เมื่อต้องซื้อขายรถยนต์หนึ่งคัน ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นจะต้องมีการทำสัญญาซื้อขา ยระหว่างกันเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได ้ทั้งจากฝั่งผู้ซื้อและผู้ขายรถ (สัญญาซื้อขายรถยนต์คืออะไร? ต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง? https://www.smk.co.th/newsdetail/3034) การทำสัญญาซื้อขายรถยนต์จึงจำเป็นจะต้องให้ความระมัด ระวังในการทำเอกสารต่างๆ อย่างถี่ถ้วน จะมีอะไรบ้าง

[size=large]ข้อควรระวังที่ 1 : เอกสารซื้อขายรถ ต้องครบถ้วน[/size]

ในการทำหนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์จะต้องมีเอกสารที่ส ำคัญที่ถูกต้องครบถ้วนเพื่อให้สามารถดำเนินการต่อที่ กรมขนส่งทางบกได้ โดยเอกสารที่จำเป็นมีดังนี้

1. ทะเบียนรถยนต์ หรือสมุดคู่มือจดทะเบียนฉบับจริง

ผู้ซื้อรถจะตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับรายละเอียดขอ งรถยนต์ที่ทำการซื้อขายต้องตรงกันกับในเล่มทะเบียนที ่แจ้งไว้ ได้แก่ สีตัวถัง, เลขเครื่องยนต์, เลขตัวถัง เป็นต้น รวมทั้งตรวจดูประวัติการต่อภาษี, ประวัติการครองครอง, ประวัติการโอนกรรมสิทธิ์, ประวัติการเปลี่ยนแปลงแก้ไขทางทะเบียนต่างๆ รวมถึงนำมาใช้อ้างอิงแนบในสัญญาเพื่อบ่งชี้ทรัพย์สิน ที่ซื้อขาย

นอกจากนั้น ผู้ซื้อจะต้องตรวจสอบชื่อของผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์คน ล่าสุดว่า ตรงกับกรรมสิทธิ์ผู้ขายและตรงกับที่ระบุใน เอกสารซื้อขายรถยนต์ ทั้งหมดหรือไม่ หรือถ้าผู้ขายไม่ใช่ผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์คนล่าสุด ก็ต้องมีหลักฐานแสดงว่าผู้ขายที่เป็นคู่สัญญามีอำนาจ นำรถคันนั้นมาขาย เช่น ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ เป็นต้น

2. สัญญาซื้อขายรถยนต์

หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์ ควรมี 2 ฉบับเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทั้งทางผู้ซื้อและผู้ขาย และควรใช้แบบฟอร์มโดยเฉพาะ เพื่อจะได้มีการระบุข้อมูลในสัญญาให้ครบถ้วน เพราะทุกอย่างสามารถใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้ทั้งส ิ้น

3. ใบโอนและรับโอน

ทั้งสองใบควรกรอกข้อมูลของรถยนต์ที่ซื้อขายให้ครบถ้ว น โดยทางผู้ขายหรือเจ้าของรถจะต้องเซ็นชื่อตรงผู้โอน และทางผู้ซื้อต้องเซ็นชื่อตรงช่องผู้รับโอน เพื่อแจ้งต่อนายทะเบียนให้ทำการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง กรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักฐานทางราชการและเป็นข้อสันนิ ษฐานตามกฎหมายที่ระบุเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าวต่อไป อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนดังกล่าวจะยังไม่มีผลกระทบต่อความสมบูรณ ์และการโอนกรรมสิทธิ์ตามนิติกรรมสัญญาซื้อขาย หากสัญญาดังกล่าวได้ทำและลงนามทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ซื้ อและผู้ขาย

4. สำเนาบัตรประชาชน

สำหรับสำเนาบัตรประชาชนของทางผู้ขาย ผู้ซื้อควรตรวจสอบดูว่า มีชื่อตรงกับในเล่มทะเบียนรถหรือไม่ และจะต้องมีเอกสารการเปลี่ยนชื่อแนบเข้ามาด้วยถ้ามีก ารเปลี่ยนชื่อก่อนหน้านี้ และที่สำคัญที่สุดคือ บัตรประชาชนจะต้องไม่หมดอายุ และในกรณีซื้อขายในนามบริษัท ก็ควรมีหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นหลักฐานแนบมาด้ วย

[size=large]ข้อควรระวังที่ 2 : ตรวจเช็กสภาพรถก่อนทำสัญญาซื้อขายรถยนต์[/size]

แน่นอนว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องทำก่อนจะเซ็น ใบสัญญาซื้อขายรถ ก็คือ การเช็คสภาพรถที่จะซื้อให้ดี ๆ เสียก่อน โดยเฉพาะถ้าคุณซื้อรถมือสองจากแหล่งซื้อขายที่ไม่มีก ารรับประกัน ก็ยิ่งต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า รถคันที่คุณสนใจอยู่ในสภาพที่น่าพึงพอใจหรือไม่ เพราะคุณจะไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้นอกเหนือจากสิ่ง ที่ระบุใน เอกสารซื้อขายรถ ที่คุณเซ็นไปเรียบร้อยแล้ว

[size=large]ข้อควรระวังที่ 3 : ลายเซ็นในสัญญาซื้อขายรถยนต์ ต้องครบ ชัดเจน[/size]

แน่นอนว่า การเซ็นสัญญาซื้อขายรถหรือเอกสารรับทราบในการทำธุรกร รมใดๆ ผู้ทำสัญญาทั้งสองฝ่ายควรอ่านสัญญาให้ละเอียดรอบคอบก ่อนเซ็นรับทราบ รวมทั้งต้องตรวจสอบลายเซ็นของอีกฝ่ายว่า ถูกต้อง ชัดเจน พร้อมตรวจสอบเงื่อนไขและข้อตกลงให้ดีทุกครั้ง

นอกจากนั้น ฝั่งผู้ซื้อที่จะต้องสังเกตลายเซ็นเจ้าของรถให้ดีว่า ตรงกับลายเซ็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในเล่มทะเบียนรถหรือไม ่ หรือถ้าผู้ขายได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เอกสารทุกอย่างที่มีลายเซ็นก็ควรจะต้องมีตราประทับบร ิษัทประกอบในเอกสารด้วย เพราะผู้ขายไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถ ก็ควรมีเอกสารหลักฐานยืนยันอำนาจในการนำรถมาขายจริงป ระกอบการทำสัญญานั่นเอง

[size=large]ข้อควรระวังที่ 4 : เก็บ ใบซื้อขายรถ และเอกสารต่างๆ ให้ดี[/size]

การทำสัญญาต่างๆ ควรมี หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์ เตรียมไว้อย่างน้อยสองฉบับ โดยจะต้องมีข้อความเหมือนกันและมีการลงลายเซ็นของคู่ สัญญาและพยานในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้เก็บสัญญาดังกล่าวไว้เป ็นหลักฐาน เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงป้องกันการฉ้อโกงกันในภายหลั ง

[size=large]ข้อควรระวังที่ 5 : ควรหลีกเลี่ยงและระวังการโอนลอย[/size]

การโอนลอย หมายถึง การที่คู่สัญญามีการลงชื่อในสัญญาการซื้อขายหรือใบมอ บอำนาจเรียบร้อย แต่ตกลงกันว่า จะยังไม่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในทันที และไม่ได้ไปทำธุรกรรมที่สำนักงานขนส่งซึ่งเป็นกระบวน การสุดท้ายที่ทำให้การโอนรถสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ การโอนลอยจึงได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นเจ้ าของเต็นท์รถ เนื่องจากช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการโอนจนกว่ารถคันด ังกล่าวจะมีลูกค้ามาซื้อไป

การโอนลอยอาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อตัวผู้ขายเดิมถ้ารถ คันนั้นเกิดอุบัติเหตุ ถูกนำไปก่ออาชญากรรม ไม่เสียภาษีรถยนต์ หรือมีปัญหาทางกฎหมาย เพราะผู้ถือกรรมสิทธิ์คนเดิมจะยังถูกอ้างอิงกับทะเบี ยนรถดังกล่าว ในทางกลับกัน ถ้ายังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ครบถ้วน แต่ผู้ขายไปแจ้งรถหาย ก็อาจจะโดนข้อหารับซื้อของโจรได้ ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ การดำเนินการซื้อขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ด้วยตนเอง

คุ้มครองรถคุณให้ปลอดภัย ด้วยประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ "การันตีถูกจริง" ประกันรถยนต์ชั้น 1 ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด เบี้ยเริ่มต้น 6,999 บาท และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดัก และระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท) สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsuranceและสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com