“รถไฟฟ้าสายสีชมพู” โมโนเรลสายที่ 2 ของประเทศไทย ที่จะช่วยเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนในพื้นที่กรุ งเทพมหานคร ฝั่งตะวันออก ฝั่งเหนือ และจังหวัดนนทบุรี เข้าสู่พื้นที่ใจกลางเมือง มีระยะทางรวม 34.5 กิโลเมตร พร้อมเปิดให้ทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) แล้ว ปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ รายละเอียดจะเป็นอย่างไร และหากต้องการขึ้นรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะสามารถจอดรถยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

[size=18pt]รถฟ้าสายสีชมพูมีกี่สถานี ผ่านเส้นทางไหนบ้าง[/size]
โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูฯ เป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดสาย มีสถานีให้บริการทั้งสิ้น 30 สถานี ประกอบด้วย

1. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
2. สถานีแคราย
3. สถานีสนามบินน้ำ
4. สถานีสามัคคี
5. สถานีกรมชลประทาน
6. สถานีแยกปากเกร็ด
7. สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
8. สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
9. สถานีศรีรัช
10. สถานีเมืองทองธานี
11. สถานีแจ้งวัฒนะ 14
12. สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
13. สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ
14. สถานีหลักสี่
15. สถานีราชภัฏพระนคร
16. สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
17. สถานีรามอินทรา 3
18. สถานีลาดปลาเค้า
19. สถานีรามอินทรา กม.4
20. สถานีมัยลาภ
21. สถานีวัชรพล
22. สถานีรามอินทรา กม.6
23. สถานีคู้บอน
24. สถานีรามอินทรา กม.9
25. สถานีวงแหวนรามอินทรา
26. สถานีนพรัตน์
27. สถานีบางชัน
28. สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
29. สถานีตลาดมีนบุรี
30. สถานีมีนบุรี

[size=18pt]รถไฟฟ้าสายสีชมพู เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายไหนบ้าง[/size]

รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 4 สายหลัก ได้แก่
• รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่สถานีมีนบุรี
• รถไฟชานเมือง สายธานีรัถยา (ช่วงบางซื่อ – รังสิต) ที่สถานีหลักสี่ เป็นการเชื่อมต่อประเภท Unpaid to Unpaid Area จากชั้นออกบัตรโดยสารของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูฯ ที่ระดับดิน ใช้สะพานลอยคนข้ามไปยังชั้นออกบัตรโดยสารของรถไฟชานเ มือง สายธานีรัถยา (ช่วงบางซื่อ – รังสิต) มีระยะทางเดินเชื่อมต่อประมาณ 180 เมตร
• รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เป็นการเชื่อมต่อประเภท Paid to Paid Area
• รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เป็นการเชื่อมต่อประเภท Unpaid to Unpaid Area ระหว่างชั้นออกบัตรโดยสารของสองสถานี มีทางเดินเชื่อมต่อ (Skywalk) และทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ ระยะทางประมาณ 346 เมตร

[size=18pt]ขึ้นรถไฟฟ้าสายสีชมพู จอดรถยนต์ได้ที่ไหนบ้าง[/size]

ผู้ที่ต้องการขึ้นรถไฟฟ้าสายสีชมพูและนำรถยนต์ไปจอดไ ว้ที่อาคารจอดแล้วจร สามารถจอดรถไว้ที่จุดจอดดังนี้

• อาคารจอดแล้วจรของโครงการรถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท
o สถานีแยก คปอ. (รองรับรถยนต์ 1,220 คัน และรถจักรยานยนต์ 275 คัน)
o สถานีคูคต (รองรับรถยนต์ 846 คัน และรถจักรยานยนต์ 68 คัน)
• อาคารจอดแล้วจรของรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) ที่สถานีแยกนนทบุรี 1 (รองรับรถยนต์ 565 คัน และรถจักรยานยนต์ 100 คัน) โดยรถไฟฟ้าสายสีชมพูยังมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายส ีม่วงที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01) ซึ่งมี Skywalk แห่งแรกในไทย ที่มีทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ (Travelator) ความยาว 340 เมตร
• อาคารจอดแล้วจรของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี บริเวณสถานีมีนบุรี จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณแยกร่มเกล้าหรือสถานีมีนบุรี เป็นอาคารจอดรถ 3 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 3,000 คัน (1,000 คัน/ชั้น)

[size=18pt]ขึ้นรถไฟฟ้าสายอื่นๆ จอดรถที่ไหน[/size]

หากต้องการขึ้นรถไฟฟ้าในสายทางอื่นๆ สามารถจอดรถได้ตามแนวรถไฟฟ้า ดังนี้

1. จุดจอดรถ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน มีอาคารจอดรถ 4 แห่ง รวม 5,520 คัน ได้แก่ สถานีคลองบางไผ่ 1,900 คัน สถานีสามแยกบางใหญ่ 1,450 คัน สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ 1,070 คัน และสถานีนนทบุรี 1 จอดได้ 1,100 คัน
2. จุดจอดรถ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค มีที่สถานีหลักสอง จำนวน 2 อาคาร จอดได้ประมาณ 1,000 คัน แยกเป็นอาคาร 10 ชั้น 650 คัน และอาคาร 8 ชั้น 350 คัน
3. จุดจอดรถ รถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยาย ช่วง “แบริ่ง-สมุทรปราการ” มีที่จอดรถ 1 แห่งที่สถานีเคหะสมุทรปราการ 1,200 คัน และ “ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต” มีที่จอดรถ 2 แห่ง รวม 1,755 คัน ที่สถานี กม.25 จอดได้ 1,042 คัน และอยู่ใกล้สถานีคูคต 713 คัน
4. จุดจอดรถ รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต มีที่จอดรถ 1 แห่ง อยู่ใต้ดินสถานีกลางบางซื่อ จอดได้ 1,700 คัน
5. จุดจอดรถ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ใช้ที่จอดมีนบุรีร่วมกัน “สีชมพู แคราย-มีนบุรี” มีที่จอดรถ 1 แห่งที่สถานีมีนบุรี 3,000 คัน และที่จอดรถของรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) จะมีที่จอดรถเพิ่มอีก 1 แห่ง จอดได้ประมาณ 1,200 คัน
6. จุดจอดรถ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง มีที่จอดรถที่สถานีศรีเอี่ยม 5,000 คัน
7. จุดจอดรถ รถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยาย จากเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ มี 2 แห่ง รวม 3,400 คัน ที่สถานีบางปะกอก เป็นอาคาร 10 ชั้น จอดได้ 1,700 คัน และสถานีราษฎร์บูรณะ เป็นอาคาร 8 ชั้น จอดได้ 800 คัน และอาคาร 10 ชั้น จอดได้ 900 คัน

การเก็บค่าจอดรถยนต์ที่อาคารจอดแล้วจรจะเป็นอัตราเดี ยวกับรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าทุก 2 ชั่วโมงจะเก็บค่าบริการ 15 บาท ส่วนผู้ไม่ได้ใช้บริการจะเก็บค่าบริการชั่วโมงละ 40 บาท ยกเว้นลานจอดรถสถานีเพชรบุรี สุขุมวิท และศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่คิดค่าบริการชั่วโมงละ 50 บาท
คุ้มครองรถคุณให้ปลอดภัยตามระยะทางที่ขับจริง ประกันตามไมล์ ประกันชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 11,600 บาท ทุนประกันเริ่มต้นที่ 200,000 บาท ไม่เก็บค่าเสียหายส่วนแรก (ยกเว้นกรณีผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์) ประกันสำหรับคนขับน้อย มีความเสี่ยงน้อย เบี้ยประกันจึงถูกกว่าคนที่ขับมากกว่า สนใจรายละเอียด https://www.smk.co.th/productmotordetail/2 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com