“โอนลอย” ปัญหาน่าปวดหัวสำหรับคนซื้อขายรถยนต์ ที่มักเกิดความลำบากใจเมื่อต้องทำธุรกรรมสัญญา “โอนลอย” เพื่อมอบสิทธิให้ผู้ซื้อไปโอนรถยนต์ด้วยตัวเอง แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่า ผู้ที่ซื้อรถไปจะดำเนินการโอนรถยนต์ให้เป็นชื่อของเจ ้าของรถยนต์ที่แท้จริง และหากคนซื้อรถยังไม่ได้โอนรถให้เรียบร้อย จะเกิดผลเสียอย่างไรต่อผู้ขาย และจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

[size=large]“โอนลอย” คืออะไร?[/size]

การโอนลอย คือ การตกลงซื้อขายรถยนต์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย แต่กรรมสิทธิ์ยังไม่ถูกเปลี่ยนไปเป็นของผู้ซื้อโดยสม บูรณ์ มีเพียงสัญญาการซื้อขายที่ยืนยันได้ว่ารถคันนี้ถูกขา ยแล้ว ซึ่งการโอนลอย มักเป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นจากการขายรถยนต์มือสองให้ก ับผู้รับซื้อที่เป็นเต็นท์รถ ซึ่งในแบบคำขอโอนจะมีเพียงชื่อผู้โอน (ชื่อเจ้าของรถ) แต่ยังไม่มีการกรอกชื่อผู้รับโอนหรือกรอกแล้วแต่ยังไ ม่ไปทำการโอนให้เรียบร้อย โดยผู้ซื้อจะต้องนำรถไปตรวจสอบสภาพรถและจดทะเบียนด้ว ยตนเองตามขั้นตอนของสำนักงานขนส่ง
(โอนรถไม่ยาก...ด้วยวิธีง่าย ๆ https://www.smk.co.th/newsdetail/1666)

[size=large]ข้อดีของการ “โอนลอย”[/size]

เมื่อทำเอกสารการโอนลอยรถยนต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายสามารถรับเงินจากผู้ที่ซื้อรถได้ทันที สะดวกสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อขายรถยนต์มือสอง เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปทำเรื่อ งโอนที่กรมการขนส่งทางบก

เมื่อผู้ซื้อรถลงรายมือชื่อในเอกสารรับโอนแล้ว ก็สามารถนำเอกสารการโอนลอยนี้ไปทำเรื่องโอนรถที่กรมข นส่งฯ ได้เลย โดยผู้ที่ขายรถไม่ต้องเสียเวลาเดินเรื่องเอง และผู้ที่จะไปทำเรื่องโอนจะเป็นใครก็ได้ เพียงแค่ต้องนำหนังสือมอบอำนาจการโอนที่เจ้าของรถเดิ มลงนามไว้แล้วไปที่กรมขนส่งฯ ด้วย

[size=large]“โอนลอย” อาจไม่ปลอดภัย[/size]

หากมีความจำเป็นต้องโอนลอยรถยนต์ และยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานขนส่งให้เรียบร ้อย รถที่ขายไปอาจมีผู้อื่นทำให้เกิดปัญหาหรือนำไปกระทำค วามผิด ไม่ว่าจะเป็น

• ถูกใบสั่งจราจร
• มีคดีเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุบนท้องถนน
• นำไปก่อเหตุอาชญากรรม
• นำไปขายต่อแบบผิดกฎหมาย
• ไม่ต่อภาษีรถยนต์ประจำปี

เจ้าของรถเดิมที่มีชื่อตามเล่มทะเบียนรถ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากยังถือว่าเป็นเจ้าของรถคันดังกล่าวอยู่ จึงควรเก็บเอกสารการซื้อขายไว้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย โดยขอสำเนาบัตรประชาชนของผู้ซื้อเอาไว้ด้วย เพราะเมื่อเกิดคดีความก่อนที่จะมีการโอนอย่างถูกต้อง เจ้าของรถคนเดิมสามารถนำเอกสารเหล่านี้ยืนยันได้ว่าม ีการขายรถยนต์ไปเรียบร้อยแล้ว

[size=large]คนซื้อรถไม่ยอมโอน โอนลอยไปแล้วเกิดปัญหาต้องทำอย่างไร?[/size]

หนึ่งในปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับผู้ขายรถยนต์คือการที ่ผู้ซื้อไม่ยอมโอนรถเป็นชื่อของตัวเอง และนำไปก่อให้เกิดปัญหาตามมาแก่ผู้ขาย ทั้งการก่อคดีความทางเเพ่งและอาญา หรือแม้แต่การไม่ได้ชำระภาษีรถยนต์ประจำปี ผู้ขายสามารถอ้างหลักฐานการซื้อขายกับทางเจ้าหน้าที่ ได้

เนื่องจาก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 458 ระบุว่า “กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขา ยกัน” ฉะนั้น จึงให้พิจารณาในขณะทำสัญญาว่า การซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงว่าจะต้องด ำเนินการอย่างไรในเรื่องกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อขา ย หากไม่ได้มีการตกลงกัน กรรมสิทธิ์ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่ได้ทำสัญญาซื้ อขายรถยนต์ระหว่างกัน แม้ยังไม่ได้ชำระเงินให้แก่กันก็ตาม (ข้อมูลจาก สำนักงานกฎหมายนพนภัส ทนายความเชียงใหม่ https://www.xn--42cgi4cjab1btnchd1ex...com/index.html)

นอกจากนี้ ศูนย์พิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (https://consumerthai.org/) ยังให้คำแนะนำเพิ่มเติมไว้อีกว่า ผู้ขายรถยนต์ควรแจ้งให้คู่กรณีทราบเป็นลายลักษณ์อักษ รว่า ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองหรือใช้รถยนต์คันดังกล่าว โดยให้ข้อมูล หลักฐาน และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการซื้อขายรถยนต์ประกอบไปด้วย เพื่อให้คู่กรณีสืบหาตัวผู้กระทำความผิดเพื่อรับผิดช อบต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในอนาคต ผู้ขายรถยนต์จึงควรทำเรื่องเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ครอบคร องรถในทางทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกด้วยตัวเองให้เรียบ ร้อย เพราะถึงแม้ว่า อาจจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการโอนและยุ่งยากเสียเว ลา แต่ก็เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดและไม่ต้องพบกับปัญหาค ดีอาญาแบบไม่รู้ตัว

ประกันภัยรถยนต์คนกรุง เบี้ยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง คุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี ประกันรถยนต์ชั้น 1 อัตราเบี้ยคงที่เท่ากันทุกปีคุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี ไม่ว่าจะรถชนรถ รถชนของ รถคันอื่นมาชน เกิดอุบัติเหตุนอกเมือง สูญหายไฟไหม้ น้ำท่วม เบี้ยเริ่มต้น 11,600 บาท สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/19 หรือ โทร.1596 Line: @smkinsurance