เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นกับมาตรการลดหย่อนภาษีรถ ยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย จาก มติ ครม. เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมการใช้และการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ไขข้อสงสัย! อยากซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ต้องเตรียมตัวเสียภาษีเท่าไร https://www.bangkokbiznews.com/business/989298) แต่หลายคนอาจสงสัย ว่าทำไมรถยนต์ไฟฟ้ามีหลากหลายชื่อเรียกที่แตกต่างกัน ออกไป แล้วแต่ละประเภทมีคุณสมบัติอย่างไร

[size=large]รถยนต์ไฟฟ้า คืออะไร?[/size]

รถยนต์ไฟฟ้า คือ รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยใช้พลังงานไฟฟ้าที่เก็บอยู่ในแบตเตอรี่หรืออุปกรณ ์เก็บพลังงานไฟฟ้ารูปแบบอื่นๆ เป็นนวัตกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว 100% ในการขับเคลื่อนแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล และสามารถชาร์จไฟได้อย่างสม่ำเสมอเมื่อแบตเตอรี่หมด โดยรถยนต์ไฟฟ้านี้จะมีองค์ประกอบหลักสำหรับการขับเคล ื่อนคือ แบตเตอรี่ อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า และมอเตอร์ไฟฟ้า
ขั้นตอนการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้า จะมีจุดเริ่มต้นจากแบตเตอรี่ที่เป็นแหล่งเก็บพลังงาน ไฟฟ้ากระแสตรง ส่งต่อกระแสไฟมายังตัวแปลงกระแสไฟฟ้า และจะดึงพลังงานจากแบตเตอรี่ไปเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแส สลับ ส่งต่อไปยังตัวมอเตอร์เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนรถยน ต์

[size=large]ข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้า[/size]

• ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น ทั้งค่าซ่อมบำรุง และค่าพลังงานที่ไฟฟ้าจะมีราคาน้อยกว่าพลังงานเชื้อเ พลิง
• สามารถตอบสนองต่อการขับขี่ให้มีอัตราเร่งได้ดั่งใจเพ ราะมอเตอร์ไฟฟ้าสั่งการให้เกิดการขับเคลื่อนได้ทันที มีอัตราเร่งที่เรียบและรวดเร็ว
• ไม่มีการปล่อยไอเสียจึงไม่สร้างมลภาวะให้แก่โลกและเป ็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

[size=large]ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า[/size]

ยานยนต์ไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ

1. ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริด หรือ HEV (Hybrid electric vehicle)

รถยนต์ไฮบริด เป็นยานยนต์ไฟฟ้าแบบลูกผสม (Hybrid) มีทั้งเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทั่วไปและมอ เตอร์ไฟฟ้าพร้อมแบตเตอรี่ทำงานร่วมกัน จึงมีความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงต่ำกว่ายานยนต์ปกติ รวมทั้งยังสามารถนำพลังงานที่เหลือหรือไม่ใช้ประโยชน ์เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ได้ แต่ไม่มีช่องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้า
รูปแบบการทำงานของรถยนต์ไฮบริด (HEV) นั้น รถยนต์หยุดเคลื่อนที่หรือมีการแตะเบรก จะมีมอเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่เป็น Generator เปลี่ยนพลังงานจลน์ส่งพลังงานไฟฟ้ากลับคืนเข้าไปเก็บ ไว้ในแบตเตอรี่ โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า Regenerative Braking ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมั นที่ต่ำกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเพียงอย่างเดียวค่อนข้ างมาก โดยมีตัวอย่าง รถยนต์ Hybrid ที่มีการวางจำหน่ายในประเทศไทย ดังนี้

• Toyota Camry Hybrid, Toyota C-HR Hybrid, Toyota Alphard Hybrid, Toyota CHR Hybrid Toyota Prius, Toyota Altis Hybrid
• Honda Accord Hybrid, Honda HRV e: HEV
• Nissan X-Trail Hybrid

2. ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (PHEV, Plug-in Hybrid Electric Vehicle)

รถยนต์ประเภทปลั๊กอินไฮบริด หรือ PHEV มีความคล้ายคลึงกับรถยนต์ไฮบริด (Hybrid, HEV) แต่จะแตกต่างกันตรงที่รถยนต์ประเภทนี้ สามารถชาร์จไฟฟ้าจากภายนอกได้ ซึ่งก็อาจจะใช้เป็น EV Charger หรือ สายชาร์จที่แถมมากับตัวรถก็ได้ ในการใช้งาน จึงทำให้รถยนต์ประเภทนี้สามารถที่จะขับเคลื่อนด้วยระ บบมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวได้โดยไม่ต้องใช้น้ำมั นแต่จะสามารถใช้ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวไ ด้ในระยะทางสั้นๆ ในด้านสมรรถนะในการขับขี่ มอเตอร์ไฟฟ้าจะช่วยทำให้รถประเภทนี้นั้นออกตัวได้เร็ วกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ด้วยการอัดประจุไฟฟ้าจากภายนอกและนำมาเก็บไว้ที่แบตเ ตอรี่ ทำให้ PHEV สามารถวิ่งได้ในระยะทางที่ไกลกว่า HEV โดยมีตัวอย่าง รุ่นรถยนต์ Plug-in Hybrid ที่มีการวางจำหน่ายในประเทศไทย ได้แก่

• Mercedes plug-in hybrid
• BMW plug-in hybrid
• Audi plug-in hybrid

3. ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV, Battery Electric Vehicle)

รถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่มีการปล่อยไอเสียออกมาเลย เนื่องจากเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และใช้พลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้า ซึ่งมาจากการเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าอย่างเดียว ไม่มีการปล่อยมลพิษทางอากาศจากยานยนต์โดยตรง ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว จึงส่งผลให้รถประเภทนี้จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่ที่มีขน าดใหญ่มากกว่ารถประเภทอื่นๆ โดยมีตัวอย่าง รุ่นรถยนต์ Battery Electric Vehicle ที่มีการวางจำหน่ายในประเทศไทยได้แก่

• Tesla
• Nissan Leaf
• MG ZS EV
• Hyundai IONIQ EV,
• BMW i3, Kia Soul EV, BYD E6, Audi e-tron

4. ยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV, Fuel Cell Electric Vehicle)

รถยนต์ไฟฟ้าที่มีเซลล์เชื้อเพลิงเป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่ ได้พลังงานมาจากเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) โดยเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากภายนอก โดยก๊าซไฮโดรเจนจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศที่เ ซลล์เชื้อเพลิง ทำให้ได้พลังงานส่งไปยังมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการขั บเคลื่อน โดยรถประเภทนี้จะต้องมีการเติมพลังงานไฮโดรเจน ที่สถานีให้บริการ มีความจุพลังงานจำเพาะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ที่มีอยู่ใ นปัจจุบัน เชื่อว่าเป็นคำตอบที่แท้จริงของพลังงานสะอาดในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดอย่างสถานีเชื้อเพลิงไฮ โดรเจน (Hydrogen Fuel Station) มีน้อยมาก เหมือนที่รถ BEV มี Charging Station น้อยเมื่อเทียบกับหลายปีก่อน (สำรวจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า แหล่งพลังงานแห่งใหม่ของคนกรุง https://www.smk.co.th/newsdetail/1541)

ถึงแม้ EV ทั้ง 4 ประเภทจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน แต่ทุกประเภทล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ลดการใช้เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุหลักของกา รเกิดภาวะโลกร้อน คุ้มครองรถคุณให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น ด้วยประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ "การันตีถูกจริง" ประกันรถยนต์ชั้น 1 ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด เบี้ยเริ่มต้น 6,999 บาท และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท) สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance