“ใบปัดน้ำฝนรถยนต์” เป็นอุปกรณ์สำคัญของรถยนต์อย่างหนึ่งที่เจ้าของรถทุก คันควรให้ความสำคัญ ดูแลรักษาให้สามารถใช้งานได้เป็นปกติอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถึงเดือนที่เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน มีฝนตกต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน ส่งผลต่อทัศนวิสัยในการขับขี่ (อ่าน ขับรถขณะฝนตกให้ปลอดภัย คลิก https://www.smk.co.th/newsdetail/210) แล้วจะมีวิธีการเลือก “ใบปัดน้ำฝนรถยนต์” หรือตรวจเช็ค “ใบปัดน้ำฝนรถยนต์” ให้พร้อมใช้งานได้อย่างไร?

ประเภทของ “ใบปัดน้ำฝนรถยนต์”

การทำงานของใบปัดน้ำฝนที่ดี จะต้องเป็นการปาดน้ำฝนโดยมีช่องว่างระหว่างกระจกและน ้ำฝนประมาณ 0.01- 0.05 มม. เพื่อสร้างผิวฟิล์มบนกระจกหรือเป็นการปาดน้ำให้เรียบ โดยไม่ปาดน้ำทั้งหมดออกไปจากกระจก เพราะหากออกแบบให้ใบปัดอยู่ติดกับกระจกมากเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาใบปัดสะดุดและสั่นกระพือเมื่อใช้งาน จริง โดยประเภทของใบปัดน้ำฝน มีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่

ชนิดแบบมีโครงเหล็ก (Conventional Wiper Blade) เป็นใบปัดน้ำฝนที่ใช้กันทั่วไป พบเห็นได้มากในรถยนต์เกือบทุกคัน ลักษณะที่สังเกตได้ของใบปัดน้ำฝนชนิดนี้คือมีโครงเหล ็กหรือโครงโลหะแขนยางใบปัดคู่กับยางใบปัดน้ำฝน มีความทนทาน โดยประสิทธิภาพในการปัดน้ำฝนของใบปัดน้ำฝนประเภทนี้ จะขึ้นอยู่กับ

คุณภาพของยาง ยางคุณภาพดีส่วนมากมักมาจากภายในประเทศไทยหรือนำเข้า จากมาเลเซีย ผู้ผลิตจะใส่สารปรุงแต่งบางตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น สารต่อต้านแสงยูวี คาร์บอนแบลค

จำนวนจุดที่เป็นข้อต่อบนแขนของใบปัดน้ำฝน ยิ่งมีจุดข้อต่อมาก ยิ่งกระจายแรงกดไปบนยางรีดน้ำฝนได้ดี ทำให้ใบปัดน้ำฝนรีดน้ำได้สะอาดเกลี้ยงเกลา ไม่ทิ้งคราบน้ำ

การออกแบบโครงเหล็ก ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายออกแบบโครงเหล็กให้มีความโค ้งมนรับกับแรงลมตามหลักอากาศพลศาสตร์ ทำให้เกิดการกระพือของใบปัดน้ำฝนน้อยแม้รถยนต์จะวิ่ง ด้วยความเร็วสูง

ใบปัดน้ำฝนแบบซ่อนแขนใบปัดน้ำฝน (Semi Concealed Wiper Blade) จะมีโครงสร้างเหมือนกับแบบแรก แต่ผู้ผลิตจะออกแบบที่ครอบเพิ่มขึ้นมา เพื่อนำมาครอบแขนใบปัดน้ำฝนไว้ แต่ยังคงเห็นเนื้อยางของใบปัดน้ำฝนอยู่ จุดประสงค์เพื่อความสวยงามแต่ยังมีประสิทธิภาพในการป าดน้ำที่ดี สามารถพบเห็นได้ในรถยนต์บางรุ่น

ใบปัดน้ำฝนแบบไร้โครงเหล็ก (Flat Blade) จะไม่สามารถสังเกตเห็นแขนของใบปัดน้ำฝนและตัวยางปัดน ้ำฝนเลย เนื่องจากไม่มีโครงเหล็กแต่จะมีแกนเหล็กฝังไว้ในเนื้ อยาง ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติในการใช้งานได้ดี เนื่องจากน้ำหนักของใบปัดจะถูกกระจายไปเท่าๆ กันทั่วทั้งแขนของใบปัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปา ดน้ำ และลักษณะของใบปัดประเภทนี้ยังลดพื้นที่ต้านลมเมื่อป ัดน้ำฝนขณะขับขี่ด้วยความเร็วสูงได้อีกด้วย



วิธีเลือก “ใบปัดน้ำฝนรถยนต์”

สังเกตรุ่นรถยนต์จากข้างบรรจุภัณฑ์ของผู้ผลิตใบปัดน้ ำฝนให้ตรงกับรุ่นรถยนต์ที่ใช้อยู่

ไม่ควรเลือกซื้อใบปัดน้ำฝนเก่าหรือผลิตไว้นานแล้ว เพราะยางบนใบปัดน้ำฝนมีอายุการใช้งานที่จำกัด บางครั้งผู้จำหน่ายไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้หมดภายใ นหน้าฝนปีก่อน ก็จะนำออกมาลดราคาในปีถัดไป ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ใช้รถมักเปลี่ยนใบปัดน้ำฝนเฉพาะช่วงห น้าฝนเท่านั้น

รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ก้านของใบปัดน้ำฝนทางฝั่งคนขับและคนนั่งจะมีขนาดไม่เ ท่ากัน โดยขนาดของใบปัดน้ำฝนจะอยู่ที่ประมาณ 14” หรือ 21” ซึ่งหากซื้อแยกเป็นกล่องๆ จากร้านทั่วไปต้องอ่านรายละเอียดข้างกล่องให้ชัดเจน

เลือกใบปัดน้ำฝนให้ถูกฝั่ง หากบนใบปัดน้ำฝนมีการะบุภาษาอังกฤษตัวย่อบนใบปัด เช่น อักษร “D” จะย่อมาจาก “Driver” ให้เข้าใจว่าใบปัดใบนั้นสำหรับติดตั้งฝั่งคนขับ ส่วนอักษร “P” ย่อมาจาก “Passenger” จะเป็นใบปัดน้ำฝนสำหรับที่ฝั่งคนนั่ง

ควรต้องเปลี่ยน “ใบปัดน้ำฝน” เมื่อไร?



การเปลี่ยนในปัดน้ำฝน สามารถเลือกได้ว่าจะเปลี่ยนยกทั้งโครงหรือเปลี่ยนเฉพ าะยางใบปัด ซึ่งหากโครงใบปัดยังสภาพดีอยู่สามารถเลือกเปลี่ยนเฉพ าะยางได้ ส่วนก้านใบปัดนั้น ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยนัก เพราะมักมีอายุการใช้งานนานนับสิบปีกว่าสปริงใบปัดจะ ล้า ซึ่งอาจล้าตามอายุการใช้งานหรือล้าจากการใช้งานผิดวิ ธี เช่น การยกใบปัดน้ำฝนตั้งขึ้นเวลาจอดรถตากแดด จะยิ่งทำให้อายุของสปริงที่ก้านใบปัดเสื่อมเร็วขึ้น โดยมีวิธีการสังเกตสภาพของใบปัดน้ำฝน ดังนี้

ใบปัดทำงานไม่เป็นจังหวะ ใบปัดที่แห้งหรือเปื้อนสนิมจากโครงเหล็ก อาจไปขัดขวางการทำงานของใบปัดให้มีลักษณะกระโดดของเส ้นแนวตั้งข้ามไปมา

รอยปัดเป็นริ้ว ไม่เรียบ อาจเกิดจาก ซากกิ่งไม้ เศษหินจากถนนทำให้มีรอยยาวหรือยางบริเวณใบปัดแห้งแตก

รอยแยกขณะปัดฝน อาจเกิดจากใบปัดหมดอายุการใช้งานหรือแห้งแตกจากการโด นแดดเป็นเวลานาน

มีเสียงเสียดสีขณะใช้งาน อาจเกิดจากใบปัดหมดอายุ ยางจึงสูญเสียความยืดหยุ่น เกิดการแห้ง และแข็งตัว

ดูแลรักษารถยนต์ให้คงสภาพดีอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยและทัศนวิสัยในการขับขี่บนท้องถนน ช่วยให้คุณอุ่นใจในยามขับขี่ท่ามกลางสายฝนได้มากขึ้น สนใจรายละเอียดคลิก https://www.smk.co.th/premotor หรือ โทร.1596