ปัญหาการจราจรบนท้องถนนเป็นสิ่งที่หลายคนต้องเคยพบเจ ออยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น รถชนรถ หรือ รถชนคน แต่สิ่งที่สร้างความปวดหัวให้กับผู้คนมากยิ่งขึ้นไปอ ีกคือ ปัญหาการจราจรบนถนนในหมู่บ้าน หรือชุมชนที่เราอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดกับเด็กๆ หรือปัญหาการจอดรถหน้าบ้านแล้วโดนเฉี่ยวชน ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องยากหากจะแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หมดไ ป (หยุดพฤติกรรมเสี่ยงอย่างไร ช่วยลดอุบัติเหตุ และการเสียชีวิต คลิก https://www.smk.co.th/newsdetail/145) แต่ในทางกฎหมายแล้ว มีข้อกำหนดที่ชัดเจนสำหรับสถานการณ์เหล่านี้ ว่าฝ่ายใดผิด ฝ่ายใดถูก

[size=large]จอดรถไว้หน้าบ้านตัวเอง ผิดหรือไม่?[/size]

ไม่ว่าจะเป็นถนนในหมู่บ้านที่มีนิติบุคคล หรือเป็นที่ของเอกชนที่บริหารจัดการดูแลกันเอง หรือหมู่บ้านที่อยู่ในซอยทั่วไปที่ไม่มีนิติบุคคลดูแ ล อาณาเขตของบ้านจะมีสิทธิใช้สอยแค่บริเวณภายในรั้วบ้า นเท่านั้น นอกเขตรั้วบ้าน ถือเป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ทั้งหมด ซึ่งถูกคุ้มครองโดยกฎหมายห้ามหยุดรถตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 55 ว่าด้วยเรื่องของ ‘ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ” 8 ประเภท คือ

(1) ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไ ม่มีช่องเดินรถประจำทาง
(2) บนทางเท้า
(3) บนสะพานหรือในอุโมงค์
(4) ในทางร่วมทางแยก
(5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
(6) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
(7) ในเขตปลอดภัย
(8) ในลักษณะกีดขวางการจราจร

หากเป็นการจอดรถยนต์ในหมู่บ้านจัดสรร การจอดรถหน้าบ้านในหมู่บ้าน จึงถือว่ามีความผิดในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8

[size=large]จอดรถหน้าบ้านคนอื่น ผิดหรือไม่?[/size]

การจอดรถขวางหน้าบ้านคนอื่นเป็นความปิดอาญาฐานก่อควา มเดือนร้อนรำคาญตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 397 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยผู้ที่เสียหายจากกรณีนี้ สามารถร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ รวมทั้งสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งได้ตามม าตรา 420 และหากเป็นพื้นที่สาธารณะก็ยังมีโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถออกใบสั่งหรือยกรถได้ ขึ้นอยู่กับว่ามีความผิดในระดับไหน และไกล่เกลี่ยกันได้หรือไม่

ส่วนการจอดริมถนนหน้าตึกแถวและหน้ารั้วบ้านซึ่งเป็นพ ื้นที่สาธารณะ โดยที่ไม่ได้กีดขวางทางเข้า-ออกของบ้านจะสามารถทำได้ หากพื้นที่บริเวณนั้นไม่ได้เป็นปากทางเข้าออก แต่เป็นฟุตปาธทางเท้า ไม่มีเส้นห้ามจอดทาสีไว้ที่ขอบฟุตปาธหรือไม่มีเครื่อ งหมายห้ามจอด เพราะถือเป็นพื้นที่สาธารณะ

[size=large]จอดรถไว้หน้าบ้านแล้วมีรถมาชน ใครผิด?[/size]

ในกรณีที่จอดรถอยู่หน้าบ้าน แล้วมีรถมาชนหรือเฉี่ยว จะถือว่าคันที่มาชนมีความผิด เนื่องจากขับรถไม่ระมัดระวังจนทำให้ทรัพย์สินของผู้อ ื่นเสียหาย ถึงแม้ว่าจะเป็นการจอดในที่ห้ามจอด หรือจอดตรงช่วงทางโค้งก็ตาม สามารถเคลมประกันได้ตามปกติ (การเคลมสด เคลมแห้ง และ เคลมประกันภัยรถยนต์ https://www.smk.co.th/newsdetail/61) แต่ก็อาจมีความผิดต่อกฎจราจรฐานจอดรถในที่ห้ามจอดหรื อในที่สาธารณะ และอาจจะต้องเสียค่าปรับด้วย

[size=large]ขับรถในหมู่บ้านแล้วมีเด็กมาชนหรือมีเด็กตัดหน้ารถ ใครผิด?[/size]

อีกหนึ่งปัญหาของหมู่บ้านจัดสรรที่มักมีเด็กๆ วิ่งเล่นอยู่บนท้องถนนโดยเฉพาะการขี่จักรยานกันเป็นก ลุ่มใหญ่ ซึ่ง เป็นเรื่องปกติที่เด็กทุกคนมักจะห่วงเล่นจนไม่ทันระว ังความปลอดภัยของตัวเอง จึงได้มีกฎหมายกำหนดความเร็วในเขตเมืองให้อยู่ที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในเขตชุมชน ที่มีความกว้างของถนนไม่เกิน 7 เมตร ซึ่งการใช้ความเร็วที่ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั้นจะทำให้โอกาสรอดชีวิตมีมากถึง 98% หากเกิดการขับรถชนคนที่เดินอยู่บนทางเท้าหรือบนถนน

การเกิดอุบัติเหตุที่ในหมู่บ้านหรือเขตชุมชน หากผู้ขับขี่ใช้ความเร็วในการขับรถไม่เกินตามที่กฎหม ายกำหนด ก็ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เนื่องจากผู้ขับขี่ขับรถมาด้วยความเร็วปกติและมีความ ระมัดระวังอย่างที่บุคคลทั่วไปพึงปฏิบัติแล้ว แต่มิอาจหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่มีเด็กวิ่งตัดหน้ารถไ ด้อย่างกะทันหัน ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาท

แต่หากผู้ขับขี่ขับรถมาด้วยความประมาท ใช้ความเร็วเกินกว่าอัตรกฎหมายกำหนด ไม่ให้สัญญาณเตือนแก่คนเดินทางเท้าให้รู้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก คนชรา หรือคนพิการ จนเกิดอุบัติเหตุขึ้น จะมีความผิดตาม พรบ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43

[size=large]จองที่จอดรถไว้หน้าบ้าน/ร้านค้า ได้หรือไม่[/size]

สำหรับพื้นที่ริมถนนสาธารณะที่ไม่เข้าข่ายพื้นที่ห้า มจอดรถตามที่กฎหมายกำหนด มักมีผู้นำกรวย เก้าอี้ หรือสิ่งของมาตั้งขวางไว้หน้าตึกแถวริมถนนสาธารณะเพื ่อไม่ให้คนอื่นนำรถเข้ามาจอดบังหน้าร้าน หรือกันพื้นที่นั้นไว้สำหรับลูกค้า หรือสำหรับจอดรถของตนเอง เป็นสิทธิที่เจ้าของตึกหรือเจ้าของบ้านไม่สามารถทำได ้

การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ บ้านเมือง พ.ศ.2535 มาตรา 19 ที่ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน เว้นแต่เป็นการกระทำในบริเวณที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นห รือพนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกำหนดด้วยความเห็นชอบของ เจ้าพนักงานจราจร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

รวมทั้งยังมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ตามมาตร 114 ที่ระบุว่า ห้ามผู้ใดวางตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งใดกีดขวางการจราจร ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนรื้อถอนสิ่งก ีดขวางดังกล่าว หากไม่ยอมรื้อถอนเจ้าพนักงานมีอำนาจในการรื้อถอน โดยมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท อีกด้วย

ความประมาทของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนไม่ว่าจะเป็น รถยนต์หรือคนเดินเท้า ล้วนเป็นต้นเหตุสำคัญที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุทางรถ ยนต์ได้ทั้งสิ้น ประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ "การันตีถูกจริง" ประกันรถยนต์ชั้น 1 ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด ช่วยดูแลค่าใช้จ่ายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ให้คุณ เบี้ยเริ่มต้น 6,999 บาท และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท) สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance