาน นับเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของแบตเตอรี่รถยนต์ในปัจจุบั นที่มีให้เลือกหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่รถยนต์แบบดั้งเดิมที่ต้องคอยเต ิมน้ำกลั่นหรือที่รู้จักกันในชื่อ “แบตเตอรี่น้ำ” (Conventional Battery) หรือแบตเตอรี่รุ่นใหม่ที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยๆ แบบ “แบตเตอรี่กึ่งแห้ง” (Maintenance Free Car Battery - MF) แล้วแบตเตอรี่แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร? วันนี้มีข้อมูล “แบตเตอรี่แห้ง” มาฝากค่ะ

1. “แบตเตอรี่แห้ง” คืออะไร?
แบตเตอรี่แห้ง (Sealed Maintenance Free Car Battery - SMF) คือ แบตเตอรี่แบบกรดตะกั่วอีกประเภทหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อลดขั้นตอนในการดูแลรักษาแบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการที่ไม่มีช่องสำหรับเปิด-ปิดเพื่อเติมน้ำกลั่นแบบที่มีในแบตเตอรี่รถยนต์ทั่วไ ป ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่น้ำกรดภายในแบตเตอรี่จะรั่วไหลอ อกมาทำลายเครื่องยนต์ ตลอดจนอายุการใช้งานของแบตเตอรี่แห้งที่มากกว่าแบตเต อรี่น้ำ ทำให้แบตเตอรี่ประเภทนี้มีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่ทั่วไ ป

อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่แห้ง อาจไม่ได้แห้งสนิทตามชื่อที่เรียก เพราะภายในแบบเตอรี่แห้งบางรุ่นหรือบางยี่ห้ออาจจะมี ของเหลวที่ทำหน้าที่เป็นอิเล็กโทรไลต์ของแบตเตอรี่แห ้งปนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นกรดแบบตะกั่ว หรือของเหลวที่มีลักษณะคล้ายเจล ซิลิโคน หรือแป้งน้ำ (Paste) ซึ่งการใช้เจลเป็นตัวอิเล็กทรอไรต์แทนน้ำกรดนั้นจะช่ วยลดอัตราการสูญเสียน้ำ เเละเพิ่มการกักเก็บแก๊สไฮโดรเจนและออกซิเจนที่เกิดข ึ้นระหว่างการใช้งานให้แปรสภาพกลับไปเป็นน้ำ ทำให้ลดความถี่ในการเติมน้ำกลั่น หรือไม่ต้องเติมน้ำกลั่นเพิ่มเติมตลอดอายุการใช้งาน ดังที่เห็นได้จากแบตเตอรี่แบบแห้งส่วนใหญ่จะไม่มีรูส ำหรับเติมน้ำกลั่น

ทั้งนี้ แบตเตอรี่แห้งจะได้รับการเติมน้ำกรดและชาร์จไฟตามมาต รฐานโรงงานผลิตมาเรียบร้อยเเล้ว ทำให้สามารถจัดจำหน่ายเเละนำไปใช้งานได้ทันที อย่างไรก็ตามหากแบตเตอรี่ดังกล่าวถูกเก็บไว้มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ควรต้องตรวจเช็กไฟในแบตเตอรี่ก่อนนำไปใช้งาน เนื่องจากไฟในแบตเตอรี่อาจอ่อนลง รวมถึงก่อนการติดตั้งเพื่อใช้งาน ควรต้องชาร์จไฟเพื่อรักษาความคงทนของแบตเตอรี่ไว้ด้ว ย




2. “แบตเตอรี่แห้ง” มีกี่ประเภท?
แบตเตอรี่แห้งสามารถแบ่งประเภทได้จากรูปแบบของสารละล ายอิเล็กโทรไลต์ภายในเซลล์แบตเตอรี่ มีรายละเอียดดังนี้

1) แบตเตอรี่แห้งแบบ AGM (Absorbent Glass Mat)

แบตเตอรี่แห้งแบบ AGM (Absorbent Glass Matt) จัดเป็นแบตเตอรี่ตะกั่วกรดชนิดพิเศษที่มีเทคโนโลยีแผ ่นกั้นใยแก้วพิเศษ ช่วยลดการระเหยของน้ำและช่วยดูดซับน้ำกรดได้เป็นอย่า งดีในกรณีที่รถยนต์อยู่ในสภาวะสั่นมาก หรือกรณีที่แบตเตอรี่แตก น้ำกรดจะถูกดูดซับเอาไว้เเละไม่ไหลออกมาสร้างความเสี ยหายให้กับรถยนต์

แบตเตอรี่แห้งแบบ AGM ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับนวัตกรรมยานยนต์ในปัจจุบันที ่ต้องการแหล่งพลังงานประสิทธิภาพสูง เช่นรถยนต์รุ่นใหม่จากบริษัทชั้นนำในเเถบยุโรป ปัจจุบันอาจพบว่าแบตเตอรี่ดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมใช้ งานในในเเถบเอเชียมากนัก

2) แบตเตอรี่แห้งแบบเจล

แบตเตอรี่แห้งแบบเจล คือแบตเตอรี่ที่มีตัวอิเล็กโทรไลต์ในรูปของเจล มีความคงทนต่ออุณหภูมิการใช้งานที่กว้างทั้งในอุณหภู มิที่เย็นและร้อน จึงเป็นที่นิยมใช้งานในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น เนื่องจากตัวอิเล็กโทรไลต์ในรูปของเจลจะไม่จับตัวเเข ็งเมื่อเจอกับสภาพอากาศหนาวจัด

อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่แห้งแบบ AGM ส่วนใหญ่ในท้องตลาด จะมีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่ทั่วไป อีกทั้งยังมีข้อจำกัดด้านอุณหภูมิระหว่างการใช้งาน เเละมีอายุการใช้งานสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ขาดการชาร์จไฟ จนเกิดภาวะการกระชากไฟรุนแรง (Over-discharge) เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นได้ในแบตเตอรี่ทั่วไป



3. “แบตเตอรี่แห้ง” แตกต่างจากแบตเตอรี่กึ่งแห้งยังไง?
แบตเตอรี่แห้ง (Sealed Maintenance Free Car Battery - SMF) จะไม่ต้องเติมน้ำกลั่นเลยตลอดอายุการใช้งาน ทำให้ไม่มีช่องสำหรับเปิด-ปิดเพื่อเติมน้ำกลั่น ในขณะที่แบตเตอรี่กึ่งแห้ง (Maintenance Free Car Battery - MF) ยังต้องเติมน้ำกลั่นอยู่ ทำให้มีช่องสำหรับเปิด-ปิดเพื่อเติมน้ำกลั่น จึงจะมีอัตราการระเหยของน้ำกลั่นที่น้อยกว่าแบตเตอรี ่น้ำ (Conventional Battery)

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแบตเตอรี่แห้งเเละแบตเตอรี่กึ่งแห้งจะมีราคาสู งกว่าแบตเตอรี่แบบน้ำ เเต่เเบตเตอรี่ทั้งสองกลุ่มจัดเป็นแบตเตอรี่รถยนต์ที ่ดูแลรักษาง่าย มีประสิทธิภาพที่สูงกว่าแบตเตอรี่แบบน้ำ เเละมีมาตรฐานการผลิตเท่ากันทุกลูกจากการที่ได้รับกา รเติมน้ำกรดเเละชาร์จไฟตามมาตรฐานโรงงานผลิต



4. “แบตเตอรี่แห้ง” หรือแบตเตอรี่น้ำ เลือกแบบไหนดี?
แบตเตอรี่แห้ง (Sealed Maintenance Free Car Battery - SMF) ไม่ต้องคอยเติมน้ำกรดหรือน้ำกลั่นแต่อย่างใดตลอดอายุ การใช้งาน มีน้ำหนักที่เบากว่าแบตเตอรี่น้ำ (Conventional Battery) และสามารถวางแบตเตอรี่แห้งในทิศทางใดก็ได้โดยที่สารเ คมีจะไม่หกไหลออกมา เนื่องจากแบตเตอรี่แห้งได้รับการซีลห่อหุ้มไว้เป็นอย ่างดี

อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่แห้งจะมีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่น ้ำ รวมถึงแบตเตอรี่แห้งเป็นแบตเตอรี่ระบบปิดที่มีช่องระ บายเพียงช่องเดียวและมีขนาดเล็ก จึงทำให้มีโอกาสอุดตันได้โดยง่าย และเมื่ออุดตันจะเกิดปัญหาแรงดันภายในหรือความร้อนสะ สมมาก หากเป็นแบตเตอรี่แห้งแบบปิดผนึกซีล เมื่อซีลหลุดลอกอาจทำให้ความชื้นเข้าสะสมภายในและทำค วามเสียหายให้กับแบตเตอรี่ได้



5. “แบตเตอรี่แห้ง” อายุการใช้งานเท่าไร?
อายุการใช้งานของแบตเตอรี่แห้งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประม าณ 1.5 - 2.5 ปี ขึ้นอยู่กับยี่ห้อเเละสภาพการใช้งาน หรือคิดเป็นระยะทางในการขับขี่ประมาณ 50,000 - 70,000 กิโลเมตร ซึ่งมากกว่าอายุการใช้งานของแบตเตอรี่แบบน้ำที่ต้องค อยเติมน้ำกลั่น และอาจใช้งานต่อเนื่องได้ถึง 5-10 ปี หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี ่แห้งสั้นลงมีหลายสาเหตุ เช่น อุณหภูมิที่ร้อนเกินไป ระบบไฟฟ้าของรถยนต์ที่ไม่เสถียร หรือการไม่ชาร์จไฟ หรือชาร์จไฟไม่ถูกต้อง

ทั้งนี้ แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานที่ยาวขึ้นหากเก็บรักษาใน ที่ที่มีอุณหภูมิและความชื้นต่ำ เนื่องจากอุณหภูมิสูงจะทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ไม่พึงป ระสงค์ได้โดยง่าย ดังนั้นควรเลือกซื้อจากร้านที่เก็บ รักษาแบตเตอรี่อย่างเหมาะสม เช่น ติดเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะช่วยให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานตามที่ควรจะเป ็น

เมื่อเลือกแบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับการใช้งานได้แล้ว อย่าลืมลดความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดจากอุบ ัติเหตุระหว่างการขับขี่ ด้วยประกันรถยนต์ด้วยนะคะ https://www.smk.co.th/premotor.aspx