การเลือกซื้อประกันรถยนต์กับบริษัท นอกจากจะต้องดูแพคเกจประกันที่มีความเหมาะสมกับการใช ้งานของผู้ขับขี่แล้ว ยังต้องดูถึงเงื่อนไขที่อยู่ในกรมธรรม์นั้นด้วยว่า ครอบคลุมในสิ่งที่เจ้าของรถยนต์ต้องการหรือไม่ และมีหลายกรณีที่บริษัทประกันไม่ยินยอมจ่ายค่าสินไหม รถยนต์และสามารถปฏิเสธความคุ้มครองที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งรวมไปถึงการแจ้งเคลมประกันเท็จ ที่อาจส่งผลให้บริษัทประกันปฏิเสธได้ด้วยเช่นกัน

[size=large]ใช้รถแบบไหนที่ประกันไม่รับเคลม[/size]

1. ใช้รถทำสิ่งผิดกฎหมาย เนื่องจากหากนำรถยนต์ไปใช้ทำสิ่งผิดกฎหมาย เช่น ขนอาวุธเถื่อน ขนยาเสพติด ถ้าเกิดอุบัติเหตุชนขึ้นมา บริษัทประกันจะไม่รับเคลม
2. ใช้รถแข่งความเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้รถยนต์แข่งความเร็วตามสนามแข่งที่ ถูกกฎหมาย หรือแข่งความเร็วกันตามถนนแบบผิดกฎหมาย บริษัทประกันจะไม่รับเคลมความเสียหายทั้งสิ้น
3. ขับรถยนต์ออกนอกเขตความคุ้มครอง การใช้รถยนต์นอกพื้นที่เขตความคุ้มครองของประกัน หากรถเกิดเหตุชนขึ้นมาจะไม่ได้รับความคุ้มครอง เช่น ทำประกันรถยนต์ไว้ในเขตประเทศไทย แต่เกิดอุบัติเหตุรถชนที่ต่างประเทศ บริษัทประกันจะไม่จ่ายค่าความเสียหาย
4. เมาแล้วขับ ในทางกฎหมายจะถือว่าถ้าผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์เก ิน 50 มิลลิกรัมจะถือว่าเมาทันที หากเกิดเหตุชนแล้วพบว่าผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์เก ินที่กฎหมายกำหนดจะไม่สามารถเคลมประกันภาคสมัครใจได้
5. การใช้รถไปลากจูง โดยหากเจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ไปใช้ลากจูง เช่น นำรถส่วนบุคคลไปใช้ลากจูงรถอีกคันที่จอดเสียข้างทาง หากเกิดอุบัติเหตุรถชนได้รับความเสียหาย บริษัทประกันจะปฏิเสธการเคลมโดยทันที เพราะถือว่าผิดเงื่อนไขการใช้รถยนต์
6. ใช้รถยนต์เพื่อก่อการร้าย หากรถยนต์มีร่องรอยความเสียหายเกิดขึ้น โดยตรวจสอบพบว่าได้นำรถยนต์คันดังกล่าวไปใช้เพื่อก่อ การร้าย หรือจอดรถยนต์อยู่บริเวณพื้นที่ประกาศพระราชกำหนดการ บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) จะไม่สามารถเคลมประกันรถยนต์ได้เช่นกัน
7. ผู้ขับขี่ไม่มีใบขับขี่ หรือถูกเพิกถอนใบขับขี่ หากผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรือเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ไป รวมถึงการนำใบอนุญาตขับขี่รถจักจักรยานยนต์มาใช้แทนใ บอนุญาตขับขี่รถยนต์ หากเกิดเหตุรถชนบริษัทประกันจะไม่จ่ายค่าความเสียหาย ให้ เท่ากับว่าเคลมประกันภัยรถยนต์ไม่ได้ (ไม่มีใบขับขี่ บริษัทประกันจะรับเคลมหรือไม่ https://www.oic.or.th/th/consumer/qu...รับเคลมหรือไม่)
8. รถชนกับรถบุคคลในครอบครัว กรณีที่รถชนกับรถบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ สามี ภรรยา บุตร บริษัทประกันภัยจะไม่จ่ายค่าความเสียให้รถคันคู่กรณี แต่ถ้าเจ้าของรถยนต์ต้องการนำรถยนต์ของตัวเองเข้าซ่อ มจะต้องจ่ายค่า Excess เงื่อนไขละ 1,000 บาท เพราะเป็นการชนแบบไม่มีคู่กรณี
9. ทำลายทรัพย์สินตนเอง ถ้าบริษัทประกันพบว่าเจ้าของรถจัดฉากทำลายรถยนต์ของต ัวเองให้ได้รับความเสียหายเพื่อหวังเงินเคลมประกันภั ย นอกจากจะเคลมประกันไม่ได้แล้ว ยังผิดกฎหมายอีกด้วย
10. สลับตัวผู้ขับขี่เมื่อเกิดเหตุชน การสลับตัวผู้ขับขี่หลังจากที่เกิดเหตุชนเกิดขึ้นนอก จากจะเคลมประกันไม่ได้แล้ว ยังถือว่าผู้ขับขี่มีเจตนาทุจริต ถ้าบริษัทประกันสืบเจออาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย

[size=large]แบบไหนถึงเรียกว่า แจ้งเคลมประกันเท็จ?[/size]
ปกติแล้วเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับรถยนต์ ทางบริษัทประกันจะรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าซ่อมรถยนต์ ค่ารักษาพยาบาล (ในกรณีที่มีผู้บาดเจ็บ) รวมถึงความคุ้มครองกรณีรับผิด (เคลมประกันรถสินมั่นคงด้วยตัวเอง ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน https://www.smk.co.th/newsdetail/2869) ซึ่งการเคลมประกันภัยรถยนต์นั้น ผู้ขับขี่ควรมีจรรยาบรรณไม่แจ้งเคลมประกันเท็จ เนื่องจากหากทางบริษัทประกันได้มีการตรวจสอบแล้วพบว่ า เกิดการแจ้งเคลมประกันเท็จ ซึ่งผู้เคลมประกันรถยนต์เลือกที่จะแจ้งเคลมเท็จเพื่อ หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบและค่าเสียหายจากการซ่อมรถยน ต์ของตัวเอง หรือแจ้งเคลมประกันเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าเสี ยหายส่วนแรก เนื่องจากอาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในเรื่องของการแจ้ง เคลม

ปัญหาที่เกิดขึ้นจะไม่ได้มีแค่เพียงบริษัทประกันปฏิเ สธไม่ออกใบเคลม ประกันไม่อนุมัติซ่อม หรือโดนยกเลิกประกัน แต่อาจจะบานปลายจนถึงการถูกบริษัทประกันรถยนต์ฟ้องร้ องเนื่องจากผู้ขับขี่จะมีความผิด และโทษในทางอาญา ที่ระบุว่า “ให้ความเท็จเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ จากประกันวินาศภัย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ” หรืออาจมีกรณีต่อเนื่องไปถึงการแจ้งความต่อเจ้าหน้าท ี่พนักงาน ส่งผลให้เกิดการเดือดร้อนต่อบุคคลที่ 3 หรือทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเกิดความเสียหาย จะถือว่ามีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

ทั้งการแจ้งเคลมเท็จและการแจ้งความเท็จนั้นมีสิทธิ์ท ี่ทางบริษัทอาจจะยื่นเรื่องคดีฉ้อโกงไปยังผู้เคลมหาก ได้มีการตรวจสอบแล้วไม่เป็นความจริง รวมทั้งเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายจากทางบริษัทประกั น หรือบุคคลที่ 3 ก็ถือจะนับเป็นคดีฉ้อโกงด้วย และแม้ว่าการทำประกันชั้น 1 จะสามารถแจ้งเคลมประกันรถยนต์ได้ทุกกรณี แต่หากเจ้าของรถทำผิดข้อยกเว้นความคุ้มครองตาม ก็อาจทำให้โดนปฏิเสธจ่ายค่าสินไหมและยังถูกดำเนินคดี ตามกฎหมายอีกด้วย คุ้มครองครอบคลุมได้ตามใจ 3, 6, 12 เดือน ด้วยประกันรถยนต์ตามเวลา ประเภท 1 จ่ายสบาย ช่วยแบ่งเบาภาระในยามวิกฤต เพิ่มความอุ่นใจเมื่อออกเดินทาง สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/1020 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance พร้อมติดตามอ่านข้อมูลและเนื้อหาสาระดีดีเพิ่มเติมได ้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com