การนำเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อช่วยเก็บหลักฐานการเกิดอุบ ัติเหตุบนท้องถนน เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อคนในยุคปัจจุบันมากขึ้น ไม่จำเป็นจะต้องรอหลักฐานภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิดของภ าครัฐที่ติดตั้งไว้ตามสี่แยกสำคัญอีกต่อไป แต่สามารถนำคลิปจากกล้องหน้ารถมาใช้ประกอบเป็นหลักฐา นในการดำเนินคดีและเคลมประกันได้เลยทันที แถมยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อประกันภัยรถยนต์ได้อ ีกด้วย (เคล็ดลับเด็ดช่วยลดค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ คลิก https://www.smk.co.th/newsdetail/73) แล้วจะมีเทคนิคในการเลือกกล้องติดรถยนต์อย่างไร

เทคนิคเลือกกล้องติดรถยนต์

1. ความละเอียดของภาพที่บันทึก

คุณภาพของวิดีโอที่บันทึกได้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำน ึงถึงเป็นอันดับแรก โดยปัจจุบันความละเอียดของกล้องติดรถยนต์ควรอยู่ที่ร ะดับ FULL HD (1080p) หรือ HD Ready (720p) เป็นมาตรฐาน เพราะที่ความละเอียดระดับนี้ สามารถนำภาพวิดีโอที่บันทึกได้ไปใช้งานจริงอย่างไม่ต ิดขัด แต่การจะได้มาซึ่งความละเอียดระดับ FULL HD จะต้องมีองค์ประกอบของเลนส์และชิปประมวลผลที่ทำงานคู ่กัน เพียงสเปกที่ระบุไว้ว่ารองรับได้ถึง FULL HD เวลาใช้งานจริงอาจจะทำได้เพียง 480p ก็เป็นได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วกล้องติดรถยนต์ที่เป็นแบรนด์มาตรฐ าน จะระบุรายละเอียดชัดเจนว่ารองรับการบันทึกภาพแบบ Full HD ด้วยหรือไม่

(ค้นหา กล้องติดรถยนต์แบบ Full HD คลิก https://www.powerbuy.co.th/th/camera...as/car-cameras)

2. FPS สูง ช่วยให้ภาพเคลื่อนไหวลื่นไหล สมจริง

ค่า FPS ย่อมาจาก Frame Per Second หรืออัตราของจำนวนเฟรมภาพต่อวินาที เป็นหน่วยวัดการบันทึกภาพนิ่งของในกล้องวิดีโอต่อ 1 วินาที เช่น 25 FPS หมายถึง ใน 1 วินาที จะมีภาพนิ่งถูกบันทึกต่อเนื่องกัน 25 ภาพ แน่นอนว่าค่า FPS มากจะส่งผลให้ภาพมีความเคลื่อนไหวต่อเนื่อง ดูลื่นไหล แต่หากค่า FPS ต่ำ ภาพเคลื่อนไหวจะดูกระตุกและไม่ต่อเนื่อง แต่สำหรับกล้องติดรถยนต์ ค่า FPS ที่สูงเกินไปอาจจะมีผลเสียมากว่าผลดี เพราะจะทำให้กินพื้นที่การ์ดความจำมากกว่าปกติ เพราะไฟล์วิดีโอที่ได้จะมีขนาดใหญ่มาก ค่า FPS สำหรับกล้องติดรถยนต์จึงไม่ควรสูงเกิน 30 FPS หรือไม่น้อยไปกว่า 25 FPS ก็เพียงพอต่อการใช้งาน

3. บันทึกภาพวิดีโอเวลากลางคืนหรือสภาวะที่มีแสงน้อยได้ ดี

กล้องติดรถยนต์ที่สามารถใช้งานในสภาวะที่มีแสงน้อยหร ือเวลากลางคืนได้ดี จำเป็นจะต้องมีอินฟาเรดเป็นพื้นฐานหรือควรมีฟังก์ชัน ที่เรียกว่า WDR (Wide Dynamic Range) ซึ่งเป็นฟังก์ชันเดียวกันกับที่มีอยู่ในกล้องวงจรปิด ที่ติดตามบ้าน สำนักงาน หรือตามท้องถนน ช่วยทำให้การบันทึกภาพเวลากลางคืน (Night Shot) หรือสภาวะที่มีแสงน้อยให้ดูสว่างขึ้น หรือลดแสงบนท้องถนนที่อาจมีมากเกินไป ทำให้ได้ภาพที่มีรายละเอียดมากขึ้น

4. มีรูรับแสงที่เหมาะสม

รูรับแสง หรือ Lens Aperture ของกล้องติดรถยนต์มีหน้าที่เดียวกันกับของกล้องถ่ายร ูป คือ เป็นตัวควบคุมปริมาณแสงที่จะวิ่งผ่านรูนี้เข้าไปในกล ้อง มีหน่วยเรียกว่า “F” หรือ “ค่า F/Stop” ค่าตัวเลข F น้อย รูรับแสงกว้าง แสงเข้าได้มาก เรียกว่า ชัดตื้น คือให้ช่วงระยะชัดของภาพน้อย จะให้ได้ภาพที่คมชัดมากที่สุดตรงจุดโฟกัส ในขณะที่หากค่าตัวเลข F มาก รูรับแสงแคบลง แสงเข้าได้น้อย เรียกว่าชัดลึก คือให้ช่วงระยะชัดของภาพมาก ภาพที่ได้จะคมชัดเท่ากันทั้งภาพ สำหรับกล้องติดรถยนต์แล้ว ค่า F มาก จะช่วยทำให้มีความชัดลึกคมชัดทั้งภาพ เหมาะสมกับการใช้งานมากกว่า

5. มุมกล้องแบบเลนส์กว้าง ใช้งานได้จริง

กล้องที่มีมุมมองกว้างจะช่วยเก็บรายละเอียดทั้งสองข้ างทางของภาพได้มากกว่า หากกล้องมีมุมมองแคบเกินไป ก็อาจจะครอบคลุมหน้ารถได้ไม่หมด แต่ก็จะส่งผลกระทบกับภาพวิดีโอหรือภาพนิ่งตรงที่บันท ึก เพราะลักษณะของภาพที่ได้จะเหมือนถูกซูมออกมา ภาพตรงกลางจะถูกบีบเพื่อเก็บภาพด้านข้างได้มากขึ้น จึงอาจได้ภาพที่ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร และยังทำให้ระยะของภาพผิดเพี้ยน ดูไกลขึ้นกว่าระยะจริงที่เกิดขึ้น การเลือกกล้องติดรถยนต์ที่มีมุมมองกว้างเป็นเรื่องดี แต่ต้องให้แน่ใจว่าภาพด้านหน้าตรงต้องคมชัด ไม่ผิดเพี้ยน

6. เก็บภาพได้ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแม้ตอนเกิดอุบัติเ หตุ

ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เบรกรถกะทันหันหรือรถเกิดอุบัต ิเหตุ จะทำให้มีแรงสั่นสะเทือนหรือแรงกระแทกเกิดขึ้น ระบบ G-Sensor ที่ติดมากับกล้องจะทำหน้าที่ตรวจจับแรงสั่นสะเทือนหร ือแรงกระแทก เพื่อล็อกไฟล์วิดีโอที่บันทึกอยู่ในช่วงเวลานั้นแยกอ อกมาเก็บเป็นพิเศษต่างหากจากช่วงเวลาที่บันทึกปกติ และจะถูกป้องกันไม่ให้ช่วงเวลาดังกล่าวถูกบันทึกวนซ้ ำเมื่อหน่วยความจำเต็ม ถึงแม้ลบด้วยคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำได้ ต้องฟอร์แมตการ์ดความจำทิ้ง จึงทำให้สามารถนำคลิปมาตรวจสอบย้อนหลังได้ ระบบนี้จึงมีความสำคัญและถือเป็นฟังก์ชันพื้นฐานที่ก ล้องติดรถยนต์ทุกตัวต้องมี

7. ระบบตรวจจับความเคลื่อนไหว (Motion detect)

ระบบตรวจจับความเคลื่อนไหว (Motion detect) จะทำงานทันทีเมื่อมีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นผ่านหน้ากล ้องหรือหน้ารถยนต์ โดยจะบันทึกเป็นไฟล์วิดีโอออกมาเก็บไว้ในทุกๆ การเคลื่อนไหวที่ตรวจจับได้ ไฟล์ที่ได้จะมีขนาดเล็กและมีเฟรมเรทที่ต่ำเพื่อไม่ให ้สิ้นเปลืองพื้นที่ของการ์ดหน่วยความจำ โดยระบบตรวจจับความเคลื่อนไหว (Motion detect) จะใช้งานได้ก็ต่อเมื่อเปิดกล้องทิ้งไว้เฉยๆ แต่ไม่ได้ทำการบันทึกภาพวิดีโอไว้ เช่น ขณะรถติดหรือขณะจอดรถทิ้งไว้ที่ลานจอด และต้องการที่จะรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะรถจอดอ ยู่ แต่การใช้ระบบนี้ ตัวกล้องจำเป็นต้องมีไฟเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีอุปกรณ์จ่ายไฟให้กล้องอย่าง power bank ต่อกับกล้องไว้

8. เลือกแบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

กล้องติดรถยนต์โดยทั่วไปจะมีทั้งรุ่นที่มีแบตเตอรี่ใ นตัว สามารถจ่ายไฟให้ใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องต่อไฟจากที่ จุดบุหรี่ หรือแบบไม่มีแบตเตอรี่ในตัวเอง แต่จะมี Dual Super Cap เป็นตัวเก็บประจุไฟทำหน้าที่เหมือนแบตเตอรี่สำรอง โดยจะค่อย ๆ ปล่อยกระแสไฟออกมาช้า ๆ เพื่อให้กล้องติดรถยนต์บันทึกวิดีโอได้เสร็จสมบูรณ์เ มื่อดับเครื่อง แต่ก็ไม่สามารถจ่ายไฟให้กล้องติดรถยนต์ทำงานได้เหมือ นแบตเตอรี่ และจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับแบตเตอรี่มากวนใจ เช่น แบตเสื่อม แบตบวมเก็บไฟไม่อยู่ เป็นที่น่าสังเกตว่ากล้องติดรถยนต์ที่มีคุณภาพดี ราคาสูง ส่วนใหญ่จะไม่มีแบตเตอรี่ภายใน แต่จะมีตัวเก็บประจุไฟฟ้าสำรองมาทำหน้าที่แทน

เลือกกล้องติดรถยนต์ให้เหมาะกับการใช้งานและพฤติกรรม ของผู้ขับขี่ เพื่อการบันทึกภาพเคลื่อนไหวได้เต็มประสิทธิภาพ เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญเมื่อต้องเกิดเหตุไม่คาดฝันกับร ถยนต์ แล้วให้ประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ช่วยคุ้มครองรถคุณ เบี้ยเริ่มต้นเพียง 6,999 บาท ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ โทร. 1596 Line : @smkinsurance

สินมั่นคงประกันภัย ..ประกันรถ ประกันเวลา..