ช่วงสัปดาห์หน้าประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทาง การ อย่างที่หลายคนทราบดีว่า ช่วงฤดูฝนฝนตกที่ตกหนักจะส่งผลต่อทัศนวิสัยการขับขี่ บนท้องถนนอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าสภาพปกติ เราจึงควรตรวจเช็คสภาพรถยนต์ของเราให้พร้อม เพื่อรับมือกับสภาพการขับขี่ หากเกิดฝนตกหนักให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด มีคำแนะนำมาฝากกันดังนี้


1. ตรวจสอบสภาพยางใบปัดน้ำฝนว่ายังใช้งานได้ดีหรือไม่ หากมีการใช้งานแล้วยางใบปัดน้ำฝนไม่สามารถรีดน้ำออกไ ด้เต็มที่ ในช่วงที่ฝนตกอย่างรุนแรง อาจจะทำให้ไม่สามารถมองเส้นทางข้างหน้าได้อย่างชัดเจ น ควรรีบเปลี่ยนใบปัดน้ำฝน



2. หัวฉีดน้ำกระจก หมั่นตรวจสอบ เพื่อไม่ให้มีการอุดตันของน้ำที่ฉีดออก ซึ่งมีส่วนให้ยางใบปัดน้ำฝนทำงานได้ดียิ่งขึ้น เพราะมีส่วนชะล้างคราบสกปรกต่างๆ ที่เกาะติดอยู่ออกไปได้อย่างง่ายดาย

ช่วงฝนตกหนักทำให้ทัศนวิสัยการขับขี่ไม่ดี เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ก่อนจะถึงหน้าฝน อย่าลืมตรวจเช็ครถยนต์ให้พร้อม เพื่อลดอุบัติเหตุขณะขับขี่ และเลือก ประกันรถยนต์ ที่จะช่วยคุ้มครองทั้งรถและคุณ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดด้วยนะครับ



3. ระดับน้ำในกระปุกน้ำฉีดกระจกต้องเติมให้เต็มอยู่ตลอด เวลา เมื่อฝนตกลงมาผสมเข้ากับเศษฝุ่นที่ติดอยู่เดิมบนกระจ กหน้าของรถทำให้กระจกหน้ารถขุ่นมัว ส่งผลให้ทัศนวิสัยการขับขี่ไม่ดี สิ่งที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอคือการตรวจเช็คระดับน้ำใน กระปุกน้ำฉีดกระจก ให้พร้อมใช้งาน ซึ่งในช่วงหน้าฝนเราอาจจะต้องมีการใช้น้ำมากกว่าการข ับขี่ปกติ และควรใส่น้ำยาล้างกระจกเข้าไปที่กระปุกน้ำที่ฉีดกระ จกจะเป็นส่วนเสริมให้ผิวหน้ากระจกลื่นขึ้นและถนอมไม่ ให้ยางใบปัดน้ำฝนเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น เพราะความเสียดทานที่กระจกน้อยลงไป



4. ใช้น้ำยาเคลือบกระจกกันน้ำเกาะควรใช้กับกระจกข้าง กระจกข้างเมื่อเกิดน้ำเกาะที่ตัวกระจกขณะขับขี่ เราจะไม่สามารถทำความสะอาดได้ น้ำยาเคลือบกระจกเพื่อกันน้ำเกาะจะช่วยทำให้ฝนที่ตกล งมาไม่เกาะที่ตัวกระจก ยังใสอยู่เสมอ มองได้ชัดเจนรอบคันที่กระจกข้างไม่ว่าจะซ้ายขวา


5. ตรวจสอบสัญญาณไฟต่างๆ โดยเฉพาะไฟหน้ารถยนต์ ไฟตัดหมอก ไฟเลี้ยว และไฟฉุกเฉิน ซึ่งเราจะต้องใช้งานเมื่อหากขับผ่านจุดที่มีฝนตก

- ไฟหน้าหรือไฟตัดหมอก ช่วยให้เกิดทัศนวิสัยที่ดีในการขับขี่ มีวิธีการตรวจสอบด้วยตัวเองง่ายๆ คือให้เปิดสวิทช์ไฟไปที่ตำแหน่งไฟต่ำ ให้สังเกตที่บริเวณโคมไฟหน้า และไฟตัดหมอกว่า มีแสงสว่างที่ออกมาอยู่ในตำแหน่งและแสงไฟที่ส่องออกม ามีกำลังเพียงพอหรือไม่ ซึ่งหากตรวจสอบแล้วพบว่า แสงที่ออกมาไม่มีหรือไฟที่ออกมาไม่สว่างพอ ควรข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจสอบว่าโคมไฟหรือหลอดไฟมีการเสื่อมสภาพจากกา รใช้งานมาหรือไม่

- ไฟฉุกเฉิน ควรทำการตรวจสอบ เพราะอาจจะต้องใช้งานหากเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ประสบเหตุที่ไม่คาดคิด มีวิธีการตรวจสอบคือ ให้สังเกตเมื่อเราเปิดไฟเลี้ยวทั้งสองข้าง หากพบว่ามีจังหวะที่ไฟกระพริบเร็วมากกว่าปกติ นั่นแสดงว่า หลอดไฟด้านใดด้านหนึ่งขาด การตรวจสอบไฟฉุกเฉิน ให้กดสวิทช์ไฟฉุกเฉินว่า มีการทำงานที่เป็นปกติหรือไม่ หากสวิทช์ไม่ทำงาน แนะนำให้รีบเช็คที่ศูนย์บริการว่า มีส่วนไหนที่ทำงานบกพร่อง แต่ขณะฝนตกห้ามเราเปิดไฟฉุกเฉินในขณะขับขี่ให้เปิดไฟ หน้าหรือไฟหรี่แทน



6. ยางรถยนต์ ให้หมั่นตรวจสอบ ลมยาง และสภาพยางอย่างสม่ำเสมอ การเติมลมยางให้มากกว่าปกติประมาณ 2-3 ปอนด์ เพื่อให้หน้ายางแข็ง ซึ่งจะช่วยรีดน้ำออกจากหน้าสัมผัสของยาง และป้องกันอาการล้อฟรีได้ ในกรณีดอกยางสึกหรอ ควรเปลี่ยนยางใหม่ โดยเลือกยางที่มีดอกยางละเอียดและมีร่องยางลึกไม่ต่ำ กว่า 1.5 – 2 มม. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนน และการหยุดรถบนเส้นทางที่เปียกลื่น และให้ตรวจสอบอายุการใช้งานของยางด้วยว่า สมควรเปลี่ยนใหม่หรือไม่ ซึ่งปกติแล้วจะใช้งานไม่เกิน 4 ปี



7. ผ้าเบรก เมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องเปลี่ยนหรือสึกหรอจากการใช้ง านและมีการใช้งานที่นานมาก แต่ไม่เคยเปลี่ยนเลย อาจจะส่งผลให้การจับตัวของผ้าเบรกและจานเบรก ไม่มีประสิทธิภาพทำงานซึ่งเมื่อเจอกับสภาพอากาศที่มี ความชื้นและเกิดการเปียกลื่นด้วยแล้ว เป็นการเสริมให้ความลื่นของหน้าสัมผัสมีมากขึ้น หากเบรกไม่อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี อาจจะทำให้รถเสียการทรงตัวและพลิกคว่ำได้ง่าย ควรตรวจเช็คระบบเบรกให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ โดยปกติผ้าเบรกควรเปลี่ยนที่ระยะ 50,000 กิโลเมตร หรือหากเริ่มมีเสียงดังแสดงว่า ถึงเวลาเปลี่ยนผ้าเบรกได้แล้ว